การอ่าน ด้วยเทคนิค “UseClark”

การอ่าน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะการอ่านในแต่ละครั้งเราต้องถ่ายทอดข้อมูลทั้งหมดที่อ่านได้ หรือนำเสนอข้อมูลที่อ่านในเวลาต่อมาได้ กรณีทำไม่ได้ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จจากการอ่าน เราสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเราซึมซับและวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจก่อน

หลักการประมวลผลข้อมูลมี 3 ขั้นตอน  1) การซึมซับ 2) การวิเคราะห์ และ 3) การนำความรู้ไปใช้  สิ่งสำคัญในการอ่านคือ สมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิก็จะไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน และไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ถูกต้อง จำข้อมูลได้ไม่ดี ดังนั้น สมาธิ ความเข้าใจ ความจำ เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกัน

นอกจากนี้เรายังพบปัญหาใหญ่ภายในหนึ่งวัน คือ เราลืมข้อมูลที่อ่าน หรือได้ยินประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และภายในหนึ่งสัปดาห์ จะเพิ่มขึ้นเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ เช่น ถ้าเราอ่านบันทึกเพื่อนำไปหารือกันในที่ประชุมสัปดาห์หน้าเราจะนำสิ่งที่อ่านไปถ่ายทอดได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่าสิ่งที่เราลืมบ่อยที่สุด  ภายในระยะเวลาหนึ่งวัน ลืมข้อมูลที่ซึมซับประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่เกี่ยวกับอายุ สติปัญญา  สิ่งที่เราลืมบ่อยที่สุด บางอย่างอาจเป็นสิ่งที่คุ้นเคย มีดังนี้

  • 27 %  ชื่อ
  • 25 %  เบอร์โทรศัพท์ที่เพิ่งรับ
  • 18 %  จุดที่วางบางอย่างไว้ (โทรศัพท์ กุญแจ รีโมททีวี)
  • 12 %  การนัดหมาย
  • 11 %  สิ่งที่เพิ่งคิดจะทำ
  • 10 %  วันสำคัญ (วันเกิด วันครบรอบ)
  • 9 %    คำ

3 ขั้นตอนที่เราใช้ในการประมวลผล

ข้อมูล:  1) การซึมซับ 2) การวิเคราะห์ และ3) การนำไปใช้   เรามาดูว่า 2 ขั้นตอนแรกคือ 1) การซึมซับ และ2) การวิเคราะห์ ซึ่ง 2 ขั้นตอนนี้ยังแบ่งได้อีก 5 ขั้นตอน 1) การซึมซับ 2) การทำความเข้าใจ 3) การวิเคราะห์ 4) การเก็บ และ 5) การเรียกมาใช้

ขั้นตอน เป้าหมาย หลักการของสมอง
1. ซึมซับ – รักษาสมาธิ ขณะซึมซับข้อมูล

– ซึมซับข้อมูลอย่างรวดเร็ว

และมีประสิทธิภาพ

– อุดช่องวาง

– ทำงานทีละอย่าง

– ใช้สมองเยอะ ๆ

– อย่าเรียนรู้มากเกินไป

2. ทำความเข้าใจ – เข้าใจเนื้อหา – ทำงานทีละอย่าง

– ต่อจุด

– ใช้สมองเยอะ ๆ

3. วิเคราะห์ – เห็นความแตกต่างระหว่างประเด็นสำคัญกับประเด็นยิบย่อย

– เห็นการเชื่อมโยง

– สร้างข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ

– ต่อจุด

– ใช้สมองเยอะ ๆ

 

 

4. เก็บ – เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ – ทำงานทีละอย่าง

– ต่อจุด

– ใช้ภาพ

– ใช้ความคิดสร้างสรรค์

– อย่าเรียนรู้มากเกินไป

5. เรียกมาใช้ – เรียกข้อมูลจากหน่วยความจำมาใช้ในภายหลัง – ต่อจุด

– ใช้ภาพ

– ใช้สมองเยอะ ๆ

วิธี UseClark ช่วยให้เราพิจารณาแต่ละขั้นตอนได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีสมาธิขณะซึมซับข้อมูล และขณะประมวลผลข้อมูล มีหลักการ 8 ข้อ ดังนี้

1) เป็นเรื่องของวิธีล้วน ๆ  ความสามารถในการรักษาสมาธิและจำข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุหรือระดับสติปัญญาสักเท่าไร 2) อุดช่องว่าง สมองของเราคิดเร็วกว่าที่เราพูดหรืออ่าน ผลคือเราจะเหลือพื้นที่สมองให้คิดถึงสิ่งอื่น ๆ ซึ่งในทางปฏิบัติ หมายถึง ในระหว่างที่อ่านหรือฟังคนอื่น ความคิดของเราจะฟุ้งซ่านได้ง่าย ถ้าอุดช่องว่างเราจะเหลือพื้นที่ให้คิดสิ่งอื่น ๆ น้อย ทำให้สมาธิดีขึ้น  3) ทำงานทีละอย่าง สมาธิแบบรู้ตัวของเราจดจ่อได้แค่ทีละอย่าง และทุกครั้งที่สลับงานไปมาเราจะเสียทั้งเวลา ความทุ่มเท และพลังงาน ถ้าเราพยายามทำงานทีละหลาย ๆ อย่าง หรือสลับงานไปมาอย่างรวดเร็ว ระดับความสามารถและประสิทธิภาพของเราจะต่ำลง ด้วยเหตุนี้จึงต้องจดจ่อกับงานทีละอย่าง 4) ต่อจุด ข้อมูลที่อยู่เดี่ยว ๆ แทบไม่ค่อยมี ส่วยมากมักจะเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นเสมอ การมองในภาพรวม การใช้ความรู้ของตัวเราเอง หรือการจัดโครงสร้างข้อมูลจะทำให้สมองประมวลผลข้อมูลได้ง่ายขึ้น 5) ใช้สมองเยอะ ๆ ยิ่งใช้สมองในการซึมซับหรือทบทวนข้อมูล ก็ยิ่งประมวลผลข้อมูลได้ดี 6) ใช้ภาพ การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพ คือการพูดภาษาที่สมองเข้าใจได้ดีที่สุด ผลคือเราจะจำข้อมูลได้รวดเร็วและนานขึ้น 7) ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้อย่างผนึกแน่นมากขึ้น ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลกับข้อมูลจากแหล่งอื่น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากการเชื่อมโยงดังกล่าว ยังเป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์เราด้วย และ 8) อย่าเรียนรู้มากเกินไป เป็นไปได้ที่เราจะเรียนรู้มากเกินไป หรือนานเกินไป แต่ได้ผลลัพธ์ที่แย่ลง ถ้าทำงาน เรียนรู้ อ่านหนังสือ หรือซึมซับข้อมูลพร้อมกัน รวดเดียวมากเกินไป รับรองได้เลยว่าเราจะจำข้อมูลได้ไม่นานนัก

การอ่านสำคัญต่อการคิด การตัดสินใจ และการทำภารกิจแทบทุกอย่าง และคิดว่าเราอ่านเป็นจริง ๆ แต่กลับ พบว่า 93 %  เราเสียสมาธิในการอ่านง่ายเกินที่จะอ่านทั้งหมด วิธี UseClark  ทำให้การซึมซับ การประมวลผล การจำข้อมูลทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เราทราบว่าในการทำงานแต่ละวันนั้นเราจะเสียเวลาจากการขัดจังหวะและสิ่งรบกวนโดยเฉลี่ยวันละ 2.1 ชั่วโมง และเมื่อถูกขัดจังหวะเราจะเสียเวลาโดยเฉลี่ยครั้งละ 20 นาที เพื่อกลับมาทำสิ่งนั้นใหม่อีกครั้ง

จาก…

ติกเคลาร์, มาร์ก. (2561). อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม. พิมพ์ครั้งที่ 2. แปลโดย จิรประภา ประคุณหังสิต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู.