Category: การทำงาน

โควิด-19 กับหอสมุดฯ

โควิด-19 กับหอสมุดฯ เป็นไปอย่างเนิบนาบและเราไม่อยากคิดมาก เนื่องจากเป็นช่างที่พวกเรากำลังอลหม่านกับการเตรียมงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ และ Book and Beverage ที่จัดระหว่าง 17 – 23 กุมภาพันธ์ 2563  พวกเรายุ่งกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น จึงพักเรื่องไวรัสไว้ก่อน ต่างภาวนากันว่าขออย่าได้เกิดอะไรขึ้นตอนนี้เลย แต่ในเสียงแว่วๆ นั้นเป็นข่าวของคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อและอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

พวกเราหลายคนได้ผ่านช่วงชีวิตของไข้หวัดซาร์ เมื่อปี พ.ศ.2546 แล้ว แต่ไม่นานทุกอย่างก็ซาลงไป หากที่หอสมุดฯ ยังเหลือร่องรอยของมาตรการดังกล่าวคือเจลล้างมือ ที่ผลิตโดยคณะเภสัชศาสตร์ ยังคงวางกระจายตามมุมต่างๆ ภายในห้องสมุด และเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผากแบบดิจิทัล ที่เก็บเงียบๆ หากยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์  ระหว่างสถานการณ์ที่เริ่มรุนแรงขึ้นนอกจากจะซื้อแล้วคณะฯ ยังได้บริจาคให้กับทุกหน้วยงานในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

Read More

ผ้าแมสกล่องสุดท้าย

การตกอยู่ในสถานการณ์ “ผ้าแมส กล่องสุดท้าย” เกิดขึ้นในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ พวกเราเริ่มคุยกันว่าเมื่อต้องใช้ก็ต้องเย็บกันเอง ทำตัวเหมือนบรรพบุรุษที่ทอผ้าใช้ในยามสงคราม หากเราต้องรอจนวันสุดท้ายของงานรวมถึงการจัดทำเอกสารการประเมินผลการปฏิบัติที่ต้องเสร็จภายในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม แต่ความคิดไม่มีวันหยุด ที่สุดกิจกรรม MOM: Make your Own Mask ได้เกิดขึ้นในวันที่ 6-12 มีนาคม พ.ศ.2563

 

 

ผ้าสาลูหรือฝ้ายและยางยืดเป็นวัตถุดิบหลักเป็นสิ่งที่ขาดแคลนและราคาสูง ขณะที่หยิบสินค้าและตัดสินใจ กลับมีลูกค้าคนอื่นถามว่าของในมือจะซื้อหรือไม่ การฟังเรื่องราวสถานการณ์จริงของมืออาชีพ ทำให้เรายิ้มอ่อนแล้วบอกว่าซื้อทั้งหมด !! และพบว่าใช้ได้เพียงสองวัน 

Read More

ฉันผู้เกิดในยุค “เบบี้บูม”

เมื่อปลายปีที่แล้วพี่เขียนบทความเรื่อง “เรื่องของเจนเนอเรชั่นในทัศนะของบรรณารักษ์ยุคเบบี้บูมเมอร์” ลงในวารสารห้องสมุด ปี ที่ 63 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –ธันวาคม 2562 ลองอ่านฉบับเต็มนะคะ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/index?fbclid=IwAR2qBtIBw9mOaYS4lBRQThBVJf4u2qW8h92xaJX_HjTpQqA__1LP_fYHH8k

การเขียนบทความแต่ละเรื่องสำหรับพี่คือการทบทวนวิธีคิดและวิธีการทำงาน พี่ว่าสนุกดีนะ ยิ่งได้บรรณาธิการเก่ง ๆ กว่าผลงานจะได้ตีพิมพ์ มักพบว่าตัวเราต้องปรับอะไรหลาย ๆ อย่าง และเป้นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับชีวิต และพี่พร้อมนำไปใช้หรือบอกกับน้องๆ ฝึกฝนเสมอ เพราะเรามีโอกาสได้รับมาก่อน 

Read More

การหาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ

หนังสือที่เราจัดซื้อเข้าห้องสมุดในทุก ๆ ปี นั้น ห้องสมุดจัดสรรงบประมาณไปยังคณะต่าง ๆ ในการจัดซื้อหนังสือที่ตรงกับหลักสูตร และจัดซื้อตามความต้องการของผู้ใช้ที่เสนอซื้อเข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดไว้ ซึ่งในแต่ละปีจัดซื้อตามงบที่ได้รับมาแล้วนั้น ดำเนินการกับตัวเล่มและออกให้บริการแล้ว อีกหนึ่งภารกิจคือ การติดตามการใช้หนังสือที่จัดซื้อเข้ามาว่ามีการใช้มากน้อยเพียงใด คุ่มค่า หรือไม่ เราสามารถเรียกดูข้อมูลสถิติได้จาก sierra โดยใช้ฟังก์ชัน create list  ซึ่งข้อมูลที่เราต้องเรียกดู มีดังนี้

  • หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปีงบประมาณนั้นๆ จากนั้น
  • หาจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังจากการจัดซื้อ
  • คำนวณหาค่าร้อยละที่มีการใช้
Read More

“พี่พร้อม” มาจากไหน?

“พี่พร้อม” ปรากฏในสื่อออนไลน์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 

“พี่พร้อม” เกิดในสถานการณ์ที่วุ่นวาย ฉุกละหุก บีบคั้น พี่นึกถึงฉากที่แม่ที่กำลังคลอดลูกในสมับโบราณที่กำลังกรีดร้อง คนในบ้านต่างตื่นเต้น วิ่งไปต้มน้ำร้อน หมอตำแยก็ลุ้น เสียงโอดโอย เสียงฝีเท้าวิ่ง เสียงผู้คน อะไรแบบนั้น เป็นสิ่งที่นึกถึงบรรยากาศการทำงานช่วงดังกล่าว 

Read More

สอบบรรณารักษ์ใหม่: ชีวิตปี 62

ดิฉันเขียนดราฟท์เรื่องนี้ไว้นานมาก เรียกว่าลืมไปจากชีวิตได้เลย แต่ยังมีลิงค์ของร่องรอยความคิดว่าในตอนที่คิดจะเขียน เมือครั้งนั้นวางแผนว่าจะรับบรรณารักษ์ใหม่อีกคน แต่ก็เลื่อนไปเลื่อนไปกระทั่งพบกับโควิด-19 ความคิดจึงพับไว้ก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ หลัก ๆ คือความไม่มั่นใจในเรื่้องของตัวเลขต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องของงบประมาณ หากยังมีบริบทอื่นที่ต้องให้ขบคิด มุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ไม่มีมุมสำเร็จหรือสามารถมองอะไรได้เพียงมุมเดียว

เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 25 กุมภาภัณฑ์ 2563 ดิฉันคิดอะไร … อีกไม่กี่ปีดิฉันก็จะหลุดพ้นจากหน้าที่ตรงนี้ รุ่นน้องๆ ต้องขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทุกคนต้องเติบโตและต้องตัดสินใจ การรับ “บรรณารักษ์” คนใหม่จำเป็นต้องใช้รุ่นน้อง ๆ เข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะเป็นผู้ที่ต้องอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันต่อไป มีคนถามเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม จึงเล่าให้ฟังกับความคิดของเรากับวิธีการที่คิดแล้วว่าเหมาะสมที่สุด คำถามต่อไปคือคนแบบไหน พี่ว่าออกจะตอบยากอยู่ แต่พี่ชอบดูรูปนี้ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/

Read More

สถานะ In process กับ Cataloging แตกต่างกันอย่างไร

          หนังสือทุกเล่มไม่ว่าจะเป็นหนังสือซื้อและหนังสือที่ได้รับบริจาคที่คัดเลือกมาเข้ามาให้บริการในหอสมุดฯ บรรณารักษ์งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ จะทำการบันทึกรายการบรรณานุกรมหนังสือในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (sierra) โดยลงรายการ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี) เป็นหลัก และลงรายการอื่นๆ ถ้ามี เช่น เลขหมู่แบบกว้างๆ รายการสารบัญ เป็นต้น เมื่อบันทึกรายการเสร็จแล้ว จะส่งตัวเล่มให้เจ้าหน้าที่เตรียมตัวเล่มเพื่อดำเนินการประทับตรา ติดแถบแม่เหล็ก ติดใบกำหนดส่ง ติดบาร์โค้ข และส่งตัวเล่มต่อให้งานซ่อมบำรุงทรัพยากรเพื่อทำการเย็บเล่มเพื่อความคงทนของตัวเล่มหนังสือ เมื่องานซ่อมฯ เย็บเล่มเสร็จแล้วจะส่งตัวเล่มกลับมาให้บรรษรักษ์ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการต่อไป ซึ่งเมื่อหนังสืออยู่ในกระบวนการเหล่านี้ สถานะที่ปรากฎบนหน้าจอปฏิบัติงานและหน้าจอสืบค้นจะมีสถานะ In Process

Read More

แคปหน้าจอคอมฯ Windows 10

ในการทำงานต้องการข้อมูลสักอย่างที่อยู่บนเว็บไซต์ ใช้รูปภาพประกอบการทำงาน หรือต้องการใช้รูปตัวอย่างจากหน้าโปรแกรมนั้นๆ วิธีที่จะเก็บรูปภาพก็คือ วิธีจับภาพหน้าจอ Windows 10 ทั้งนี้ก็จะนึกถึงปุ่ม Print Screen แต่ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 นอกจากจะมีปุ่ม Print Screen แล้วยังมีอีกเครื่องมือหนึ่งชื่อว่า Snipping Tool ที่มาให้ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 สามารถเปิดใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่จับภาพหน้าจอ ก็น่าจะพอ
วิธีจับภาพหน้าจอคอมฯ ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 ด้วย Snipping Tool เพื่อนำภาพไปใช้งาน
1. โดยปกติจะใช้งานก็คือกดปุ่ม Print Screen ถ้าต้องการจะใช้ Snipping Tool ก็ให้ทำการกดปุ่มเพิ่มอีกหนึ่งปุ่ม คือกดปุ่ม Windows + Print Screen พร้อมกัน หลังจากกดปุ่มหน้าจอคอมฯ จะกระพริบนั่นคือโปรแกรมจับภาพหน้าจอให้แล้ว

Read More