เมื่อต้องพูด เมื่อต้องตอบ

วันนี้ 31 สิงหาคม 2565 น้องอ้อแจ้งว่ามีผู้มาขอสัมภาษณ์เรื่องของห้องสมุดที่กำลังจัดอยู่ ซึ่งเป็นการจัดร่วมกับวิทยาเขตฯ ในงาน ทับแก้ววิชาการ ซึ่งจัดมาหลายปีแล้ว แต่ด้วยเหตุของโควิดจึงชะงักพักไป…. จนลืม

แต่เมื่อต้องฟื้นก็ไปต่อได้ เพราะจับงานที่อารมณ์แบบนี้ตั้งแต่ครั้งแรก แม้ว่าช่วงนั้นจะไม่ได้อยู่ในเมืองไทยก็ตาม แต่ก็ยังส่ง content กลับมา ย้อนกลับไปดูสเตตัสของตัวเองเมื่อ 26 สิงหาคม 2557 ยังจำความรู้สึกของตนเองได้ ส่วนความรู้สึกของเมืองไทยนั้นไม่ทราบ และที่ตลกคือลืมสิ่งที่ตัวเองทำ ซึ่งได้เขียน comment โต้ตอบกับคุณใหญ่ว่าตอนแรกเห็นคำโปรยภาษาอังกฤษ คิดในใจแหมใครนะช่างเขียนชอบจังเลย อ้าวววว นึกได้ไปเช็คในเมล์ ตรูเองนี่หว่า 555555″

ย้อนกลับมาเรื่องการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นรายการสด พิธีกรให้แนะนำหอสมุด ซึ่งพี่พูดให้โยงกับงานที่ทำและหากงานนี้จบลงหอสมุดฯ จะดำเนินการอะไร สั้นๆ ง่ายๆ ทำอะไร รู้สึกอย่างไรก็พูดไปตามนั้น การไร้สคริปต์คือสนุก เพราะถึงมี พี่ก็พร้อมออกนอกเรื่อง 😝

การทำอะไรแบบนี้สนุกดี พี่ไม่คิดมาก พร้อมพูด พร้อมตอบ แต่ที่คิดขึ้นมาอีกหน่อยคือ คำถามที่มักได้จากหลังจากการนำเสนอผลงาน เพราะไม่รู้ว่าคนถามจะถามอะไร แต่ก็เชื่อว่าเราต่างสนทนาด้วยภาษาไทยทเราทำงานชิ้นนั้นๆ มากับมือ เราต้องตอบได้แน่นอน ถ้าไม่ได้ก็ขอบคุณที่ให้คำชี้แนะ ที่ลุ้นคือกลัวลืม !!!

เมื่อต้องพูดเมื่อต้องตอบที่กังวลใจมากที่สุดคือเมื่อเราต้องไปนำเสนองานโดยใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเราไม่มีเชี่ยวมาก แค่เอาตัวรอดได้  ตอนนำเสนองานเป็นเรื่องที่อยู่ในสคริปต์เราสามารถควบคุมได้

สิ่งที่น่ากลัวมี 2 กรณีค่อ 1) เวลาในการนำเสนอว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามกำหนดการเราก็จะสบายเพราะเราเตรียมตัวมาแล้ว แต่ที่มีปัญหาคือมักมีเหตุอยู่สองอย่่งคือ ไม่ยาวเกินไป ก็สั้นเกินไป และเมื่อถึงเวลานั้นเราก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการยืดหรือตัดทอนเนื้อหาที่จะนำเสนอ ซึ่งนั่นหมายความว่า ต้องมีการปรับสคริปต์ และ 2) สถานการณ์เช่นเดียวกับการนำเสนอด้วยภาษาไทยคือ การตอบคำถาม เริ่มจาก ความเกร็ง และลุ้นว่าเราจะสามารถฟังคำถามนั้นออกหรือไม่ ที่พีคสุดคือเราจะตอบได้ไหม คลังคำภาษาอังกฤษที่อยู่ในตัวเราจะเพียงพอกับบทสนทนานั้นหรือไม่

ในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องที่ได้ไปทำวิจัยที่อินเดีย พี่ได้รับ 2 คำถามคือ

1) ในเมื่อเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อห้องสมุดความแตกต่างของการใช้ห้องสมุดของทั้งสองประเทศคืออะไรยังไง แตกต่างกันไหม

2) การลงทุนในเรื่องดิจิทัล ถามจริงๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่

พี่บันทึกในสเตตัสของตัวเองไว้ว่า

“แม้เราภาษาไม่ดี แต่คำตอบของเราทำให้คนพยักหน้าได้จึงรู้สึกดี เพราะตอนที่โดนถาม พี่มองลงไปทุกคนหน้าแบบลุ้นมาก มองพี่แบบเป็นห่วง เพราะพี่ต้องตอบกันแบบสดๆ คิดตรงนั้นตอบตรงนั้น”

พี่ตอบไปว่า

ข้อ 1 ตอบว่าในสายตาของเรา อินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่มีประชาชนมาก ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ลดช่องว่างในเรื่องระยะทาง และห้องสมุดยังเป็นหัวใจของการศึกษาค้นคว้า เมื่อประชาชนต้องการความก้าวหน้าทั้งการศึกษาและการทำงาน ก็ต้องอ่านและศึกษาหาความรู้ในห้องสมุด ซึ่งดิจิทัลไม่ได้มีทุกอย่างและมีไม่พอเพียง การอ่านตัวเล่มหนังสือยังคงมีความจำเป็นของทั้งสองประเทศ พี่เลือกที่จะกล่าวถึงประเทศไทย เพราะเคยพูดก่อนหน้านี้ จะมีคำถามมากมายและยากที่ตะตอบ

ข้อ 2 ตอบว่า จริงอยู่การเป็นดิจิทัลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ข้อมูลที่อยู่ในรูปของดิจิทัลที่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงได้ เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ของอินเดียหรือไทย หากข้อมูลนั้นไปสนับสนุนการทำวิจัย และผลงานวิจัยมีผลต่อโลกถือว่าคุ้มค่า เมื่อนำเรื่องการตลาดมาประเมินการทำงาน หน้าที่ของห้องสมุดก็ต้องนำการตลาดในมิติของการส่งเสริมการใช้มาจัดการด้วย

เสียดายที่พี่หากระดาษโน้ตที่เขียน keyword ที่เป็นภาษาอังกฤษ และการลากเส้นโยงใยนั้นไม่เจอ

เวลาประเมินว่าเราทำได้ดีแค่ไหน มีคนสนใจงานเราหรือไม่ พี่วัดจากอวัจนภาษาที่แสดงออกตอนฟังเราพูด

และข้อความตอนท้ายของสเตตัสสรุปไว้ว่า

เวทีแบบนี้สนุกดีให้อะไรเราเยอะ ฝากไว้ให้น้องๆ ได้อ่าน เผื่อในอนาคตต้องทำอะไรแบบนี้ ภาษาอังกฤษยังจำเป็นเสมอ อย่าคิดหนี 🤪