End Credits ท้ายเรื่อง – ดูเพื่อให้เกียรติ

ใครที่เคยเข้าไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ หลังจากภาพยนตร์จบลงแล้ว ก็ลุกออกจากโรงไปเลยใช่ไหมค่ะ เมื่อก่อนแรกๆ ผู้เขียนก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน แต่ต่อมาได้ไปอ่านข้อเขียนพวกสปอยภาพยนตร์ ทำให้ทราบว่า หลังจากที่ภาพยนตร์จบลงนั้นจะมี End Credit ขึ้นบนจอภาพยนตร์ตอนท้าย และหลังจากนั้นหากภาพยนตร์เรื่องนั้นมีภาคต่อ หรือ จะทำภาคต่อ จะมี After Credit ให้ดูเป็นการสปอยเรื่องราวของภาคต่อไป

After Credit จะเป็นซีนพิเศษเล็กๆ ที่ผู้สร้างแทรกเข้ามา ระหว่างขึ้น End Credit  หรือหลังจากจบ End Credit อาจเป็นการขอบคุณผู้ชมภาพยนตร์ หรือเป็นการเกริ่นนำ หรือสปอยภาพยนตร์เรื่องหรือภาคต่อไป จำได้ว่า เริ่มนั่งดู End Credit และ After Credit ตอนที่ดูติดตาม ภาพยนตร์เรื่อง X-Men และภาพยนตร์ Marvel หลังจากนั้นหากมีโอกาสไปดูภาพยนตร์ที่ไรก็จะนั่ง End Credit และ After Credit ตลอด แม้ว่าภาพยนตร์บางเรื่องจะไม่มี After Credit ก็ตาม

End Credits มีความหมายเดียวกับ Closing Credits คือเป็นเครดิตรายชื่อผู้เกี่ยวข้อง แต่ถูกใช้ผิดๆกันบ่อยว่าหมายถึงฉากเพิ่มเติมหลังหนังจบ ซึ่งจะสร้างความสับสน

ที่จริงฉากเพิ่มเติมหลังภาพยนตร์จบจะแยกเป็น 3 แบบ Pre-Credits Scene ขึ้นก่อนเครดิต Mid-Credits Scene ขึ้นระหว่างเครดิต Post-Credits Scene ขึ้นหลังจบเครดิตแล้ว และฉากเพิ่มเติมมีชื่อเรียกอีกแบบนึงใช้ได้เหมือนกัน Before The Credits = Pre-Credits Scene During The Credits = Mid-Credits Scene After The Credits = Post-Credits Scene(แหล่งอ้างอิง : https://twitter.com/closingcredit/status/996734045223501825?lang=th)

 

ทีนี้เราเคยสงสัยกันไหมว่า End Credit ที่ขึ้นๆ วิ่งๆ อยู่ท้ายเรื่องนั้น มีข้อมูลหรือเนื้อหาอะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1.ผู้อำนวยการผลิต (Producer) ผู้อำนวยการผลิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด นับตั้งแต่การวางแผน การถ่ายทำ หลังการถ่ายทำ เพื่อให้การผลิตภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสมบูรณ์ที่สุด

2.ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department) ฝ่ายกฎหมายทำหน้าที่ในการทำสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งได้แก่การทำสัญญาเช่าลิขสิทธ์ การเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การทำประกันภัย ฯลฯ

3.ผู้เขียนบทภาพยนตร์ (Script Writer) ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจนแล้วเสร็จ เมื่อเขียนบทเสร็จแล้วภาระหน้าที่ต่อไปก็คือการแก้ไขบท เมื่อแก้ไขบทจนเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างแล้วภาระหน้าที่ของผู้เขียนบทก็หมดไป

4.ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director) ผู้กำกับภาพยนตร์ มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ เลือกทีมงาน เลือกนักแสดง สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และเป็นผู้ที่ควบคุมงานผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดภายใต้การดูแลของผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์

5.ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ (Assistant Film Director) ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ทีมใหญ่ๆ จะมีผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ 2-3 คน ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน

6.ผู้กำกับภาพ (Director of Photography) ผู้กำกับภาพจะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ กองถ่ายหนังใหญ่ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย

7.ช่างกล้อง (Camera Operator) ช่างกล้องจะประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์โดยการกำหนดการวางมุมกล้อง ขนาดภาพ การสื่อความหมายด้วยภาพซึ่งจะวางแผนล่วงหน้าในขั้นตอนเตรียมงานสร้างก่อนที่จะถ่ายจริง

8.ผู้กำกับศิลป์ (Art Director) ผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ในการไปหาสถานที่ ที่ถ่ายทำ ร่วมกับผู้ทำหน้าที่จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้ช่วยกำกับ ธุรกิจกองถ่าย ฯลฯ การออกแบบสร้างฉากตามยุคสมัยบรรยากาศตามเรื่องราวในบทภาพยนตร์

9.ผู้ช่วยกำกับศิลป์ (Asst. Art Director) ผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้กำกับศิลป์ในการออกแบบฉากที่ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับศิลป์

10.ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก (Properties Master) ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากต่างๆเช่น จัดหา ตู้ โต๊ะ นาฬิกา ผ้าม่าน ฯลฯ ตามการออกแบบของฝ่ายศิลป์

11.ฝ่ายสร้างฉาก ฝ่ายสร้างฉากจะทำหน้าที่สร้างฉากตามที่ฝ่ายศิลป์ออกแบบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์

12.ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board Visualizer) ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด จะทำหน้าที่แปลงบทภาพยนตร์ให้เป็นภาพเขียน โดยกำหนด ขนาดภาพ มุมกล้อง การจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วการเขียนสตอรี่บอร์ดนั้นจะเขียนเฉพาะฉากที่ถ่ายทำยากๆเท่านั้น เช่น ฉาก ACTION ต่างๆซึ่งทีมงานที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฯลฯ พอเห็นภาพจากสตอรี่บอร์ดแล้วก็สามารถจะออกแบบทำงานตามหน้าที่ของตนได้ทันที

13.ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (COSTUME DESIGNER) ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทำหน้าที่ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละคร โดยคำนึงถึงยุคสมัย บุคลิกของตัวละคร โดยก่อนที่จะออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้น ผู้ออกแบบนอกจะอ่านจากบทภาพยนตร์อย่างละเอียดแล้ว จะต้องเข้าร่วมประชุมกับผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับศิลป์ เพื่อทราบแนวคิดและกำหนดแนวทางของการออกแบบโทรและอารมณ์ของภาพยนตร์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

14.ผู้จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่ง (WARDROBE) ผู้จัดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ทำหน้าที่จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของนักแสดงให้เป็นไปตามตารางการถ่ายทำภาพยนตร์ ตลอดจนดูแลเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการ

15.ผู้จัดการจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ (LOCATION MANAGER) บุคลากรตำแหน่งนี้เพิ่งมีในกองถ่ายภาพยนตร์ไทยในระยะเวลาที่ไม่นานมานี้ เพราะก่อนหน้านี้ผู้กำกับ ผู้ช่วยกำกับ และผู้กำกับศิลป์ จะช่วยกันหาสถานที่ถ่ายทำ แต่เพราะความไม่สะดวก เพื่อให้การจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงกำหนดให้มีตำแหน่งนี้ขึ้นมา

16.ผู้คัดเลือกนักแสดง (CASTING) ผู้คัดเลือกนักแสดง ทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดงตามบุคลิกของตัวละครที่กำหนดไว้ในบทภาพยนตร์ ซึ่งการคัดเลือกนักแสดงนี้ผู้คัดเลือกนักแสดงจะต้องทำงานร่วมกับผู้อำนวยการผลิต ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ เป็นต้น

17.ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง (ACTING COACH) ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง จะทำหน้าที่หลังจากที่คัดเลือกนักแสดงแล้ว บางกองถ่ายจะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมนักแสดงก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์ 2-3 เดือน เพื่อให้นักแสดงบางคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางการแสดงได้พัฒนาตนเอง สามารถที่จะแสดงภาพยนตร์ในขั้นตอนการถ่ายทำได้อย่างราบรื่น สำหรับนักแสดงที่มีประสบการณ์แล้วก็จะต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงตามบทภาพยนตร์ เช่นเดียวกัน

18.ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน ขอใช้ ขอเช่าสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนตร์ การติดต่อนักแสดง การทำงบประมาณค่าใช้จ่ายรายวัน การจ่ายเงินแก่นักแสดงทีมงานตลอดจนทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อนำเสนอบริษัท (แหล่งข้อมูล : https://www.dek-d.com/board/view/3565154/)

 

end-credits.png

 

เครดิตรูปภาพจาก : https://www.manula.com/manuals/fxhome/hitfilm-pro/15/en/topic/end-credits-crawl

 

จากข้อมูล End Credit ที่ปรากฎอยู่ท้ายเรื่องนั้น มีประโยชน์อะไรกับการทำงานของบรรณารักษ์ คำตอบคือมีประโยชน์กับการลงรายการทางบรรณานุกรมนั้นเอง เพราะนอกจากแหล่งข้อมูลหลักสำหรับการลงรายการทางบรรณานุกรม เช่น ปกของวัสดุ หรือฉลากที่ติดอยู่บนวัสดุ บนกล่องบรรจุและสิ่งพิมพ์ประกอบวัสดุแล้วนั้น ชื่อเรื่องที่ปรากฏหน้าจอของวิดีโอและตอนท้ายของวิดีโอ, สถานที่ผลิต/จัดทำ, บริษัทที่ผลิต/จัดทำ, ผู้ผลิต (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ), นักแสดง/ผู้บรรยาย/ผู้นำเสนอ และข้อมูลเกี่ยวกับระบบเทคนิคต่างๆ สามารถดูได้จากข้อมูล End Credit อีกด้วย