VUCA World กับ ทักษะที่บรรณารักษ์ควรมี

เมื่อหนึ่งเดือนที่ผ่านมาจาได้เข้าฟังเสวนาเรื่อง “ห้องสมุดโฉมใหม่ในโลกแห่งความผันผวน: New Look of Library in VUCA World ” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 13 โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้

  • คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)
  • คุณกิตติรัตน์ ปิติพานิช ผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TKPark)
  • ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต
  • คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาความรู้ประกอบวิชาชีพ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ผู้ดำเนินรายการ)
Cr. PULINET 2023

VUCA เป็นคำศัพทย์ที่เกิดในวงการทหาร (ช่วงปี ค.ศ.1980) ซึ่งจะใช้ในสถาการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดเดา

VUCA World เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อยนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ซึ่งมีความหมายว่า “โลกแห่งความผันผวน” อย่างเช่นโลกในยุคปัจจุบันนี้นั่นเอง ที่ทั้งพบเจอเรื่องราวต่าง ๆ มากมายเริ่มตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังมีโรคอื่น ๆ กลับมาระบาดอีกครั้ง เช่น ฝีดาดลิง เป็นต้น

VUCA เป็นการผสมคำด้วยตัวอักษรตัวแรกของคำนั้น ๆ ทั้งหมด 4 คำ คือ

  • V- Volatility คือ ความผันผวน ยากจะคาดเดา เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว
  • U-Uncertainty คือ มีความไม่แน่นอนสูง ไม่ชัดเจน ยากจะอธิบาย
  • C-Complexity คือ ความซับซ้อนสูง มีปัจจัยมากมายที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ
  • A-Ambiguity คือ มีความคลุมเครือ เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยากจะคาดเดาผลลัพธ์ได้

และในเมื่อโลกทั้งโลกเกิดความผันผวน ผู้คนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป เกิดเป็นวิถีใหม่ New Normal ขึ้นนั่นเอง เมื่องมองกลับมาที่สังคมห้องสมุดแล้ว เนื่องจากวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป วิถีชีวิตผู้ใช้บริการในห้องสมุดเองก็เปลี่ยนไปด้วย เช่นกัน ในการเสวนาในครั้งนี้ก็มีหลากหลายคำถามที่คุณเมฆินทร์ (ผู้ดำเนินรายการ) ตั้งคำถามต่อผู้บริหารห้องสมุดทั้ง 3 ห้องสมุด เพื่อให้มองภามห้องสมุดในอนาคตว่าควรจะเป็นอย่างไร ดำเนินงานไปในทิศทางไหน ลักษณะการให้บริการ และการใช้บริการของผู้ใช้เองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางไหนบ้าง และคำถามในช่วงสุดท้าย คือ “บรรณารักษ์เองต้องมีทักษะอย่างไรในยุคนี้” ซึ่งในหัวข้อนี้จามีความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากตัวเองกำลังจะได้รับโอกาสให้ไปบรรยายพิเศษในวิชา “สารสนเทศกับสังคม” ในภาควิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเร็ว ๆ นี้ การฟังในครั้งนี้จะได้เกิดเป็นไอเดียเพื่อนำไปบรรยายให้กับน้อง ๆ รุ่นใหม่ให้เตรียมตัวกันให้พร้อมกับโลกที่กำลังผันผวนอยู่ในปัจจุบัน

และผู้บริหารของแต่ละห้องสมุดได้กล่าวไว้ว่า

TKPark – คุณกิตติรัตน์ กล่าวไว้ว่า บรรณารักษ์ควรสร้าง Connection เยอะ ๆ สร้างเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน หรือดำเนินงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น หรือบางครั้งการได้พูดคุยกับกลุ่มคนที่ไม่คาดคิด อาจจะทำให้เกิดอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาต่อวงการหอสมุดก็ได้ และอีกหนึ่งสิ่งคือห้องสมุดแต่ละห้องสมุดไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดหาทุกอย่างได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจึงทำให้เกิดการ Sharing กันระหว่างห้องสมุด เป็นการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ร่วมกันอย่างคุ้มค่าที่สุด

TCDC – คุณเลอชาติ กล่าวไว้ว่า Creativity ทักษะในด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะที่บรรณารักษ์ควรมี หรือคนห้องสมุดควรมี เชื่อมโยงความรู้ในสิ่งที่มี เพื่อนำไปสร้างสิ่งใหม่ ๆ หรือ Service design สำหรับผู้ใช้บริการ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต – ดร.มลิวัลย์ กล่าวไว้ว่า Critical thinking ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ แบบมีวิจารณญาณ คิดให้ถี่ถ้วนครอบคลุม  เนื่องจากหลังจากนี้อาจจะต้องเจอความเปลี่ยนแปลง หรือความผันผวนของโลกอีกมาก

และสุดท้ายคุณเมฆินทร์ (ผู้ดำเนินรายการ) ได้กล่าวถึงอีกหนึ่งทักษะที่บรรณารักษ์ควรมีไว้ด้วย ซึ่งนั่นก็คือ Learn How to Learn คือ ต้องรู้ว่าเราจะหาความรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างไร

และนี่คือสิ่งที่ห้องสมุดโฉมใหม่ หรือบรรณารักษ์ในยุคนี้ควรมีค่ะ

สำหรับใครที่อยากฟังการเสวนาแบบเต็ม ๆ สามารถเข้าไปรับชมรับฟังได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ การเสวนาเรื่อง“ห้องสมุดโฉมใหม่ในโลกแห่งความผันผวน : New Look of Library in a VUCA World”

อ้างอิงข้อมูลจาก

จริณ.