Author: Rungtiwa Fridee

ความต่างของ Font ตัวอักษร กับการแก้ไขข้อความใน word

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 กับงาน work form home ก็กลับมาอีกครั้งโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ งานของห้องสมุดเป็นงานบริการที่ยังจำเป็นสูงสุดต่อนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และอื่น ๆ ที่ยังต้องใช้หนังสือ รวมถึงงานบริการอื่น ๆ ของหอสมุดอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นหอสมุดจึงหยุดอยู่นิ่งมิได้ จะต้องดำเนินงานต่อตามนโยบายของหอสมุดและผู้บริหาร

บุคลากรหอสมุดทุกคนมีส่วนช่วยผลักดัน และสนับสนุนให้หอสมุดดำเนินงานต่อไปได้อย่างต่อเนือง งานยืม-คืนหนังสือก็ต้องไปปฏิบัติงานที่หอสมุด ซึ่งบุคคลที่ไปปฏิบัติงานก็จะต้องดูแลตัวเองในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยอย่างเคร่งครัด ส่วนบุคคลที่ปฏิบัติงาน work form home ก็ต้องพร้อมในการติดต่อสื่อสารในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน  และต้องปฏิบัติงานตามเวลาราชการ 8.30-16.30 น.

Read More

ทำอย่างไรให้ตรวจหนังสือซ่อมเร็วขึ้น

จากการที่ได้รับงานเพิ่มจากพี่ที่เกษียณอายุราชการไปคืองานหนังสือส่งซ่อมคือการนำหนังสือที่ฝ่ายบริการส่งหนังสือที่ชำรุดมาซ่อมบำรุง เพื่อนำมาเข้าระบบว่าเป็นหนังสือส่งซ่อม (in repair) เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการทราบว่าเป็นหนังสือที่ถูกส่งมาซ่อมบำรุง และเมื่อหนังสือซ่อมบำรุงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะต้องนำมาเขียนเลขหมู่หนังสือใหม่ ชื่อเรื่องหนังสือใหม่ จึงได้ทำสลิปเสียบไว้กับตัวเล่มหนังสือ ในสลิปจะมี่เลขหมู่หนังสือ ชื่อเรื่องหนังสือ ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เขียนสันได้ดูโดยไม่ต้องเปิดไปหาเลขหมู่ และชื่อเรื่องในเล่ม และใส่ลำดับที่ของหนังสือซ่อมเพื่อหาตัวเล่มได้ง่ายขึ้นเมื่อมีเจ้าหน้าที่หรื่อผู้ใช้ร้องขอ  สามารถดูจากสลิปที่เสียบไปกับตัวเล่มได้เลย

Read More

เมื่อไม่มี OT เราจะทำ …

จากสถานการณ์โควิดรอบแรกทำให้คนไทยหลายๆ อาชีพตกงาน ขาดรายได้ ทำให้ครอบครัวเกิดความเดือดร้อน ทำให้เกิดความเครียดหรือกระทั่งบางครอบครัวหรือบางคนคิดฆ่าตตัวตายเพราะไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอเพราะเราคาดไม่ถึงว่าสถานการณ์ของโรคโควิดมันจะรุ่นแรงและอยู่กับเรานาน เราจึงไม่คิดที่จะหาอาชีพหรือหารายได้เสริมจากการทำงานประจำ เช่นเดียวกับหอสมุดเราที่ไม่มี OT ก็เหมือนขาดรายได้หลักไปอย่างหนึ่ง หัวหน้าหอสมุดพูดอยู่เสมอว่าถ้าไม่มีงานทำหรือไม่มี OT เราจะทำอะไรกันให้เราคิดและให้เรามองหาอาชีพเสริมทำกันไว้บ้างเผื่อวันข้างหน้า

Read More

เรียนออนไลน์ได้อะไร

ในช่วงสถานะการโควิท โรงเรียนเกือบทุกโรงเรียนก็จะบริหารจัดการการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง นั้นก็คือการเรียนออนไลน์ และนี่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ปกครองทุกคนก็จะต้องมีเวลาให้กับบุตรหลานตัวเองในเรื่องของการเรียนผู้ปกครองบางคนก็ไม่มีเวลามานั่งเรียนกันบุตรหลาน ก็จะต้องตามมาเรียนที่หลัง ในแง่ดีของการเรียนออนไลน์มันก็มีมากข้อเสียก็มีเยอะ แต่มันก็ต้องเป็นไปตามสถานการณ์ กับการที่เราต้องมานั่งเรียนกับบุตรหลานมันก็เป็นเรื่องที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือเราได้เรียนรู้ไปกับเขาวิชาเรียนบางวิชาผู้ปกครองอาจจะยังไม่เคยได้เรียนรู้ด้วยซ้ำ หรือเคยเรียนมาแต่ลืมไปหมดแล้ว

Read More

ฉัน (books) อยากเปลี่ยนสถานะ

ฉัน (books) อยากเปลี่ยนสถานะจังเลย… ฉัน (books) อยู่ในสถานะ cataloging อยู่กับบรรณารักษ์ catalog น๊านนานรู้สึกเบื่อจังเฮอ.. ฉัน (books) อยา่กออกไปหาเพื่อนๆที่สถานะ on shelf จังมีเพื่อนตั้ง 4 ชั้นกว่าจะได้ออกไปก็ต้องรอให้บรรรณารักษ์เขาอนุญาติให้ออกไป อยากออกไปคุย ไปอยู่ใกล้ๆ ไปอยู่ข้างๆ เพื่อนบ้าง ฉัน (boos) อยากให้มีคนเห็นรูปร่างหน้าตาของฉัน (books) เร็วๆบ้าง ฉัน (books) อยากให้มีคนหยิบฉัน (books) ไปอ่าน หยิบฉัน (books)ไปดูบ้าง หรืออาจจะพาฉัน (books) ไปเที่ยวนอกห้องสมุดบ้าง ฉัน (books) อยากเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับบุรุษไปรษณีย์ ในที่ต่างๆบ้าง ฉัน (books)จะทำยังไงดี ใครกันน่ะที่จะช่วยพาฉัน    (books) ออกจากสถานะ cataloging เป็น on shelf

Read More

บันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือวิทยานิพนธ์อย่างไรให้รวดเร็ว

          การบันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็น Job Description (JD) เป็นงานในหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติทุกปี เมื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่จบแต่ละปี ส่งให้บัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาก็จะจัดส่งตัวเล่มมาให้หอสมุดฯ เฉพาะสาขาที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราช วังสนามจันทร์ ซึ่งวิทยานิพนธ์ที่ส่งมาแต่ละครั้งประมาณ 500-600 เล่ม ดังนั้นในฐานะที่ต้องรับผิดชอบในการรายการบรรณานุกรมหนังสือวิทยานิพนธ์ก่อนส่งต่อให้บรรณารักษ์เพื่อทำการวิเคราะห์เลขหมู่ จึงต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากวิทยานิพนธ์เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่การลงรายการจะคล้ายๆ กันเสียส่วนใหญ่ ผู้เขียนจึงใช้ Function ใน Module Catalog ให้เป็นประโยชน์ ดังนี้

Read More

ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เพี่อนร่วมงาน

          ในช่วงที่โควิทระบาดในประเทศไทยช่วงแรก หน่วยงานหลายองค์กรที่ต้องทำงานที่บ้านเพื่อหยุดเชื้อช่วยชาติ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ก็เช่นเดียวกันก็ต้องนำงานของตัวเองกลับไปทำที่บ้าน บางคนก็ได้รับงานใหม่ที่ไม่ใช่งานที่ตัวเองรับผิดชอบ แต่ทุกคนต้องมีงานทำถือเป็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ดิฉันจึงมีโอกาสได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เพื่อนนร่วมงาน (สมพร พันธุ์มา) พนักงานซ่อมเอกสาร ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ งานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เพื่อน คืองานเตรียมตัวเล่มพรัพยาการสารสนเทศก่อนออกให้บริการ ((หนังสือบริจาค) ได้แก่
          1. การประทับตรา
               – ในตัวเล่ม 3 จุด คือหน้าปกใน หน้าลับ (25) ด้านหลังสุดของเนื้อหา
               – ประทับตราที่สันหนังสือ 3 จุด 
          2. ติดแถบแม่เหล็ก
          3. ติดใบรองปก
          4. ติดบัตรกำหนดส่ง
          5. ติดบาร์โค้ด

Read More

สถานะ In process กับ Cataloging แตกต่างกันอย่างไร

          หนังสือทุกเล่มไม่ว่าจะเป็นหนังสือซื้อและหนังสือที่ได้รับบริจาคที่คัดเลือกมาเข้ามาให้บริการในหอสมุดฯ บรรณารักษ์งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ จะทำการบันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (sierra) โดยลงรายการ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) เป็นหลัก และลงรายการอื่นๆ ถ้ามี เช่น เลขหมู่แบบกว้างๆ รายการสารบัญ เป็นต้น เมื่อบันทึกรายการเสร็จแล้ว จะส่งตัวเล่มให้เจ้าหน้าที่เตรียมตัวเล่มเพื่อดำเนินการประทับตรา ติดแถบแม่เหล็ก ติดใบกำหนดส่ง ติดบาร์โค้ข และส่งตัวเล่มต่อให้งานซ่อมบำรุงทรัพยากรเพื่อทำการเย็บเล่มเพื่อความคงทนของตัวเล่มหนังสือ เมื่องานซ่อมฯ เย็บเล่มเสร็จแล้วจะส่งตัวเล่มกลับมาให้บรรษรักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการต่อไป ซึ่งเมื่อหนังสืออยู่ในกระบวนการเหล่านี้ สถานะที่ปรากฎบนหน้าจอปฏิบัติงานและหน้าจอสืบค้นจะมีสถานะ In Process

Read More