เกลือ
ถ้าพูดถึงเกลือ แม่บ้านคนึกถึงผงปรุงอาหารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในครัว หรือเกลือเม็ดถุงละไม่กี่บาท หรือบางคนอาจนึงถึงดินเค็มละลายน้ำที่ชาวอีสานนำมาต้มแล้วตากจนได้ผงสีขาวมีรสเค็ม แต่ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็คงคิดไปถึงสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุ 25 ชนิด คือโซเดียม และคลอรีน จะได้เป็นสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่มีประโยชน์หลายอย่างในภาคอุตสาหกรรม คนทุกคนจะขาดเกลือไม่ได้ ใน 1 วันร่างกายมนุษย์ต้องการเกลือ 220 มิลลิกรัมหรือ 1/10 ของ 1 ช้อนชา เกลือไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์
การผลิตเกลือมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งแบ่งรูปแบบตามทรัยพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลิตเกลือโดยการขุดดินที่มีส่าเกลือ หรือคราบเกลือที่พบตามธรรมชาติมาละลายน้ำ จากนั้นนำไปต้ม หรือตากในนา ส่วนในภาคเหนือจะนำน้ำพุธรรมชาติมาต้ม จะเรียกว่าเกลือสินเธาว์
ส่วนการผลิตเกลืออีกชนิดหนึ่ง คือ การทำนาเกลือสมุทร ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น สมุทรสงคราม หรือสมุทรสาคร ยังคงใช้วิธีการแบบโบราณในการปั้นน้ำเป็นเกลือ คือการอาศัยแสงอาทิตย์และสายลมเป็นตัวระเหยน้ำจากน้ำทะเลที่ตกอยู่ในลานตากว้าง ๆ ที่เรียกว่า นาเกลือ จนกระทั้งแห้งเหลือแต่ผลึกเกลือสีขาวขุ่น
คำและความหมายของคนทำนาเกลือ
1. คนเดินน้ำ ผู้ที่ดูแลนาเกลือ คอยวัดความเข้มข้นของน้ำและถ่ายน้ำที่มีความเข้มข้นพอเหมาะ ให้ไหลไปตามนาผืนต่าง ๆ
2. ลำราง คลองลำเลียงน้ำจากทะเลเข้าสู่นาเกลือ
3. ลำแพน กังหันวิดน้ำเข้าสู่นาเกลือ โดยใช้แรงลมช่วยในการหมุนใบพัด
4. วัง นาสำหรับกักเก็บน้ำที่มาจากทะเล เพื่อให้น้ำตกตะกอน ก่อนระบายเข้าสู่นาเกลือ
5. นาประเทียบ นาตามน้ำทะเล โดยอาศัยแสงแดดและสายลมช่วยให้น้ำระเหยออกเหลือไว้แต่น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นประมาณ 2.20 ดีกรี
6. นาเชื้อ นาตากน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นของปริมาณเกลือสูงถึง 20-25 ดีกรี ในสมัยก่อนใช้วิธีโยนเข้าสุก ถ้าข้าวลอยน้ำก็แสดงว่าน้ำมีความเข้มข้นมากพอที่จะถ่ายน้ำไปยังนาถัดไปได้แล้ว
7. นาแปลง นาผืนสุดท้ายที่ใช้ตากน้ำที่มีความเข้มข้นสูงถึง 25 ดีกรีขึ้นไปและจะตากไว้จนกว่าน้ำจะระเหยออกจากนาจนหมด เหลือไว้แต่เกลือผืนขาวเต็มท้องนา พร้อมที่จะให้ชาวนารื้อเกลือ (ขูดลอกเกลือออกจากผืนนา)
8. Salinometer อุปกรณ์วัดความเค็มของน้ำ มีหน่วยเป็นดีกรี ชาวนาเกลือจึงเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า ดีกรี
9. รื้อนาเกลือ ขูดรอกผืนเกลือออกจากผืนนา
10. รั้วซอย เครื่องมือสำหรับรื้อเกลือให้เป็นแถวตรง ๆ คล้ายการตีตารางบนแปลงนา
11. อีรุน เครื่องมือสำหรับดันหน้าเกลือให้แตกออกเป็นเกล็ด ๆ
12. ทัดทาชักแถว เครื่องมือสำหรับดึงเกลือให้แยกออกมากองเป็นแถวยาว ๆ
13. กองเกลือ การขายเกลือจะขายเป็นเกวียน โดยคิดจากการตั้งกองเกลือเป็นรูปสี่เหลื่ยมคางหมู กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร เท่ากับ 1 เกวียน
14. ทัดทาชุ่มเกลือ ใช้ตัดเกลือให้เป็นภูเขากองเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขนย้ายเกลือ
15. คนทำกอง มีหน้าที่แต่งกองเกลือที่โกยขึ้นมาให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
16. คนขนเกลือ มีหน้าที่ขนย้ายเกลือออกจากนาไปกองไว้ข้าง ๆ
ที่มา : ภัทราพร สังข์พวงทอง. (2550). ความรู้นอกกะลา 5 . กรุงเทพฯ: พิมพ์บูรพา.