Author: Kobkul Chaochieng

เบาหวานกับการฉีดอินซูลิน

ครั้งแรกของการฉีดยาอินซูลีนให้กับมารดาป่วยเป็นโรคเบาหวาน สำหรับการฉีดยาอินซูลีนครั้งแรก อาการสั่น กลัวเข็ม แต่ความจำเป็นต้องฉีดให้กับมารดา ก่อนการฉีดควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ ยาอินซูลีน, เข็มสำหรับฉีดอินซูลีน, แอลกอฮอล์และสำลี เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว

            

Read more

สรรพคุณน้ำต้มใบชะพลู

มารดาของข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีพี่ที่รู้จักแนะนำให้ข้าพเจ้าต้มน้ำใบชะพลูให้มารดาดื่ม ใบชะพลูสรรพคุณมีมากมาย หาง่าย และมีรสหวาน ใบชะพลูสามารถนำมาประกอบอาหารได้ ประโยชน์ดีๆและสรรพคุณใบชะพลู – สามารถช่วยเจริญอาหาร, ทำให้เลือดลมซ่าน, แก้ธาตุพิการ, รักษาโรคเบาหวาน, ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี, แก้เสมหะ, ช่วยย่อยอาหาร, ช่วยขับลมในลำไส้, ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ฯลฯ

Read more

ผลอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และไฟเซอร์ (Pfizer)

เมื่อเชื้อโควิดได้ระบาดอย่างหนัก ดิฉันได้ลงทะเบียนรับวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 เข็มแรกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์กาญจนา มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ลงทะเบียนฉีดทั้ง 2 เข็ม ระยะห่างกันประมาณ 1-3 เดือน อาการหลังฉีดเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) มีความแตกต่างกันคือ เข็มที่ 1 หลังจากฉีดแล้วผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าหนักสุด คือมีอาการข้างเคียงที่พบเจ็บบริเวณฝั่งแขนที่ฉีด, บวม, ปวดหัว, มีไข้ หนาวสั่น, ปวดกล้ามเนื้อ ชาบริเวณแขนและขา และอาเจียน และท้องเสีย ซึ่งมีไข้ 38.5 องศา จะแสดงอาการดังกล่าวประมาณ 1-2 วัน ส่วนเข็ม 2 ได้รับเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 อาการหลังฉีดที่พบคือเจ็บฝั่งแขนที่ฉีด, มีไข้เล็กน้อย แต่ได้ทานยาแก้ลดไข้ อาการไม่รุนแรงมาก

Read more

ตรวจโควิด-19 แบบ swab

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 มารดาของดิฉันป่วยหนัก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม ซึ่งมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้ที่มีความเสี่ยง และประสงค์ตรวจหาเชื้อ เข้ามารับบริการมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรของโรงพยาบาล โรงพยาบาลจึงมีข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดว่า ผู้ป่วยและผู้ที่เฝ้าผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อน ดิฉันต้องมาเฝ้าไข้มารดา จึงต้องรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบ swab (Rapid Test) เป็นการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งที่อยู่ในโพรงจมูกว่ามีเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่

Read more

การไปโรงพยาบาลในช่วงโควิด-19 ให้ปลอดภัย

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ทำให้ทุกคนหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาล  เพราะที่โรงพยาบาลมีผู้ป่วยมาก ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวว่าตนเองมีเชื้อโควิด-19  ทุกคนจึงเกรงว่าจะได้รับเชื้อ  แต่เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลก็ต้องไปพยายามป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด

เมื่อเข้าโรงพยาบาล จะพบด่านแรกเป็นจุดคัดกรองผู้เข้าใช้บริการ พยาบาลจะซักประวัติเราว่ามีไข้ ไอ เจ็บคอไหม และได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ ซึ่งเราต้องบอกตามความเป็นจริง เพื่อเป็นการช่วยบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากการได้รับเชื้อโควิด-19  ดังนั้นก่อนที่จะไปโรงพยาบาล เราควรปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงในการเป็นผู้แพร่เชื้อหรือได้รับเชื้อ ดังนี้

1. ล้างมือให้สะอาด และควรใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน

2. หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ในโรงพยาบาล หากมีความจำเป็นควรล้างมือทันที

Read more