การบริหารความเสี่ยง

ปีนี้เข้าสู่ปีที่ 2 ของการเป็นคณะทำงานการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีบางส่วนที่ไม่เข้าใจทำให้ประสิทธิภาพที่ควรมีลดลง คิดว่าควรหาหนังสือมาอ่านเพื่อศึกษา สร้างความเข้าใจให้ตนเอง จึงยืมหนังสือเกี่ยวกับความเสี่ยงมาหลายเล่ม แต่ที่อ่านแล้วรู้สึกตัวเองเข้าใจกับเนื้อหาที่สุดเห็นจะเป็นเล่มของ ดร.ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี ได้ทำเนื้อหาสรุปออกมา ดังนี้

การบริหารความเสี่ยง คือ การป้องกันอำนาจ ทรัพย์สินของหน่วยงาน โดยลดความสูญเสีย ซึ่งมาจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้การบริหารความเสี่ยงยังเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ดี โดยให้ความเข้าใจต่อความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

กระบวนการในการบริหารความเสี่ยง

1 การระบุความเสี่ยง องค์ประกอบที่สำคัญมี 4 ประการ 1. แหล่งความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม 2. ปัจจัยที่อันตราย สภาพหรือสถานที่เพิ่มโอกาสความสูญเสีย ความเสียหายหรือความรุนแรง ความผิดพลาดในการบริหารจัดการของหน่วยงาน 3. ภัย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาหรือคาดเดาความเสียหายไม่ได้ เช่น อัคคีภัย 4. ทรัพยากรที่มีโอกาสต่อความเสี่ยง สิ่งของที่เผชิญกับความสูญเสียหรือการได้ผลประโยชน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้รับผลกระทบเมื่อเกิดความเสี่ยง

2 วัดความถี่และความรุนแรงของความสูญเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต้องจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ

1). ผลกระทบ สามารถกำหนดค่าของผลกระทบที่ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้ โดยให้คะแนน 5 4 3 2 1

2). โอกาสที่จะเกิด สามารถกำหนดค่าของความน่าจะเป็นที่ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้ โดยให้คะแนน 5 4 3 2 1

3). การพินิจพิเคราะห์ เพื่อวัดผลกระทบของความเสี่ยงที่มีต่อโครงสร้างของโครงการหรือกิจกรรมที่ทำในภาพรวม

3 การประเมินตัวเลือกและเลือกเทคนิคที่ดีที่สุดในการรับมือความเสี่ยง เทคนิคที่สำคัญมี 4 แบบ

1). การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการหยุดหรือลดการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงกับหน่วยงาน

2). การควบคุมความเสี่ยง ใช้ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เพราะจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อหน่วยงานมากกว่า การควบคุมความเสี่ยงคือการใช้วิธีการในการป้องกันความสูญเสียเพื่อที่จะลดความถี่ของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

3). การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง ในกรณีที่ความสูญเสียหรือความเสียหายไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือควบคุมได้ หน่วยจะคงไว้ซึ่งความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ตามมูลค่าความเสียหายที่หน่วยงานรับได้

4. การถ่ายโอนความเสี่ยง เมื่อโอกาสความเสี่ยงที่สูงไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือควบคุมได้ ส่วนมากรูปแบบวิธีการจะใช้เทคนิคการถ่ายโอนความเสี่ยงซึ่งการถ่ายโอนจะถูกส่งต่อให้กับบริษัทประกันภัย

เทคนิคการจำบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 4T ตัว เรียกว่า Four Ts ได้แก่ 1. Terminate คือ การยกเลิกหรือกำจัดความเสี่ยงออกไป 2. Treat คือ การแนวทางการควบคุมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือสูญเสีย 3. Tolerate คือ การยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 4. Transfer คือ การถ่ายโอนความเสี่ยงไปให้กับบุคคลอื่น เช่น บริษัทประกันภัย หรือ หน่วยงานที่ไม่ใช้ประกัน

4 การนำโปรแกรมการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ โดยให้ระบุเป้าประสงค์ที่หน่วยงานต้องการ พร้อมทั้งความเสี่ยง 3 อันดับแรกที่ต้องการให้ความสนใจก่อน เพราะเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการบรรลุเป้าหมาย หลังจากนั้นควรพิจารณากิจกรรมที่ใช้ในการควบคุมที่มีอยู่ และระบุต่อไปว่ายังมีความเสี่ยงอะไรอยู่บ้าง และมีแนวโน้มในการปรับปรุงการควบคุมอย่างไร

5 การติดตามผล เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าประเภทของความเสี่ยงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นได้เสมอ จึงต้องคอยสอดส่องการจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และประเมินวิธีการใช้เพื่อรับมือความเสี่ยงนั้นเป็นระยะๆ ทั้งปรับปรุงเทคนิคในกรณีที่มีความจำเป็น

การบริหารความเสี่ยงสำหรับโครงการ การกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน เพื่อให้บุคลากรทราบว่าอะไรคือสิ่งที่หน่วยงานต้องการ และเดินไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงจำเป็นต้องมีการระบุถึงความเสี่ยงและความเข้าใจต่อสถานการณ์ของความเสี่ยง หลังจากนั้นจึงมีการวิเคราะห์ผลกระทบและพัฒนากลยุทธ์เพื่อใช้ในการรับมือกับความเสี่ยง กระบวนการของการบริหารความเสี่ยงทั้ง 6 ขั้นตอน  สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลในทีมทำงานโครงการปละการให้คำปรึกษาร่วมกัน การบริหารความเสี่ยงแบ่งได้  6 ขั้นตอน

1. การวางแผนการบริหารความเสี่ยง การวางแผนต้องกำหดวิธีการที่ทีมงานจะใช้ในการรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

2.การระบุความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุการณ์ของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน การระบุต้องมุ่งไปที่ปัจจัยความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ ผู้บริหารโครงการต้องมุ่งไปที่การตอบคำถามว่า อะไรเป็นผลลัพธ์ที่จะได้รับถ้าความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น การวิเคราะห์ความเสี่ยง คือ 1. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพมุ่งไปที่การกำหนดผลกระทบและความน่าจะเป็นของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ผลกระทบมีทั้งเกิดผลกระทบน้อย, เกิดผลกระทบปานกลาง, เกิดผลกระทบมาก และเกิดผลกระทบมากที่สุด ความน่าจะเป็นในการอธิบายลักษณะที่คล้ายกัน ดังต่อไปนี้ มีแนวโน้มจะเกิด, มีแนวโน้มจะเกิดมาก, และมีแนวโน้มจะเกิดมากที่สุด

4. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ วิธีนี้นิยม คือ อะไรเกิดขึ้นถ้า… เพราะคำถามลักษณะนี้จะช่วยให้เราคาดการณ์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย หรือตารางเวลาในการทำงานหรือทรัพยากรที่ต้องการ

5. แผนการรับมือความเสี่ยง ผู้บริหารโครงการต้องจัดทำแผนในการรับมือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลยุทธ์ในการรับมือกับเหตุการณ์ความเสี่ยง การวางแผนรับมือความเสี่ยงจะช่วยให้ผู้บริหารโครงการทราบว่าอะไรเป็นการกระทำที่ต้องปฏิบัติหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น กลยุทธ์การรับมือความเสี่ยงมี 4 วิธี 1. การถ่ายโอนความเสี่ยง 2. การป้องกันความเสี่ยง 3. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 4. การยอมรับความเสี่ยง

6. การตรวจสอบและการควบคุมความเสี่ยง ขั้นตอนนี้จะช่วยในการแก้ปัญหาที่เผชิญได้ คำถามพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง 1. อะไรสามารถผิดพลาดได้บ้าง what can go wrong? 2. เราจะทำอะไร what will we do? 3. ทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และถ้าบางสิ่งเกิดขึ้นเราจะเสียหายมากเพียงใด if something happens, how will we pay for it?

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. นำแนวทางจากการศึกษามาใช้ให้ประโยชน์ต่อตนเอง สร้างความเข้าใจต่อกระบวนการการทำงานของกลุ่มบริหารความเสี่ยง
  2. เพื่อให้เข้าใจแนวทาง รูปแบบการดำเนินงานของการบริหารความเสี่ยง

ที่มา : ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท