Category: การพัฒนาตนเอง/บุคลากร

เอ๊ะ!!

ในชีวิตของการทำงาน อาการคิดยังไงก็คิดไม่ออกนี้มักเกิดขึ้นเสมอมากบ้างน้อยบ้าง ในฐานะที่ต้องทำหน้าที่ดูแลก็จะบอกบ้าง บ่นบ้าง แนะบ้างแล้วแต่อารมณ์เช่นกัน หากจับใจความได้ก็วน ๆ อยู่ที่ต้องอ่านแยะ ๆ ฟังเยอะ ๆ และก็จะมีปัญหาอีกคือเรื่องของเวลา เรื่องนี้ก็จะตกอยู่ที่ทุกคนในโลกใบนี้มีเวลาเท่ากัน หากตราบใดที่คุณอยู่ใน “Time Zone” เดียวกัน

อ่านถึงตรงนี้เราอาจผ่านคำว่า Time Zone ไป เพราะพอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร? โดยไม่ “เอ๊ะ” หรือไม่ “เอ๊ะ” ว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร แล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป ผลคือเท่าเดิมคือ “พอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร?”

Read more

เว้นวรรค

การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทยเนื่องจากว่าภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการแบ่งความอย่างในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เราจะใช้การเว้นวรรคในการแบ่งความแทน ซึ่งหลักเกณฑ์การเว้นวรรคตอนนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K1-12) รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ แต่จะเป็นการเรียนรู้ในทางอ้อม เช่น จากการเรียนเขียนเรียงความ เขียนรายงานหรือการอ่านบทความ เป็นต้น การสอนการเว้นวรรคในชั้นเรียนจะสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเอกและโทภาษาไทยเท่านั้น (ลิดา งามวิโรจน์กิจ และสุดาพร ลักษณียนาวิน, 2556: 22)
Read more

content นิทานหนังสือ

ปัจจุบันหนังสือที่วางจำหน่าย มีหนังสือที่เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ เช่น แพทย์ แอร์โฮสเตส นางแบบ เป็นต้น แต่ละอาชีพ มีการทำงานที่แตกต่างกัน ดิฉันชอบอ่านเพราะอยากรู้ว่าแต่ละอาชีพเขาทำงานกันอย่างไร  ทำให้ให้เราได้รู้เบื้องหน้า เบื้องหลังของอาชีพอื่น ๆ มากขึ้น พออ่านมาก ๆ เข้า ก็คิดว่าทำไมถึงไม่เขียนงานของเราบ้างล่ะ (ซึ่งก็ได้แต่คิดในใจ)

Read more

อ่านอะไร

เมื่อเรียนเพื่อเป็นบรรณารักษ์  และทำงานในห้องสมุด ผู้คนจะคิดว่าเรารักการอ่าน แต่ความจริงแล้วอาจหาเป็นเช่นนั้นไม่

สำหรับพี่การอ่านเป็นนิสัย เพราะสมัยก่อนไม่มีอะไรจะทำ และยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ต้องอ่านหนังสือให้อาม่า (ย่า) ฟังก่อนนอนทุกคืน ถามว่าเบื่อมั้ย ก็เบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เพราะใจอยากไปดูมังกรหยกจะแย่ และสมัยนั้นไม่มี เฟสบุค ทวิตเตอร์ ไลน์ อินสตราแกรม ฯลฯ จึงว่างแหละ  ต้องขอบคุณบรรพบุรุษจริง ๆ ที่มีหนังสือให้เราอ่านทุกวัน จนทำให้เราติด ถึงขนาดแบบอ่านด้วยการปิดไฟแล้วจุดตะเกียง พอสัปหงกผมไหม้ไปเป็นแถบ จนแม่ต้องสั่งห้ามว่าอย่าทำแบบนั้น อยากอ่านก็อ่านไป แฮ่…

Read more

ก็ต้องลงมือสินะ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น”  โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ  ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ

Read more