การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เรามีส่วนที่สามารถทำได้ทันที คือการปลูกต้นไม้ เพื่อจะรักษาสภาพแวดลอม ที่ทำงานของฉัน เริ่มเข้าสู่ห้องสมุดสีเขียว น้องธนวรรณ นำต้นไม้จากสวนมาปลูกที่หอสมุดฯ หลายชนิด ตั้งแต่ ไม้ใบ ไม้ดอก ไม้ประดับ ผักสวนครัว ผลไม้ และ ให้ความรู้หลายแง่มุม มีเทคนิค และประสบการณ์ตรง ความจำยอดเยี่ยม จมูกไว
อุปกรณ์เครื่องมือ น้องซื้อเอง อาทิ เช่น จอบ เสียม ชแลง มีดโต้
น้ำ EM ทำเองปรุงเอง
ปุ๋ย Hormone นมสด สูตรปรุงเอง ต้นไม้งาม
น้องปลูกกุหลาบจำนวน 20 กระถาง จำได้ทุกต้นว่า กุหลาบต้นนี้สีอะไร
ต้นไม้ที่น้องนำมาปลูกอาทิเช่น เฟิร์นข้าหลวง, บอนบราซิล, มอนสเตอร่า, ต้นขนุน, ต้นฝรั่ง, ต้นมะละกอ. ต้นมะยม, ต้นจำปี, ต้นจำปูน, ส้มจิ๊ด, น้อยหน่า, พยับหมอก, พุดชมพู, มะลิซ้อน, ดอกแก้ว, ดอกเข็ม, ชบา, ดอกกุหลาบ, ต้นสะเดา, ยอ,ผักไชยา, กระเพรา, โหระพา, มะเขือ, คุณนายตื่นสาย, สาวเชียงใหม่, ผีเสื้อ, ฟิโลเดนดรอน, ฟิโลเดนดรอนก้านส้ม, พุดซ้อน,
การปลูกต้นไม้ได้บุญ พระพุทธศาสนาส่งเสริมให้คนจัดการวิถีชีวิตของตน ให้สอดคล้องกับวิถีทางตามธรรมชาติให้มากที่สุด และอาจถือได้ว่า การวางผังเมือง และการวางแผนพัฒนาชุมชนนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติไว้ด้วย
ในวนโรปสูตร (สัง.สคา.15/45/42) ได้ยืนยันไว้ในเรื่องนี้ไว้ว่า ” เทวดาทูลถามว่า บุญย่อมเจริญทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อแก่ชนพวกไหน ชนพวกไหนตั้งอยู่ในพระธรรมและสมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมไปสู่สวรรค์เล่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญย่อมเจริญทั้งกลางวันทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ขนที่ปลูกสวนไม้ดอกไม้ผล ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา สร้างสะพาน โรงน้ำ บ่อน้ำ และศาลาที่พักอาศัย ทั้งชนเหล่านั้นยังตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ ด้วยศีล จึงไปสวรรค์อย่างแน่นอน”
ในขณะเดียวกัน หลักพุทธปรัชญาเถรวาทได้มีส่วนข่วยส่งเสริมให้มนุษย์มีวิถีชีวิตในลักษณะที่ทำให้เกิดการดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวถึงผลความดีงามที่มนุษย์จะได้รับเมื่อมนุษย์รักษ์สิ่งแวดล้อม แม้ว่าผลของความดีนั้นปรากฏในรูปแบบที่เป็นการเฉพาะต่อบุคคลพึงได้รับความดีด้านนามธรรมก็ตาม แต่ถือว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้มนุษย์มีส่วนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และน และแนวคิดหรือคติดังกล่าวนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้ (ให้ร่มเงา) สร้างสะพาน
และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ
เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นผู้ไปสวรรค์ (ส.ส. 15/146/38)
ในธรรมบท พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “มนุษย์จำนวนมากทีเดียว ถูกภัยคุกคามแล้ว ต่างยึดเอาภูเขา ป่า สวน และต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก” พวกเขาถือว่า สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเหล่านั้นเป็นที่อาศัยของอมนุษย์ผู้ทรงอำนาจ ซึ่งสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงเสนอการถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึกสูงสุด พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ก็ตาม
ถึงแม้พวกเราจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนประหยัดไฟฟ้าในช่วงเศรษฐกิจ ที่ต้องอดทนใช้น้อย กินน้อย ประหยัดทรัพยากร และพลังงานไฟฟ้า ปิดไฟทุกดวงที่ไม่มีการใช้ภายในหอสมุดฯ