Author: Pong Missita

แรงบันดาลใจในการเขียน

ดิฉันเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างต้องอาศัยแรงบันดาลใจ เวลาใครถามว่าจะไปหาที่ไหน มักตอบว่าหาจากสิ่งรอบตัว ซึ่งบางทีเป็นเรื่องปรกติ คุ้นเคย จนไม่คิดว่าคำตอบของคำถามพื้น ๆ เช่น กินอะไรดี ใส่อะไรสวย ได้มาอย่างไร ฯลฯ ล้วนมีแรงบันดาลใจซ่อนอยู่ แล้วเราก็ใช้ชีวิตอย่างผ่อนคลายกับเรื่องเหล่านี้

พอนำคำว่า แรงบันดาลใจไปสวมกับงานในหน้าที่ บางคนถึงกลับเขม็งตึงหยุดตัวเองในทันที เช่น เราสนุกกับการอ่าน FB สนุกกับการดูใน IG หรือเพลินกับการอ่านทวิตเตอร์  พร้อมไถหน้าจอไปมาได้เป็นเวลานานๆ แต่หากเป็นงานแล้วเหมือนนับตั้งแต่เลข 0 แล้วคืบช้าๆ จนกว่าจะได้ 1 2 3 หรือ 4 …

Read more

กูเกิ้ลภาคมนุษย์

ดิฉันแอบให้สมญาบรรณารักษ์ว่าเป็น “กูเกิ้ลภาคมนุษย์” เพราะอะไรๆ ก็ค้นได้โหม้ด…. อันนี้ชักไม่แน่ใจละว่าจริงมั้ย?
 
เหตุผลคือตอนดิฉันเข้ามาทำงานที่นี่ในปี พ.ศ. 2530 สมัยนั้นถามอะไรๆ พี่ๆ ก็จะตอบ และจะเดินไปค้นหนังสือหยิบมาให้อ่าน พอเราโตขึ้นจารกที่ทำงานอีกหน่อยจากผู้ถามก็จะกลายเป็นผู้ตอบ “สมัยก่อนเวลาคนมาถาม จะสนุกมาก เพราะทำให้เราได้ค้นๆๆๆๆๆ พี่กลัวตอบไม่ได้ จึงงกอ่านหนังสือ จดคำถามคำตอบไว้รอบตัว สมัยนี้หากกูเกิ้ลหายไปสักวัน จะเป็นเยี่ยงไร”  เขียนใน FB เมื่อ 9 Oct. 2018
Read more

ตามอ่าน

น้องจากวันละเล่มแล้วหอสมุดฯ เรายังมี “เที่ยงละบทความ” วันก่อนน้องษรมาคุยว่าเข้าใจคำว่า “มีที่ยืน” คืออะไร ส่วนดิฉันนั้นอิ่มเอาใจ เพราะกำเนิดของ “เที่ยงละบทความ” มีที่มาที่ไปเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ

ในการอ้างอิงใดๆ สมันก่อนมักอ้างมากจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือหนังสือ และบทความจากวารสาร สมัยตอนเรียนหนังสือครูให้จำ keyword ว่า วารสารมักเป็นเรื่องใหม่ๆ ปัจจุบันอะไรๆ ล้วนเป็นดิจิทัล ้วยเหตุผลของการเข้าถึงแบบเมื่อไรก็ได้ แต่พอพลิกไปดูด้านหลังของงานเขียน/วิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เราจะลายตาเพราะบางเล่มอ้างมากจากเว็บล้วนๆ แบบไม่พึงพา original ทั้งที่ประเทศเรานี้มี ThaiJo เป็นอาวุธ ดิฉันเปรียบที่นี่เป็นกูเกิ้ลสาขาดรรชนีวารสาร เพราะค้นอะไรก็เจอ

Read more

ขนาดของตัวอักษร

พอเมื่ออายุมากขึ้น สายตาก็จะไม่คงที่ สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการอ่านหนังสือคือขนาดของตัวอักษร ดิฉันเคยบ่นแบบอื้ออึงใน FB ว่าหนังสือที่ทำอกมาขายทำให้ใครอ่าน เพราะบางครั้งเล็กมาก จึงอยากได้อะไรๆ ที่พอดีกับผู้สูงอายุ

มีอาจารย์ท่านนึงมาค้นหนังสือที่หอสมุดฯ ด้วยการยื่นหน้าไปติดหน้าจอ OPAC เพื่ออ่านชื่อหนังสือ ภาพนั้นเรียกว่าติดตามมาก จนต้องซื้อแว่นขยายไว้ประจำกาย ซึ่งเรื่องนี้เพื่อนบอกว่ามีติดตัวไว้เสมอ บอกว่าเอาไว้อ่านเมนูเวลาสั่งอาหาร จะได้ดูดีฮิโซโก้เก๋ ส่วนแว่นขยายบ้านเราที่เห็นมักเป็นกลมๆ ขอบดำ สวยๆ ไม่ค่อยเคยเห็น แต่เมืองญี่ปุ่นตะมิตะมินั้นมีขาย ซึ่งน้องกอบเคยซื้อมากฝากอันนึง ห้อยคอเป็นเครื่องประดับได้

Read more

ถกเถียงกับ “วันละเล่ม”

ดิฉันชอบอ่าน “วันละเล่ม” ที่พวกเราช่วยกันทำตั้งแต่ปลายปี 2564 ภารกิจน้ผ่านกระบวนการคิดเพื่อลงมือทำกันมากมาย ทั้งในเรื่องของเหตุผลที่ทำ การคัดหนังสือ การเลือกข้อความ การเขียนข้อมูล การนำเสนอ รวมถึงกระบวนการประเมินผล ทุกขึ้นตอนมีเรื่องราว มีวิธีคิด และมีคำตอบ แน่นอนว่าผู้รับผิดชอบมีบทเรียน มีวิธีการและแน่นอนว่ามีองค์ความรู้ให้ได้คิดต่อไปและต่อไป เรื่องนี้ละเอาไว้ก่อนเพราะคงยาววัดได้ว่าจากเบตงถึงดอยอินทนนท์

เรื่องที่จะเล่าตามชื่อของ blog คือ ถกเถียงกับตัวหนังสือ เพราะดิฉันจะอ่านทุกข้อความที่โพสต์แล้วแชร์ไปขึ้นสเตตัส พร้อมทั้งเขียนแคปชั่นของตัวเองว่าคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้ ในเพื่อนๆ ชินแล้วบอกว่า คงไม่รู้จะคุยกับใคร เพราะไม่ใครให้คุยจึงไปถกเถียงกับตัวหนังสือแทน

Read more