นิมิต หมายถึงวัตถุที่เป็นเครื่องหมายบอกกำหนดเขตหรือแดนแห่งสีมา เป็นเครื่องหมายบอกเขตสีมาที่พระวินัยกำหนดให้ใช้ได้มี 8 อย่าง คือภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือใช้ศิลาหรือหินเป็นนิมิต
Read moreวัดภูเก็ต น่าน
วัดภูเก็ต ตั้งอยู่ในตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เห็นชื่อแล้วอาจจะแปลกใจกันเล็กน้อยว่าชื่อวัดน่าจะอยู่ในจังหวัดภูเก็ตมากกว่า ซึ่งตามจริงแล้ววัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ชื่อว่า หมู่บ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งทางเหนือเรียกว่า “ดอย” หรือ “ภู” จึงตั้งชื่อว่า “วัดภูเก็ต” หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภู หรือ ดอย วัดภูเก็ต เป็นวัดที่มีภูมิทัศน์และวิวที่สวยงามโดยจุดเด่นของวัด คือ มีระเบียงชมวิวด้านหลังวัด ติดกับทุ่งนาที่กว้างไกลพร้อมด้วยฉากหลังเป็นภูเขาของวนอุทยานดอยภูคาในยามเช้าเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
พระอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรม ฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนปัว หรือ หลวงพ่อพุทธเมตตา” ที่ศักดิ์สิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
Read moreวัดตาก้อง
วัดตาก้อง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
วัดตาก้องสร้างเมื่อ พ.ศ. 2225 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เดิมทีบริเวณหน้าวัดมีแม่น้ำสายโบราณสายหนึ่งที่ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือไปบ้านยาง พระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี วัดตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านตาก้อง เดิมเรียกว่า บ้านอ้ายก้อง สันนิษฐานว่าคงเรียกตามชาวจีนซึ่งมีฐานะร่ำรวยเป็นเจ้าของโรงหีบอ้อย จากคำบอกเล่าวัดตาก้อง เดิมมีชื่อว่า วัดไพรวัลย์นิกาวาส เหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะที่ตั้งของวัดยังเป็นป่าอยู่ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ในครั้งนั้นหมู่บ้านอ้ายก้องได้ยกฐานะเป็นตำบลชื่อว่า ตำบลตาก้อง จึงสันนิษฐานว่าเปลี่ยนชื่อวัดตามชื่อตำบล
Read moreเที่ยววัดมะขาม เมืองราชบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปเที่ยวที่วัดมะขาม ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ดิฉันใช้เวลาเดินทางโดยรถยนตร์ส่วนตัวจากบ้าน ประมาณ 20 นาที ซึ่งห่างจากตัวเมืองราชบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร ขับรถผ่านสะพาน (มอญ) คุ้งพยอม-นครชุมน์ ไม่นานนักก็ถึงวัดมะขาม ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน “เจี๊ยะ โม่ง โร่ง โม่น เดิง ราชบุรี” กินอยู่ดูมอญ เมืองราชบุรี ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 มหกรรมอาหารและศิลปะวัฒนธรรมมอญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในงานมีการผูกร้อยเรื่องราวอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เชื่อมโยงด้วยกัน โดยให้ความสำคัญกับอาหารการกินเป็นหลัก มีกิจกรรมประกวดสำรับมอญ การออกบูธของร้านอาหารมอญสูตรโบราณ ชม ชิม ช็อป แบบชิล ๆ กับตลาดสินค้าหัตถกรรม เรียนรู้วิถีภูมิปัญญาพื้นบ้าน การปักผ้าลายมอญ การสานเสื่อกก การทำบายศรีจากใบตอง การสาธิตการทำกะละแม การประดิษฐ์ว่าวไทย ฯลฯ ภายในงานเต็มไปด้วยผู้คนที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นถิ่นชาวมอญ ห่มสไบที่มีการปักด้วยลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตชาวมอญ และในช่วงเย็นยังมีการแสดงต่าง ๆ เช่น การแสดงรำมอญหงสาวดี การแสดงระบำมอญสามัคคี รวมถึงขบวนแห่วัฒนธรรมที่เริ่มเดินจากวัดใหญ่นครชุมน์ผ่านสะพาน (มอญ) คุ้งพยอม-นครชุมน์ เข้าสู่ลานพิธีวัดมะขาม และอีกหนึ่งไฮไลต์ที่ห้ามพลาดของงาน คือ ครั้งแรกกับการร่วมห่มผ้าพระเจดีย์ทรงมอญที่เก่าแก่กว่า 200 ปี
Read moreพลังบวก: บริการวารสาร
การให้บริการวารสารของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์มี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ชั้นปิด (Closed shelf) และรูปแบบที่ 2 ชั้นเปิด (Open shelf) โดยการบริการแบบชั้นปิด (Closed shelf) ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้หยิบตัวเล่มได้เอง ส่วนการบริการแบบชั้นเปิด (Open shelf) ผู้ใช้สามารถหยิบตัวเล่มวารสารได้เองที่ชั้นวารสาร
Read more