งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ได้แก่หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และฐานข้อมูล
วารสาร (Serials) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง อาจมีกำหนดออกแน่นอน และไม่แน่นอนโดยมีการระบุหมายเลขหรือลำดับ วัน เดือน ปี ในแต่ละฉบับ มีการกำหนดออกเช่น รายวัน (Daily) รายปักษ์ (Semi-monthly) , รายสัปดาห์ (weekly), รายเดือน (monthly), รายสองเดือน (bimonthly), รายไตรมาส (quarterly), รายครึ่งปี (Semi-annual)
การจัดหาวารสารเป็นหน้าที่หนึ่งในงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวารสาร เริ่มตั้งแต่การวางแผนในการบอกรับวารสาร การคิดคำนวณเงินงบประมาณ การจัดหาวารสารภาษาไทย มีวิธีการจัดหา คือ สำรวจความต้องการในการใช้ โดยการสอบถามจากงานบริการวารสารเพื่อพิจารณาต่ออายุ หรือ บอกรับ ในปีงบประมาณ มีการดำเนินการขออนุมัติ บอกรับ ทำงบประมาณ จะมีการเตรียมแผนการใช้จ่ายเงินค่าวารสารที่นอกเหนือกจากหนังสือ และที่เกี่ยวข้อง เพื่อพอจ่ายค่าวารสารได้ การคิดคำนวณเงินงบประมาณ คิดจากปีที่บอกรับเรียบร้อยแล้ว โดยการกำหนดเพื่อการวางแผน และเพื่อความต่อเนื่องของการได้รับตัวเล่มวารสาร การติดตามทวงใบเสร็จรับเงิน และตัวเล่ม
ตัวอย่าง เช่น
กำหนดแผนในบอกรับวารสาร ชีวจิต , National geogrraphic ฉบับภาษาไทย , บ้านและสวน, หมอชาวบ้าน, อสท. , สสวท., ต่วยตูน, ต่วยตูนพิเศษ, safety life, ฟ้าเดียวกัน, เสียงรามัญ. สสวท. NSM Science Magazine, สารคดี, ศิลปวัฒนธรรม, เมืองโบราณ โดยวิธีติดต่อขอใบเสนอราคา หรือสอบถามข้อมูลเบื้องต้น เนื่องจากวารสารมีการจัดพิมพ์ในรูปของ Print และ digital
โดยการบอกรับโดยตรงจากสำนักพิมพ์ หรือผู้จัดทำ จัดทำแผนปีงบประมาณซื้อวารสารเสนอหัวหน้างานฯ ดำเนินการพิจารณางบประมาณในการต่ออายุสมาชิกฯ เมื่อมีการจัดหาวารสาร
ปัญหาที่พบในการทำงาน ได้แก่
- การขอใบเสนอราคาวารสาร /ใบสมัครสมาชิก บางแห่งไม่มี ด้วยเหตุผลเดียวของผุ้ขาย คือวารสารมีราคาถุก เจ้าของวารสารไม่ทำใบเสนอราคา ทำให้ไม่สามารถบอกรับสมาชิกได้
- การบอกรับวารสาร บางแห่งเลิกกิจการกระทันหันทำให้ไม่ได้รับการคืนเงินโดยเฉพาะช่วงโรคระบาด
3.วารสารมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดออก มีการหยุดจัดพิมพ์บางเดือน วารสารบางรายชื่อ มีการจัดพิมพ์รวมเล่ม
4.การติดตามทวงถามตัวเล่มวารสารที่ไม่ได้รับ ต้องคอยติดตามเสมอๆ
5.วารสารหยุดจัดพิมพ์ ด้วยสาเหตุ เพื่อปรับปรุงเป็น Digital online หรือเลิกกิจการเพราะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว ไม่มีผู้เขียน
6.วารสารสูญหายในขณะขนส่ง หรือตัวเล่มที่ได้รับเกิดการชำรุด เช่น เปียกฝน หัก งอ ฉีกขาด
7.วารสารที่มีกำหนดออกรายปี ต้องคอยติดตามจัดซื้อเป็นเล่มทำให้ขาดความต่อเนื่อง วารสารบางรายชื่อไม่บอกรับสมาชิก ต้องใช้วิธีการจัดซื้อ
8.วารสารที่มีกำหนดออกรายไม่แน่นอนต้องคอยตาม
9.วารสารบางรายการ ขอใบเสนอราคาไม่ได้ ทำให้ได้รับวารสารไม่ต่อเนื่อง
10.วารสารบางรายชื่อมีการปรับราคา ต้องขอใบเสนอราคาใหม่
ข้อดีของวารสาร วารสารเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า มีเนื้อหาอย่างละเอียดทั้งสาระและบันเทิงที่ผ่านการเรียบเรียง กลั่นกรองมาจากความคิดของนักเขียน และเป็นเหตุการณ์ที่เป้นปัจจุบัน บางเรื่องหาไม่พบในหนังสือ เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยอย่างมากเพราะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เสนอความก้าวหน้าและการพัฒนาของศาสตร์ต่าง ๆที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และสามารถช่วยตอบปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะวารสารวิชาการ จะเสนอบทความ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางวิชาการ และให้ประโยชน์ทางด้านบันเทิงอีกด้วย แม้ในปัจจุบันวารสารได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำเป็นระบบ Digital แล้ว แต่ฉบับพิมพ์ก็ยังมีความจำเป็น ในปีงบประมาณ 2566 มีการดำเนินการวางแผน เพื่อต่ออายุสมาชิก ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
(คำนวณ อัตราค่าสมาชิก ระยะเวลาการบอกรับ 1 ปี)
- บ้านและสวน รายเดือน 1,560 บาท
- ชีวจิต รายปักษ์ 1,500 บาท
- National geographic ฉบับภาษาไทย รายเดือน 1,650 บาท
- วารสารวิทยาศาสตร์ รายสองเดือน 1,000 บาท
- หมอชาวบ้าน รายเดือน 720 บาท
- ศิลปวัฒนธรรม รายเดือน 1,400 บาท
- ฟ้าเดียวกัน รายสี่เดือน 700 บาท
- สสวท. รายสองเดือน 300 บาท
- NSM Science รายเดือน 500 บาท
- Safety life รายเดือน 450 บาท
- วชิราวุธานุสรณ์สาร รายสามเดือน 300 บาท
- เสียงรามัญ รายสี่เดือน 250 บาท
- ปาจารยสาร รายสี่เดือน 300 บาท
- สารคดี รายเดือน 1,980 บาท
- อสท. รายเดือน 900 บาท
- ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม รายสองเดือน 450 บาท
- Engineering Today รายสองเดือน 450 บาท
- ต่วยตูน รายเดือน 1,650 บาท
- ต่วยตูนพิเศษ รายเดือน 1,650 บาท
- เอเชียปริทัศน์ รายปี 150 บาท
งบประมาณที่ตั้งไว้มีความยืดหยุ่นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมผู้ปฏิบัติงานจะนำเสนอทำงบประมาณค่าวารสารภาษาไทย จำนวน 16,000 บาท และทำแผนการดำเนินการต่ออายุ และบอกรับ หากวารสารมีการหยุดจัดพิมพ์ จะรายงานให้หัวหน้างานฯ ทราบ เพื่อจะได้บริหารจัดการเงินงบประมาณได้ หากวารสารชื่อใดที่สืบค้นได้จาก Open access จะสอบถามงานบริการว่าสมควรจะบอกรับสมาชิกหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การใช้และการไม่ใช้ตัวเล่มวารสาร การพิจารณาบอกรับ /ต่ออายุสมาชิกโดยการตัดสินของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการ หัวหน้างานฯ และผู้จัดซื้อวารสารในการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ภาษาอังกฤษที่เ่กี่ยวกับวารสาร
Serials หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปสื่อใด ๆ นั้น เป็นการเปิดประตุสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในการพิมพ์วารสารในอนาคต
Periodicals ได้แก่สิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเฉพาะ กำหนดออกเป็นระยะทั้งที่สม่ำเสมอ และไม่สม่ำเสมอ บรรจุบทความโดยผู้เขียนหลายคน มีเลขที่ของฉบับต่อเนื่องกันไป จัดพิมพ์โดยสมาคม สถาบัน หรือสำนักพิมพ์
Journal หมายถึงวารสาร จัดพิมพ์โดยสถาบันวิชาการ สมาคมวิชาการ หรือองค์การประกอบด้วยข่าวความเคลื่อนไหวในวงการ รายงาน บทความและกิจการในแขนงวิชา
Magazine หมายถึง นิตยสาร มีเรื่องในแขนงวิชาต่าง ๆ ทั่วไป เป็นลักษณะสารคดี นวนิยาย หรือเรื่องสั้น ลงต่อกันเป็นตอน ๆ
การจัดหาวารสารภาษาไทย หอสมุดฯ บอกรับวารสารวิชาการและบันเทิง หากงบประมาณมีจำกัด ก็ทยอยตัดรายการวารสารออก ตามความเหมาะสม
สรุป วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่ใหม่และทันสมัยสำหรับผุ้อ่านมากกว่าหนังสือ เพราะว่าในวารสารจะมีทั้งบทความ ผลของการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ๆที่เกิดขึ้น ข้อมุลข่าวสารทางสถิติ ความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นของนักวิชาการ ซึ่งผู้อ่านสามารถที่จะเลือกอ่านได้ตามความต้องการ