วัดจันทาราม หรือ วัดท่าซุง นิยมเรียกอีกอย่างว่า วัดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 510 ไร่ โดยแยกเป็นเนื้อที่วัด 280 ไร่ เนื้อที่ป่า 230 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 3 เส้น จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 3 เส้น 16 วา จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 3 เส้น 16 วา จดถนนสาธารณะ
ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2471 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อจันท์ ซึ่งแต่เดิมเป็นนายทหารในสมัยพระนารายณ์มหาราชที่กลับจากศึกเชียงใหม่ มาตามหาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร บุคคลทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดท่าซุง” เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มากขนส่งซุงมาก โดยเฉพาะบริเวณวัดที่มีการผูกเป็นแพล่องไปตามแม่น้ำ
พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ ท่านได้ธุดงค์มา ปักกลดชาวบ้านท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธามาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำที่วัดท่าซุงนี้ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 4.50 เมตร ยาว 20.5 เมตร
ศาลาการเปรียญ กว้าง 18 เมตร ยาว 21 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524 ภายหลังได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง แล้วแสร็จในปี พ.ศ. 2549 เมรุ กว้าง 4.5 เมตร ยาว 10.5 เมตร
มหาวิหาร 100 เมตร วิหารสมเด็จองค์ปฐม วิหารสมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย์ พระจุฬามณี มณฑปท้าวมหาราชทั้ง 4 พระบรมราชานุสาวรีย์ 6 พระองค์ ปราสาททองคำ ซึ่งได้รับการตกแต่งด้วยทองคำ สำนักพระราชวังได้ตั้งชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า “ปราสาททองกาญจนาภิเษก”
วัดท่าซุง วัดที่มีชื่อเสียงและงดงามของเมืองอุทัยธานี พัฒนาและเป็นที่รู้จักเมื่อพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียง ได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย โดดเด่นด้วยพระวิหารแก้วที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราชจำลอง และร่างของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย ปราสาททองคำ ตกแต่งด้วยทองคำตระการตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจกใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปที่ญาติโยมถวายรอบนอกปราสาท ใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาทภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญต่างๆ
วิหารแก้ว 100 เมตร วิหารสำคัญที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำสร้างไว้ก่อนมรณะภาพรวมทั้งยังเป็นที่รักษาสังขารร่างของหลวงพ่อที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว ภายในสร้างด้วยโมเสก สีขาว ใสดูเหมือนแก้ววาววับ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปจำลองพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระประทานในวิหาร อีกด้วย วิหารแก้วจะเปิดให้ชมเป็นช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่ 9.00-11.45 น .และช่วงบ่าย 14.00-16.00 น.
ปราสาททองคำตกแต่งด้วยทองคำตระกาลตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)ที่มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) สร้างเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ 50 และทาง สำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า “ปราสาททองกาญจนาภิเษก” ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจกใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปที่ญาติโยมถวายรอบนอกปราสาท ใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาทภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญต่างๆ
บรรณานุกรม
วัดจันทาราม (ท่าซุง). (2567, ตุลาคม 29). ใน วิกิพีเดีย. https://th.wikipedia.org/wiki/วัดจันทาราม_(ท่าซุง)
วัดท่าซุง อุทัยธานี ตระการตาวิหารแก้ว ไหว้หลวงพ่อฤาษีลิงดำ. (2565, สิงหาคม 14). จาก https://www.paiduaykan.com/วัดท่าซุง