จากพื้นราบสู่ภูกระดึงแบบชิว ๆ #ครั้งที่ 6

ประสบการณ์การเดินทางสู่ภูกระดึง ครั้งที่ 6  (ไม่แน่ใจว่าครั้งสุดท้ายหรือไม่?)

1. จองออนไลน์ตั๋วฯ ทัวร์เมืองเลย  แล้วเคาน์ดาวน์จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563
2. 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.30 น.  เดินทางรถโดยสารฯ ไปยังหมอชิต งง ๆ กับหมอชิต เพราะไม่ได้ไปนาน สอบถามตลอดทาง (ทางอยู่ที่ปาก)


3. ติดต่อรับตั๋วจริงกับช่องแอร์เมืองเลยฯ (กรุณาติดต่อช่องจองออนไลน์ ไม่ใช่ช่องปกตินะคะ)
4. ระหว่างรอรถทัวร์เข้าท่า  หาข้าวหาปลาทานก่อนขึ้นรถดีกว่า  แล้วเตรียมเข้าห้องน้ำอันอบอ้าวให้เรียบร้อย
5. เดินหาชานชาลา  นั่งรอรถออกเวลาประมาณ 22.30 น.
6. รถทัวร์ออกแล้วว พร้อมได้รับแจกน้ำ+ขนมมากมายยามดึก (ไม่นึกว่าจะแจกขนาดนี้) ซึ่งไม่น่าจะมีใครทานแล้วในเวลานี้
7. รถเดินทางถึงผานกเค้าในตำนาน + ร้านเจ๊กิมเจ้าเก่า เวลาประมาณ 6 โมงเช้า
8. มองหารถแดง (เทียบท่าข้างร้านเจ๊กิม)  ไม่ต้องเหมา เราไม่รีบ  รอเพื่อน ๆ จนรถเต็ม
9. สองแถวออกตัววิ่งพาเรามุ่งหน้าไปยังอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ระหว่างทางจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ คนละ 40 บาท (ถ้าจำไม่ผิด)

  • รถจอดหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ไม่ลืมจ่ายค่ารถ (ขาไปคนละ 40 บาท  ขากลับคนละ 30 บาท)
    10. นั่งรอเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงาน เพื่อติดต่อจองที่พักฯ (เต็นท์) จ่ายค่าธรรมเนียมกางเต็นท์
    11. เพื่อความมั่นใจในสวัสดิภาพบนภูกระดึง กรุณาทำประกันชีวิตคนละ 10 บาท
    12. ติดต่อซื้อบัตรสัมภาระ ใบละ 5 บาท (1 ใบ/สัมภาระ 1 ชิ้น)  กรอกรายละเอียด (ชื่อ-เบอร์โทร) ให้เรียบร้อยแล้วนำสัมภาระไปติดต่อชั่งน้ำหนักกับเจ้าหน้าที่ (เจ้าหน้าที่บันทึกน้ำหนักในบัตรฯ)  รับหางบัตรฯ คืน 1 ส่วน เพื่อติดต่อรับกระเป๋าบนที่ทำการบนภูฯ อีก 2 ส่วนเจ้าหน้าที่เก็บไว้สัมภาระทั้งหลาย กก. ละ 30 บาท (มากกว่านี้ก็ยินดีจ่าย เพราะไม่สามารถแบกได้ ขอพระคุณลูกหาบทั้งหลายที่ทำให้เราได้มีโอกาสขึ้นไปเที่ยว)
    13. ลงทะเบียนก่อนขึ้น  (ชื่อ-สกุล ที่อยู่ เบอร์โทร จำนวนคนที่ขึ้น) ถ้าจำไม่ผิดขึ้นได้ตั้งแต่ 7 โมง  แต่หลัง 14.00 น. ห้ามขึ้นแล้วว เพราะอันตราย
    14. พร้อมละ ลุยยยยยย  มองหาไม้เท้ากายสิทธิ์เพื่อช่วยพยุงร่างสักอัน  (ไม่เหลือสักอัน อัตตาหิอัตโนนาโถ)
    15. ดูนาฬิกาเพื่อจับเวลา เริ่มก้าวแรก ๆ พร้อมเซลฟี่ ระหว่างทาง (พลังยังเยอะ)                            
    16. กว่าจะถึงซำแรกก็เริ่มอ่อนแรงเสียแล้วเรา (บ่นตลอดทางว่าเมื่อไรจะได้หยุดพัก)
    17. หนทางอีกยาวไกล มองไปเห็นลูกหาบรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น
    18. แตงโม (ชิ้่นละ 10 บาท) น้ำแดง (แก้วละ 30 บาท) เพื่อเพิ่มพลังให้ไปต่อได้  และทานข้าวมื้อเช้า
    19. ทานเสร็จก็ออกเดินทางต่อไป  จากแรกร่ม  แดดเริ่มร้อน ต้นไม้ใบหญ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกือบตลอดทาง ร้อน แล้ง  มองแล้วเพิ่มความเหน็ดเหนื่อยซะเหลือเกิน
    20. เหนื่อยแค่ไหนก็ต้องไปต่อ (ระหว่างทางมีคนสวนลงเขา สอบถามพบว่า บางรายประเมินศักยภาพตนเองแล้ว ไปต่อไม่ไหว ถอยดีกว่า…)
    21. พักเกือบตลอดทาง (ทุกซำ) ระหว่างทางต้องมีน้ำใจคอยหลบคนสวนทางลง ลูกหาบที่แบกของหนัก ๆ ขึ้นภู
    22. ทางชันขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งก่อนถึงก็ยิ่งชัน แรงจะจับราวเหล็กแทบจะไม่มี (ความรู้สึกในใจ “ฉันจะไม่ไหวแล้วนะ จะหมดความอดทนแล้ว แต่ก็ต้องอดทนแล้วไปต่อ”)
    23. ถึงซะทีหลังแป แปล้เลยเรา (ขอนอนหลับแปป) รวม 7 ชั่วโมง  แล้วจึงเดินทางราบที่มีแต่ทรายตลอดทางอีกประมาณ 4 กิโลเมตร อีก 1 ชั่วโมง จึงถึงที่ทำการฯ  (เฮ้อ! ถึงซะที)

 

Leave a Reply