Author: Pong Missita

เมื่อมีความเสี่ยง

ในที่สุดโควิด-19 ก็มาเยือนถึงที่ในหอสมุดฯ จนได้ พอมาถึงจึงมีเรื่องราวตามมาอีกมากมาย เริ่มตั้งแต่

  1. เมื่อทราบข่าวก็ต้องรีบรายงานกับผู้บังคับบัญชาโดเร็ว จากนั้นก็มีรายงานตามลำดับขึ้นจนถึงมหาวิทยาลัยฯ และ
  2. หาข้อมูลของคนที่ตรวจพบเพื่อดู Timeline ว่าเข้ามาในหอสมุดฯ ในวันไหน พบปะกับใครบ้าง
  3. เตรียมจัดทำประกาศเรื่องเกี่ยวกับงานบริการ
  4. สำรวจคนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 1 แล้วแจ้งให้ไปลงประวัติตามแบบฟอร์มฯ ที่คลีนิคอบอุ่นศิลปากร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามเป็นรายบุคคล จากการรายงานทราบว่าได้รับคำแนะนำให้ดูอาการ ไม่ไปที่ชุมชน และไปตรวจหากประสงค์ และกำหนดให้ปฏิบัติงานที่บ้าน
Read more

เอ๊ะ!!

ในชีวิตของการทำงาน อาการคิดยังไงก็คิดไม่ออกนี้มักเกิดขึ้นเสมอมากบ้างน้อยบ้าง ในฐานะที่ต้องทำหน้าที่ดูแลก็จะบอกบ้าง บ่นบ้าง แนะบ้างแล้วแต่อารมณ์เช่นกัน หากจับใจความได้ก็วน ๆ อยู่ที่ต้องอ่านแยะ ๆ ฟังเยอะ ๆ และก็จะมีปัญหาอีกคือเรื่องของเวลา เรื่องนี้ก็จะตกอยู่ที่ทุกคนในโลกใบนี้มีเวลาเท่ากัน หากตราบใดที่คุณอยู่ใน “Time Zone” เดียวกัน

อ่านถึงตรงนี้เราอาจผ่านคำว่า Time Zone ไป เพราะพอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร? โดยไม่ “เอ๊ะ” หรือไม่ “เอ๊ะ” ว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร แล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป ผลคือเท่าเดิมคือ “พอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร?”

Read more

กลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่ม

“ไลน์” กลายเป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็ใช้ ส่วนมาใช้จริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนโควิดเกิดขึ้น สมัยนี้เวลาพบหน้ากัน หากมีงานที่ต้องทำต่อ ประโยคที่ฮิตคือ “เดี๋ยวไปไปตั้งกลุ่มไลน์กัน” ลองนับดูชีวิตกลุ่มไลน์ในไลน์กลุ่มมักจะเป็น Subset กัน  ใช้ไปใช้มาออกลูกออกหลานมากมาย กลุ่มไลน์ของพี่จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มครอบครัว เช่น บ้านตายาย บ้านปู่ย่า พี่น้อง พ่อแม่ลูก แม่ลูก (พ่อไม่เกี่ยว) 2) กลุ่มเพื่อน เช่น กลุ่มเพื่อนประถม มัธยม ปริญญาตรี  วิชาเอก ปริญญาโท ก้วนเก่า ก้วนใหม่ 3)กลุ่มงาน เช่น กลุ่มผู้บริหารใหญ่น้อย ตามภาระงาน ตามกลุ่ม และ 4) กลุ่มจิปาถะ เช่น ของกิน ต้นไม้ ของใช้ แม่ครัว เป็นต้น

Read more

เว้นวรรค

การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทยเนื่องจากว่าภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการแบ่งความอย่างในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เราจะใช้การเว้นวรรคในการแบ่งความแทน ซึ่งหลักเกณฑ์การเว้นวรรคตอนนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K1-12) รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ แต่จะเป็นการเรียนรู้ในทางอ้อม เช่น จากการเรียนเขียนเรียงความ เขียนรายงานหรือการอ่านบทความ เป็นต้น การสอนการเว้นวรรคในชั้นเรียนจะสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเอกและโทภาษาไทยเท่านั้น (ลิดา งามวิโรจน์กิจ และสุดาพร ลักษณียนาวิน, 2556: 22)
Read more

วันที่ “พี่พร้อม” ครบหนึ่งขวบ

ดิฉันตั้งคำถามว่า “พี่พร้อม” เกิดเมื่อไร เพราะคิดว่าเรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ของพวกเรา ดิฉันคิดว่า 15 มีนาคม น้องเอ๋บอกว่าไม่น่าใช่ เพราะวันที่ 16 เรายังประชุมแบบเดือด ๆ เรื่องการเปิด 24 ชั่วโมง กับ โควิดที่กำลังพีค ๆ และคิดว่าน่าจะเป็นวันที่ 19 เพราะหลังจากวันที่ 16 เราต้องไปขัดสีฉวีผ่อง ไล่เชื้อโรคให้วุ่นวาย ส่วนพี่ก็วุ่นวายหาหลักฐานเพราะอยากเป่าเทียนวันเกิด ได้แต่ย้อนดู Memories ใน facebook เพราะพี่จะแชร์เรื่องของหอสมุดฯ ลงใน timeline ของตัวเองตลอด ตะก่อนไม่ทำ แต่เห็นน้องอ้อทำ เลยเลียนแบบ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องดี ๆ ส่วนคำว่า “พี่พร้อม” จำได้ว่าน้องแอนกับน้องจา ได้ใส่ # คำว่า “พี่พร้อม” ตั้งแต่แรก

Read more