การจัดเรทหนังสือ

บล็อกนี้เชื่อมโยงมาจากบล็อกเรื่อง “นิยายวาย” ที่ทิ้งท้ายเรื่องการจัดเรทติ้งหนังสือไว้ ที่เขียนถึงกรณีที่หนังสือประเภทนิยายที่มีเนื้อเรื่อง ฉาก ที่หมิ่นเหม่ และฉากล่อแหลม ซึ่งสิ่งที่จะช่วยคัดกรองนิยายเหล่านี้คือ การจัดเรทหนังสือ

คำที่เราได้ยินกันบ่อยคือ “ติดเรท” เป็นคำแสลงที่ใช้ในกระทู้ของห้องสวนลุม พันธ์ทิพย์น่าจะเลียนแบบมาจากภาษาของหนังคือ x-rated แปลเป็นภาษาอังกฤษแบบตรงกว่านั้นคือ about sex หรือ sex-related topic (แหล่งอ้างอิง : https://dictionary.sanook.com/search/dict-user/ติดเรท)

ส่วนการจัดเรท (Rate) เป็นการจัดระบบตามระดับเนื้อหา เช่นเดียวกับภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสมของการอ่านและรับชมสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งแต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานการจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบันนี้วงการงานเขียนประเทศไทยมีการเผยแพร่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น และมีเนื้อหาที่กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการจัดระดับ Rate (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

เรามาทำความเข้ากับการจัดเรทหนังสือกันดีกว่า

เรท G (General Audiences) เป็นหนังสือที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถอ่านได้ทั้งครอบครัว โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือทั่วไป หนังสือการ์ตูน หรือหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ประกอบไปด้วยจินตนาการ และอารมณ์ขัน แต่ต้องไม่มีภาพโป๊ ภาพเปลือย หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

G  ย่อจาก General = Good & Clean ใสซื่อบริสุทธิ์เปี่ยมคุณธรรม เหมาะกับทุกเพศทุกวัย (แหล่งอ้างอิง : https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=631989)

เรท PG (Parental Guidance Suggested) เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัยเช่นกัน แต่อาจมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือคำหยาบ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ควรคอยให้คำแนะนำ (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

PG ย่อจาก Parental Guidance Recommended = มีเนื้อหาที่หนักกว่า G ขึ้นมา อาจจะมี love scene ใสๆ อ่อนๆ มีการใช้คำไม่สุภาพแบบอ่อนๆ คือ ไม่ถึงกะหยาบ น่ารักพอเป็นกระษัย (แหล่งอ้างอิง : https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=631989)

เรท PG-13 (Parents Strongly Cautioned) หนังสือที่มีฉากที่รุนแรงเกินกว่าที่เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีจะรับได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้รุนแรง มากถึงขึ้นสมควรได้รับเรท R หนังสือส่วนใหญ่ที่ได้รับเรทนี้จึงเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาและความรุนแรงอยู่ในระดับกลาง อย่างเช่น ฉากโป๊เปลือย, การใช้ยาเสพติดเพียงเล็กน้อย, การต่อสู้,การใช้ภาษาที่รุนแรงหรือคำหยาบ (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

PG-13 ย่อจาก Parental Guidance : Not suitable for children under 13 = เนื้อหามีความรุนแรงบ้าง ใช้ภาษาไม่สุภาพ มีฉากสยิวให้เห็นเด่นชัดหรือชวนให้คิด อาจหมายรวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย  เหล้ายาปลาปิ้ง ข่มขืน คลอดลูก…ก็ได้ (แหล่งอ้างอิง : https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=631989)

เรท PG-15 หรือ เรท R (Restricted) สำหรับหนังสือที่ได้รับเรทนี้จะมีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ มีความรุนแรงอยู่สูง มีฉากโป๊เปลือยหรือพูดถึงเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง คำหยาบคายมากมาย การใช้ยาเสพติด หรือมีภาพสยดสยอง (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

เรท NC-17 (No One 17 And Under Admitted) ไม่อนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีอ่านหรือรับชมโดยเด็ดขาด เป็นการแบ่งประเภทให้ชัดเจนว่า ไม่ใช่หนังโป๊เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงหนังสือที่มีเนื้อหารุนแรงมาก โดยส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวกับเรื่องเพศ ศีลธรรม ศาสนา คำหยาบคาย การต่อสู้หรือการกระทำที่รุนแรง ความโหดร้ายและภาพสยดสยองระดับมากที่สุด (แหล่งอ้างอิง  : https://1168group.com/2019/11/27/นิยายที่คุณอ่าน-เขียน-อย/)

NC-17 ย่อมาจาก Not suitable for children under 17 = อีโรติก มีการบรรยายฉากรักโจ๋งครึ่ม เนื้อหา ภาษารุนแรง เด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ไม่ควรย่างกรายเข้ามา (แบบนี้เราก็เข้ามาอ่านไม่ได้อ่ะดิ :laugh:) (แหล่งอ้างอิง : https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=631989)

R ย่อจาก Restrict : not suitable to readers under 17 / sex and some violence = เน้นความรุนแรงเป็นหลัก ไม่เจาะจงเฉพาะเรื่อง sex แต่รวมไปถึงความรุนแรงในด้านอื่นๆด้วย เช่น ฉาก SM (แหล่งอ้างอิง : https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=631989)

การจัดเรทนี้เทียบเคียงมาจากการพิจารณาเรทของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ เป็นระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดยสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America หรือ MPAA)

ข้อความที่บ่งบอกถึงการจัดเรทหนังสือมักจะปรากฎอยู่ที่ด้านหลังของปกหนังสือ (ดังตัวอย่าง)

                                           

สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยในการตัดสินใจและคัดกรองการอ่าน การซื้อหนังสือให้เด็กๆของผู้ปกครองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่านิยายหรือหนังสือทุกเล่มจะระบุข้อความการจัดเรทไว้ ผู้ปกครองอาจต้องใช้เวลาในการอ่านคำนำ หรือเปิดหนังสืออ่านคร่าวๆ เพื่อสแกนเนื้อหา ไม่ใช่ซื้อในทันที หรือขอเวลาในการตัดสินใจซื้อให้ อาจไปหาอ่านรีวิวหนังสืออินเทอร์เน็ต (ดังตัวอย่าง) เพื่อประกอบการตัดสินใจ

review1-vert.jpg

ซึ่งตัวผู้เขียนในฐานะของบรรณารักษ์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่คัดเลือกหนังสือ ก็ใช้วิธีการและแนวทางดังกล่าวในการตัดสินใจซื้อหนังสือเข้ามาบริการในห้องสมุด และซื้อมาอ่านเองด้วยเช่นกัน การพิจารณาจากหลายๆ แหล่ง เพื่อเป็นตัวช่วย และคลายความกังวลของผู้ปกครองหลายท่านเกี่ยวกับเนื้อหาและความเหมาะสม และสุดท้ายค่ะ การป้องกันที่ดี ด้วยการเปิดใจ การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว มากกว่าการปิดกั้น ไม่บังคับมากเกินไป