พืชพรรณไม้บนภูกระดึง

จากการประสบการณ์ความชื่นชอบและคลั่งไคล้ในการขึ้นภูกระดึงของดิฉัน  ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบันปี 2563 ดิฉันได้ขึ้นภูกระดึงมารวมถึง 6 ครั้งแล้ว  ล่าสุดครั้งที่ 6  เมื่อวันที่  7-10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา มีน้อง ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ หลายคนสงสัยและมีคำถามมากมากกับการชื่นชอบการขึ้นภูกระดึงของดิฉัน  บางคนก็ถามว่าบนภูกระดึงมีอะไรดี  ลำบากจะตายจะปีนขึ้นไปทำไม ไปทำไมบ่อย ๆ ไม่เบื่อบ้างหรือไง ที่เที่ยวมีเยอะแยะทำไมไม่ไป  ไม่เหนื่อยบ้างหรือไง  บางรายก็ว่า สงสัยชีวิตไม่เคยลำบากถึงอยากจะลำบากไปใช้ชีวิตยาก ๆ บนภูกระดึง บางรายกล่าวว่า  จ้างให้ไปฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่ายก็ไม่ไปเด็ดขาด  ซึ่งดิฉันก็ไม่อาจบรรยายให้ทุก ๆ คนเข้าใจได้ว่า บนภูกระดึงมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ดิฉันประทับใจ โดยเฉพาะการปีนป่ายขึ้นไปรับอากาศที่สดชื่น ชมพืชพรรณไม้บางชนิดที่หาดูไม่ได้บนพื้นราบ โดยเฉพาะการดูดอกกล้วยไม้ป่าบนภูกระดึง ซึ่งในแต่ละเดือน ดอกกล้วยไม้ป่าเหล่านี้จะมีระยะเวลาการเบ่งบานแตกต่างกันไป  นอกจากนี้ ยังมีพืชพรรณไม้อื่น ๆ ทั้งที่ดิฉันรู้จักชื่อและไม่รู้จักชื่อ แต่ทั้งหมดนี้ล้วนมีใบและดอกที่สวยงาม ประทับใจ ตรึงตราตรึงใจ ที่สำคัญที่ทำให้เราลืมความเหน็ดเหนื่อยจากการปีนป่ายขึ้นภูกระดึง  ดังเช่น  ต้นสน (สองใบ / สามใบ) เปราะภู  กุหลาบพันปี (กุหลาบแดง/กุหลาบขาว)  หม้อข้าวหม้อแกงลิง  กล้วยไม้ป่า  เมเปิล (ก่วมแดง) มอสส์  เฟิร์น  เป็นต้น

จากประสบการณ์เกือบ 20 ปีที่ผ่านมาจากขึ้นภูกระดึงครั้งแรก จนถึงครั้งที่ 6  ดิฉันได้พบความแตกต่างของธรรมชาติบนภูกระดึง  ในอดีตธรรมชาติมีความหลากหลายมากกว่านี้ นับวันบางพืชพรรณไม้ก็ได้สูญหายไปจากป่าบนภูกระดึง  บางอย่างก็เป็นธรรมชาติที่เจตนาสร้างสรรค์ขึ้นมา เช่น  เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีการปลูกเมเปิลเพิ่มเติมรายทางมากมาย  ซึ่งดิฉันได้บันทึกภาพพืชพรรณไม้ระหว่างการเดินทางปีนป่ายขึ้นภูกระดึง ครั้งที่ 5 และครั้งที่ 6 มาฝากเพื่อน ๆ และเก็บเป็นความประทับใจ (ดังภาพด้านบน)

Leave a Reply