ถกเถียงกับ “วันละเล่ม”

ดิฉันชอบอ่าน “วันละเล่ม” ที่พวกเราช่วยกันทำตั้งแต่ปลายปี 2564 ภารกิจน้ผ่านกระบวนการคิดเพื่อลงมือทำกันมากมาย ทั้งในเรื่องของเหตุผลที่ทำ การคัดหนังสือ การเลือกข้อความ การเขียนข้อมูล การนำเสนอ รวมถึงกระบวนการประเมินผล ทุกขึ้นตอนมีเรื่องราว มีวิธีคิด และมีคำตอบ แน่นอนว่าผู้รับผิดชอบมีบทเรียน มีวิธีการและแน่นอนว่ามีองค์ความรู้ให้ได้คิดต่อไปและต่อไป เรื่องนี้ละเอาไว้ก่อนเพราะคงยาววัดได้ว่าจากเบตงถึงดอยอินทนนท์

เรื่องที่จะเล่าตามชื่อของ blog คือ ถกเถียงกับตัวหนังสือ เพราะดิฉันจะอ่านทุกข้อความที่โพสต์แล้วแชร์ไปขึ้นสเตตัส พร้อมทั้งเขียนแคปชั่นของตัวเองว่าคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้ ในเพื่อนๆ ชินแล้วบอกว่า คงไม่รู้จะคุยกับใคร เพราะไม่ใครให้คุยจึงไปถกเถียงกับตัวหนังสือแทน

ดิฉันชอบอ่านข้อความแบบนี้ เพราะอายุมากขึ้นการอ่านหนังสือในตัวเล่มเป็นไปได้ยาก และไม่มีทางที่จะอ่านหนังสือในปริมาณมากๆ การที่มี “วันละเล่ม” หรือการสรุปเรื่องย่อต่างๆ ที่ใครๆ ก็ทำในโลกนี้จึงเป็นการช่วยย่นย่อให้เราตัดสินใจที่จะย้อนเข้าไปอ่านเล่มจริง ซึ่งดิฉันทำบ้าง ไม่ทำบ้าง หนักไปทางประการหลังมากกว่า ส่วนประการหน้าก็อยู่ในลักษณะ “กองดอง” นอกจากนี้ด้วยวัยที่สูงขึ้น การอ่านหนังสือจะเป็นการทบทวนความคิด มองโลกที่ผ่านมาของเรา ดังนั้นจึงมีเรื่องให้ถกเถียงอยู่เสมอ พอมีวันละเล่มจึงเป็นการกระตุ้นต่อมความคิด ตัวอย่างการถกเถียง เช่น

28 ก.พ.65: “คนเรามักรู้สึกสนิทชิดเชื้อกับคนที่มีข้อด้อยเหมือน ๆ กันเมื่ออยู่ด้วยกันจึงรู้สึกสบายใจ” (หน้า 34) ถกเถียงว่า:  “แล้วเราอยู่กับคนแบบไหน 🤪 พี่นี้ขี้เกียจ อ้าวววววมองไปขี้เกียจทั้งแก้งค์ พี่นี้ชอบกิน อ้าวววววปุฟเฟ่ต์กันทุกวัน 😂

4 ก.พ.65: “เธอเรียนรู้เร็วและพัฒนาฝีมือไปไกลภายในระยะเวลาสั้น ๆ แถมยังคิดเป็นภาพด้วยเนี่ยนะ ‘มันคือหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เธอเป็นศิลปินที่เก่งกาจ’” (หน้า 163) ถกเถียงว่า: “เมื่อเช้าฟังข่าวเรื่องตัดคะแนนร้องไห้ตอนทดสอบเด็กอนุบาล แล้วนึกถึงหนังสือเรื่องนี้ “ปลาบนต้นไม้” บางทีมาตรวัดใดๆ ก็ทำให้ปวดหัว และมาตรวัดใดๆ คือการทดสอบมวลรวม ปวดหัวนิ อ่านแค่นี้พอ”

8 ก.พ.65: “เริ่มทำสิ่งที่อยากทำมาตลอดตั้งแต่วันนี้ แล้วคุณจะไม่มีวันเสียใจที่ทำเช่นนั้น” (หน้า 154) ถกเถียงว่า: “เลือกไม่ได้ค่ะ 🙄😂 แต่ต้องรู้จักรักษาใจแสร้งว่ารัก, ชอบ, ดี, เลิศ ฯลฯ และหามุมเล็กๆ ที่เหมาะกับตัวเอง”

เขียนเรื่องถกเถียงแล้วคิดถึงเรื่อง ถกแถลง อ่านต่อที่นี่ค่า http://www.snamcn.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=58419

ยกตัวอย่างเป็นน้ำจิ้มพอนะคะ