ประสบการณ์ นิ้วล็อค

เมื่อหลายปีก่อนมีพี่ที่ทำงานที่หอสมุดฯ ด้วยกันเคยมาเล่าให้ฟังว่า พี่เค้าเป็น นิ้วล็อค กำมือไม้ได้ ต้องไปหาหมอฉีกยา ผ่าตัด สมัยนั้นผู้เขียนนึกไม่ออกว่า นิ้วล็อค เป็นอย่างไร อาการมันหนักมากน้อยเพียง มันเจ็บขนาดนั้นเลยหรือ แล้วคนเราใช้มือมากขนาดไหนถึงเป็นนิ้วล็อคได้ ซึ่งก็นานจนลืมเหตุการณ์ไปแล้ว

และเมื่อประมาณปีหรือสองปีก่อน น้องที่งานจัดการฯก็มาบอกว่าเป็นนิ้วล็อค ผู้เขียนสอบถามอาการ น้องบอกว่า นิ้วจะแข็งและงอไม่ได้ จะปวดที่นิ้วมาก ไปหาหมอ หมอบอกว่าต้องผ่าตัดโน่นนี่นั้น จากนั้นไม่นานเมื่อปีที่แล้วผู้เขียนก็ประสบกับอาการนิ้วล็อคด้วยตัวเองในช่วงที่สถานการณ์โควิดอยู่ในช่วงพีคสุด หน่วยงานให้บุคลากร Work form Home ผู้เขียนรู้สึกปวดที่โคนนิ้วชี้มือขวา แต่ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดว่าคงเพราะอยู่บ้านทำกับข้าวใช้มีดหั่นของเยอะไปมั้ง หรือช่วงก่อนหน้านั้นไปช่วยห่อพัสดุส่งหนังสือมัดเชือกมากไปมั้ง หลังจากนั้นไม่นานนิ้วชี้เริ่มงอไม่ได้และปวดมากๆ เลยนึกขึ้นมาได้ว่าหรือเราจะเป็นนิ้วล็อคกัน แล้วก็เป็นอย่างที่คิดไว้จริงๆ

อาการของผู้เขียนคือ เจ็บบริเวณโคนนิ้วชี้มือขวา นิ้วงอไม่ได้  จับปากกาเขียนหนังสือไม่ได้

นิ้ว1.jpg      นิ้ว2.jpg  นิ้ว3.jpg

หากจะถามว่านิ้วล็อคคืออะไร ผู้เขียนได้ไปอ่านมาบ้างตามเพจของโรงพยาบาล พอจะสรุปได้ดังนี้

นิ้วล็อค หรือ Trigger Finger เป็นอาการนิ้วเกิดล็อคเมื่องอนิ้ว แล้วไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ง่าย

สาเหตุของ นิ้วล็อค เกิดจากใช้นิ้วมือต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น การเกร็งนิ้วมือขณะทำงาน เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอตรงบริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้วหรือบวมจนทำให้ขาดความยืดหยุ่น ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้ นิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง หรืออาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วและนิ้วมือทั้ง 2 ข้างได้ในเวลาเดียวกัน

อาการเป็นอย่างไร?

  • รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
  • เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้า
  • รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
  • นิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
  • นิ้วล็อคเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้

โดยทั่วไปอาการของโรคนิ้วล็อคจะเริ่มต้นจากอาการเล็กน้อย และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ

  • ระยะที่ 1:มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว กดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด
  • ระยะที่ 2:อาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
  • ระยะที่ 3:เมื่องอนิ้วลงจะมีอาการติดล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หากมีอาการมากขึ้นจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง
  • ระยะที่ 4:มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ และอาการปวดรุนแรงมากขึ้น

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อคนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

    • พักผ่อนพักมือจากการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือออกแรงหรือแบกน้ำหนัก ซ้ำๆ เป็นเวลานาน โดยเว้นกิจกรรมดังกล่าวเพื่อพักการใช้งานมืออย่างน้อย 3-4 สัปดาห์
    • ประคบร้อนหรือเย็นผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคบางรายอาจใช้วิธีประคบเย็นที่ฝ่ามือ ซึ่งช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้น นอกจากนี้การแช่น้ำอุ่นก็บรรเทาอาการให้ทุเลาลงโดยเฉพาะหากทำในช่วงเช้า
    • ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้วการใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว (Splinting) จะช่วยดามนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดเกินไป อีกทั้งช่วยให้นิ้วได้พัก หากเกิดอาการนิ้วล็อคในตอนเช้าเป็นประจำ แพทย์จะให้ใส่อุปกรณ์ดังกล่าวดามนิ้วไว้ตลอดคืน เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วเกร็งหรืองอเข้าไปเองขณะนอนหลับ
    • ออกกำลังกายยืดเส้นแพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อช่วยให้นิ้วเคลื่อนที่ได้ปกติ
    • รักษาด้วยยาใช้ยาต้านการอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาดังกล่าวไม่สามารถบรรเทาอาการบวมตรงปลอกหุ้มเอ็นนิ้วได้
    • ที่เกิดอาการนิ้วล็อครุนแรงหรือวิธีรักษาด้วยยาและการบำบัดใช้ไม่ได้ผล อาการไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการศัลยกรรมและกระบวนการทางการแพทย์วิธีอื่น เช่น การฉีดสารสเตียรอยด์ เป็นการฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งช่วยลดอาการบวมอักเสบของเอ็น และช่วยให้เอ็นนิ้วสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ หรือการผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อค โดยทั่วไปผู้ป่วยไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล

วิธีคลายปวดจากข้อนิ้วล็อค

      1. ขยับนิ้ว+แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้าๆ 5-10 นาที
      2. เมื่อต้องกำ หรือจับสิ่งของแน่นๆ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ให้ด้ามจับนุ่มขึ้น

ปล. ตอนนี้ผู้เขียนมีอาการดีขึ้นแล้วค่ะ สามารถขยับนิ้วได้สะดวกขึ้น แต่ยังรู้สึกตึงๆ ที่โคนนิ้วอยู่บ้าง การรักษาผู้เขียนใช้วิธี ประคบร้อบ ออกกำลังนิ้วด้วยการขยับนิ้วมือ ใช้เวลานานพอสมควรเหมือนกันที่อาการดีขึ้น

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

        1. ไม่หิ้วของหนักเกิน และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
        2. ควรใส่ถุงมือ หรือ ห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้น และจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
        3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยหรือระบมควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
        4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
        5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือ กำ-แบ ๆ ในน้ำเบาๆ จะทำให้ข้อฝืดลดลง
        6. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ การบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เพื่อให้กำแน่นๆ

แหล่งอ้างอิง :

https://www.princsuvarnabhumi.com/คลายนิ้วล็อค/#:~:text=สาเหตุของโรคนิ้วล็อค,เหมือนนิ้วถูกล็อคไว้

https://www.phyathai.com/article_detail/2655/th/“นิ้วล็อค”_งอนิ้วไม่ได้_รักษาอย่างไรให้หายเร็ว_คุณหมอมีคำตอบ

https://www.nonthavej.co.th/Trigger-Finger.php

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/trigger-fingers