เรียนรู้การใช้งาน Google Scholar

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักกับ Google Scholar กันมาบ้างแล้ว แต่หากใครยังไม่เคยได้ยิน หรือไม่รู้จัก วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และเรียนรู้วิธีการใช้งานในเบื้องต้นไปพร้อมๆกันค่ะ

 

Google Scholar เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2004 ในเครือข่ายของ บริษัท Google โดยมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับ Search Engine หากต้องการจะค้นหาก็ใส่ Keyword หรือคำค้นในช่อง Search จากนั้นเจ้าตัว Google Scholar ก็จะแสดงผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนหน้าจอ นี่เป็นเพียงการใช้งานเบื้องต้นอันแสนจะง่ายดาย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนก็คงคิดว่าอ้าว แล้วมันแตกต่างจาก Google ธรรมดายังไง วันนี้จามีคำตอบมาบอก

 

ความต่างของเจ้าตัว Google Scholar ก็บอกอยู่ที่ชื่อนั่นเอง คือ Scholar = นักวิชาการ เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ที่เราสามารถค้นหาได้จาก Google Scholar ก็คือ วรรณกรรมทางด้านวิชาการเท่านั้น ได้แก่ บทความวิชาการ หนังสือด้านวิชาการ การประชุมทางด้านวิชาการ วิทยานิพนธ์ และนี่ก็คือหน้าตาของ Google Scholar

 

 

เมื่อค้นหาแล้วก็จะแสดงผลรายการต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเราก็สามารถกรอกข้อมูลให้เหลือน้อยลงได้ โดยการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ

  • Any time สำหรับกำหนดปีพิมพ์ หรือเลือก Custom range… เพื่อกำหนดช่วงปีที่ต้องการ
  • Sort by relevance ต้องการให้แสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อน
  • Sort by date ต้องการให้เรียงข้อมูลจากปีที่พิมพ์ โดยจะเรียงจากข้อมูลใหม่สุด
  • และเราสามารถเลือกว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ patents หรือ citations หรือไม่

นอกจากนี้เรายังสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนเพื่ออ่านข้อมูลใหม่ๆ ในเรื่องที่สนใจได้อีกด้วย โดยเลือกที่ Create alert เพื่อให้ส่งการแจ้งเตือนไปที่ E-mail ของเรา

 

 

และสิ่งที่สะดวก สบายมากๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ มีรูปแบบที่ใช้ในการอ้างอิงหลากหลายรูปแบบ เราสามารถเลือก Copy แล้วนำไป Paste ที่เอกสารของเราได้ทันที

 

 

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฐานข้อมูลที่ใช้งานง่าย ค้นหาได้ทุกที่ และเข้าถึงข้อมูลครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา และเข้าถึงข้อมูลได้มากมายจากทั่วโลก ซึ่งน่าจะเป็นที่ถูกใจกับนักวิชาการ นักวิจัย หรือนักศึกษาที่ต้องการทำวิจัย เนื่องจากข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสามารถอ้างอิงได้มากกว่าการที่เราเข้าไปหาข้อมูลจาก Google แบบธรรมดา ก็นับว่าเป็นเรื่องราวดีๆ ที่นำมาส่งต่อในวันนี้นะคะ

 

ต้องขอขอบคุณ พี่พัชรี เวชการ ผู้ที่ให้ความรู้ในครั้งนี้ด้วยค่ะ

 

จริณ.