คู่มือการให้หัวเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในห้องสมุด เช่น Library of Congress Subject Headings จัดทำโดย หอสมุดรัฐสภา อเมริกัน หนังสือ Sear’s List of Subject Headings จัดทำโดย Westby สำหรับการให้หัวเรื่องภาษาไทยมีหนังสือคู่มือที่สำคัญ คือ หนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย จัดทำโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จากหนังสือคู่มือที่เป็นเล่มๆ ก็เริ่มพัฒนาเป็นฐานข้อมูล เช่น หนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
Read moreTag: รายการโยง
การทำรายการโยงชื่อผู้แต่งชาวจีน
ด้วยกระแสซีรีย์จีนที่โด่งดัง ทำให้หลายคนให้ความสนใจกับนวนิยายจีนมากขึ้น รวมถึงหอสมุดได้จัดซื้อหนังสือเข้ามาเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้อ่าน ทั้งจากผู้ใช้บริการเสนอรายชื่อเข้ามาและหอสมุดจัดซื้อเอง โดยบรรณารักษ์วิเคราะห์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า Cataloger จะลงรายการบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นได้สะดวก ส่วนใหญ่นักเขียนจะใช้นามปากกา/นามแฝงในการเขียน หรือใช้ชื่อจริงในการเขียนก็มี
นอกจากนี้นักเขียนบางคนเขียนส่งหลายสำนักพิมพ์จึงต้องมีหลายนามปากกา หรือกรณีที่มีงานเขียนหลายประเภทจะใช้ชื่อที่ไม่ซ้ำกันในงานเขียนประเภทนั้น ๆ เช่น นักเขียนคนนี้มีทั้งประเภทวิชาการ สารคดี และนวนิยาย ก็จะใช้นามปากกา 3 ชื่อ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้หนังสือที่คลอบคลุมครบถ้วน Cataloger จึงต้องมีการทำรายการโยงเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้ว่านักเขียนคนนี้ยังมีชื่ออื่นที่ใช้ในการเขียนหนังสือเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย
Read more