ตำแหน่งที่ต้องพยายาม

วันที่ 3 ก.ย. 2562 ได้เข้าร่วมโครงการประชุมสัมมนา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอขอกำหนดระดับตำแหน่งเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จัดโดย กองทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถานที่ ห้องประชุม อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ วิทยากรบรรยาย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรุงแสง ลักษณบุญส่ง รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร และคุณอัปสร กิจเจริญค้า บรรยายเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอขอกำหนดระดับตำแหน่งเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ดังนี้

สายงานตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 สายงาน ได้แก่
1. สายบริหาร
1.1 กลุ่มบริหารวิชาการ (อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี/เทียบเท่า)
1.2 กลุ่มอำนวยการ
(1) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี
ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
(2) ผู้อำนวยการกอง เลขานุการคณะ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

2. สายวิชาการ (ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์)

3. สายสนับสนุน

เส้นทางความก้าวหน้า (Career Path) พนักงานสายสนับสนุน
1. เส้นทางในสายงานวิชาการ
2. เส้นทางในสายงานบริการ

สายงานตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน แบ่งออกเป็น
1. กลุ่มหัวหน้างาน (ผู้ทำงานบริหาร) ได้แก่ตำแหน่ง
1.1 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง
1.2 ผู้ช่วยเลขานุการคณะ / เทียบเท่า
1.3 หัวหน้างาน
ทั้ง 3 ตำแหน่งนี้ไม่ใช่ตำแหน่งเฉพาะตัว มีข้อกำหนดว่าในแต่ละงานจะต้องมีบุคลากรกี่คน จึง
สามารถกำหนดตำแหน่งเหล่านี้ได้

2. กลุ่มปฏิบัติการ
2.1 บรรจุแต่งตั้งด้วยวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป
2.2 ชื่อตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.บ.ม. ประกาศกำหนด
2.3 ระดับตำแหน่ง
– ปฏิบัติการ
– ชำนาญการ
– ชำนาญการพิเศษ
– เชี่ยวชาญ
– เชี่ยวชาญพิเศษ
สภามหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนงาน (เทียบเท่าระดับเชี่ยวชาญ), ที่ปรึกษา
หน่วยงานภายในระดับกอง (เทียบเท่าระดับชำนาญการพิเศษ)

3. กลุ่มปฏิบัติงาน
3.1 บรรจุแต่งตั้งด้วยวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี
3.2 ชื่อตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3.3 ระดับตำแหน่ง
– ปฏิบัติงาน
– ชำนาญการ
– ชำนาญงานพิเศษ

องค์ประกอบและข้อจำกัดในการกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของพนักงานสายสนับสนุน
1. โครงสร้างองค์กร
สอดคล้องตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559

2. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
– เส้นทางในสายวิชาการ
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย
สายสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2562
– เส้นทางในสายงานบริหาร
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งพนักงาน
มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนให้เข้าสู่ตำแหน่งกลุ่มอำนวยการ กลุ่มตำแหน่งที่ปรึกษา และกลุ่มหัวหน้างาน พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2562

หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการเลื่อนตำแหน่ง
1. เป็นตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ทุกตำแหน่งของระดับปฏิบัติงาน สำหรับเข้าสู่ระดับชำนาญงาน
ทุกตำแหน่งของระดับปฏิบัติการ สำหรับเข้าสู่ระดับชำนาญการ
ส่วนระดับตำแหน่งอื่น ๆ ต้องผ่านการประเมินค่างานของตำแหน่ง และสภามหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนของระดับตำแหน่งไว้แล้ว
3. มีจำนวนของแต่ละระดับตำแหน่งว่างอยู่ และคระ/ส่วนงานเห็นสมควรให้มีการคัดเลือก
4. อธิการบดีโดยมติ ก.บ.ม. ประกาศกำหนดจำนวนของแต่ละระดับตำแหน่งที่เปิดให้มีการคัดเลือก

คุณสมบัติเบื้องต้นในการเลื่อนตำแหน่ง
1. เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทพนักงานประจำ
2. เป็นตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3. มีเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง
4. มีผลการประเมินการปฏิบัติงานใน 2 รอบการประเมิน ก่อนยื่นเรื่องไม่ต่ำกว่าระดับดี (3.5 หรือ 70% ขึ้นไป)
ผู้รับการประเมินคัดเลือกฯ ต้องมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งให้สูงขึ้น

ตำแหน่งระดับชำนาญงาน ถึงระดับชำนาญงานพิเศษ
– ระดับชำนาญงาน ขั้น 13,250 บาท
– ระดับชำนาญงานพิเศษ ขั้น 20,040 บาท

ตำแหน่งระดับชำนาญการ ถึงระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
– ระดับชำนาญการ ขั้น 19,570 บาท
– ระดับชำนาญการพิเศษ ขั้น 28,790 บาท
– ระดับเชี่ยวชาญ ขั้น 40,820 บาท
– ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ขึ้น 56,960 บาท

ขอเล่าในส่วนของการเลื่อนตำแหน่งระดับชำนาญการเข้าสู่ระดับชำนาญการพิเศษ การประเมินผลงานที่แสดงความชำนาญการฯ
ผลงานที่แสดงความชำนาญการ / ชำนาญการพิเศษ
ระดับชำนาญการ
1.คู่มือปฏิบัติงานหลักอย่างน้อย 1 เรื่อง (100%) หรือ ผลงานเชิงวิเคราะห์/สังเคราะห์ อย่างน้อย 1 เรื่อง (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%) หรือ ผลงานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่อง (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%) หรือ ผลงานลักษณะอื่น อย่างน้อย 1 เรื่อง (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%)
ผล : ผ่านการประเมินในระดับดีขึ้นไป

ระดับชำนาญการพิเศษ
วิธีที่ 1
1. ผลงานเชิงวิเคราะห์/สังเคราะห์ (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%)
2. ผลงานวิจัย หรือผลงานลักษณะอื่น (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%)
ผล : ผ่านการประเมินในระดับดีขึ้นไป
วิธีที่ 2
ผลงานวิจัย และหรือผลงานลักษณะอื่นรวม 2 เรื่องขึ้นไป (เป็นเจ้าของและเป็นหลัก > 50%)
ผล : ผ่านการประเมินในระดับดีขึ้นไป > 2 เรื่อง
คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.พ.ต. แต่งตั้ง)

คณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินในระดับชำนาญการพิเศษ ประกอบด้วย
1. รองอธิการบดี (ที่ทำหน้าที่ใน ก.พ.ต.) เป็นประธาน
2. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 3 คน ตามบัญชีรายชื่อที่ ก.บ.ม. / ก.พ.อ. กำหนด
ผลการประเมินผลงาน : ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์

ส่วนรายละเอียดของการเสนอขอกำหนดตำแหน่งในระดับอื่น ๆ สามารถขอเอกสารได้จากผู้เขียนนะคะ มีด้วยกัน 2 เล่ม คือ
1. หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอขอกำหนดระดับตำแหน่งเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน (เล่มสีม่วง)
2. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2562 (เล่มสีเขียว)