Zero waste from cooking

การทำอาหารเพื่อรับประทานที่บ้าน เป็นกิจกกรมที่ทุกบ้านต้องทำ สิ่งสำคัญในการทำอาหาร คือ วัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารที่ต้องเตรียมไว้สำหรับปรุงอาหาร วัตถุดิบบางชนิดเป็นของแห้งที่สามารถเก็บไว้ได้นาน บางชนิดเป็นของสด เครื่องปรุงรสต่างๆ วันนี้จะมานำเสนอการกำจัดวัตถุดิบที่เหลือจากการปรุงอาหาร ที่จริงจะเรียกว่าการกำจัดก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะสิ่งที่บ้านของผู้เขียนทำคือ การนำเศษของวัตถุดิบที่เหลือจากการปรุงอาหารไปต่อยอดเพื่อให้ได้ใช้งานต่อทั้งในทางตรงและทางอ้อม เช่น การทำอาหารประเภทแกงจืดที่ต้องใส่ต้นหอมและขึ้นฉ่าย เวลาหั่นต้นหอมและขึ้นฉ่ายไปใส่ในแกงจืด ก็จะตัดตรงโคนต้นยาวขึ้นมาประมาณ 1.5-2 นิ้ว เก็บไว้ ส่วนที่เหลือจนถึงปลายนำไปใส่ในแกง ส่วนโคนต้นที่เก็บไว้จะนำไปชำในกระถางเพื่อให้งอกใบใหม่ซึ่งสามารถเก็บมาทำอาหารได้อีกหลายครั้ง

หรือบางครั้งหัวหอมแดงหรือหัวกระเทียมที่เราซื้อเก็บไว้เพื่อประกอบอาหาร หากทานไม่ไหมดหรือเก็บไว้นานกลัวจะเน่าเสีย หรือกลีบเล็กไปแกะไม่ถนัดมือ เราก็สามารถนำไปชำในกระถางโดยการแกะเปลือกนอกออกวางไว้ กดเบาๆ ให้จมดินเพียงเล็กน้อย รอไม่นานเราก็จะได้ใบของต้นหอมหรือต้นกระเทียมมาประกอบอาหาร

ผักเคียงบางชนิด เช่น ผักขะแยง ผักแพว ที่เราได้จากการซื้ออาหารจากข้างนอกมารับประทาน เช่น ส้มตำ  หากรับประทานไม่หมด เราสามารถมาปักชำลงในดินเพื่อเพาะชำต่อได้

เม็ดพริก เม็ดมะนาว เม็ดมะเขือ โหระพา กะเพรา ตะไคร้ ที่เหลือจากการปรุงอาหารก็สามารถนำมาเพาะพันธุ์ต่อได้เช่นกัน

หรือการรับประทานผลไม้ในแต่ละฤดูกาล เม็ดของผลไม้ก็สามารถนำมาเพาะพันธุ์ต่อได้

แต่ถ้าหากมีมากก็สามารถตากแห้งเก็บไว้เพาะพันธุ์ในคราวต่อๆไปได้ เช่น เม็ดฟักทอง แตงไทย มะละกอ แตงโม เป็นต้น

http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/wp-content/gallery/ekanong/thumbs/thumbs_friut.jpg?i=1078925254

ลองทำกันดูนะคะ จะช่วยลดขยะที่ต้องทิ้งจากการปรุงอาหารได้ แถมยังได้พืชผักไว้รับประทานต่อได้อีกด้วย และช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย