สถานะ In process กับ Cataloging แตกต่างกันอย่างไร

          หนังสือทุกเล่มไม่ว่าจะเป็นหนังสือซื้อและหนังสือที่ได้รับบริจาคที่คัดเลือกมาเข้ามาให้บริการในหอสมุดฯ บรรณารักษ์งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ จะทำการบันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (sierra) โดยลงรายการ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) เป็นหลัก และลงรายการอื่นๆ ถ้ามี เช่น เลขหมู่แบบกว้างๆ รายการสารบัญ เป็นต้น เมื่อบันทึกรายการเสร็จแล้ว จะส่งตัวเล่มให้เจ้าหน้าที่เตรียมตัวเล่มเพื่อดำเนินการประทับตรา ติดแถบแม่เหล็ก ติดใบกำหนดส่ง ติดบาร์โค้ข และส่งตัวเล่มต่อให้งานซ่อมบำรุงทรัพยากรเพื่อทำการเย็บเล่มเพื่อความคงทนของตัวเล่มหนังสือ เมื่องานซ่อมฯ เย็บเล่มเสร็จแล้วจะส่งตัวเล่มกลับมาให้บรรษรักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการต่อไป ซึ่งเมื่อหนังสืออยู่ในกระบวนการเหล่านี้ สถานะที่ปรากฎบนหน้าจอปฏิบัติงานและหน้าจอสืบค้นจะมีสถานะ In Process

     

          ส่วนสถานะ Cataloging เป็นกระบวนการทำงานของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (sierra) คือ การวิเคราะห์เลขหมู่ ให้หัวเรื่อง และเขียนเลขหมู่ลงในตัวเล่ม และส่งตัวเล่มต่อให้เจ้าหน้าที่ทำการ พิมพ์เลขหมู่หนังสือเล่มนั้นๆ นำไปติดให้ตรงกับตัวเล่ม แล้วส่งให้งานซ่อมบำรุงห่อหุ้มด้วยแผ่นฟิล์มเสร็จเรียบร้อย เมื่อหนังสืออยู่ในกระบวนการเหล่านี้ สถานะที่ปรากฎบนหน้าจอปฏิบัติงานและหน้าจอสืบค้นจะมีสถานะ Cataloging

 

 

และเมื่อหนังสือที่ดำเนินการเสร็จสิ้นทุกกระบวนการในงานจัดการฯ เจ้าหน้าที่จะต้องมาเปลี่ยนสถานะเป็น On Shelve เพื่อนำส่งหนังสือส่งต่อไปให้งานบริการ เพื่อนำออกบริการต่อไป