ภาษาถิ่นเมืองเพชร

เชื่อว่าในแต่ละจังหวัดก็จะมีภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเพชรบุรี ภาษาถิ่นแต่ละที่พูดไม่เหมือนกัน และออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่การใช้ชีวิตที่ต้องพบปะกับบุคคลทั่วไปบางครั้งทำให้ความเข้าใจเกิดการคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดในการสื่อสารกัน โดยเฉพาะคนที่เป็นแม่ค้าถ้าคนซื้อมาจากจังหวัดอื่น เช่น

คำว่า  “ได๊ไม่” เป็นคำปฏิเสธ มาจากคำว่า ไม่ได้ ผู้ฟังอาจจะฟังว่า “ได้”

กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี็้ไม่ (ไม่มี) ยังมีคำอีกมากมาย ปัจจุบันยังพูดอยู่ แต่เด็กๆ รุ่นใหม่ก็จะไม่ค่อยพูดเพราะต้องไปพบปะกับคนที่อื่นๆ เช่นไปเรียนหนังสือ ไปค้าขาย ไปติดต่อสถานที่ราชการ แต่เมื่ออยู่ที่บ้านบางคนก็จะพูดภาษาถิ่นกับพ่อ แม่ และญาติพี่น้องเพราะเป็นภาษาที่รู้และเข้าใจภายในครอบครัว การที่รู้หลายภาษาและพูดได้ด้วยก็จะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกหรือใบเบิกทางเมื่อไปในที่ต่างๆ หรือไปเที่ยว เช่นเวลาไปซื้อของถ้าพูดภาษาเดียวกับคนขายอาจจะได้ราคาปกติแต่ถ้าพูดภาษากลางหรือภาษากรุงเทพฯ อาจต้องซื้อของแพงกว่าคนถิ่นเดียวกัน และบางทีก็ดูหลายอย่าง เช่นรถที่ขับมา ป้ายทะเบียน รูปร่างหน้าตาคนขับรถ แต่พูดภาษาถิ่นได้ แต่ก็มีบางคนที่ไปอยู่ที่อื่นนานจนลืมภาษาบ้านเกิดตัวเอง เมื่อเดินทางกลับบ้านยังพูดภาษากลางเพราะความเคยชินในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ถูกมองว่าลืมภาษาบ้านเกิดตัวเอง

 

One comment

Leave a Reply