สมุนไพรในพระไตรปิฏก

สมุนไพรในพระไตรปิฏก เป็นงานเขียนของ ดร.อุษา กลิ่นหอม นักชีวิทยาที่เชื่อมั่นและสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นท้องถิ่นด้านสุขภาพซึ่งได้แจกแจงพืชที่พบจำนวน  321 ชนิด

ข้าพเจ้ามีความสนใจใคร่ศึกษาในการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่มีอยู่และพบเห็น เพื่อนำมาปลูกและนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค และเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ต้องพึ่งพาหมอ และสนใจพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รายชื่อพืชในพระไตรปิฏก

1.กรรณิการ์ 2.กรรณิการ์เขา 3.กระจับ 4.กระดอม 5.กระดิ่งทอง 6.กระถินพิมาน 7. กระทุ่ม 8. กระทุ่มเลือด 9.กระบาก 10. กระเบา 11.กฤษณา 12. กล้วยมีเมล็ด 13.กล้วยไม่มีเมล็ด 14.กะลัมพัก, กะลำพัก (ตาตุ่มทะเล, สลัดได) 15. กากะทิง (ต้นนาคะ) 16. การะเกด 17.ทุ่มบก 18. เกด 19. โกสุม 20.ขนุนสำปะลอ (สาเก) 21. ข่อย 22.ขานาง 23. คนทา 24.คนทีเขมา 25. แคฝอย (แคหิน) 26. งิ้วป่า 27. จันทน์ 28. จันทร์กระพ้อ 29. จันทน์แดง (ไทย) 30. จันทน์แดง (อินเดีย) 31. จำปา 32.จิก 33. ชบา 34.ชะเอมเครือ 35.ชะเอมต้น 36.ช้างน้าว 37.ชาก 38.ชีก 39.ดอกดิน 40.ดีปลี 41.ต้นคำ 42. ต้นบุนนาค 43.ต้นบุนนาคเขา 44.ตะโก 45.ตะเคียน 46.ตาละ หรือ ตาลื 47.ตาเสือ 48.ทองกวาว 49.ทองหลาง 50. ใบเฉียง 51.เป้ง 52. เปราะหอม 53.ผลโกฐ 54.ฝาง 55.พญามือเหล็ก 56.พริกไทย 57. พริกหาง 58.พิลังคะ (ลูก) พิลังกาสาส้มกุ้ง 59.พุดอินเดีย 60.พุทรา 61. มณฑารพ 62.มะกล่ำหลวง 63.มะขวิด 64.มะขามป้อม 65.มะคำไก่ 66.มะงั่ว 67.มะซาง 68. มะเดื่อ 69. กร่าง 70. ไทร  71.ไทรย้อย 72.ไทรใหญ่ 73. นิโครธ 74.ผักเลือด 75.มะเดื่อ 76.โพ 77. เลียบ 78.ปรุํ 79. มะตูม 80. มะปราง 81. มะเฟือง 82.มะไฟ 83.มะม่วง 84.มะรื่น 85.มะรุม 86.มะหาด 87.โมกมัน 88.ไม้รักดำ 89.ย่านทราย (ไม้เถา) 90.ย่านทราย (ไม้ยืนต้น) 91.ยี่หร่า 92. รกฟ้า, รถฟ้าเขาย 93. ต้นรัง 94.ราชดัด 95.ลำเจียก 96.ลำดวน 97.เล็บเหยี่ยว 98.ว่านน้ำ (เล็ก) 99.ว่านน้ำ 100. สมอ (สมอไทย) 101.สมอพิเภท 102.สะคร้อ 103.สะเดา 104.สาละ (ลังกา) 105.สาละ (อินเดีย)  106.หัวกระเทียม 107.อโศก (โสกน้ำ) 108.อโศก (อโสกอินเดีย) 109.อุโลก

แหล่งที่มาของข้อมูล

ผู้เขียนได้ใช้เอกสารที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่

1.พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 45 เล่ม

2.พระไตรปิฏกภาษาไทยจากฐานข้อมูลของ  http://www.84000.org

3.เอกสารจากอินเดีย เรื่อง Critical appraisal  of auirvadoc material in Buddhist uterature with special reference to tripitaka (การประเมินสมุนไพรของอายุรเวทในพระไตรปิฏก)

สรุปผลการศึกษา

การศึกษาเอกสารพระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย จำนวน 45 เล่ม  ซึ่งทำการค้นหาชื่อพืชทั้งหมดจากนั้นนำชื่อพืชที่ได้มาเทียบเคียงกับชื่อพรรณไม้ที่ปรากฏในเอกสารทางการในหนังสือ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินัน์ (2557) ในกรณีที่มีชื่อภาษาไทยเหมือนกันในหลายชนิด ทำการบันทึกเอาไว้ทั้งหมด จากนั้นนำมาคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ ว่าพืชชนิดนั้นต้องมีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย โดยใช้การสืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลสมุนไพร  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ฐานข้อมูลสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด  ฐานข้อูลสมุนไพร Med Thai 200 ขนิด

สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

สมุนไพรในพระไตรปิฏก (Call no.RM666H33อ75) ซั้น 2 อาคารหอสมุดฯ