คำถาม “แจกหัวข้อธรรม”

ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือ พระไตรปฺิฏก สำหรับประชาชน  ซึ่งเป็นหนังสือที่ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม  หน้า ๑๑๓   หัวข้อ “แจกหัวข้อธรรม  (ธัมมหทยวิภังค์)

๑๘๖. คำถามคำตอบเรื่อง แจกหัวข้อธรรม

มีคำถามอยูว่า

  1. ขันธ์มีเท่าไหร่
  2. อายตนะมีเ่ท่าไหร่
  3. ธาตุมีเท่าไหร่
  4. สัจจะมีเท่าไหร่
  5. อินทรีย์มีเท่าไหร่
  6. เวทนามีเท่าไหร่
  7. เหตุมีเท่าไหร่
  8. อาหารมีเท่าไหร่
  9. ผัสสะมีเท่าไหร่
  10. เวทนามีเท่่าไหร่
  11. สัญญามีเท่าไหร่
  12. เจตนามีเท่าไหร่
  13. จิตมีเท่าไหร่

คำตอบคือ ขันธ์ มี  5, อายตนะ มี 12, ธ่าตุ มี 18, สัจจะ มี 4, อินทรีย์ มี 22, เหตุ มี 9, อาหาร มี 4, ผัสสะ มี 7, เวทนา มี 7, สัญญา มี 7, เจตนา มี 7, จิค มี 7

ขันธ์ 5 ได้แก่ 1. กองรูป (รูปขันธ์ คือ ธาตุทั้งสี่ประชุมกันเป็นกาย พร้อมทั้งรูปที่อาศัยธาตุทั้ง 4 ปรากฏ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย เป็นต้น)

2.  กองเวทนา เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข

3. กองสัญญา สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ เช่น จำรูป  จำเสียง

4. กองสังขาร สังขารขันธ์ คือ ความคิด หรือเจตนา  ที่ดีบ้าง ชั่่วบ้าง

5. กองวิญญาณ  วิญญาณขันธ์  ตือ ความรู้อารมณ์ทางดา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  เช่นรู้สึกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น

อายตนะ (ที่ต่อ่)  มี 12 ได้แก่

1.  ที่ต่อคือตา         (จักขายตนะ)

2.  ที่ต่อหู               (โสตายตนะ)

3.  ที่ต่อคือจมูก      (ฆานายตนะ)

4.  ที่ต่อลิ้น             (ชิวหายตนะ)

5.  ที่ต่อกาย           (กายายตนะ)

6.  ที่ต่อใจ              (มนายตนะ)

7.  ที่ต่อคือรูป           (รูปายตนะ)

8.  ที่ต่อคือเสียง       (สัทธายตนะ)

9.  ที่ต่อคือกลิ่น        (คันธายตนะ)

10.ที่ต่อคือรส            (่รสายตนะ)ฌ

ธาตุ 18 คือ

1. ธาตุ คือ ตา (จักขุธาตุ)

2.ธาตุ คือ รูป  (รูปธาตุ  สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา)

3.  ธาตุ คือ การรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณธาตุ)

4. ธาตุ คือ หู   (โสตธาตุ)

5. ธาตุุ คือ เสียง  (สัทธาตุ)

6. ธาตุ คือ ความรู้อารมณฺฺ์ ทางหู  (โสตวิญญานธาติ)

7. ธาตุ คือ จมูก                               (ฆานธาตุ)

8 . ธาตุ คือ กลิ่น             (คันธธาตุ)

9.ธาตุ คือ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณธาตุ)

10.ธาตุ คือ ลิ้น  (ชิวหาธาตุ)

11. ธาตุ คือ รส  (รสธ่าตุ)

12.ธาตุ คือ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณธาตุ)

13. ธาตุ คือ กาย (กายธาตุ)

14. ธาตุ คือ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย (โผฐัพพธาตุ)

15. ธาตุ คือ ความรู่้อารมณ์ในทางกาย (กายวิญญาณธาตุ)

16. ธาตุ คือใจ (มโนธาตุ)

17. ธาตุ คือ สิ่งที่่รู้ได้ด้วยใจ  (ธัมมธาตุ)

18. ธาตุนี้ความรู้อารมณ์ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุ)

สัจจะ 4  คือ

  1. ความจริงคือทุกข์ (ทุกขสัจจ์)
  2. ความจริง คือเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทยสัจจ์)
  3. ความจริงคือความดับทุกข์  (นิโรธสัจจ์)
  4. ความจริงคือข้อปฏิบัตให้ถึงความดับทุกข์ (มัคคสัจจ์)

อินทรีย์ 22

อินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน  ได้แก่

1.  อินทรีย์ คือ ตา (จักขุนทรีย์)

2. อินทรีย์ คือ หู  (โสตินทรีย์)

3. อินทรีย์ คือ จมูก  (ฆานินทรีย์)

4. อินทรีย์ คือ ลิ้น (ชิวหินทรีย์)

5. อินทรีย์ คือ กาย (กายินทรีย์)

6. อินทรีย์ คือ ใจ (มนินทรีย์)

7. อินทรีย์ คือ หญิง (มนินทรีย์)

8. อินทรีย์ คือ ชาย (ปุริสินทรีย์)

9. อินทรีย์ คือชีวิต (ชิวิตินทรีย์)

10. อินทรีย์ คือ สุข  (สุขินทรีย์ – สุขกาย)

11. อินทรีย์ คือ ทุกข์ (ทุกขินทรีย์ – ทุกข์กาย)

12.อินทรีย์ คือโสมนัส  (โสมนัสสินทรีย์ – สุขใจ)

13. อินทรีย์ คือ โทมนัส (โทมนัสสินทรีย์ – ทุกข์ใจ)

14.อินทรีย์ คือ อุเบกขา (อุเบกขินทรีย์ – เฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)

15.อินทรีย์ คือ ความเชื่อ (สัทธินทรีย์)

16. อินทรีย์ คือ ความเพียร (วิริยินทรีย์)

17. อินทรีย์ คือความระลึกได้ (สตินทรีย์)

18. อินทรีย์ คือ ความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์)

19. อินทรีย์ คือ ปัญญา (ปัญญินทรีย์)

20.อินทรีย์ คือ อัธยาศรัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)

21. อินทรีย์ คือ การตรัสรู้สัจจธรรมด้วยมรรค (อัญญินทรีย์)

22.อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ธรรมแล้ว (อัญญาาวอนทรีย์)

เหตุ มี 9

เหตุ 9 คือ  เหตุที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) 3,   เหตุที่เป็นอกุศล  (ฝ่ายชั่ว) 3,  เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่่ว) 3 คือ

  1. เหตุที่เป็นกุศล  (ฝ่ายดี) 3  คือ  1.)อโลภะ  (ความไม่โลภ) 2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)  3. อโมหะ  (ความไม่หลง)
  2. เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) 3 คือ  1.) โลภะ  (ความโลภ)  2. โทสะ  (ความคิดประทุษร้าย)   3. โมหะ  (ความหลง)
  3. เหตุที่เป็นอัพยากฤต  (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชี่ว) 3 ตือ 1.อโลภะ 2. อโทสะ  3. อโมหะ  ซึ่งเกิดจากวิบากคือผลของกุศลธรรม หรือซึ่งเกิดขึ้นในอัพยากฤต  ธรรมที่เป็นกริยา

อาหาร มี 4  คือ

1. อาหารเป็นคำๆ (กวฬิงการาหาร  อาหารที่รับประทานทั่วไป)

2. อาหารคือผัสสะ (ผัสสาหาร อาหาร คือ การถูกต้องทางตา หู เป็นต้น เช่น อาหารตา อาหารหู  ฯลฯ

3. อาหาร คือ ความจงใจ (มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจทำกรรมดี กรรมชั่ว ย่อมเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เวียนว่ายตายเกิด)

4. อาหาร คือ วิญญาณ (วิญญาณาหาร  หมายถึง ความรู่อารมณ์ว่า เห็นรูป  ฟังเสียง เป็นต้น

อ่านเอากุศล เพื่อสะสมเสบียงบุญ และนำคำสอนไปประพฤติปฏิบัติ

หากท่านใดสนใจ หรือต้องการอ่านพระไตรปิฏก เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และนำไปประพฤติ ปฏิบัติ  สามารถ หยิบตัวเล่มได้ที่

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดฯ ชั้น 3

Call no. BL1411ต9ส72 2539