การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม

ได้เรียนหลักสูตรออนไลน์ของ ก.พ. เรื่อง การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม ได้ความรู้เรื่องวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร ซึ่งในหลักสูตรอ้างอิงมาจากหนังสือของ  ศ.ดร. ดีลาฮาเย เรื่อง Human resource development: Adult learning and knowledge management มีรายละเอียด ดังนี้

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

(Data Collecting Methods)

ข้อดี

( Advantages)

ข้อด้อย

(Disadvantages)

การสัมภาษณ์ (Interview) -ได้รับข้อมูลโดยตรงจากตัวบุคคล

-ทำให้ทราบข้อมูลที่มีความซับซ้อน

-ในระหว่างการสัมภาษณ์ สามารถกระตุ้นกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ในขณะที่มีการสนทนาได้

-ทำให้ทราบข้อมูลเชิงลึกของกันและกัน ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ระหว่างการสนทนา

-การสัมภาษณ์สอดคล้องกับหลักการโดยทั่วไปที่ว่าคนเรามักจะแสดงความเห็นและเปลี่ยนทัศนะกันในประเด็นที่ยังไม่มีข้อยุติผ่านการสนทนา

-การสัมภาษณ์มีข้อดีในเรื่องที่มักจะมีความยืดหยุ่นในประเด็นที่สนทนันไปตามสถานการณ์

-การสัมภาษณ์ช่วยทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และประเด็นปัญหาจากการสนทนา

-ใช้เวลานาน

-ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนอาจรู้สึกว่าเป็นการละลาบละล้วงความเป็นส่วนตัว

-ต้องอาศัยทักษะของผู้สัมภาษณ์อย่างมาก

-การแประความหมายมีความเป็นอัตวิสัย(Subjective)คือขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละบุคคล

2.การประชุมกลุ่มย่อย

(Focus Group)

-เป็นรูปแบบการใช้เวลาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการสัมภาษณ์ เนื่องจากทำเป็นกลุ่มครั้งละหลายคน

-ผู้เข้าร่วมการสนเทนากลุ่มจะสามารถแสดงความคิดเห็นสลับกันไปมาในวงสนทนากลุ่มในประเด็นที่ใช้ประชุมกลุ่มได้

-เป็นวิธีที่ช่วยทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ โดยผ่านการความเห็นและแลกเปลี่ยนกันในวงสนทนากลุ่ม

-เป็นเวทีที่ทำให้มีการสังเคราะห์ และตกผลึกความรู้ร่วมกันในวงสนทนากลุ่ม

-เป็นวิธีการสำรวจวินิจฉัยความจำเป็นที่มีความยืดหยุ่นในประเด็นที่มีความหลากหลายได้

-การจัดบรรยากาศและลำดับในการสนทนามีความยากลำบากในระดับหนึ่ง เฃ่น บทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ให้ข้อมูล ผู้อำนวยความสะดวก รวมทั้งการจัดอุปกรณ์ประกอบ ห้องประชุม โต๊ะประชุมก็ต้องจัดให้เหมาะสม

-ผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ทรงคุณวฒิในวงสนทนากลุ่ม อาจมีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในวงสนทนา ทำให้ไม่สามารถได้ข้อมูลจากทุกคนได้ครบถ้วน

-ในวงสนทนากลุ่มบางคนอาจจะไม่สะดวกใจที่จะแสดงความเห็นในประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันในสังคม เนื่องจากเป็นเวทีใหญ่ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่สนทนากันตัวต่อตัว

-ในวงประชุมกลุ่ม การตีความของแต่ละบุคคลยังมีลักษณะความเป็นอัตวิสัยหรือเป็นความเห็นส่วนตัวคล้ายกับการสัมภาษณ์

3.การสำรวจด้วยแบบสอบถาม (Survey Questionnaires) -การใช้แบบสอบถามสามารถใช้ได้ดีกับผู้ให้ข้อมูลที่มีจำนวนมากในประเด็นเดียวกัน ซึ่งทำการสำรวจ

-การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามมีความเป็นปรนัย เช่น ค่าสถิติที่แสดงค่าไว้ชัดเจน

-ประเด็นที่ทำการสำรวจสามารถกำหนดให้เฉพาะเจาะจงได้

-ข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจสามารถนำมาสรุปวิเคราะห์โดยอาศัยวิธีการทางสถิติซึ่งทำการวิเคราะห์ได้โดยง่ายและสามารถนำมาเสนอในรูปรายงานที่เข้าใจได้ง่าย

-ผู้ที่ต้องทำการตัดสินใจ บางคนชอบใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจซึ่งมีการแสดงค่าเป็นตัวเลขที่ชัดเจน

-ค่าใช้จ่ายในการทำสำรวจมักจะไม่ค่อยสูงเมื่อเทียบกับวิธีอื่น

-การสำรวจด้วยแบบสอบถามไม่เปิดช่องทางให้มีความยืดหยุ่นในการให้ข้อมูล เพราะต้องตอบไปตามแบบสำรวจเท่านั้น

-มีความเป็นไปได้ที่แบบสำรวจอาจจะมีอคติ สอดแทรกอยู่ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้ออกแบบสำรวจ

-เป็นวิธีที่การมีส่วนร่วมของบุคลากรเกิดขึ้นได้น้อย

-ในรายงานการสำรวจต้องอาศัยแบบสอบถามที่ตอบกลับคืนมาจำนวนมากเพียงพอที่จะใช้มาทำนายความต้องการของส่วนใหญ่ได้

-รายงานผลการวิเคราะห์ต้องมาจากผู้เกี่ยวข้องที่มีทักษะความชำนาญ เช่น การบันทึกข้อมูล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผล

-การใข้ข้อมูลเชิงปริมาณยังมีข้อจำกัดในด้านความสามารถและข้อจำกัดของการใช้ข้อมูลในการอธิบายถึงต้นตอหรือสาเหตุของปัญหาและทางออก

4. การพิจารณาจากข้อมูลรายงานต่าง ๆ ขององค์การ -การพิจารณาจากรายงานขององค์การทำให้มองเห็นภาพรวมได้ดี

-ข้อมูลในรายงานมักจะระบุถึงความเป็นมาของประเด็ฯที่กำลังสำรวจ

-การอ่านจากรายงานสามารถทราบถึงปัญหาที่แท้จริงได้ จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและที่สามารถวัดประเมินได้

-รายงานอาจจะทำให้พอทราบถึงจุดที่เป็นปํยหาหรือประเด็นความยุ่งยาก

-ข้อมูลต่าง ๆ ในรายงานสามารถรวบรวมจากฝ่ายต่าง ๆ ที่รับผิดชอบได้โดยไม่ยาก

-ข้อมูลในรายงานมักจะไม่ชี้ชัดลงไปถึงสาเหตุและผล

-ตัวรายงานมักจะให้เพียงแต่ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา

-ข้อมูลในรายงานมักจะไม่สะท้อนถึงความซับซ้อน ลงลึกไปในแต่ละประเด็น

5.การสังเกต (Observation) -เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลทางตรงโดยผู้สังเกตกระทำเองแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นจะเข้ามาร่วมตีความหมายชี้นำไม่ได้

-ข้อมูลที่สังเกตได้จะต้องมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับประเด็นที่กำลังทำการสำรวจอย่างแท้จริง

-เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับใช้ในการสอบทานร่วมกับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีอื่น ๆ

-การปรากฎตัวของผู้ที่เข้าไปทำการสังเกตอาจจะทำให้ผู้ที่กำลังถูกสังเกตหรือถูกเฝ้ามองจะเกิดการวางตัวที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อาจทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง

-เป็นวิธีที่ต้องใช้ทักษะของผู้สังเกตในระดับสูงทั้งในกระบวนการสังเกตและการเตรียมพร้อมด้านความรู้ในเชิงเนื้อหาต่อประเด็นที่ทำการสังเกต

-มีความเป็นไปได้ว่า การจะได้ข้อมูลมาหรือไม่อาจขึ่นอยู่กับความโชคดี เพราะบางครั้งสิ่งที่เฝ้าสังเกตอยู่อาจจะปรากฎให้เห็นหรือไม่ก็ได้

6.การใช้วิธีประเมินที่หลากหลาย หรือศูนย์กลางการประเมิน (Assessment Centers) -วิธีนี้เหมาะสำหรับการสำรวจวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการเรียนรู้ของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

-เป็นวิธีที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาก

-เสียค่าใช้จ่ายสูง

-การประเมินด้วยวิธีที่หลากหลายจะส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อผู้ถูกประเมินด้วย ถ้าจะต้องเผชิญหน้ากับการได้รับทราบผลการประเมินที่เกี่ยวกับจุดอ่อนที่ตนเองมี และรับไม่ได้

7.การพิจารณาจากเหตุการณ์สำคัญ หรือเหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในองค์การ

(Critical Incident Technique)

-เหมาะกับการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์และมีจำนวนมาก ซึ่งมีความเหมาะสมและเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังสำรวจ

-โดยทั่วไป ปัจเจกบุคคลมักจะสร้างความเชื่อมโยงเหตุการณ์สำคัญ ๆ กับข้อมูลที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยธรรมชาติ

-ไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่าเหตุการณ์วิกฤติเหล่านั้นจะมีความเชื่อถือได้

-การนำเอาข้อมูลมาใช้ จะต้องมั่นใจว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นตัวแทนที่สามารถใช้อธิบายเหตุการณ์สำคัญนั้นได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด

 

Delahaye, B. (2005). Human resource development: Adult learning and knowledge management. John Wiley & Sons Australia.