วันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนมาฆ (เดือน ๓) ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือ วันพระสงฆ์

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าจะเตรียมของไปทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ เวียนเทียนในตอนเย็น

ความหมายของวันมาฆบูชา : วันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน ๓)   เป็นวันที่ พระพุทธองค์ทรงประกาศตั้งหลักศาสนา ในที่ประชุมสงฆ์เรียกว่า “จาตุรงค์สันนิบาต”

“การมาประชุมกันของผู้มีปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง ในวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูหนาวเสวยฤกษ์มฆะ เพื่อระลึกถึงความรักทะนุทะนอมของแม่ผู้บริสุทธิ์ ที่หวังประโยชน์สุขต่อพุทธบริษัทสี่ และหลั่งฝนคือเมตตาในพุทธบริษัทนั้น โดยการ (ปฏิบัติ) บูชา ด้วยปฏิปทาอันเป็นบูรภาคของมรรค เจริญรอยตามแบบของมาฆมาณพ (ก่อนที่จะได้มาเป็นท้าวมฆวาน) เพื่อทำจิตใจให้ผ่องใส สะอาดหมดจด เรียก มาฆบูชา”

ความสำคัญของมาฆบูชา

มาฆมาส เป็นเดือนที่พระจันทร์จรมา ตรงกับดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ หรือ มาฆะ ซึ่งเห็นเป็นรูปคล้ายงอนไถ เลยมักเรียกว่าดาวงอนไถ ปกคิจะตกในวันเพ็ญเดือนกุภาพันธ์ สื่่อถึงอริยมรรค (อย่างที่เคยตั้งข้อสันนิษฐานว่า มฆ กับมคฺค ออกเสียงใกล้เคียงกัน) เป็นเดือนที่มีการบูชา ชาวพุทธถือวันมาฆบูชาเป็นวันพระสงฆ์ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรบรรลุอรหัตตมรรคและอรหัตตผลในวันนี้ หลังจากได้แม่ทัพธรรมแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงอาศัยการเกิดจาตุรงคสันนิบาต มีพระอรหันขีณาสพ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่พระเวฬุวัน ประกาศตำราพิชัย (ธรรม) สงครามเสียเลย ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศอุดมการ – หลักการ – วิธีการเอาชนะมารและเสนามาร

และวันเพ็ญเดือนมาฆะเดียวกันนี้ ในอีก ๔๔ ปีต่อมา พญามารก็มาทูลอารธนาให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพุทธบริษัททั้งสี่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะดำรงศาสนพรหมจรรย์ให้ยืนยาวสืบไปได้เองแล้ว จึงทรงปลงพระชนมายุสังขาร ถือเป็นการส่งต่อภาระพระพุทธศาสนาจากพระพุทธองค์ท่านมาสู่พวกเราชาวพุทธทุก ๆ คน

ในอีก ๑ ปี ถัดมาก็ยังเป็นวันที่เสร็จสิ้นการสังคยานาพระไตรปิฏกครั้งที่ ๑

และในอีก ๑๐๐ ปี ต่อมาเป็นวันที่เสร็จสิ้นการ

สังคยนาพระไตรปิโกครั้งที่ ๒ อีกต้วย นอกจากนั้นในนี้เอง ก็ได้สร้างเหตุปัจจัยเพื่อการสังคยานาครั้งที่ ๓ ที่ทำให้พระพุทธศาสนาได้เผยออกจาชมพูทวีป แผ่ไปทั่วโลกด้วย พระษศาสดาทรงฝากพระศาสนา คือพระธรรมวินัยนี้ไว้กับชาวพุทธทุกคนแล้ว

ตัวมาฆบูชาศัพท์เอง จะแปลให้เป็นการระลึกถึงมฆมานพ ผู้เป็นตัวอย่างของบุคคลผู้ไม่ประมาทในการเจริญกุศล ก็ยังได้

ในวันมาฆบูชานี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  มี ๓ คาถา

  • คาถาแรก บอกอุดมการณ์ของชาวพุทธ คือ นิพฺพานํ  ปรมํ  วทฺติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมอันเยื่ยมที่สุด  แต่ถ้ายังไม่ถึงนิพพานล่ะ ก็ให้มีขันติไปก่อน  ขนฺติ  ปรมํ  ตโปตีติกขา  ขันติ คือ ความอดกลั้น  เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
  • คาุถาที่ ๒  บอกวิธีการของชาวพุทธ ๓ ข้อ คิอ ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ๒.  การทำกุศลให้ถึงพร้อม  ๓.  การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
  • คาถาที่ ๓  บอกหลักการของชาวพุทธ ๖ ข้อ คือ ๑.  การไม่กล่าวร้ายใคร ๒.  การไม่ทำร้ายใคร ๓.  การมีความสำรวมในปาฏิโมกข์ทั้งหลาย ๔.  การเป็นผู้รู้ประมาณในอาหาร ๕. การรู้จักที่นั่งที่นอนอันสงัด ๖.  การบำเพ็ญเพียรในอธิจิต

จาตุรงคสันนิบาต : การประชุมประกอบด้วยองค์ ๔

องค์ประกอบอัศจรรย์ ๔ ประการ คือ ๑.  วันดังกล่าว ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ๒.  พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปได้มาประชุมกันมิได้นัดหมาย ๓.  ต่างก็เป็นพระอรหันต์ ทรงอภิญญา ๖  ๔.  พระพุทธองค์ทรงประทาน “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”

ประวัติความเป็นมา

เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของวันมาฆบูชานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ของพระองค์ว่า “การมาฆบูชานี้” แต่เดิมก็ไม่เคยทำกันมา เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าาอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตได้นิยมไว้ว่า วันมาฆบุรณมีพระจันทร์ เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันตพุทธกาล ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ สี่ประการ เรียกว่า

จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา

นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้น กอรปการสักการะบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส และสังเวช

เราชาวพุทธ น้อมระลึกถึง เหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันมีหลักสำคัญเป็นหัวใจชองพระพุทธศาสนา คือ

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง

๒.การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม

๓.การชำระจิตให้บริสุทธิ์

ประทานแก่พระอรหันตสาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน ๓ เมื่อกว่า ๒,๖๐๐  ปี หากปีใดเป็นอธิกมาส วันมาฆบูชาจะตรงกับดิถีเพ็ญเดือน ๔

ปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันศุกร์ ที่ ๒๖ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ค

ข้าพเจ้าดีใจที่ได้น้อมระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในการประชุมสงฆ์ครั้งนั้น  เป็นการประชุมใหญ่ ในตอนบ่ายวันนั้น  เมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับจากถ้ำสุกรขาตา ถึง พระเวฬุวันมหาวิหารแล้ว พระอรหันตพุทธสาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ก็ได้มาประชุมกันเฉพาะพระพักตร์ โดยมิได้มีการนัดหมาย พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นเป็นเวลาสมควรที่จะประกาศหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกถือเป็นหลักเทศนาสั่งสอนและแนวปฏิบัติของพุทธบริษัท สืบไป จึงได้ทรงแสดง “โอวาทปาฏิโมกข์”   แปลว่า หลักแห่งคำสั่งสอน ในที่ประชุมสงฆ์เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต”

การที่พระพุทธองค์ทรงประกาศ เช่นนั้น เชื่อว่าเป็นเพราะพระพุทธองค์มีพระประสงค์เตรียมการส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายกว้างไกล และทัวถึงจะได้เกิดสันติสุขแก่มวลมนุษย์

โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระองค์ทรงแสดง เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา มีความสำคัญมาก  ย่อพระไตรปิฏกมาเรียบร้อยแล้ว  คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม การชำระใจของตนให้ผ่องใส

นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

วันนี้ ข้าพเจ้าได้ไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ และปฏิบัติธรรม เวียนเทียน

คำบูชาในวันมาฆบูชา

วันนี้ มาถึงวันมาฆปุรมี พระจันทร์เพ็ญ ประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ (เดือน ๓) แล้ววันนี้ ตรงกับวันที่พระตถาคต องค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ

ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ (ผู้หมดสิ้นกิเลส) ล้วนแต่เป็นเอหิภิกขุ มิได้มีใครนิมนต์นัดหมาย ได้มาประชุมพร้อมกันเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมี และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ในที่ประชุมนั้น การประชุมพระสงฆ์สาวกพร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีขึ้นเพียงครั้งนี้ ครั้งเดียวเท่านั้น ภิกษุผู้เข้าประชุม ๑,๒๕๐ รูป  นั้น ล้วนแต่เป็นขีณาสพ

บัดนี้ ถึงวันมาฆปุรณมีนักขัตตสมัย คล้ายวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว  เราทั้งหลายมาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระสงฆ์สาวก ๑,๒๕๐ รูป นั้น ด้วยเครื่องสักการะบูชาทั้งหลาย มีเทียน  ธูป และดอกไม้ ณ เจดีย์สถานนี้ ซึ่งเป็นสักขีพยานแห่่งพระผู้ม่ีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก แม้เสด็จปรินิพพานไปนานแล้ว ยังคงอยู่แต่พระคุณทั้งหลาย จงทรงรับสักการบรรณาการคนยากเหล่านี้ ของข้าพพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
ด้วยอานุภาพแห่งการบูชา ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายจงปราศจากทุกข์ มีความสุขกายสบายใจ รู้แจ้งในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ตลอดกาลนาน เทอญ

ในการเวียนเทียนนั้น ควรตั้งใจให้เกิดบุญ

การเดินรอบแรก ให้เราระลึกถึงพระพุทธคุณ ภาวนาว่า อิติปิ โส ภควา. อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน   สุคโต โลกวิทู, อนฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ  ภควาติ.

การเดินรอบที่ ๒ น้อมระลึกถึงพระธรรมคุณ ภาวนาว่า สฺวากฺขาโต  ภควตา ธมฺโม, สฺนทิฏฺฐิโก อกาลิโก  เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก  ปจฺจตฺตํ เวทิตตฺโพ  วิญฺญูหีติ.

การเดินรอบที่ ๓ น้อมระลึกถึงพระสังฆคุณ ภาวนาว่า  สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจืปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ  ปุริสยุคานิ, อฏฺ  ปุริสปุคฺคลา, เอสภควโต สาวกสงฺโฆ, อาหุเนยฺโย  ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย

อญฺชลีกรณีโย, อนุตฺตรํ  ปุญฺญเขตฺตํ  โลกสฺสาติ.

น้อมนำบุญมาฝากทุก ๆ คน ค่ะ

และยกบุญกุศลที่ได้ปฏิบัติธรรมแล้วใหนวันนี้ ให้แก่ พ่อ กับแม่  สาธุ สาธุ

ธรรมมะที่ได้ในวันนี้ คือ

ความเพียรชอบ ๔ ประการ

๑.  สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒.  ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๓.  ภาวนาปธาน คือ   เพียรเจริญ  หรือ เพียรก่อให้เกิด  คือเพียรทำกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี

๔. อนุรักขนาปธาน คือ  เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น แลให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สนใจสามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  Call no.BQ5715ท9พ67 2528

พิทูร มลิวัลย์.  (2528).  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2.   กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา