Learning Space การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21

—พื้นที่การเรียนรู้ปรับตัวเปลี่ยนตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน—

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Learning Space การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21” ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8 โดยมีหัวข้อในการบรรยาย คือ “ปรับพื้นที่-พลิกบทบาทห้องสมุดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (Redesigning spaces – redefining the library’s roles for enhancing learning inspiration)” วิทยากร โดย ผศ.ดร.ศรัณวิชญ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร และ ผศ.ดร.ชลิดา จูงพันธ์ จากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พื้นที่การเรียนรู้ก็ต้องปรับตัวเปลี่ยนตามพฤติกรรมผู้ใช้งาน จากการที่เข้าร่วมอบรมนั้น วิทยากรทั้ง 2 ท่าน ได้ชวนผู้เข้าร่วมอบรมตั้งคำถามถึงนิยามและหาความหมายของพื้นที่การเรียนรู้ในห้องสมุด โดยเริ่มตั้งแต่ประเด็นการรับรู้ การใช้งานพื้นที่ของผู้ใช้บริการฯ ไปจนถึงการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์สำหรับการออกแบบพื้นที่ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงแก่ผู้ใช้บริการ

ซึ่งหลังจากได้เข้าร่วมฟังการบรรยายแล้ว วิทยากรได้นำผู้เข้าร่วมอบรมออกสำรวจพื้นที่เพื่อเรียนรู้ในโซนต่าง ๆ ภายในอุทยานการเรียนรู้ TK Park ไม่ว่าจะเป็น ห้องเด็ก ห้องสมุดมีชีวิต ห้องสมุดดนตรี ห้องสมุดไอที และลานสานฝัน พื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการซึ่งในขณะนั้นได้มีการจัดนิทรรศการที่มีชื่อว่า “The Catalyst of Change: สร้างการเปลี่ยนแปลง”

หลังจากนั้นได้มีการกลับมาทำการทดลองออกแบบพื้นที่ที่ไม่ใช่แค่แหล่งทรัพยากร แต่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และแรงบันดาลใจสำหรับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม ทุกเพศ และทุกวัย เพื่อที่จะเป็น Learning Space พื้นที่การเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21

น้องโยธินจากหอสมุดวังท่าพระ ผู้เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้

Leave a Reply