ต้นชะมวงและใบชะมวง
(ต้นที่บ้านผู้เขียนปลูกมาสิบปีแล้ว)
ชะมวง เป็นพันธุ์พืชท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย พบตามป่าดิบชื้นทั่วไป รวมถึงที่ราบลุ่มที่มีความชื้นพบสมควร พบตามป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ขึ้นไป ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะพบได้มากในแถบพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก ส่วนภาคอื่นๆจะพบได้ประปรายบริเวณใกล้แม่น้ำลำคลองหรือลำห้วย
ชะมวง มีชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะป้อง , ส้มป้อง (ภาคเหนือ) , หมากโมง , หมากส้มโมง (ภาคอีสาน) , ส้มมวง , กะมวง , มวง (ภาคใต้) , กานิ (มลายู) , ตระมูง (เขมร)
สรรพคุณชะมวง เป็นยาระบาย, แก้ไข้, ช่วยแก้กระหายน้ำ, แก้ธาตุพิการ, แก้บิด, แก้เสมหะ, เป็นยาฟอดโลหิต, ใช้ขับเลือดเสีย, ช่วยบำรุงผิวพรรณ, ช่วยย่อยอาหาร, แก้แผลติดเชื้อ, แผลเป็นหนอง, รักษาแผล, รักษาโรคผิวหนัง, รักษาโรคท้องร่วง, ช่วยลดอาการไอ และ แก้อาการเหน็บชา
ประโยชน์
• ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ แกงส้ม หมูชะมวง และแกงชนิดต่างๆ เมื่อถูกความร้อนใบจะกรอบนุ่ม
• ใบชะมวงอ่อน และยอดอ่อน ใช้รับประทานสดหรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก
• ผลมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้
• เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน
• เนื้อไม้นำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
• เนื้อไม้ และกิ่ง ใช้เป็นฝืนหุงหาอาหาร
• ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงา และเป็นพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน
ลักษณะทั่วไปต้นชะมวง
ชะมวงจัดเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง ไม้ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร แตกทรงพุ่มเป็นกรวยคว่ำทรงสูงเปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา แต่เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นจะมีน้ำยางสีเหลือง ใบออกเป็นใบเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง โดยใบออกเป็นคู่ตรงข้ามสลับตั้งฉากเป็นรูปรี ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบมน แผ่นใบเรียบค่อนข้างหนา แต่เนื้อใบจะกรอบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบมองเห็นเส้นใบไม้ชัดเจน ใบอ่อนมีสีม่วงแดงแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน และสีเขียวเข้มตามอายุใบ เนื้อใบมีรสเปรี้ยว
การขยายพันธุ์ต้นชะมวง
ชะมวงสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือการเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้าที่ได้ไปปลูก โดยการเพาะเมล็ดจะใช้เมล็ดจากผลแก่ที่ร่วงจากต้นแล้วนำมาแกะเปลือก และนำมาตากแห้ง 5-7 วัน หลังจากนั้นจึงนำไปเพาะในถุงเพราะชำที่มีวัสดุเพาะเช่นแกลบ ขี้เถ้า และขุยมะพร้าว ทั้งนี้ชะมวงสามารถเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน
แหล่งอ้างอิง : https://www.disthai.com/17236316/ชะมวง
https://puechkaset.com/ชะมวง/
ใบชะมวงนำมาปรุงอาหารได้ จะได้อาหารที่มีรสชาติอร่อย ที่มีรสเปรี้ยวนำ สามารถกินเป็นผักสดได้ หรือนำใบมาปรุงอาหาร
ตัวอย่างเมนูอาหาร เช่น กระดูกหมูต้มใบชะมวง, แกงหมูย่างใบชะมวง, เนื้อต้มใบชะมวง, หมูชะมวงแบบจันทบุรี, หมูต้มใบชะมวงแบบทางใต้, แกงคั่วหมูใบชะมวง, ปลาหมึกไข่ต้มเค็มหวานใบชะมวง, น้ำพริกใบชะมวง, ยำหมูย่างใบชะมวง, ใบชะมวงผัดไข่ หากสนใจการนำใบชะมวงมาทำอาหารสามารถค้นหาได้จาก Google ได้เลยค่ะ มีเมนูหลากหลายให้นำไปทดลองทำดู
วิธีทำแกงหมูชะมวงแบบจันทบุรี อ่านเพิมเติม : https://www.m-culture.go.th/chanthaburi/ewt_news.php?nid=717&filename=index
แกงหมูชะมวงแบบจันทบุรี
😀 ชามนี้ลองทำตามสูตรด้านบนค่ะ อร่อยมาก 😛