พระอภิธรรมปิฏก
ปฐมเหตุ การเกิดขึ้นของพระอภิธรรม พรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฏกบนสวรรค์ดาวดึงส์โปรดพุทธมารดา
ในสัปดาห์ที่ ๘ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะใน พระพุทธศาสนาอยู่ตอลด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจาณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์มหาปัฏฐานอยู่นั้นก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีเทา สีเงิน และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก แผ่ออกมาจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศพระศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่ายบุคคลที่จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธา่อันมั่นคง และเคยได้สั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศพระศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับฟังคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบ เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้ว ความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี
ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรกโดยเสด็จข้นไปจำพรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดา และพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิมาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้นุพระอภิธรรมปิฏก เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป คือ
1.สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ
2.วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
3.ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆเข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
4.บุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
5.กถาวัตถุ แถลง และวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
6.ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7.ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลาย
โดยละเอียด
อกุสลา ธมฺมา = อกุสลา ก็ ธัมมา
เสียงนี้เป็นเสียงที่ชาวไทยพุทธมักจะได้ยินเวลาไปงานศพตามวัดหรือบ้าน และก็จะได้ยินควบคู่มากับคำว่า กุสลา ธมฺมา และ อพยากตา ธมฺมา เป็นต้น ท่านเรียกบทเหล่านี้ว่า มาติกาบท คือบทหัวข้อ แห่งพระปรมัตถธรรมที่จะมีการจำแนกอย่างละเอียดในพระอภิธรรมปิฏกตั้งแต่คัมภีร์พระธัมมสังคณีเป็นต้น ไปตามลำดับ
ส่วนความหมายของคำว่า อกุสลา ธมฺมา ณ ที่นี้ก็เพียงแค่จะให้ทราบเป็นเพียงเบื้องต้นเป็นอุทเทสหรือเป็นหัวข้อเท่านั้น เป็นการกล่าวถึงว่ามีหัวข้อธรรมที่เป็นอกุศลด้วย เช่นเดียวกับหัวข้อธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอพยากตะเป็นต้นในหมวดติกะเดียวกันนี้
อกุศลธรรมดังกล่าวนี้เป็นสภาวะธรรมที่ตรงกันข้ามกับกุศลธรรม เป็นสภาวะที่มีโทษ และให้ผลเป็นวิบากที่ไม่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงธรรมที่ไม่ใช่กุศลเท่านั้นที่มีการให้ผลตรงไปตรงมาคือทำอย่างไรให้ผลอย่างนั้น แม้อกุศลก็เช่นเดียวกันคือให้ผลตรงไปตรงมาตามที่ทำนั่นเอง
การที่ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรมให้ผลตามที่ทำนี่เอง เรียกว่า ธมฺมา = เป็นธรรม
ดังภาษาบาลีที่ท่านกล่าวไว้ว่า อตฺตโน สภาวํ ธาเรตีติ ธมฺโม (ธาเรติ ย่อมทรงไว้ ย่อมดำรงไว้ สภาวํ ซึ่งสภาวะ ซึ่งความมี ความเป็นปรากฏ อตฺตโน ของตน อิติ เพราะเหตุนั้น ธมฺโม ชื่อว่า ธมฺม (สภาวะธรรม)
หากผู้ที่สนใจสามารถศึกษาพระธรรมคำสอนได้
ตามวัดหรือสถานที่เปิดสอนธรรม แนวทางการเรียนการสอน
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะตรี (ปริจเฉทที่ 1, 2, 6)
- ปริจเฉทที่ 1 จิต
- ปริจเฉทที่ 2 เจตสิก
- ปริจเฉทที่ 6 รูปและนิพพาน
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะโท (ปริจเฉทที่ 3, 7)
- ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
- ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ชั้นจูฬอาภิธรรมิกะเอก
- คัมภีร์ธัมมสังคณี
ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี (ปริจเฉทที่ 4, 5)
- ปริจเฉทที่ 4 เป็นเรื่องของวิถี (วิถีสังคหะ) วิถีแบ่งออกเป็น นามวิถี และรูปวิถึ
การจำแนกวิถี แบ่งออกเป็น 1.ปัญจทวารวิถี 2.มโนทวารวิถี
มโนทวารวิถี แบ่งเป็น 2.1) กามชวนมโนทวารวิถี และ 2.2) อัปปนาชวนมโนทวารวิถี
กามชวนมโนทวารวิถี แบ่งออกเป็น 2.1.1) ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรืออนุพันธมโนทวารวิถี และ 2.1.2) สุทธ
มโนทวารวิถี หรือ กามชวนสุทธมโนทวารวิถี
- ปริจเฉทที่ 5 มีชื่อว่าวิถีมุตตสังคหะซึ่งว่าด้วยความเป็นไปของจิตในปฏิสนธิกาล อันจะครอบคลุมเรื่อง ภูมิ (ภูมิจตุกกะ) การเกิด (ปฏิสนธิจตุกกะ) กรรม (่กัมมจตุกกะ)
ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท (ปริจเฉทที่ 8, 9)
- ปริจเฉทที่ 8 ว่าด้วยเรื่องของปฏิจจสมุปบาท
- ปริจเฉทที่ 9 ว่าด้วยเรื่องกรรมฐาน
ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก (คัมภีร์ธาตุกถา)
- เนื้อหาคือหนังสือธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ เป็นการสรุปความของคัมภีร์ธาตุกถา เป็นคัมภีร์ลำดับที่ ๓ ของพระอภิธรรมปิฏก เนื้อความของธาตุกถา คือการนำธรรม ๓๗๑ บทมาจำแนกว่านับสงเคราะห์ได้หรือไม่ได้ ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ
ชั้นมหาอาภิธรรมิกะตรี (คัมภีร์ยมก – มูลยมก และขันธยมก)
- คัมภีร์ยมกหมายถึงคัมภีร์ (ปกรณ์) ที่แสดงธรรมเป็นคู่ๆ ในลักษณะคำถาม คำตอบ กลับไปมา เช่นธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นกุศลมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ากุศลใช่ไหม (คำถามที่ ๑)
หรือว่าธรรมเหล่าใดชื่อว่ากุศลมูลมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศลใช่ไหม (เป็นคำถามคู่กัน) เป็นต้น
ชั้นมหาอาภิธรรมิกะโท (คัมภีร์ยมก – อายตนยมก ธาตุยมก และสัจจยมก)
ชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก (คัมภีร์มหาปัฏฐาน)
เนื้อหาแบ่งออกเป็น
-
- ฮูทเทส/นิเทศ/ฆฏนา
- สรุปเนื้อความ ๓ ปุระการ/จำแนกปัจจัยโดยลักษณะ และชาติ กาล สัตติ
- ปัญหาวาระวิภังค์/วิธีพระบาลี/อนุวาทะพระบาลี/จำแนกบทและแสดงองค์ธรรม
- วจนัตถะ/คำอธิบาย/อุปมา
- สรุปปัจจัย ๒๔
ขอเชิญผู้สนใจในพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ยถารุจิยา