อีบุ๊ก (ebook) ทรัพยากรอีกประเภทของหอสมุดฯ

หากพูดเอ่ยคำว่า “อีบุ๊ก” หรือ “ebook หรือ e-book” หรือ “electronic book” หรือ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันย่อมรู้จักและนึกภาพออกว่ารูปแบบของสิ่งนี้มีหน้าตาอย่างไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักอีบุ๊กกันก่อน ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ด้วยความที่มี ลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน เพราะหน้ากระดาษที่ได้จัดวางไว้อย่างไร ก็จะคงอยู่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยความที่ไฟล์แบบ PDF ที่ได้ มีลักษณะเหมือน หนังสือจริงๆ จึงเป็นที่มาของ eBook หรือ ไฟล์เอกสารที่ได้พิมพ์ไว้ด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น Word อาจเป็นรายงาน หนังสือ วิทยานิพนธ์ สามารถนำมาแปลงเป็นอีบุ๊กแบบ PDF ได้เลย หรือหนังสือจริงๆ ถ้าต้องการแปลงเป็นอีบุ๊ก ก็ต้องใช้เครื่องแสกนเนอร์ แสกนทีละหน้าเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ในการอ่านอีบุ๊ก  สามารถอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตพีซี

ส่วนอีบุ๊กในปัจจุบันมีหลายแบบ ตามแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน เมื่ออีบุ๊กเป็นไฟล์เอกสารประเภทหนึ่ง จึงสะดวกในการพกพา จำหน่าย จ่ายแจก สามารถรับส่ง ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ก็อปปี้ไปใช้งานระหว่าง เครื่องได้ โดยเฉพาะเมื่อถือถือแบบสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้รับความนิยมในการใช้งาน การอ่านอีบุ๊ก จึงมีความสะดวกมากกว่าเดิม เพราะเราสามารถเปิดอ่านได้ทันที

ปัจจุบันอีบุ๊กเริ่มได้รับความนิยม โดยเฉพาะผู้ที่ใช้แท็บเล็ต หรือมือถือสมาร์ทโฟน จะสามารถดาวน์โหลดอีบุ๊กมาไว้อ่านกับเครื่องได้ง่ายมากๆ เพราะมีแอพรองรับการใช้งานอยู่แล้ว

ความนิยมในการใช้งานอีบุ๊ก (ebook หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) มีเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนไป ห้องสมุดจึงต้องมีการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศประเภทนี้เข้ามาบริการในห้องสมุด สำหรับสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้มีจัดหาอีบุ๊ก เข้ามาให้บริการผู้ใช้บริการเช่นกัน แม้ว่าจำนวนอาจจะไม่มากนัก แต่ในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ แนวโน้มการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อันเนื่องมาจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้คณะวิชาเริ่มหันมาสนใจในการจัดซื้ออีบุ๊ก มาให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้ามากขึ้น

จำนวนอีบุ๊กที่มีบริการในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบันมีทั้งสิ้น 234 ชื่อเรื่อง โดยสามารถค้นได้จากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ และ หน้าจอ OPAC

ebook-1.png

  1. รูปภาพหน้าเว็บไซต์หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ คลิกที่เมนู Database search จะพบเมนูย่อย SU Library’s e-book
  2. คลิกที่เมนู SU Library’s e-book
  3. จะปรากฎหน้าจอสืบค้น (OPAC) รายการ e-book จำนวน 234 ชื่อเรื่อง ที่รายการที่ 4

ebook2.jpg

หรือ สามารถสืบค้นโดยตรงจากหน้าจอสืบค้น (OPAC) ที่เมนู NEW BOOKS จะปรากฎรายการ e-book จำนวน 234 ชื่อเรื่อง ที่รายการที่ 4 เช่นเดียวกัน

ebook6.jpg

5. คลิกที่รายการ SU Library’s e-book จะปรากฎรายชื่อ e-book เรียงตามตัวอักษร หน้าจอละ 50 รายการ

6. คลิกเลือก e-book เล่มที่ต้องการอ่าน ตัวอย่าง คลิกที่รายการชื่อเรื่องที่ 2

ebook3.jpg

7. จะปรากฎรายละเอียดของ e-book เล่มที่เลือก

8. คลิกที่ Table of Contents

9. คลิกที่รูปภาพปกหนังสือ หรือที่มีคำว่า “view ebook”

ebook4.jpg

10. จะปรากฎเนื้อหาของ e-book ให้อ่าน ตามรูปภาพด้านล่าง

ebook-5.jpg


แหล่งอ้างอิง : http://www.siamebook.com/lbro/en/รู้จัก-ebook/546-isebook.html

http://www.snc.lib.su.ac.th/

http://www.opac.lib.su.ac.th/search?/ftlistbib04%2C1%2C0%2C181/mode=2