สอบถามเกี่ยวกับบริการฐานข้อมูล และการสืบค้น…ได้ที่ บริการสารนิเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ
e-mail : sus.ref2011@gmail.com หรือ
โทรศัพท์ : 034-241513 หรือ 034-109686 ต่อ 218025
c
Expand All
C
Collapse All
Academic journal (6)
สามารถสืบค้นได้จาก http://www.opac.lib.su.ac.th/ โดยเลือกเมนู การสืบค้น SEARCH ARTICLE IN JOURNALS (ดังภาพประกอบ)
เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งมีงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลและวารสารในฐานข้อมูล เพิ่มเติมจากที่ สป.อว. บอกรับให้
มศก. ใช้ฐานข้อมูลที่ สป.อว. จัดซื้อให้ และที่ มศก.จัดซื้อเอง ได้แก่ Jstor และ Artstor เมื่อต้องการดูว่า มีวารสารอะไรบ้างในแต่ละฐานข้อมูลให้คลิกที่เมนู Publications หรือ Browse ของแต่ละฐานข้อมูล จะมีรายชื่อวารสพร้อมกับข้อมูลของวารสารว่า เป็นวารสารที่ subscribe หรือไม่ หรือเป็น OA
เป็นการจัดกลุ่มของวารสารไทยที่ได้รับการพิจารณาจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) แล้วว่าเป็นวารสารที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยเกณฑ์หลักและเกณฑ์รอง และมีโอกาสที่จะได้รับการเสนอชื่อ เข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
วารสารที่เลือกเบื้องต้นจะต้องเป็นวารสารที่น่าเชื่อถือ มีการ peer review มีค่า impact factor โดยวารสารภาษาไทยควรมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล TCI ภาษาต่างประเทศควรมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือนานาชาติ ซึ่งเราสามารถเลือกดูชื่อวารสารได้ตามสาขาวิชา ตามค่า impact factor แต่วารสารที่มีค่า impact factor สูงก็มักจะมีขบวนการ review article อย่างเข้มข้นเช่นกัน อาจทำให้ตอบรับได้ยาก
Audiovisual Service (1)
DVD สามารถยืมกลับไปดูที่บ้านได้ ดังรายละเอียดการยืม http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/students-borrow
Citation & reference (26)
การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บ่อยครั้งที่จะได้คำอธิบายหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ Wikipedia ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ เนื่องจากข้อมูลของ Wikipedia เป็นข้อมูลที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดยเสรี ดังนั้น ผู้สืบค้นข้อมูลจำเป็นจะต้องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนนำไปใช้ เพราะข้อมูลของ Wikipedia ถือว่าเป็นข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary source) ที่มีการเรียบเรียงขึ้นใหม่ ในการอ้างอิงหากเราสามารถหาแหล่งอ้างอิงอื่นที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) ได้ ก็ควรใช้การอ้างอิงจากแหล่งปฐมภูมินั้น แต่หากพิจารณาแล้วว่าข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ Wikipedia นั้น ๆ เชื่อถือได้และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นในการอ้างอิง มีวิธีในการเขียนอ้างอิง ดังนี้
การอ้างอิงในเนื้อหา
ท้ายข้อความ (Parenthetical citation)
…..………… (“สารสนเทศ,” 2565)
วงเล็บเปิด ใส่ชื่อเรื่อง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (Comma) อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ (Quotation marks) เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่ปีที่เผยแพร่ปิดท้ายด้วยวงเล็บปิด
หน้าข้อความ ( Narrative citation)
“สารสนเทศ” (2565) ………………..
ใส่ชื่อเรื่องอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ (Quotation marks) เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่ปีที่เผยแพร่อยู่ในวงเล็บ
บรรณานุกรมท้ายเรื่อง สามารถเขียนได้ ดังนี้
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th (ต่อ)
สัปดาห์นี้ยังคงเป็นเรื่องการอ้างอิงตารางและภาพต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “พี่พร้อม” อธิบายการอ้างอิงตารางและภาพ โดยยกตัวอย่างเฉพาะการอ้างอิงตาราง สัปดาห์นี้จะอธิบายและยกตัวอย่างการอ้างอิงภาพ คำว่า ‘ภาพ’ ในการอ้างอิงนี้ คือ figure หมายความถึง ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพ ไม่เป็นรูปแบบตาราง (table) เช่น กราฟ (graph), แผนที่ (map), แผนภูมิสายงาน (flow chart) หรือแบบจำลองเส้นทาง (path model) องค์ประกอบของการอ้างอิงภาพจะเหมือนกับองค์ประกอบการอ้างอิงของตาราง ดังนี้
1. หมายเลขภาพ (Figure number) คือ ตัวเลข (เช่น Figure 1/ภาพ 1) วางไว้เหนือชื่อภาพ ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อภาพ (Figure title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขภาพ และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ภาพ คือ ข้อมูลของภาพโดยรวม
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำเป็นตัวเอียง เป็นการอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพที่สร้างสรรค์เองจะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของภาพ ถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ พร้อมทั้งเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ ด้วย
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของภาพ ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำภาพมาจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงภาพจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น
6. การแสดงข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ต้องการประกาศการสงวนลิขสิทธิ์ หรือแสดงลิขสิทธิ์ของภาพที่นำมาใช้
อย่างไรก็ตามการอ้างอิงตารางและภาพยังมีบริบทปลีกย่อยอีกหลายประการ ที่ทำให้การเขียนอ้างอิงมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก แต่เพื่อความกระชับในการนำเสนอเนื้อหา “พี่พร้อม” จึงขอสรุปโดยย่อตามรูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นค่ะ
การอ้างอิง “การสัมภาษณ์ (Personal Interview)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การสัมภาษณ์ (Personal Interviews) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสารสนเทศแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communications) หมายถึง การอ้างอิงข้อมูลที่ผู้อ่านผลงานไม่สามารถหาข้อมูลนั้นมาอ่านย้อนหลังได้ ข้อมูลที่จัดว่าเป็น Personal Communications ได้แก่ อีเมล, Online chats, direct messages, live speech, การสนทนาทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์ (Personal Communication) เป็นต้น และจะใช้การอ้างอิงแบบ personal communications เมื่อแหล่งของข้อมูลนั้นไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีก
– ถ้าต้องการอ้างอิงข้อมูลที่เรียนในชั้นเรียน ให้อ้างอิงงานวิจัยที่ผู้สอนใช้เป็นหลักในการสอน แต่ถ้าสิ่งที่ผู้สอนเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิ ไม่เคยมีการตีพิมพ์ ให้อ้างอิงแบบ Personal Communications ได้
– ถ้าการสื่อสารนั้นจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ให้อ้างอิงแบบเอกสารจดหมายเหตุ (Archival materials)
– ถ้าเป็น live บน Social media ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้บน platform อื่น ที่สามารถย้อนกลับไปดูได้ เช่น วีดิโอ Instagram live ที่บันทึกไว้เป็นวีดิโอในช่อง YouTube ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของสื่อที่บันทึกนั้น
การอ้างอิงข้อมูล Personal Communications จะอ้างถึงเฉพาะในเนื้อหา ไม่ต้องใส่ลงในรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่สามารถค้นหาย้อนหลังได้ และมีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ชาวต่างประเทศ ใช้ อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. เขียนคำว่า “Personal Communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “แผนที่ Online หรือ Google Maps (Online Maps References/Google Maps)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
Google Maps เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางยอดนิยม ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่ที่ไม่ทราบเส้นทางหรือไม่คุ้นเคยได้ง่าย โดย Google จะกำหนดเส้นทาง แจ้งระยะทาง และเวลาที่ใช้ให้ เมื่อต้องการอ้างอิงการเดินทางด้วย Google Maps ข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ใคร (Who) เมื่อใด (When) อะไร (What) และที่ไหน (Where) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง (Who) สำหรับ Google Maps ใช้ Google Inc. เป็นชื่อผู้แต่ง โดยให้ใส่คำว่า Google ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่ Inc. ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี (When) เนื่องจากไม่สามารถกำหนดวันที่สร้างหน้า page ของ Google Maps ได้ ดังนั้นให้ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. ข้อมูลของเส้นทาง (What) เนื่องจากแผนที่ในการนำทางไม่มีชื่อเรื่อง จึงให้เขียนอธิบายจุดมุ่งหมายของการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยระบุวิธีการเดินทาง อธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ที่มาของแผนที่ (Where) ระบุวัน เดือน ปี ที่เรียกใช้ Google Maps เพราะเส้นทางการเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใส่คำว่า ‘สืบค้นเมื่อ’ หรือ ‘Retrieved’ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ วัน เดือน ปี สำหรับภาษาไทย หรือ เดือน วัน, ปี สำหรับภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่คำว่า ‘จาก’ หรือ ‘from’ ตามด้วย url ของหน้า Map นั้น
การอ้างอิง “แหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หัวข้อการเขียนบรรณานุกรมสัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ไม่ได้ขึ้นต้นว่า “การเขียนบรรณานุกรม” เพราะแหล่งข้อมูลที่นำมาอธิบายในครั้งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่จะลงรายการเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) ไม่ต้องทำรายการบรรณานุกรมท้ายเอกสาร
ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น ถ้าผู้อ่านต้องการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้เหล่านี้ จะต้องเขียนอ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (personal communications) ซึ่งจะทำการอ้างอิงเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) โดยไม่ต้องเขียนบรรณานุกรมท้ายเอกสารโดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้เผยแพร่ข้อมูล เช่น เจ้าของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ผู้นำเสนอในการประชุมออนไลน์ เป็นต้น ชาวต่างประเทศ ใช้อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า “personal communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในการนำเสนอผลงานวิจัย ข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบตาราง (Tables) หรือภาพ (Figures) ที่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนมากได้ และเข้าใจง่าย ถ้าผู้วิจัยสร้างสรรค์ตารางหรือภาพขึ้นเอง เพียงแค่กำหนดชื่อตารางหรือภาพนั้น แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ตารางหรือภาพ แต่หากผู้วิจัยใช้ตารางหรือภาพจากแหล่งอ้างอิงอื่น ไม่ว่าจะนำมาทั้งหมด หรือนำมาดัดแปลงบางส่วน ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลนั้น ใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) กำหนดให้การอ้างอิงตารางและภาพใช้โครงสร้างเดียวกัน และตัวอย่างที่ “พี่พร้อม” นำมาอธิบายนี้ขอใช้ตามที่ปรากฏใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.)
ตาราง (Tables) หรือภาพ(Figures) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตารางหรือภาพที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์เอง ตารางหรือภาพที่ปรับปรุงจากแหล่งอื่น และตารางหรือภาพที่นำมาจากแหล่งอื่นทั้งหมด สัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ขอยกตัวอย่างการอ้างอิงตารางเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. หมายเลขตาราง (Table number) คือ ตัวเลข (เช่น ตาราง 1) วางไว้เหนือชื่อตาราง ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อตาราง (Table title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขตาราง และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ข้อมูลตาราง คือ ข้อมูลที่ต้องการอธิบายสิ่งที่ค้นพบในรูปแบบตาราง
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำตัวเอียง เป็นการอธิบายข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่สร้างสรรค์เอง จะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ และเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของตาราง ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น ส่วนบรรณานุกรมท้ายรายงานเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบของแหล่งอ้างอิงนั้น
การอ้างอิง “หนังสือแปล (Book republished in translation)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หนังสือที่เป็นหนังสือคลาสสิก เช่น หนังสือของ Shakespeare หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น Le petit prince, Harry Potter เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาอื่นสามารถอ่านและเพลิดเพลินไปกับบทบาทของตัวละครได้ เมื่อต้องการอ้างอิงหนังสือแปลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร พี่พร้อมสรุปให้เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ค่ะ
1. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
2. ปีที่แปล ให้ใส่ปีที่แปลอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
3. ชื่อเรื่องแปล ใช้ชื่อหนังสือในภาษาของฉบับที่อ้างอิง ทำเป็นตัวเอียง
4. ชื่อผู้แปล ใส่ชื่อผู้แปล แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยคำว่า ‘ผู้แปล’ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เว้นวรรคจากชื่อเรื่องแปล 1 ระยะ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า ‘Trans’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
6. ปีพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์คำว่า ‘ต้นฉบับพิมพ์ปี’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Original work published’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
การอ้างอิง “หนั)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิง ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ได้เปิดตัวและได้รับเสียงฮือฮาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน GPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งบริษัท OpenAI เป็นผู้พัฒนาให้เป็นโมเดลสนทนาที่สามารถตอบคำถามได้อย่างหลากหลาย มีบทสนทนาที่ให้ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง แล้วยังมีกลไกป้องกันคำถามที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทุกคนสามารถไปทดลองใช้ได้ที่ https://chat.openai.com/chat
Kiattirat Jindamanee (2565) ได้สรุป 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ChatGPT คือ 1) เป็นการสื่อสารในรูปแบบการสนทนา 2) มีการตอบสนองที่เป็นไดนามิกมากขึ้น และมีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก 3) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ของ ChatGPT จะเรียนรู้การจัดอันดับคำตอบของมนุษย์ไว้เป็นฐานข้อมูลต่อไป 4) มีการใช้ Sibling Model เพื่อนำร่องให้ ChatGPT สามารถตอบสนองได้ในเชิงลึก 5) ตอบสนองต่อทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตอบคำถาม การเขียนงานทางวิชาการ หรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนใช้เครื่องมือค้นหาสิ่งที่ต้องการ จากที่ใช้ Search engine ธรรมดาค้นหาข้อมูลที่จะให้เพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ ChatGPT จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วย 7) ChatGPT ยังคงให้ใช้งานฟรีเพราะยังอยู่ในระยะทดลองใช้ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ Elon Musk ไม่อนุญาตให้ ChatGPT ใช้ข้อมูลของ Twitter เนื่องจากเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร และ 9) การเข้ามาทดแทนมนุษย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเรียบเรียงและใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
แม้จะทดลองใช้กันบ้างแล้ว พออ่านถึงข้อ 9) “พี่พร้อม” ได้มีการตั้งวงสนทนากันอย่างจริงจัง เพราะโลกมักเต็มไปด้วยเรื่อง hi tech หาก “พี่พร้อม” ก็ยังอยากคงไว้ซึ่งความ hi touch ให้อยู่ในโลกการทำงานของห้องสมุดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศฯ เครื่องมือช่วยในการแสวงหาสารสนเทศต่าง ๆ นานา แล้วแตะมือส่งต่อความรู้ วิธีการ หนังสือ ฯลฯ ไปให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้มากที่สุด
เมื่อเข้าไปทดลองใช้จึงมีคำถามว่า หากผู้ใช้บริการไปถามใน ChatGPT แล้วต้องการนำมาอ้างอิง จะเขียนอย่างไร เพราะพยายามค้นหาในคู่มือแล้วยังไม่มีบอกไว้ จึงช่วยกันวางรูปแบบโดยอิงจาก APA 7th รวมไปถึงถาม ChatGPT แต่ด้วยความที่ “น้อง” ขยันมาก คำถามที่ห่างกันเพียง 5 นาที อาจได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น “พี่พร้อม” จึงหาข้อยุติด้วยการวางรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมในการเขียนอ้างอิงแบบนี้ ซึ่งพิจารณาแล้วละม้ายกับการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source) รายละเอียดอ่านที่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=447382884243194&set=a.4890909600995954 “ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น”
รูปแบบการเขียน “พี่พร้อม” เลือกใช้เป็นแบบนี้ ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อของบริษัท AI เป็นชื่อผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี ใส่ ปี, เดือน วัน ที่ถามใน Chatbot ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
3. ชื่อเรื่อง หมายถึง คำถามหรือบทสนทนาที่ผู้ถามพิมพ์ลงใน Chat ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า ‘Chat’ หรือ ‘การสื่อสารส่วนบุคคล’ อยู่ในเรื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. url ปิดท้ายรายการด้วย url ของ ChatGPT
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 2: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author)
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็ก กรณีที่ 2 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน ยังคงใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป และให้ลงรายการชื่อผู้วาดภาพประกอบซ้ำ ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนเรื่อง) แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วาดภาพประกอบไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 1: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author)
หนังสือสำหรับเด็ก เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความคิด ให้คติสอนใจ ช่วยสร้างจินตนาการ พัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา การอ่าน การสังเกต หนังสือสำหรับเด็กต้องมีภาพประกอบที่สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กจึงให้ความสำคัญกับผู้วาดภาพประกอบด้วย บางเรื่องผู้เขียนเรื่องและผู้วาดภาพประกอบเป็นคนละคนกัน และบางเรื่องผู้เขียนเรื่องกับผู้วาดภาพประกอบเป็นคนเดียวกัน การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็กใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป ถ้ามีการให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบที่มีชื่อระบุไว้บนหน้าปก ก็ให้ระบุชื่อผู้วาดภาพประกอบไว้ในรายการบรรณานุกรมด้วย
สำหรับสัปดาห์นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนเรื่องไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิง “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release Reference)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมักจะมีประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปทราบความเคลื่อนไหว หรือข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานราชการนั้น ข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ จัดเป็นข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary source) สามารถนำมาใช้ประกอบในงานวิจัยและสามารถอ้างอิงได้ ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
สำหรับการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th ของข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release References) มีดังนี้
1. ชื่อหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
2. ปี เดือน วัน ให้ใส่วันที่ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ โดยใข้รูปแบบ ปี ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่เดือนที่พิมพ์ เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่วันที่ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ทำเป็นตัวเอียง ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ พิมพ์คำว่า ‘Press release’ ถ้าเป็นภาษาไทยใช้คำว่า ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ทีอยู่ของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ url ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค
การอ้างอิง “หนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิงวิดีโอ TikTok ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
TikTok เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้ในการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที จัดเป็นสื่อประเภท Social Media ประเภทหนึ่ง การอ้างอิงวิดีโอบน TikTok นี้ สามารถใช้กับการอ้างอิง Instagram และ Twitter ได้ด้วย โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้ใช้ คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ หรือเป็นชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้ TikTok นั้น แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ชื่อบัญชีผู้ใช้ ใส่เครื่องหมาย @ ตามด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. วัน เดือน ปีที่โพสต์ ให้ใส่ ปี, เดือน วัน ที่โพสต์ ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง โดยนับจำนวน 20 คำของชื่อ Caption รวมทั้งนับคำใน # (hashtag) หรือ อิโมจิ เป็น 1 คำด้วย ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ประเภทของ TikTok ใส่ชื่อประเภทของ TikTok ว่า ‘วิดีโอ’ หรือ ‘Video’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
6. ชื่อ Social Media ใส่คำว่า ‘TikTok’ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
7. URL ใส่ URL ของ link วิดีโอนั้น
แสดงว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์เรามี Product Key / License Key มากกกว่า 1 ไฟล์ ซึ่งเราอาจจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้งฯ โปรแกรมนี้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ให้ดำเนินการค้นหา Product Key / License Key ในเครื่องฯ แล้วลบออกทั้งหมด จากนั้นดำเนินการดาวน์โหลดโปรแกรมฯ พร้อม Product Key / License Key และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง
วารสารหน้าจั่วไม่ได้ทำ index ในฐานข้อมูล scopus เพียงแต่เมื่อดูรายละเอียดในฐานข้อมูล TCI แล้วปรากฏว่ามีชื่อวารสารหน้าจั่วอยู่ 2 ชื่อ อยู่กลุ่ม 1 1 ชื่อ และอยู่กลุ่ม 2 1 ชื่อ (วารสารไทยที่จะสามารถเข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus ได้ต้องอยู่ใน TCI กลุ่ม 1)
การทำวิจัยบนระบบ iThesis และอ้างอิงด้วยโปรแกรม EndNote ไม่สามารถใช้ระบบการอ้างอิงหลายรูปแบบได้ ต้องเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ใช้แบบนามปี ส่วนมากจะใช้รูปแบบ APA ส่วนแบบเชิงอรรถจะต้องใช้การเขียนบรรณานุกรมแบบ Chicago
ให้นักศึกษาทำการ insert รายการอ้างอิงตามปกติ แล้วคลิกขวาที่รายการอ้างอิงนั้น เลือก Edit citation แล้วเลือก more
ใส่เลขหน้าที่ต้องการในช่อง pages แล้ว ok
ตามปกติเมื่อผู้ใช้ฯต้องการอ้างอิงแบบอ้างเอกสารอันดับรอง (Secondary source) เนื่องจากหาเอกสารอันดับต้น (Primary Source) อ่านไม่ได้ ในส่วนบรรณานุกรมท้ายเล่มจะอ้างเฉพาะเอกสารอันดับรอง ส่วนในเนื้อหาจะระบุเอกสารอันดับรองอ้างถึงในเอกสารอันดับต้น ในกรณีนี้ผู้ใช้ฯต้องการอ้างที่บรรณานุกรมลงเฉพาะเอกสารอันดับรอง ในรูปแบบ APA 6th จึงแนะนำให้ทำดังนี้ – บันทึกรายการอ้างอิงของทั้งเอกสารอันดับต้นและเอกสารอันดับรองลงใน library
– ใน document ทำการ insert citation ตามปกติ ด้วยเอกสารอันดับรอง
– ทำการ edit citation > more > edit & manage citation
– พิมพ์รายการของเอกสารอันดับต้นที่ช่อง suffix ว่า…อ้างถึงใน เอกสารอันดับต้น, ปี
ค่า Q คือค่า Journal Quartile Score ที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของวารสารวิชาการ เฉพาะอย่างยิ่งในการเปรียบเทียบคุณภาพของวารสารข้ามสาขาวิชา เพราะเป็นการจัดอันดับและแบ่งช่วงเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม Q1-Q4 คิดจำนวนวารสารในสาขาวิชานั้นทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเป็น 100 % แบ่งเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 25%
Q1 คือ กลุ่มวารสารที่ดีที่สุด (The highest)
Q2 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา (Middle-Upper position)
Q3 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา (Middle-lower position)
Q4 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพต่ำสุด (The lowest)
สามารถตรวจค่า Q หรือ ค่า Quartile ได้จากเว็บไซต์ SCImago (http://www.scimagojr.com/)
หากผู้ใช้บริการอ่านงานเขียนของ พัชรี เวชการ เรื่อง การบริการของห้องสมุด ที่พิมพ์ในปี 2555 ในเนื้อเรื่องได้อ้างถึงผลงานของ นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ ที่พิมพ์ในปี 2540
นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ เป็นเอกสารปฐมภูมิ ปี 2540
พัชรี เวชการ เป็นเอกสารทุติยภูมิ ปี 2555
นักศึกษาไม่สามารถหาเอกสารปฐมภูมิอ่านได้ จึงจำเป็นต้องอ้างเอกสารของ พัชรี เวชการ ซึ่งมีวิธีการเขียน ดังนี้
การอ้างในเนื้อหา
นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (อ้างถึงใน พัชรี เวชการ, 2555 : 15) กล่าวว่า….
การเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่ม : ให้เขียนอ้างเฉพาะเอกสารทุติยภูมิเล่มเดียว คือเล่มของพัชรี เวชการเท่านั้น ดังนี้
พัชรี เวชการ. (2555). การบริการของห้องสมุด . นครปฐม: หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ให้นำชื่อหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือ ไปค้นจาก WebOPAC ของห้องสมุด และเลือกข้อมูลจากรายละเอียดของหนังสือที่พบไปเขียนบรรณานุกรม
อักษรย่อ Ibid. หมายความถึงการอ้างถึงหนังสือเล่มเดิม (ที่อ้างไว้ก่อนหน้า) โดยไม่มีรายการอื่นมาคั่น ภาษาไทยใช้คำว่า เรื่องเดียวกัน / Op. cit. ใช้ในกรณีที่ต้องการอ้างถึงเอกสารรายการเดิมซ้ำ แต่มีเอกสารรายการอื่นมาคั่น ภาษาไทยใช้คำว่า เรื่องเดิม / log cit ภาษาไทย เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน
ได้ค่ะ เชิญที่งานบริการสารนิทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุด หรือส่ง email มาได้ที่ sus.ref2011@gmail.com
ขออธิบายเป็นตัวอย่าง ดังนี้
Primary Source 1 คือ ชุติมา สัจจานันท์. (2540). วิทยานุกรมรรณารักษศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Primary Source 2 คือ นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2535). บรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ:
Secondary Source คือ พัชรี เวชการ. (2555). ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Intext :
“กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก” (ชุติมา สัจจานันท์, 2540 อ้างถึงใน
พัชรี เวชการ, 2555, หน้า 15)
“ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข” (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ, 2535 อ้างถึงใน
พัชรี เวชการ, 2555, หน้า 26)
Reference (อ้างครั้งเดียว)
พัชรี เวชการ. (2555). ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
หอสมุดฯ มีบริการแนะนำการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถค่ะ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ บรรณารักษ์ งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดค่ะ
Counter Service (15)
ผู้ใช้บริการประเภท “อาจารย์” สามารถยืมเป็นเทอมใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ โดยระบุในแบบฟอร์มการยืมฯ หรือ แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทุกครั้ง (หมายถึง หนังสือทั่วไปของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร ยกเว้น หนังสือคอลเล็คชั่นพิเศษ/หนังสือสำรอง/หนังสือยืมระหว่างห้องสมุดต่างสถาบัน)
เป็นการแจ้งเตือนจากหอสมุดฯ ว่า ท่านมีการค้างส่งหนังสือ/มีหนังสือเกินกำหนดส่งนานที่ยังไม่ได้จัดส่งคืน มีค่าปรับคงค้างในระบบฯ เป็นต้น ให้นักศึกษาไปติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ชัดเจนได้ที่เคาน์เตอร์งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ โทร. 034-255092 : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
สถานะ Cataloging /In Process คือ อยู่ระหว่างกระบวนการจัดหมวดหมู่ฯ โดยฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ใช้สามารถต้องการใช้สามารถติดต่อจองออนไลน์ผ่านระบบฯ หรือติดต่อขอยืมใช้ชั่วคราวก่อน
โดยการอ่านหรือถ่ายสำเนาฯ ได้ที่งานบริการยืม-คืน หรืองานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 เพื่อกรอกแบบฟอร์มส่งคำขอฯ ไปยังฝ่ายงานดังกล่าวเพื่อขอใช้ตัวเล่มชั่วคราว ส่งคืนภายใน 21.00 น. ในวันนั้น ๆ ซึ่งยังไม่สามารถยืมตัวเล่มออกนอกห้องสมุดได้ หรือหากต้องการยืมออก เจ้าหน้าที่จะแจ้งความประสงค์ของท่านไปยังฝ่ายวิเคราะห์ฯ เพื่อการจัดทำรายการให้ด่วน ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 1-3 วันหลังจากแจ้ง หากเสร็จสิ้น จะแจ้งให้ท่านมาติดต่อยืมตัวเล่มได้ต่อไป
ติดต่อหอสมุดฯ โทร. 034-255092 (เบอร์ตรง), 034-253-841-44 , 034-270-222-41 ต่อ 22724 หรือ หรือทางอีเมล sus.ref2011@gmail.com หรือ ทางแฟนเพจ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์”
สถานะ Central Library เป็นหนังสือจัดเก็บที่สำนักหอสมุดกลางฯ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ หากสถานะ “On shelves” หรือ “อยู่บนชั้น” สามารถทำจองออนไลน์ได้ หรือหากต้องการอ่านไม่ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ
พบกรณีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่งานบริการสารนิเทศ หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามได้ที่ 034-241-513 หรือส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ sus.ref2011@gmail.com หรือทางแฟนเพจฯ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์”
สถานะ Central Library เป็นหนังสือจัดเก็บที่สำนักหอสมุดกลางฯ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ หากสถานะ “On shelves” หรือ “อยู่บนชั้น” สามารถทำจองออนไลน์ได้ หรือหากต้องการอ่านไม่ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ
หอสมุดฯ ไม่มีบริการจอง/ยืมออนไลน์ หนังสือจากวิทยาเขตอื่น ๆ หากมีความจำเป็นต้องการใช้หนังสือดังกล่าว อาจต้องติดต่อด้วยตนเองที่หอสมุดฯ วิทยาเขตนั้น ๆ
พบกรณีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่งานบริการสารนิเทศ หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามได้ที่ 034-241-513 หรือส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ sus.ref2011@gmail.com หรือทางแฟนเพจฯ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์”
การค้นหาตัวเล่มไม่พบ สามารถหาเพิ่มเติมได้จาก
การตรวจสอบสถานะให้มั่นใจว่าไม่ถูกยืมออก
การตรวจสอบเลขเรียกว่า เป็นหมวดหมู่วิทยาศาสตร์/สังคมศาสตร์?
การตรวจสอบเลขเรียกว่า จะเป็นหนังสือภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ?
การค้นหาตัวเล่มเพิ่มเติมจากชั้นที่มีเลขเรียกใกล้เคียง จากชั้นพักฯ รถเข็น บนโต๊ะอ่าน เป็นต้น
ตรวจสอบด้วยตนเองทุกกรณีแล้ว ยังคงไม่พบ ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อการช่วยค้นหาต่อไปในวันอื่นๆ
ทางหอสมุดฯ มีบริการ Cataloging ด่วน โดยการกรอกแบบฟอร์มฯ ขอใช้บริการ หรือหากไม่ต้องการขอยืมออก ก็สามารถยืมใช้ด่วนโดยการกรอกแบบฟอร์มฯ ยืมใช้ทรัพยากรภายในห้องสมุดได้เช่นกัน (ยืมใช้ในห้องสมุด/อ่าน/สำเนา ภายใน 1 วันเท่านั้น) พร้อมแสดงบัตรฯ เป็นหลักฐาน เมื่อส่งคืนตัวเล่ม จึงรับบัตรฯ คืน
ติดต่อแจ้งชื่อ-สกุล-รหัสบาร์โค้ดผู้จองหนังสือที่จอง จำนวนที่ต้องการยกเลิก ที่ 034- 253-841-44 , 034-270-222-41 ต่อ 22724 งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์หรือ เบอร์ตรง 034-241513
เป็น collection หนังสือวรรณกรรมฯ หากต้องการใช้/ยืม ติดต่อเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ
นักศึกษาควรจะตรวจสอบทรัพย์สินคงค้างกับห้องสมุดฯ ก่อนกลับบ้านหลังการสอบเสร็จ มิฉะนั้น ก็จะประสบปัญหาไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ในภาคการศึกษาต่อไป หรือ อาจไม่จบการศึกษา เป็นต้น
การดำเนินการ : ติดต่อส่งคืนหนังสือกับห้องสมุด หากมีความจำเป็นเร่งด่วน โทรศัพท์สอบถามได้ที่
โทรศัพท์เบอร์ตรง 034-255092 / 034-241513
โทรศัพท์เบอร์ต่อ 034- 253-841-44 , 034-270-222-41
2.1 ต่อ 21111 งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
2.2 ต่อ 21120 งานบริการตอบคำถาม/บริการสารนิเทศ ชั้น 2 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
2.3 ต่อ 21342 งานบริการโสตทัศนศึกษา ชั้น 4 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ
Facebook Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
Email : sus.ref2011@gmail.com
5. โทรสาร : 034-255092
ปัจจุบัน หอสมุดฯ เรามีบริการ sms alert เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่าน โดยท่านสามารถติดต่อสมัครใช้บริการนี้ได้ ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ณ เคาน์เตอร์ยืม-คืน งานบริการยืม—คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ ทันทีที่หนังสือจองมาถึง ท่านก็จะได้รับ sms จากเจ้าหน้าที่ส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือตามหมายเลขที่ท่านแจ้งไว้ เพื่อให้มาติดต่อรับตัวเล่ม
E-book (5)
ในการดาวน์โหลด E-Book จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อเปิดอ่านฯ ดังนี้
สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ติดตั้งโปรแกรม Adobe© Digital Editions ทั้ง
Windows และ Macintosh
สำหรับอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟน ติดตั้งโปรแกรม Bluefire Reader ทั้งรุ่น Apple และ Andriod
คู่มือการใช้ http://www.l.su.ac.th/wp-content/uploads/2017/04/ONE-Search@Silpakorn-University.pdf
หากเป็นฐานข้อมูล E-books ที่ทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือ มหาวิทยาลัยศิลปากรบอกรับ จึงจำเป็นต้องติดตั้ง VPN ยกเว้น E-books ในฐานฟรีออนไลน์ต่าง ๆ ขอแนะนำลิงค์การติดตั้ง VPN เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้ http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/index.php/su-vpn/
ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลของ Ebook ที่จัดทำขึ้น ด้วยการบันทึกแบบฟอร์มการขอg]- ISBN ของหนังสือ และเพิ่มที่อยู่ของหนังสือในช่อง url หอสมุดฯ จะดำเนินการส่งแบบฟอร์มนั้น ไปยังสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อขอเลข isbn เมื่อได้รับเลขจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะดำเนินการส่งเลขให้ผู้ใช้บริการต่อไป เมื่อผู้ใช้บริการได้รับเลขแล้ว กรุณาทำสำเนาไฟล์ E-book ของท่าน ใส่แผ่น CD ส่งให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ 2 แผ่น
แบบฟอร์มการขอเลข ISBN ขอหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ : แบบฟอร์มกรอกข้อมูลการขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือpdf
ebook ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ บนfacebook หรือบนระบบต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระนั้น ป้องกันการลักลอกได้ยากมาก แม้ว่าผู้จัดทำจะใส่ water mark ไว้ ผู้ลักลอกก็ยังสามารถคัดลอกเนื้อหาได้ ส่วนในการป้องกันการละเมิดทำได้เพียงระบุสิทธิ์การใช้งานเอาไว้เบื้องต้น อาจด้วยการใช้สัญลักษณ์ของ Creative Commons ในการระบุขอบเขตการอนุญาตใช้งานเนื้อหา
ขอแนะนำว่า หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน โดยสอบถามที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/th/home.html
ebook ที่ผู้ใช้บริการค้นได้จาก one search สามารถขอยืมตัวเล่ม โดย
ค้นหา ebook ที่ต้องการผ่าน EDS
ลงทะเบียนเข้าใช้ระบบของ EBSCO
Sign in เข้าระบบ
เลือก ebooks ที่ต้องการ
คลิก Full download
กำหนดจำนวนวันที่ต้องการขอยืม
ดำเนินการติดตั้งโปรแกรม Adobe Digital Edition เพื่อใช้ในการอ่าน ebook
เมื่อได้รับไฟล์ ebook สามารถเปิดอ่านได้แม้จะไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต
E-Journal (1)
หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science
กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน)
กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด
วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565
กลุ่ม 1 ได้แก่
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
2. Science, Engineering and Health Studies
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
กลุ่ม 2 ได้แก่
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่ม 3 ได้แก่
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
วารสารน้องใหม่ ได้แก่
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920
(ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565)
EndNote (101)
เมื่อคุณเริ่มต้นใช้งาน EndNote สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้ คือ อย่าบันทึกไลบรารี EndNote ของคุณไปยังบริการคลาวด์ เช่น Google Drive, Dropbox, Onedrive หรือ iCloud มิฉะนั้นไลบรารีของคุณอาจเกิดความเสียหายได้ ควรบันทึกลงในไดร์ฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปลอดภัย เช่น ไดร์ฟ D หรือ Flash Drive เป็นต้น ไม่ควรบันทึกไว้ในไดร์ฟ C หรือเดสท็อป (Desktop)
ขณะใช้งานฯ บางครั้งอาจพบปัญหาว่า แถบเมนู/บานหน้าต่างแสดงตัวอย่าง/แก้ไขฯ (ด้านขวา) ในโปรแกรม EndNote หายไป (ดังภาพ)
สามารถแก้ไขได้ดังนี้
กด Double-click เมาส์ ที่รายการอ้างอิงรายการใดรายการหนึ่ง หรือ
กด Double-click เมาส์ ในพื้นที่ว่าง ๆ (ด้านล่างสุด) ของหน้าจอฯ
แถบเมนู/บานหน้าต่างแสดงตัวอย่าง/แก้ไขฯ (ด้านขวา) ในโปรแกรม EndNote จะคืนกลับมา (ดังภาพ)
การนำเข้ารายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม EndNote 21 หากต้องการแนบไฟล์ Full Text ในภายหลังสามารถทำได้หลายวิธี ในที่นี้ขอแนะนำการการค้นหาและแนบไฟล์ Full Text จากโปรแกรม EndNote 21 (แบบออนไลน์) ซึ่งระบบจะทำการค้นหา หากรายการใดเป็น Open Acess จะแนบไฟล์ Full Text ให้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
คลิกเพื่อดูขั้นตอน
ปัญหาการแสดงภาษาไทยในโปรแกรม EndNote 20/EndNote 21 ในส่วนของ Summary เป็นสี่เหลี่ยม ทำให้การแสดงผลภาษาไทยในส่วนของ Summary ไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของโปรแกรมฯ แต่ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการนำรายการอ้างอิงไปใช้งาน
สามารถแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้ ดังนี้
คลิกที่เมนู Edit เพื่อการดูการแสดงผลข้อมูลภาษาไทยในรูปแบบการกรอก/การบันทึก platform และสามารถแก้ไขได้ทันที
หากต้องการดูการแสดงผลแบบเต็มรูปแบบของการอ้างอิงฯ (Summary) ให้คลิกที่เมนู Summary แล้วคลิกเลือกรายการอ้างอิงที่ต้องการ (ซ้ายมือ) แล้วคลิกที่เมนู Copy
เปิดโปรแกรม MS Word แล้วกดปุ่มลัด Ctrl +V เพื่อวางผลลัพธ์ที่คัดลอกมาหรือคลิกเมาส์ขวาแล้วเลือกเมนูวาง/Path
จะพบการแสดงผลภาษาไทยตามรูปแบบการอ้างอิงที่กำหนด หากพบว่ามีข้อความผิดพลาดหรือต้องการแก้ไขข้อมูลก็สามารถแก้ไขได้โดยการกลับไปที่โปรแกรม EndNote แล้วคลิกเมนู Edit เมื่อปรับแก้เสร็จแล้ว กดปุ่มบันทึกทุกครั้งที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงฯ (Save)
สืบค้นข้อมูลที่ต้องการจาก Web OPAC —> http://www.opac.lib.su.ac.th/search
2. คลิกเลือกข้อมูลรายการที่ต้องการนำเข้า EndNote แล้วคลิก ADD MARKED TO BAG
3. คลิก VIEW BAG
4. คลิก EXPORT SAVED
5. เมนู (Format of List) คลิกเลือก End-Note/RefWorks
เมนู (Send List To) คลิกเลือก Local Disk
แล้วคลิก Submit
6. จะพบไฟล์รายการอ้างอิงที่ดาวน์โหลด ชื่อประมาณนี้ คือ export(*.*).txt ในการดาวน์โหลดแต่ละครั้ง จำเป็นจะต้องจำลำดับชื่อไฟล์ทุกครั้ง เพื่อการนำเข้าที่ไม่คลาดเคลื่อน
7. เปิดโปรแกรม EndNote แล้วไปที่เมนู File/Import/File
8. คลิกค้นหาชื่อไฟล์ที่ต้องการจากแหล่งจัดเก็บที่ดาวน์โหลดฯ แล้วคลิก Open
9. เมนู Import Option คลิกเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง (EndNote Import หรือ Tab Delimited)
10. เมนู Duplicated คลิกเลือกตามที่ต้องการดังนี้
– Discard Duplicates หมายถึง หากรายการอ้างอิงซ้ำต้องการให้ตัดทิ้งไป ไม่ต้องนำเข้าฯ
– Import All หมายถึง นำเข้ารายการอ้างอิงทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะซ้ำก็ตาม
– Import into Duplicates Library หมายถึง หากรายการอ้างอิงซ้้ำ ให้นำเข้าแบบสร้างไว้ใน Library ใหม่
เมื่อเลือกได้ตามต้องการแล้ว คลิก Import นำเข้าฯ
11. แสดงรายการบรรณานุกรมที่นำเข้าฯ EndNote สำเร็จแล้ว ดังนี้
จาก https://scholar.google.com/
ดำเนินการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการจาก Google Scholar เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วทำการตั้งค่าการนำเข้าสู่ EndNote โดยคลิกที่ เครื่องหมายขีด 3 ขีดมุมซ้าย
2. จะปรากฎเมนูการตั้งค่าฯ Settings ดังนี้
3. คลิก Settings แล้ว คลิกเลือก Show links to import citations into …
4. คลิกเครื่องหมาย Drop down เพื่อเลือกเป็น EndNote แล้วกดบันทึกการตั้งค่าฯ (Save)
5. เลือกข้อมูลรายการที่ต้องการนำเข้าสู่ EndNote แล้วคลิก Import into EndNote รายการบรรณานุกรมนั้นก็จะถูกดาวน์โหลด
6. สังเกตว่าจะมีไฟล์รายการบรรณานุกรมที่ดาวน์โหลดจะมีชื่อประมาณนี้ คือ (scholar(***).enw และจะมีนามสกุล .enw ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ดังกล่าวเพื่อการนำเข้าฯ
7. ไฟล์รายการบรรณานุกรมที่นำเข้าแล้ว เมื่อเปิดโปรแกรม EndNote ดูก็จะพบรายการบรรณานุกรมดังกล่าว ดังนี้
กรณี กำหนดรูปแบบการอ้างอิงด้วย “ระบบตัวเลข” เช่น Numbered, Vancouver แล้วพบว่า หมายเลขที่ระบบแสดงไม่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 เกิดจากการตั้งค่า ให้แก้ไขดังนี้
เปิดโปรแกรม Ms Word คลิก Tab EndNote
คลิกที่ ลูกศร ใน Section Bibliography เลือก Layout
3. สังเกตที่ Start with bibliography number ว่า เป็นเลข 1 หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้เปลี่ยนเป็น 1 แล้วคลิก OK
4. หากต้องการแก้ไขรายการอ้างอิงให้ขึ้นต้นด้วยลำดับใด สามารถกำหนด/ตั้งค่าได้ตามความต้องการ
กรณีพบว่า ไฟล์รายการอ้างอิงใน library ที่ใช้อยู่เกิดปัญหา และต้องการสร้าง Library ใหม่ทดแทนโดยการย้ายรายการอ้างอิงใน Microsoft Word
ที่ใช้งานอยู่ แต่จะสามารถทำได้เฉพาะรายการอ้างอิงที่มีการ cite จาก EndNote เท่านั้น ดังนี้
เปิดไฟล์ Microsoft Word ที่ใช้งานอยู่ แล้วคลิกที่ tab EndNote 21
ที่เมนู Tools คลิกที่ drop down ของ Export to EndNote คลิกที่ Export Travelling Library
ให้ระบุว่าจะนำ Reference กลับไปที่ Library เดิมหรือสร้าง library ใหม่
ถ้ามี library เดิมอยู่แล้ว เลือก An existing EndNote library เพื่อเลือก library เดิม หรือค้นหาชื่อ library จากเมนู Browse
ถ้าต้องการสร้าง library ใหม่ ให้เลือก A new EndNote library แล้วคลิก OK ตั้งชื่อ library
ในกรณีที่รายการอ้างอิง (reference) ถูกลบออกจาก library ด้วยการ move to trash นำกลับมาใช้งานได้อย่างไร
ในกรณีที่ถูกลบไปด้วยคำสั่ง move to trash
ที่คอลัมน์ซ้ายสุด คลิกที่รายการ Trash จะพบรายการอ้างอิงที่ถูกลบออกไป ให้ select รายการที่ต้องการนำกลับเข้าสู่ library (บางส่วนหรือทั้งหมด)
คลิกขวาที่รายการที่ selected แล้วเลือกคำสั่ง Restore to library
รายการ reference ที่เลือก จะกลับไปอยู่ที่ library
ใช้คำสั่ง Compressed Library สามารถทำได้ดังนี้
เปิดไฟล์ library ที่ต้องการ ใน EndNote คลิกเมนู file –> Compress library (.enlx)
2. จะปรากฏข้อความถามว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง ให้คลิก Next แล้วตั้งชื่อ library (จะได้นามสกุล .enlx)
3. คลิกบันทึก (save) สามารถนำ library นี้ ไปใช้กับโปรแกรม EndNote ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้ โดย open ตามปกติ
ดาวน์โหลดไฟล์ Full Text & PDF ที่ต้องการจะแนบ/จัดเก็บเข้าโปรแกรม EndNote
เปิดโปรแกรม EndNote คลิกเลือกเมนู File —> Import —> File
3. คลิก Choose เลือกไฟล์ Full Text & PDF จากแหล่งจัดเก็บที่ต้องการ
4. คลิกเลือกไฟล์ Full Text & PDF ที่ต้องการได้ จากนั้นคลิก Open
5. กำหนดรูปแบบดังนี้ จากนั้นคลิก Choose
Import File : ชื่อไฟล์ (Full Text & PDF) ที่คลิกเลือก
Import Option : PDF (รูปแบบ)
Duplicates : Discard Duplicates (ถ้าพบว่ารายการบรรณานุกรมซ้ำให้ตัดออก)
Text Translation : No Translation
6. จะปรากฎรายการ (Full Text & PDF) ดังนี้
กรณีไฟล์ (Full Text & PDF) เป็นไปตามมาตรฐาน / มีค่า DOI จะปรากฎรายการบรรณานุกรมใน EndNote (ดังภาพด้านบน)
กรณีไฟล์ (Full Text & PDF) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จะไม่ปรากฎรายการบรรณานุกรมใน EndNote (ดังภาพด้านล่าง)
แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะคงมีไฟล์เนื้อหาของ (Full Text & PDF) แนบใน EndNote ปรากฎให้สามารถดู/อ่านได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องกรอกรายการบรรณานุกรมเข้าด้วยตนเอง
ยกตัวอย่างเช่น ผู้แต่งชาวเยอรมัน จะมีตัวอักษรพิเศษแตกต่างจากภาษาอังกฤษ หากต้องการพิมพ์ใส่ใน Endnote สามารถทำได้ ดังนี้
วิธีที่ 1 การ copy ตัวอักษรพิเศษจาก MS Word โดย
เปิดโปรแกรม MS Word เลือก insert → Symbol →More Symbols
จะปรากฏหน้าจอ Symbol ให้เลือกตัวอักษรที่ต้องการ หากไม่มีตัวอักษรที่ต้องการ สามารถเปลี่ยนรูปแบบฟอนต์ ที่ช่อง Font ได้ เมื่อเลือกได้เรียบร้อยแล้ว คลิก insert
Copy ตัวอักษรใน MS Word จากนั้นไปที่โปรแกรม Endnote คลิกที่ช่อง Author จากนั้น คลิกขวา เลือก paste หรือ กด Ctrl v ในกรณีที่เป็นชื่อเรื่องให้วางที่ชื่อเรื่อง
วิธีที่ 2 ใช้ Character map โดยพิมพ์คำว่า Character map ที่ช่องสืบค้น จากนั้นเลือก Character map
จะปรากฏหน้าจอ เลือกตัวอักษรที่ต้องการ กด select ต่อด้วย copy
ไปที่โปรแกรม Endnote คลิกที่ช่อง Author จากนั้น คลิกขวา เลือก paste หรือ กด Ctrl v
การอ้างอิงผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ในเนื้อหาจะใส่ฐานันดรไว้ก่อนหน้าชื่อ – สกุล
สำหรับบรรณานุกรมให้ใส่ชื่อ – สกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค , ตามด้วยฐานันดรศักดิ์ สามารถแก้ไขได้ ซึ่งวิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เหมาะกับบทความ ที่มีการอ้างอิงผู้แต่งคนไทยเท่านั้น และใช้โปรแกรม Endnote 21 โดยมีวิธีการ ดังนี้
คลิกที่นี่
หากต้องการให้แสดงเฉพาะ “บรรณานุกรมท้ายเล่ม” สามารถทำได้ ดังนี้
insert citation รายการนั้น ๆ ตามปกติ
คลิกขวาที่รายการอ้างอิงดังกล่าว
ไปตั้งค่าที่เมนู Edit Citation(s) จะพบ pop up ตามภาพ คลิกเลือก Show Only in Bibliography (ข้อควรระวัง จำเป็นต้องจดจำตำแหน่งรายการอ้างอิงนั้น ๆ ให้ได้ หากต้องการคืนค่าฯ เป็นปกติ จะต้องคลิกตั้งค่าตรงตำแหน่งนั้น ๆ)
หากไม่มลมีอีเของมหาวิทยาลัยศิลปากร (xxxx@su.ac.th / xxx@silpakorn.edu ) ไม่ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม EndNote ได้
เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าว เป็นบริการเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานะปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี Login and Password (SU-NET) เพื่อการดาวน์โหลด ทั้งนี้ หากลืมหรือยังยังไม่มีอีเมลของมหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจากยังไม่ได้ยืนยันตัวตนใน SU-Net นั้น สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
กรณี ลืม Login and Password (SU-NET) ท่านสามารถเลือก “ลืมรหัสผ่าน”ได้จาก https://ipassport.su.ac.th
กรณี ยังไม่เคยยันยันตัวตน/สมัครฯ SU-NET สามารถเลือก “ลงทะเบียนระบบใหม่” ได้จาก https://ipassport.su.ac.th ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วไม่สามารถสมัครฯ/ยืนยันตัวตนได้ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ https://bdt.su.ac.th/home/?page_id=553
สามารถรวมหลาย Library ใน EndNote เข้าด้วยกันได้ ดังนี้
1. เปิด Library หลัก ที่คุณต้องการนำเข้ารายการอ้างอิงจากรายการอ้างอิงจาก Library อื่นเข้ามาไว้
2. จากเมนู File เลือก Import > File
3. คลิก Choose… (เลือกไฟล์ Library.enl อื่น) ที่ต้องการรวม
4. คลิกเลือกรายการ Import Options เลือก EndNote Library
5. เลือกตัวเลือกจากรายการ Duplicates: … / Discard Duplicates / Import All ตามความซ้ำที่ต้องการให้นำเข้าฯ
6. เลือกตัวเลือก Text Translation …
7. คลิก Import
EndNote สามารถซิงโครไนซ์ ได้เพียงไลบรารีเดียว (library เดียว) เท่านั้น หากพยายามหรือต้องการใช้ Library อื่นร่วมด้วย ระบบฯ จะสอบถามว่าคุณต้องการรวม library ทั้งสองเข้าด้วยกันหรือไม่ หากต้องการรวมไลบรารี ทำได้ ดังนี้ http://www.snc.lib.su.ac.th/sncfaq/?ufaq=%E0%B9%83%E0%B8%99-endnote-สามารถรวม-library-เข้าด้วยก
ในกรณีที่ Add-ins ใหม่และเห็น tab EndNote อีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อปิดและเปิด Word ใหม่ Tab EndNote กลับหายไปอีก เมื่อลอง Add in ใหม่จะเห็นว่า ในช่อง ที่เคยเลือกแสดง EndNote CWYW ไว้ เครื่องหมาย √ หายไป (เมื่อ √ อีกครั้ง ก็จะเห็น tab EndNote ได้อีก) จะต้องแก้ไข ดังนี้
ไปที่จัดเก็บโปรแกรม MSWord ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วคลิกขวาที่ .exe
.
เลือก Run as Administrator
ที่เมนู Files > Options > Add-Ins
คลิกที่ Manage dropdown list เลือก COM Add-ins แล้วคลิก GO
ในหน้า COM Add-Ins เลือก EndNote แล้วคลิก Remove หรือ เอาออก
คลิก Add แล้วหาที่อยู่ของ EndNote CWYW.dll แล้วคลิกเลือก
คลิก OK และ OK อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปิดหน้า COM Add-ins
Tab EndNote จะแสดงบนแถบเครื่องมือของ MSWord
ทดลองปิด MSWord และเปิดใหม่ ดูว่าเห็น Tab EndNote หรือไม่
หรือ Run MsWord ด้วย Run as administrator แล้วตอบ Yes ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงบน Computer จะยังคงมี Tab EndNote อยู่
1.ใน Word…File > Options > Add-ins > Selected Disable Items จาก dropdown ของ Manage > Click Go หรือ ไป แล้วคลิก ตกลง
เลือก EndNote Cite While You Write แล้วคลิก ตกลง
Tab EndNote จะปรากฏที่แถบเมนูของ MSWord
การทำบรรณานุกรมด้วย EndNote เมื่อแทรกรายการอ้างอิงแล้วพบว่า ส่วนเนื้อหากับส่วนบรรณานุกรมมี Font และขนาดแตกต่างกัน
เปิดไฟล์งาน MS Word
คลิกแท็บ EndNote คลิปที่ปุ่มลูกศร (ดังภาพ)
จะปรากฎแท็บ Layout เพื่อเลือกรูปแบบ/ขนาด ของ Font ที่ต้องการ แล้วคลิก OK 4. จะพบว่าข้อความของเนื้อหาและส่วนบรรณานุกรมท้ายเรื่องมีรูปแบบและขนาดเดียวกัน (ดังภาพ)
เมื่อใช้โปรแกรม EndNote จัดการบรรณานุกรม ถ้าพบว่าการแสดงผลของการอ้างอิงแบบ numbered หรือ vancouver ตัวเลขที่กำกับในเนื้อหาเป็นตัวปกติ และถ้าต้องการให้แสดงเป็นตัวยก (Superscript) จะต้องทำการ edit style ดังนี้
จาก EndNote ที่เมนู Tools > Output Styles > Edit (“Numbered”) หรือ รูปแบบตัวเลขอื่นที่ต้องการใช้ จะปรากฏหน้าจอ template ของ Numbered
2. ที่ Citations เลือก templates และคลิกที่
3. Save Style ที่สร้างขึ้นโดยคลิกที่ เมนู File > Save as แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Numbered Copy Superscript แล้วคลิก Save
เมื่อต้องการใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Numbered ที่มีตัวเลขเป็นตัวยก ให้เลือกในช่อง Bibliographic Output Style เป็น Numbered Copy superscript หรือถ้าใช้รูปแบบ Vancouver ก็ให้ Edit Vancouver แล้วทำตามขั้นตอนเดียวกัน
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th (ต่อ)
สัปดาห์นี้ยังคงเป็นเรื่องการอ้างอิงตารางและภาพต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “พี่พร้อม” อธิบายการอ้างอิงตารางและภาพ โดยยกตัวอย่างเฉพาะการอ้างอิงตาราง สัปดาห์นี้จะอธิบายและยกตัวอย่างการอ้างอิงภาพ คำว่า ‘ภาพ’ ในการอ้างอิงนี้ คือ figure หมายความถึง ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพ ไม่เป็นรูปแบบตาราง (table) เช่น กราฟ (graph), แผนที่ (map), แผนภูมิสายงาน (flow chart) หรือแบบจำลองเส้นทาง (path model) องค์ประกอบของการอ้างอิงภาพจะเหมือนกับองค์ประกอบการอ้างอิงของตาราง ดังนี้
1. หมายเลขภาพ (Figure number) คือ ตัวเลข (เช่น Figure 1/ภาพ 1) วางไว้เหนือชื่อภาพ ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อภาพ (Figure title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขภาพ และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ภาพ คือ ข้อมูลของภาพโดยรวม
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำเป็นตัวเอียง เป็นการอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพที่สร้างสรรค์เองจะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของภาพ ถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ พร้อมทั้งเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ ด้วย
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของภาพ ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำภาพมาจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงภาพจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น
6. การแสดงข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ต้องการประกาศการสงวนลิขสิทธิ์ หรือแสดงลิขสิทธิ์ของภาพที่นำมาใช้
อย่างไรก็ตามการอ้างอิงตารางและภาพยังมีบริบทปลีกย่อยอีกหลายประการ ที่ทำให้การเขียนอ้างอิงมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก แต่เพื่อความกระชับในการนำเสนอเนื้อหา “พี่พร้อม” จึงขอสรุปโดยย่อตามรูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นค่ะ
การอ้างอิง “การสัมภาษณ์ (Personal Interview)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การสัมภาษณ์ (Personal Interviews) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสารสนเทศแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communications) หมายถึง การอ้างอิงข้อมูลที่ผู้อ่านผลงานไม่สามารถหาข้อมูลนั้นมาอ่านย้อนหลังได้ ข้อมูลที่จัดว่าเป็น Personal Communications ได้แก่ อีเมล, Online chats, direct messages, live speech, การสนทนาทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์ (Personal Communication) เป็นต้น และจะใช้การอ้างอิงแบบ personal communications เมื่อแหล่งของข้อมูลนั้นไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีก
– ถ้าต้องการอ้างอิงข้อมูลที่เรียนในชั้นเรียน ให้อ้างอิงงานวิจัยที่ผู้สอนใช้เป็นหลักในการสอน แต่ถ้าสิ่งที่ผู้สอนเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิ ไม่เคยมีการตีพิมพ์ ให้อ้างอิงแบบ Personal Communications ได้
– ถ้าการสื่อสารนั้นจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ให้อ้างอิงแบบเอกสารจดหมายเหตุ (Archival materials)
– ถ้าเป็น live บน Social media ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้บน platform อื่น ที่สามารถย้อนกลับไปดูได้ เช่น วีดิโอ Instagram live ที่บันทึกไว้เป็นวีดิโอในช่อง YouTube ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของสื่อที่บันทึกนั้น
การอ้างอิงข้อมูล Personal Communications จะอ้างถึงเฉพาะในเนื้อหา ไม่ต้องใส่ลงในรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่สามารถค้นหาย้อนหลังได้ และมีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ชาวต่างประเทศ ใช้ อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. เขียนคำว่า “Personal Communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “แผนที่ Online หรือ Google Maps (Online Maps References/Google Maps)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
Google Maps เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางยอดนิยม ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่ที่ไม่ทราบเส้นทางหรือไม่คุ้นเคยได้ง่าย โดย Google จะกำหนดเส้นทาง แจ้งระยะทาง และเวลาที่ใช้ให้ เมื่อต้องการอ้างอิงการเดินทางด้วย Google Maps ข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ใคร (Who) เมื่อใด (When) อะไร (What) และที่ไหน (Where) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง (Who) สำหรับ Google Maps ใช้ Google Inc. เป็นชื่อผู้แต่ง โดยให้ใส่คำว่า Google ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่ Inc. ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี (When) เนื่องจากไม่สามารถกำหนดวันที่สร้างหน้า page ของ Google Maps ได้ ดังนั้นให้ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. ข้อมูลของเส้นทาง (What) เนื่องจากแผนที่ในการนำทางไม่มีชื่อเรื่อง จึงให้เขียนอธิบายจุดมุ่งหมายของการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยระบุวิธีการเดินทาง อธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ที่มาของแผนที่ (Where) ระบุวัน เดือน ปี ที่เรียกใช้ Google Maps เพราะเส้นทางการเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใส่คำว่า ‘สืบค้นเมื่อ’ หรือ ‘Retrieved’ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ วัน เดือน ปี สำหรับภาษาไทย หรือ เดือน วัน, ปี สำหรับภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่คำว่า ‘จาก’ หรือ ‘from’ ตามด้วย url ของหน้า Map นั้น
การอ้างอิง “แหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หัวข้อการเขียนบรรณานุกรมสัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ไม่ได้ขึ้นต้นว่า “การเขียนบรรณานุกรม” เพราะแหล่งข้อมูลที่นำมาอธิบายในครั้งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่จะลงรายการเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) ไม่ต้องทำรายการบรรณานุกรมท้ายเอกสาร
ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น ถ้าผู้อ่านต้องการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้เหล่านี้ จะต้องเขียนอ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (personal communications) ซึ่งจะทำการอ้างอิงเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) โดยไม่ต้องเขียนบรรณานุกรมท้ายเอกสารโดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้เผยแพร่ข้อมูล เช่น เจ้าของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ผู้นำเสนอในการประชุมออนไลน์ เป็นต้น ชาวต่างประเทศ ใช้อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า “personal communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในการนำเสนอผลงานวิจัย ข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบตาราง (Tables) หรือภาพ (Figures) ที่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนมากได้ และเข้าใจง่าย ถ้าผู้วิจัยสร้างสรรค์ตารางหรือภาพขึ้นเอง เพียงแค่กำหนดชื่อตารางหรือภาพนั้น แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ตารางหรือภาพ แต่หากผู้วิจัยใช้ตารางหรือภาพจากแหล่งอ้างอิงอื่น ไม่ว่าจะนำมาทั้งหมด หรือนำมาดัดแปลงบางส่วน ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลนั้น ใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) กำหนดให้การอ้างอิงตารางและภาพใช้โครงสร้างเดียวกัน และตัวอย่างที่ “พี่พร้อม” นำมาอธิบายนี้ขอใช้ตามที่ปรากฏใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.)
ตาราง (Tables) หรือภาพ(Figures) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตารางหรือภาพที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์เอง ตารางหรือภาพที่ปรับปรุงจากแหล่งอื่น และตารางหรือภาพที่นำมาจากแหล่งอื่นทั้งหมด สัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ขอยกตัวอย่างการอ้างอิงตารางเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. หมายเลขตาราง (Table number) คือ ตัวเลข (เช่น ตาราง 1) วางไว้เหนือชื่อตาราง ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อตาราง (Table title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขตาราง และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ข้อมูลตาราง คือ ข้อมูลที่ต้องการอธิบายสิ่งที่ค้นพบในรูปแบบตาราง
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำตัวเอียง เป็นการอธิบายข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่สร้างสรรค์เอง จะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ และเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของตาราง ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น ส่วนบรรณานุกรมท้ายรายงานเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบของแหล่งอ้างอิงนั้น
การอ้างอิง “หนังสือแปล (Book republished in translation)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หนังสือที่เป็นหนังสือคลาสสิก เช่น หนังสือของ Shakespeare หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น Le petit prince, Harry Potter เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาอื่นสามารถอ่านและเพลิดเพลินไปกับบทบาทของตัวละครได้ เมื่อต้องการอ้างอิงหนังสือแปลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร พี่พร้อมสรุปให้เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ค่ะ
1. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
2. ปีที่แปล ให้ใส่ปีที่แปลอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
3. ชื่อเรื่องแปล ใช้ชื่อหนังสือในภาษาของฉบับที่อ้างอิง ทำเป็นตัวเอียง
4. ชื่อผู้แปล ใส่ชื่อผู้แปล แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยคำว่า ‘ผู้แปล’ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เว้นวรรคจากชื่อเรื่องแปล 1 ระยะ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า ‘Trans’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
6. ปีพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์คำว่า ‘ต้นฉบับพิมพ์ปี’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Original work published’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
การอ้างอิง “หนั)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิง ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ได้เปิดตัวและได้รับเสียงฮือฮาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน GPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งบริษัท OpenAI เป็นผู้พัฒนาให้เป็นโมเดลสนทนาที่สามารถตอบคำถามได้อย่างหลากหลาย มีบทสนทนาที่ให้ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง แล้วยังมีกลไกป้องกันคำถามที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทุกคนสามารถไปทดลองใช้ได้ที่ https://chat.openai.com/chat
Kiattirat Jindamanee (2565) ได้สรุป 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ChatGPT คือ 1) เป็นการสื่อสารในรูปแบบการสนทนา 2) มีการตอบสนองที่เป็นไดนามิกมากขึ้น และมีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก 3) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ของ ChatGPT จะเรียนรู้การจัดอันดับคำตอบของมนุษย์ไว้เป็นฐานข้อมูลต่อไป 4) มีการใช้ Sibling Model เพื่อนำร่องให้ ChatGPT สามารถตอบสนองได้ในเชิงลึก 5) ตอบสนองต่อทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตอบคำถาม การเขียนงานทางวิชาการ หรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนใช้เครื่องมือค้นหาสิ่งที่ต้องการ จากที่ใช้ Search engine ธรรมดาค้นหาข้อมูลที่จะให้เพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ ChatGPT จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วย 7) ChatGPT ยังคงให้ใช้งานฟรีเพราะยังอยู่ในระยะทดลองใช้ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ Elon Musk ไม่อนุญาตให้ ChatGPT ใช้ข้อมูลของ Twitter เนื่องจากเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร และ 9) การเข้ามาทดแทนมนุษย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเรียบเรียงและใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
แม้จะทดลองใช้กันบ้างแล้ว พออ่านถึงข้อ 9) “พี่พร้อม” ได้มีการตั้งวงสนทนากันอย่างจริงจัง เพราะโลกมักเต็มไปด้วยเรื่อง hi tech หาก “พี่พร้อม” ก็ยังอยากคงไว้ซึ่งความ hi touch ให้อยู่ในโลกการทำงานของห้องสมุดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศฯ เครื่องมือช่วยในการแสวงหาสารสนเทศต่าง ๆ นานา แล้วแตะมือส่งต่อความรู้ วิธีการ หนังสือ ฯลฯ ไปให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้มากที่สุด
เมื่อเข้าไปทดลองใช้จึงมีคำถามว่า หากผู้ใช้บริการไปถามใน ChatGPT แล้วต้องการนำมาอ้างอิง จะเขียนอย่างไร เพราะพยายามค้นหาในคู่มือแล้วยังไม่มีบอกไว้ จึงช่วยกันวางรูปแบบโดยอิงจาก APA 7th รวมไปถึงถาม ChatGPT แต่ด้วยความที่ “น้อง” ขยันมาก คำถามที่ห่างกันเพียง 5 นาที อาจได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น “พี่พร้อม” จึงหาข้อยุติด้วยการวางรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมในการเขียนอ้างอิงแบบนี้ ซึ่งพิจารณาแล้วละม้ายกับการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source) รายละเอียดอ่านที่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=447382884243194&set=a.4890909600995954 “ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น”
รูปแบบการเขียน “พี่พร้อม” เลือกใช้เป็นแบบนี้ ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อของบริษัท AI เป็นชื่อผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี ใส่ ปี, เดือน วัน ที่ถามใน Chatbot ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
3. ชื่อเรื่อง หมายถึง คำถามหรือบทสนทนาที่ผู้ถามพิมพ์ลงใน Chat ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า ‘Chat’ หรือ ‘การสื่อสารส่วนบุคคล’ อยู่ในเรื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. url ปิดท้ายรายการด้วย url ของ ChatGPT
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 2: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author)
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็ก กรณีที่ 2 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน ยังคงใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป และให้ลงรายการชื่อผู้วาดภาพประกอบซ้ำ ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนเรื่อง) แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วาดภาพประกอบไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 1: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author)
หนังสือสำหรับเด็ก เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความคิด ให้คติสอนใจ ช่วยสร้างจินตนาการ พัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา การอ่าน การสังเกต หนังสือสำหรับเด็กต้องมีภาพประกอบที่สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กจึงให้ความสำคัญกับผู้วาดภาพประกอบด้วย บางเรื่องผู้เขียนเรื่องและผู้วาดภาพประกอบเป็นคนละคนกัน และบางเรื่องผู้เขียนเรื่องกับผู้วาดภาพประกอบเป็นคนเดียวกัน การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็กใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป ถ้ามีการให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบที่มีชื่อระบุไว้บนหน้าปก ก็ให้ระบุชื่อผู้วาดภาพประกอบไว้ในรายการบรรณานุกรมด้วย
สำหรับสัปดาห์นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนเรื่องไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิง “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release Reference)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมักจะมีประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปทราบความเคลื่อนไหว หรือข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานราชการนั้น ข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ จัดเป็นข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary source) สามารถนำมาใช้ประกอบในงานวิจัยและสามารถอ้างอิงได้ ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
สำหรับการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th ของข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release References) มีดังนี้
1. ชื่อหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
2. ปี เดือน วัน ให้ใส่วันที่ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ โดยใข้รูปแบบ ปี ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่เดือนที่พิมพ์ เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่วันที่ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ทำเป็นตัวเอียง ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ พิมพ์คำว่า ‘Press release’ ถ้าเป็นภาษาไทยใช้คำว่า ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ทีอยู่ของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ url ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค
การอ้างอิง “หนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิงวิดีโอ TikTok ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
TikTok เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้ในการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที จัดเป็นสื่อประเภท Social Media ประเภทหนึ่ง การอ้างอิงวิดีโอบน TikTok นี้ สามารถใช้กับการอ้างอิง Instagram และ Twitter ได้ด้วย โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้ใช้ คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ หรือเป็นชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้ TikTok นั้น แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ชื่อบัญชีผู้ใช้ ใส่เครื่องหมาย @ ตามด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. วัน เดือน ปีที่โพสต์ ให้ใส่ ปี, เดือน วัน ที่โพสต์ ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง โดยนับจำนวน 20 คำของชื่อ Caption รวมทั้งนับคำใน # (hashtag) หรือ อิโมจิ เป็น 1 คำด้วย ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ประเภทของ TikTok ใส่ชื่อประเภทของ TikTok ว่า ‘วิดีโอ’ หรือ ‘Video’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
6. ชื่อ Social Media ใส่คำว่า ‘TikTok’ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
7. URL ใส่ URL ของ link วิดีโอนั้น
แสดงว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์เรามี Product Key / License Key มากกกว่า 1 ไฟล์ ซึ่งเราอาจจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้งฯ โปรแกรมนี้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ให้ดำเนินการค้นหา Product Key / License Key ในเครื่องฯ แล้วลบออกทั้งหมด จากนั้นดำเนินการดาวน์โหลดโปรแกรมฯ พร้อม Product Key / License Key และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง
คู่มือการติดตั้งฯ และการใช้โปรแกรม EndNote ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถหาดูได้จาก –>http://www.resource.lib.su.ac.th/web/EndNote/manual?menu=manual
ให้ตรวจสอบว่ารายการอ้างอิงที่เกินมานั้น เป็นรายการที่พิมพ์ขึ้นเองหรือไม่ โดยลองคลิกที่รายการอ้างอิงในเนื้อหา แล้วเกิดแถบสีเทาหรือไม่ หากเป็นแถบสีเทาแสดงว่าเป็นรายการที่ link จาก library Endnote แล้วกลับไปดูที่ library ว่ามีเอกสารรายการนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มี(ซึ่งอาจหายไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง) ให้เพิ่มเอกสารนั้นลงไปใน library แต่ถ้าคลิกแล้วไม่เกิดแถบสีเทา แสดงว่าอ้างอิงรายการนั้น นักศึกษาพิมพ์ขึ้นมาเอง ก็ให้ไปเพิ่มรายการใน library เช่นเดียวกัน และทำการ insert ใหม่
ที่ tab endnote คลิกลูกศรที่คอลัมน์ bibliography ให้แก้ font ขนาด และ เปลี่ยนคำว่า Reference เป็นบรรณานุกรม เลือก font ตามต้องการ แล้วคลิก ok
ส่วนการแก้ font ในส่วนเชิงอรรถ ให้ selected รายการ แล้วเปลี่ยน font ขนาด
ที่ tab endnote คลิกลูกศรที่คอลัมน์ bibliography ให้แก้ font ขนาด และ เปลี่ยนคำว่า Reference เป็นบรรณานุกรม เลือก font ตามต้องการ แล้วคลิก ok
ส่วนการแก้ font ในส่วนเชิงอรรถ ให้ selected รายการ แล้วเปลี่ยน font
ต้องดูว่า หายไปจากสาเหตุใด ตามปกติถ้าหายไปโดยการถูก delete ออกจาก library เบื้องต้นรายการที่ถูก delete จะไปอยู่ในห้องที่เป็นถังขยะของ library และสามารถเรียกคืนได้เหมือนกับการ restore ข้อมูลจากถังขยะ แต่ถ้าดูแล้วว่า ทุกห้องใน library ทุกอย่างเหลือเป็น ศูนย์ ทั้งหมด ก็จะไม่มีข้อมูลอ้างอิงให้เรียกคืนได้อีก
ในแต่ละฐานข้อมูลจะมีเมนูการสืบค้นและการนำเข้ารายการบรรณานุกรม (Citation) ที่แตกต่างกัน เมื่อคลิกเข้ารายการที่ต้องการนำเข้าแล้ว ให้มองหาหรือสังเกตเมนูที่ปรากฎคำต่าง ๆ (ด้านล่าง) โดยคลิกเลือกรูปแบบ RIS Format EndNote, Reference Manager ดังนี้
คำว่า Citation
คำว่า Cite
คำว่า Citation Tools
Cite this article
คำว่า Cite book
คำว่า Cite Export
คำว่า Export
คำว่า Export Citation
คำว่า Download as .RIS
คำว่า Download Citation
คำว่า Rerferences & Citations
คำว่า Export to RefWorks
เครื่องหมาย ” ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ อีกที่มีความหมายในลักษณะนี้
ไปที่เนื้อหาใน Microsoft Word ดำเนินการคลิกเมาส์ด้านขวาของรายการอ้างอิงนั้น แล้วเลือกเมนู Edit Citation แล้วเลือก Display as author (Year)
จากการดูข้อมูลของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาใช้ รูปแบบ APA6 กับ Endnote x9 รูปแบบที่นักศึกษาใช้นั้นเป็นรูปแบบของ APA6 ถ้านศ.ต้องการให้ แสดงชื่อผู้แต่งทุกคนต้องปรับปรุงรูปแบบ หรือเลือกรูปแบบเป็น APA7 แทน ซึ่งจะแสดงผลถึง 20 คน แต่ต้องสังเกตว่ารูปแบบการแสดงผลบรรณานุกรมของหนังสือจะเปลี่ยนไป คือไม่มีเมืองที่พิมพ์
จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากระบบนักศึกษาต้องทำวิจัยบนระบบ iThesis ของ มศก. และระบบ iThesis กำหนดให้ทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรม EndNote จะช่วยให้ผู้วิจัยจัดเก็บรายการบรรณานุกรมได้อย่างเป็นระเบียบ สามารถปรับรูปแบบบรรณานุกรมไปได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ สามารถส่งบทความวิจัยที่ใช้โปรแกรม EndNote ทำบรรณานุกรมไปตีพิมพ์ในวารสารในต่างประเทศได้ นศ.สามารถติดตั้งโปรแกรมจากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ และหากมีปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อห้องสมุดได้
ให้แก้ไขที่ คลิกที่ Page Numbers ที่คอลัมน์ขวาสุด แล้วเลือกข้อ Show the full range of page (e.g. 123-125)
ให้ เปิด EndNote > ที่เมนู tools > edit output styles > edit APA 7
ในคอลัมน์กลาง ให้ลบอักษร p และ pp. ออก
ใน Reference type ของ EndNote ให้เลือกเป็น webpage
มีความเห็นว่า ควรอ้างอิง เพราะเราใช้ข้อมูลของผู้สร้างวิดีโอนั้น เราไม่ได้คิดเอง ไม่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเอง โดยการบันทึกข้อมูลใน EndNote สามารถใช้ reference type เป็น Film and broadcast แทน
ตามรูปแบบของการอ้างอิงในระบบ Chicago เมื่อมีการอ้างอิงซ้ำ ที่ใช้กันอยู่เสมอคือคำว่า เรื่องเดียวกัน หรือ ibid จะใช้ในกรณีที่ใช้รายการอ้างอิงซ้ำเรื่องเดิมต่อเนื่องกัน แต่ถ้าเป็นกรณีที่ใช้เรื่องเดิมแต่มีเรื่องอื่นมาคั่น จะใช้รูปแบบย่อ คือ ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่อง หรือคำว่า op cit เท่านั้น แต่นักศึกษาบอกว่า ในกรณีซ้ำต่อเนื่องอาจารย์ให้ใช้ ibid แต่ถ้าไม่ต่อเนื่องให้ใช้ บรรณานุกรมแบบเต็ม แต่ในโครงสร้างของ Chicago 17 ไม่ได้กำหนดไว้ให้สามารถใช้รูปแบบเต็มได้ จึงต้อง edit ด้วยตัวเอง ดังนี้
แทรกเชิงอรรถไปตามปกติ
คลิกขวาที่รายการซ้ำ > show only in bibliography ซึ่งจะทำให้การอ้างอิงรายการนั้นหายไป แล้วไป copy reference รายการนั้น จาก endnote library มาวางใหม่ หรือพิมพ์ใหม่ตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งถ้ามีรายละเอียดที่ต้องการแก้ไข ก็สามารถแก้ไขได้ เพราะเป็น text ธรรมดา
จากรูปแบบที่เห็น (ตามภาพ) แสดงว่าผู้ใช้ฯ ยังคงใช้รูปแบบบรรณานุกรมแบบ APA อยู่ ไม่ได้เปลี่ยน Bibliographic Output Styles
ให้ทำการเปลี่ยน Bibliographic Output Styles เป็น Chicago 17th footnote ดังนี้
ที่ไฟล์เอกสาร เลือก Tab EndNote
ที่ช่อง Styles คลิกลูกศร dropdown เลือก Chicago 17th footnote
EndNote ทุกรุ่น ไม่สามารถเรียก library ที่อยู่บน cloud มาใช้ได้ (ข้อมูลจาก Clarivate เจ้าของ EndNote) จะต้องดึงไฟล์ library และ data มาไว้บนคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วจึงเปิด library ใช้
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ใช้รูปแบบบรรณานุกรมแบบใด ถ้าเป็น APA 6th ที่สามารถแสดงชื่อผู้แต่งได้ถึง 6 คน ก็จะไม่ต้องใช้คำว่า ‘และคณะ’ แต่ถ้าผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นตามที่ต้องการ สามารถทำได้โดยการ edit รูปแบบการแสดงผลที่ใช้อยู่ ตามตัวอย่าง
เมื่อต้องการปรับรูปแบบ APA 6th ในการอ้างอิงในเนื้อหา
2. เมื่อต้องการปรับรูปแบบของบรรณานุกรม
เมื่อผู้ใช้ได้ทำการปรับปรุงรูปแบบแล้ว ให้คลิก save as และเปลี่ยนชื่อรูปแบบไม่ให้ซ้ำกับรูปแบบดั้งเดิมด้วย
ในกรณีนี้ ถ้าผู้ใช้มีบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้รายการที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็น ‘และคณะ’ เช่นเดียวกัน เพราะในการทำบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถเรียกใช้รูปแบบการอ้างอิงได้เพียง 1 รูปแบบเท่านั้น และต้องใช้ไปตลอดทั้งเล่ม
ให้ทำการ edit รูปแบบการแสดงบรรณานุกรมที่ต้องการ โดยการเปิดโปรแกรม EndNote ถ้าเป็น version 20 ให้คลิกที่ tool –> output style –>edit…(ชื่อรูปแบบ)
คลิกที่ Author list ของ citation แล้วเปลี่ยน คำว่า et al. เป็น และคนอื่น ๆ.
2. คลิก file –> save as แล้วตั้งชื่อรูปแบบใหม่ ไม่ให้ซ้ำกับชื่อดั้งเดิม
3. กลับไปที่ microsoft word คลิกที่ tab EndNote
4. คลิกคำสั่ง update citation and bibliography
ในกรณีนี้ ถ้าผู้ใช้มีบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้รายการที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็น ‘และคนอื่น ๆ’ เช่นเดียวกัน เพราะในการทำบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถเรียกใช้รูปแบบการอ้างอิงได้เพียง 1 รูปแบบเท่านั้น และต้องใช้ไปตลอดทั้งเล่ม
ตอบว่า ในการทำวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถใช้รูปแบบได้รูปแบบเดียว เมื่อปรับรูปแบบให้เป็นไปตามต้องการแล้ว ต้องใช้รูปแบบนั้นไปตลอดทั้งเล่ม โดยสามารถเปลี่ยนวิธีการปรับการบันทึกข้อมูลผู้แต่งคนไทย โดยการพิมพ์ชื่อผู้แต่งคนไทยให้เสร็จในบรรทัดเดียว ใส่คำว่า และ ก่อนคนสุดท้ายแล้วจึงใส่ , ปิดท้ายแทน และใช้รูปแบบ apa ตามปกติ การแสดงผลก็จะแสดงได้ตามต้องการ
ให้ตรวจสอบการพิมพ์ข้อมูล ให้ถุกต้อง ทดลองด้วยการลบรายการที่ export มาออก แล้วพิมพ์ด้วยมือใหม่ ถ้ายังไม่ได้ ให้ปรับที่โปรแกรมด้วยการ edit style ที่เลือกใช้ แล้วเปลี่ยน/ตรวจสอบค่า ดังนี้
ที่ journal Names เลือก Use full journal name
ที่ title Capitalization เลือก leaves title as entered
แล้วกลับไปเลือก style ที่ save ไว้ใหม่ สั่ง update citation and bibliography
ใช้วิธีการอ้างอิงแบบเอกสารอันดับรอง หรือการอ้างแบบทุติยภูมิ โดยในการเขียนบรรณานุกรม ให้ใช้คำว่า ‘อ้างถึงใน’ หรือ ‘as cited in’ โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ให้ตรวจสอบรูปแบบ Bibliographic output style ใน Tab EndNote ต้องเป็น Chicago Style
การทำรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมด้วย EndNote และจัดรูปแบบแบบ Chicago นั้น ต้องใช้คำสั่งของ Msword ช่วย ดังนี้
ที่ MSWord เลือก เมนู References
2. คลิก insert footnote
3. เคอร์เซอร์จะมารอที่หมายเลขเชิงอรรถท้ายหน้ากระดาษ
4. ที่ โปรแกรม EndNote เปิด library และเลือก reference รายการที่ต้องการอ้าง คลิกเครื่องหมาย
5. จะปรากฏรายการอ้างอิงที่ตัวเลขเชิงอรรถท้ายหน้ากระดาษนั้น ให้ตรวจสอบ bibliographic output style ว่า เป็นรูปแบบอะไร ให้เลือกรูปแบบ Chicago 17 footnote
หรือต้องการใช้เป็นเชิงอรรถขยายความ ก็สามารถพิมพ์คำอธิบายต่อจากหมายเลขเชิงอรรถได้เลย
ผู้ใช้บริการบอกว่าติดตั้งและใช้ EndNote 20 ที่หอสมุดฯ มีให้ download แต่เมื่อสร้าง library และบันทึกข้อมูลภาษาไทย แล้ว save ข้อมูลในช่อง summary และช่อง preview ไม่แสดงผลเป็นภาษาไทย และหาเมนู display font เพื่อจะแก้ไม่พบต้องทำอย่างไร
EndNote 20 ไม่มี function ให้แก้การแสดง font ดังนั้นใน summary และ preview จึงไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นภาษาไทย แต่เมื่อทำการ insert citation ลงใน word จะเป็นภาษาไทยตามที่บันทึกข้อมูลไว้ และแสดงบรรณานุกรมตามรูปแบบที่เลือก
ในการทำการอ้างอิงแบบเชิงอรรถด้วยโปรแกรม EndNote ต้องเริ่มต้นด้วยการวางเคอร์เซอร์ไว้ตรงจุดที่ต้องการอ้างด้วยคำสั่งแทรกเชิงอรรถ (insert footnote) ในเมนู Reference ของ Msword เมื่อหมายเลขที่อ้างและเคอร์เซอร์มารอที่ส่วนท้ายหน้ากระดาษให้ทำการ insert citation จาก library ของ EndNote และเลือก bibliographic output style เป็น Chicago
ที่โปรแกรม EndNote เปิด library แล้วไปที่ เมนู tools –> output style–>เลือก edit รูปแบบบรรณานุกรมที่ต้องการใช้งาน (ในที่นี้จะเลือก edit ที่รูปแบบ APA 7th
2.จะปรากฏหน้าโครงสร้างของบรรณานุกรม ให้เลือก templates ที่หัวข้อ citation
3. ลบอักษร p. และ pp. ออก ใส่เครื่องหมาย : แทน ทั้ง 2 บรรทัด
4.คลิกเมนู file –> save as โดยตั้งชื่อไม่ให้ซ้ำกับชื่อรูปแบบดั้งเดิม
5. ที่ไฟล์ word ทำการ insert citation แล้วคลิก select ที่ citation –>คลิกขวา –> เลือก Edit citation –> more
6.จะพบหน้าสำหรับจัดการข้อมูล ใส่เลขหน้าลงในช่อง page แล้วคลิก ok
ที่ library EndNote เลือก Select Another Style ในช่อง Output style แล้วหา Medical Anthropology แล้วคลิก choose
ให้ทำการ clear journal term lists ก่อน เพื่อจะได้ download รูปแบบของชื่อวารสารได้ถูกต้อง โดยดำเนินการดังนี้
การเลือกใช้ชื่อย่อของวารสาร
เมื่อพบว่า ชื่อย่อของวารสารที่ได้จากการ import citation มา เป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบหาชื่อย่อของวารสารที่ถูกต้องได้ โดยการ import ชื่อย่อของวารสารมาจาก Journal term list โดยมีวิธีการดังนี้
เปิด library ที่มี reference ที่ต้องการ
ที่เมนู library เลือก Open Term Lists à Journal Term List
3.จะปรากฏหน้าต่าง Term Lists คลิกที่ tab Terms แล้ว Selected all ที่ รายชื่อวารสาร แล้วคลิก Deleted Term
4.เลือก tab Lists คลิก Journals แล้วคลิก Import List
จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกสาขาของวารสารที่ต้องการ ในที่นี้เลือกสาขา Chemical แล้วคลิก Open
ปรากฏหน้าต่างข้อความแจ้งจำนวนของวารสารที่ถูกนำเข้า แล้วคลิก ok
กลับไปเลือก tab Terms จะพบว่ามีรายชื่อวารสารในสาขา Chemical พร้อมทั้งการย่อชื่อวารสารทั้ง 3 รูปแบบ
การเรียกใช้ ชื่อย่อของวารสารในการทำบรรณานุกรม (ในกรณีที่เมื่อมีการ insert citation แล้วพบว่าชื่อของวารสารไม่เป็นตัวย่อ ให้ตรวจสอบ ดังนี้
– ที่เมนู Tools เลือก Output Style แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการใช้งาน
-คลิกที่ Journal Names แล้วสังเกตคอลัมน์ขวามือว่า เลือกใช้รูปแบบชื่อวารสารอย่างไร ให้ดูจาก Term list ของวารสารที่ download มา แล้วเลือกวิธีการย่อชื่อวารสารตามต้องการ
– คลิกเมนู File à Save as แล้วตั้งชื่อรูปแบบใหม่ไม่ซ้ำกับชื่อรูปแบบเดิม
8.ที่ไฟล์ Word เลือก tab EndNote 20 คลิก Update Citation and Bibliography
ให้ตรวจสอบก่อนว่า ในรูปแบบการแสดงผลที่ใช้นั้น ตามปกติมีการแสดงผลอย่างไร เช่น ถ้าใช้ระบบ APA 6 ใน EndNote สามารถปรับรูปแบบได้ตามต้องการ โดยเข้าไปในเมนู File > Edit output style > APA 6th เลือก Author List ของ Bibliograpy แล้วเลือกการแสดงผลตามต้องการ
ในการ copy library EndNote เพื่อนำไปเปิดกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนั้น ให้ใช้คำสั่ง compress library ทำการ copy ข้อมูล โดยมีขั้นตอน ดังนี้
ที่คอมพิวเตอร์เครื่องที่มี library อยู่ เลือกเมนู file –> เลือก compress library (.enlx)
จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เลือก save ไไ
โปรแกรมจะ copy library ที่ต้องการให้ ให้ตั้งชื่อ library ไฟล์นี้จะมีนามสกุล .enlx
เก็บไฟล์ xxxx.enlx และ xxxx.data เพื่อใช้ในการเปิดกับโปรแกรม EndNote ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
ให้ดำเนินการแทรกรายการบรรณานุกรมด้วย EndNote ไปตามปกติ เมื่อนักศึกษาทำการ generate ตัวเล่มแล้ว ฉบับที่เป็น pdf จะมีรายการบรรณานุกรมอยู่ที่หน้า Reference
ในการทำวิจัยบนระบบ iThesis และอ้างอิงด้วยโปรแกรม EndNote ไม่สามารถใช้ระบบการอ้างอิงหลายรูปแบบได้ ต้องเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
รูปแบบ (bibliographic output style) ที่เลือกเป็นแบบ Chicago ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ มีรูปแบบตามที่เห็น แต่ถ้าไม่ต้องการมีรายการท้ายหน้ากระดาษ ให้ปรากฏในส่วนท้ายของเอกสาร ให้ใช้รูปแบบอื่น เช่น APA
ในกรณีที่เป็นผู้แต่งคนไทยหลายคน ให้พิมพ์ชื่อผู้แต่งเรียงกันทุกคน และพิมพ์คำว่า และ ก่อนคนสุดท้าย แล้วค่อยบันทึกข้อมูล
สำหรับหนังสือภาษาไทยที่พิมพ์ครั้งแรก ไม่ต้องใส่คำว่า พิมพ์ครั้งที่ 1 ใน field edition
หอสมุดฯ มีการเปิดการอบรมการรู้สารสนเทศเป็นรอบ ๆ บางครั้งอาจไม่ตรงกับความต้องการของท่าน หรือไม่ทราบข่าวสารการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาสามารถรวมกลุ่มในคลาสมาติดต่ออบรมกับหอสมุดฯ ได้ทันที หรือหากไม่สามารถรวมกลุ่มได้จริง ๆ จะมา 1 หรือตามจำนวนที่สามารถรวมได้ โดยติดต่อนัดหมายล่วงหน้าได้ที่งานบริการสารนิเทศชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (คุณพัชรี/คุณธนวรรณ)
โทร. 034-241513 Email : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ปัญหาที่มักพบบ่อยครั้ง คือ
การดาวน์โหลดภายนอกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มศก. จึงขอให้ท่านตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายฯ อีกครั้ง ในการ download โปรแกรม EndNote จะต้องทำภายในครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยศิลปากร หากนักศึกษาทำการ download จากที่พัก หรือจากอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ จะต้องติดตั้ง web VPN ของมหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน (ตามเอกสาร http://netserv.su.ac.th/manual/vpn/web_VPN.pdf )
Product Key เนื่องด้วย product key จะเป็นรูปแบบใหม่ คือ โปรแกรมจะทำการ run และวิ่งหา product key เอง โดยที่เราไม่ต้องดำเนินการติดตั้งแบบ EndNote เวอร์ชั่น 7/8 ซึ่งจะต้องคัดลอก product key แล้วนำมาวางด้วยตนเอง โดยท่านสามารถดำเนินการ ดังนี้ 2.1 ดำเนินการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมEndNote เสร็จแล้ว อย่าเพิ่งสั่ง run โปรแกรม 2.2 ดำเนินการดาวน์โหลดไฟล์ product key ทันที 2.3 สั่ง run program EndNote
ขัดข้องประการใด รบกวนติดต่อโทร. 034-241-513 หรือส่งข้อมูลมาที่อีเมลนี้ (sus.ref2011@gmail.com ) อีกครั้ง
เนื่องด้วย product key จะเป็นรูปแบบใหม่ คือ โปรแกรมจะทำการ run และวิ่งหา product key เอง โดยที่เราไม่ต้องดำเนินการติดตั้งแบบ EndNote เวอร์ชั่น 7/8 ซึ่งจะต้องคัดลอก product key แล้วนำมาวางด้วยตนเอง โดยท่านสามารถดำเนินการ ดังนี้
ดำเนินการดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรม EndNote ให้แล้วเสร็จ อย่าเพิ่งสั่ง run โปรแกรมฯ
ดำเนินการดาวน์โหลดไฟล์ product key ให้แล้วเสร็จ
สั่ง run program EndNote
ทั้งนี้ หากติดขัดอย่างไร รบกวนติดต่อ 034-241-513
บันทึกใน field Author ตามปกติ ถ้าเป็นหน่วยงานเดี่ยว ๆ ให้ลงไปตามปกติ และถ้ามีหน่วยงานใหญ่ หน่วยงานรอง ให้ใส่เรียงตามปกติ และใส่ , ปิดท้าย
ในโปรแกรม EndNote ให้แก้จาก Edit > preferences > Display font > จะเห็น tab ให้เลือกคลิก 4 tab ได้แก่ Library, General, Label, Search ให้คลิกเลือกทีละ tab จะเห็นว่า ชื่อ font ที่อยู่ในช่องแสดง font เป็น font ที่รับภาษาไทยไม่ได้ ให้คลิกเลือก Change font แล้วเลือก font ที่รับภาษาไทยได้ เช่น Angsana New, TH Sarabun เป็นต้น แล้วเลือก font style และ size ให้เหมาะสม เสร็จแล้วเลือก ok
ใช้ Reference Type เป็น Book แล้วบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ลงใน field ที่ถูกต้อง ส่วนรายการที่เป็นบทหนึ่งในหนังสือให้บันทึกใน Reference Type เป็น Book Section
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาที่เกิดจากการใช้โปรแกรม EndNote ขึ้นอยู่กับ Bibliographic Output Style ที่ผู้ใช้บริการเลือก รูปแบบที่เป็น (ชื่อ, ปี) เป็นรูปแบบ APA 6th การแสดงผลรูปแบบการอ้างอิงที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับการเลือก Reference Type การบันทึกข้อมูลใน Library และการเลือก Bibliographic Output Style ด้วย
ตรวจสอบการเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ต้องเข้าใช้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มศก. เท่านั้น หากใช้จากบ้าน ต้องติดตั้ง web vpn –> http://netserv.su.ac.th/manual/vpn/web_VPN.pdf
(นอกเครือข่ายฯ ไม่อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้)
การอ้างอิงด้วยfootnote ต้องใช้โปรแกรม msword ในการ insert footnote แล้วจึง insert citation มาจาก EndNote
เบื้องต้นให้ตรวจสอบใน EndNote library ว่า จัดเก็บข้อมูลถูกต้องตามประเภท (reference type) หรือไม่ และบันทึกข้อมูลใน field ที่ถูกต้องหรือไม่
ชื่อผู้แต่งเอานามสกุลขึ้นแก้ไขได้ โดยเข้าไป edit reference ภาษาไทยที่ต้องการแก้ไข ที่ Author ให้พิมพ์ , (Comma) ปิดท้ายนามสกุลผู้แต่งภาษาไทยทุกคน แล้วจึง close reference
สำหรับรายการบรรณานุกรมภาษาไทยที่มีภาษาอังกฤษปนอยู่ ต้องดูว่าปนอยู่แบบใด
ในรายการบรรณานุกรมของนักศึกษาที่ให้ดู มีคำว่า in ในรายการที่เป็นหนังสือธรรมดา ในวิทยานิพนธ์ เป็นต้น ในกรณีนี้ให้นักศึกษาไปตรวจสอบการกรอกรายการใน library ดูว่าเลือกประเภทถูกต้องหรือไม่
มีภาษาอังกฤษ “” ในการกำหนดครั้งที่พิมพ์ / “and” ในการใส่ข้างหน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้ายในกรณีมีผู้แต่งมากกว่าสองคน ในกรณีนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ในการทำวิทยานิพนธ์ในระบบ iThesis ที่มีรายการบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สามารถแก้ไขได้ ดังนี้
เปิดไฟล์งานใน Ms word คลิกแท็บเมนู EndNote X21 ให้สังเกตว่า Instant Formattion is off ให้คลิกที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมหัวคว่ำท้าย Instant Formattion is off แล้วเปลี่ยนเป็น Turn instant formatting on
ในขั้นตอนของการบันทึกข้อมูล ให้ใช้ Ref type เป็น Webpage
ในการบันทึกข้อมูลผู้แต่งที่เป็นภาษาไทย ต้องใส่เครื่องหมาย , ต่อจากนามสกุลเสมอ แล้วจึง save หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยการ enter ทุกครั้ง
จากปัญหาของนักศึกษาพบว่า โน้ตบุ๊คใฃ้ระบบปฏิบัติการเป็น windows 7 ไม่สามารถติดตั้ง EndNote X8 ได้ ต้องติดตั้ง EndNote X7 แทน
PDF ที่นำมา import ด้วยโปรแกรม EndNote ต้องเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหมายเลข DOI (Digital Object Identifier) หรือหมายเลขประจำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นมาตรฐาน (PDF เอกสารที่มี เลข DOI มักเป็น PDF ที่ได้จากการ download จากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ) PDF ที่เกิดจากการ scan หรือจากการเปลี่ยนรูปแบบเอกสาร ไม่สามารถ import เข้า EndNote ได้ ผู้ใช้บริการอาจแก้ไขปัญหาได้โดยการนำชื่อบทความไป search ผ่าน google scholar แล้วให้นำเข้า EndNote ด้วย Google scholar แทน
สามารถทำได้โดยการ สร้างรูปแบบขึ้นใหม่ หรือ edit style จากรูปแบบที่ใช้อยู่ให้เป็นภาษาไทย ปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการแสดงผล แต่ถ้ารายการอ้างอิงมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อนำรูปแบบที่ สร้าง หรือ edit ใหม่ไปใช้ ก็จะกระทบถึงรูปแบบของภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นการแก้รูปแบบ ถ้าเป็นไปได้ ควรแก้ในไฟล์ที่เป็น text แต่ในกรณีของระบบ iThesis จะทำให้เกิดปัญหาการส่งขึ้นระบบ cloud
ให้ติดตั้งโปรแกรม EndNote X7 แทน โดยสามารถ download โปรแกรมได้จากเว็บไซต์ของหอสมุดฯ
เกิดจาก font ของการแสดงผลไม่สามารถแสดงผลภาษาไทยได้ สามารถปรับ font ได้ดังนี้ เข้าโปรแกรม EndNote > edit > preference > Display font แล้วแก้ไข font ที่ปรากฏที่ tab เครื่องมือทั้ง 4 tab ให้เป็น font ที่สามารถแสดงภาษาไทยได้ เช่น Angsana, ThSaraban เป็นต้น
เมื่อค้นบทความที่ต้องการจาก Google Scholar แล้ว เลือก import into endnote
save file แล้วคลิก ^ แล้ว open จะ import เข้าสู่ Library ของ EndNote ที่เปิดไว้ทันที
ในโปรแกรม EndNote เมื่อ insert ref รายการแรกแล้ว สามารถวาง cursor ต่อแล้ว select ref ต่อไปจาก library และทำการ insert ต่อได้เลย โปรแกรม จะทำการรวมในวงเล็บและแยกแต่ละรายการด้วยเครื่องหมาย ;
โปรแกรม EndNote ไม่สามารถจัดการบรรณานุกรมภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้พร้อม ๆ กัน ดังนั้นในกรณีปัญหาที่ได้รับแจ้งมาเรื่องการเปลี่ยนคำว่า and เป็น และ ใน reference ภาษาอังกฤษและภาษาไทย นั้น วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ ปล่อยให้การแทรกรายการอ้างอิงเป็นไปตามที่โปรแกรมจัดให้ ในภาษาไทยอาจได้เครืองหมาย & มาแทนคำว่า และ ก็ปล่อยไปค่ะ จนคุณคิดว่าคุณทำการอ้างอิงเสร็จแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยตัวเราเอง ตอนไฟล์เอกสาร ไม่มีคำสั่งของ EndNote แล้ว โดยทำดังนี้
– ใน MsWord (ที่เป็นไฟล์ที่พิมพ์และทำการแทรกรายการอ้างอิงเรียบร้อยแล้ว) คลิกที่ tab EndNote
– ในคำสั่งของ EndNote ไปที่คำสั่ง Convert citation and bibliography คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ข้างท้าย จะมีคำสั่งย่อย ๆ ปรากฏออกมา
– คลิก Convert to plain text
– ตอบ Yes เมือ Word ถามว่าจะสร้างไฟล์ให้ใหม่ เสร็จแล้วตั้งชื่อไฟล์ Wordจะสร้างไฟล์ให้ใหม่อีกไฟล์หนึ่ง เป็นไฟล์ที่ไม่มีคำสั่งของ EndNote ติดอยู่
– ทำการแก้ไข เครื่องหมาย ที่คั่นระหว่างผู้แต่ง ด้วยการพิมพ์ตามปกติ ให้เป็นคำว่า และ แล้วจึง save หรือถ้าหากมี output style สำหรับรายการอ้างอิงภาษาไทยที่สร้างขึ้นใหม่แล้ว ก็สามารถเลือกใช้ได้ (ต้องดูว่า รายการอ้างอิงภาษาใดมีมาก ให้เลือกรูปแบบของภาษานั้น แล้วไปแก้อีกภาษาหนึ่งที่ plain text)
การทำเชิงอรรถในเอกสารด้วยโปรแกรม EndNote ต้องใช้คำสั่งในเมนูการอ้างอิง (Reference) ของ Microsoft word ที่มี เมนู EndNote ด้วย ทำได้โดยการ insert เชิงอรรถด้วยคำสั่งแทรกเชิงอรรถในเมนูการอ้างอิง และใช้ insert citation จากเมนู EndNote
ถ้าดูจากหน้าจอที่ส่งมาให้ ไม่แน่ใจว่าติดตั้ง EndNote สำเร็จหรือยัง เพราะอาจติดตั้งสำเร็จแล้ว แต่ยังไม่เห็น EndNote ด้วยเหตุผลใดๆ หรืออาจยังติดตั้งไม่สำเร็จก็เป็นได้ อย่างนี้ต้องเข้าไปดูใน Add in ในโปรแกรม Word แต่การอ้างอิงที่คลิกให้ดูนั้น ไม่ได้มาจาก EndNote เป็นการอ้างอิงด้วยคำสั่งของ Word
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าอ้างอิงแบบวารสาร food chemistry การอ้างอิงจะใช้นามสกุล เช่น Link & Schlünder, 1996 แต่มีบางเอกสารอ้างอิง จะปรากฎชื่อแรกตามมา Sitthiphong Soradech, Nunthanid, Limmatvapirat, & Luangtana-anan, 20 12 หรือบางอัน S. Wu 1981 เป็นต้น
สาเหตุที่รูปแบบของชื่อผู้แต่งไม่ตรงกัน เนื่องจาก ผู้แต่งที่เป็นชาวยุโรป จะใช้นามสกุลขึ้นต้น แต่ถ้าเป็นคนไทย จะใช้ชื่อขึ้นต้นค่ะ ในการลงรายการ ก็น่าจะลงตามรูปแบบการอ่านชื่อของประเทศนั้น ๆ แต่ถ้าหากต้องการให้รูปแบบการแสดงชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย เอานามสกุลขึ้นต้นเหมือนกับชาวยุโรป ทำได้โดยการ…
1. แก้ไขรูปแบบ (output style) ให้แสดงผลได้ตามต้องการ หรือที่สะดวกกว่า คือ
2. ทำการ edit reference นั้นด้วยการพิมพ์แก้ไข
2.1 เปิด Library ที่อาจารย์ต้องการ
2.2 double คลิก reference ที่ต้องการแก้ไข โปรแกรมจะเปิดหน้า worksheet ของ reference รายการนั้น
2.3 ที่ Author ที่เป็นคนไทย จะเป็น Sitthipong Soradech, ให้อาจารย์เอา , ออก (ผู้แต่งคนอื่นทีเป็นคนไทย ให้เอา , ออกให้หมด) แล้วกด Ctrl W คลิก yes เพื่อ Save ข้อมูล
2.4 ลองกลับไปดูการแสดงผลที่ tab preview ใน library เลือก output style เป็น food chemistry ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย จะกลายเป็น Soradech, S.
สามารถ download ได้ โดยลงทะเบียนเข้าใช้งานเครือข่าย SUNet ก่อน หากลงทะเบียนไม่สำเร็จให้ติดต่อศูนย์คอมพิวเตอร์
Interlibrary Loan (7)
หากต้องการใช้บริการถ่ายเอกสารหนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารถติดต่อกับบรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศด้วยตนเอง หรือส่งคำขอผ่านอีเมลฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (sus.ref2011@gmail.com) แจ้งชื่อ-สกุล ผู้ขอใช้ /คณะ/สถาบัน / รหัสนักศึกษา / เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ / อีเมล / ชื่อหนังสือหรือวารสาร /ผู้แต่ง / หน้าที่ต้องการถ่ายฯ / รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น (
เป็นบริการเฉพาะคณาจารย์/บุคลากร/นักศึกษา ที่สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น)
ทั้งนี้ บริการถ่ายเอกสารในปัจจุบัน บางสถาบันฯ (ไม่มีให้บริการ) แล้ว บางสถาบันยัง (มีบริการ) เฉพาะการถ่ายเอกสารบางส่วนฯ ที่ไม่เกิน 25-75 % ของหนังสือทั้งเล่มนั้น ๆ เป็นต้น หากทางหอสมุดฯ ส่งคำขอไปยังห้องสมุดปลายทางแล้ว ได้ผลเป็นเช่นไรจะแจ้งท่านกลับทางข้อมูลติดต่อฯ ที่ได้ให้ไว้
กรณีนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ของมหาวิทยาลัยฯ ต้องการสืบค้นหรือสืบค้นแล้วหาไม่พบ สามารถกรอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ที่ https://forms.gle/WfruFKfGDoxzqH6h9
ทั้งนี้ ข้อมูลที่พบอาจจะได้จากแหล่งฟรี หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายฯ ทางหอสมุดฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อการตัดสินใจ หากได้จากแหล่งฟรีจะดำเนินการดาวน์โหลดจัดส่งให้ทางอีเมลที่แจ้งมานั้นต่อไป
การยืมหนังสือในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Pulinet) มีค่าใช้จ่าย “ตามที่เกิดขึ้นจริง” เช่น ค่าจัดส่ง EMS (ส่งยืม-ส่งคืน), ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น
ติดต่อบรรณารักษ์ งานบริการสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศํพท์ 034-241513 / อีเมล : sus.ref2011@gmail.com
Pulinet คือ ข่ายงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2/2528 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เรื่อง:โครงการความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคคิดรูปแบบโครงการความร่วมมือที่เหมาะสมโดยมุ่งเน้นการประหยัดงบประมาณและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค http://www.pulinet.org/about/
Interlibrary loan Service (14)
กรณีนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ของมหาวิทยาลัยฯ ต้องการสืบค้นหรือสืบค้นแล้วหาไม่พบ สามารถกรอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ที่ https://forms.gle/WfruFKfGDoxzqH6h9
ทั้งนี้ ข้อมูลที่พบอาจจะได้จากแหล่งฟรี หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายฯ ทางหอสมุดฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อการตัดสินใจ หากได้จากแหล่งฟรีจะดำเนินการดาวน์โหลดจัดส่งให้ทางอีเมลที่แจ้งมานั้นต่อไป
สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ หรือ https://tdc.thailis.or.th/tdc/หากไม่พบ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com ทางหอสมุดฯ จะดำเนินการสืบค้นให้ หากพบในฐานข้อมูลเปิดจะดำเนินการดาวน์โหลดและส่งให้ทันที หากไม่พบในฐานข้อมูลเปิด จะประสานงานสอบถามไปยังห้องสมุดในความร่วมมือฯ ว่าที่ใดมีบริการเพื่อทำการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ต่อไป
ผู้ใช้บริการสามารถใช้ฐานข้อมูล ThaiLIS ซึ่งสามารถ download ฉบับเต็มได้ฟรี http://newtdc.thailis.or.th/index.aspx ผู้ใช้บริการจากภายนอกมหาวิทยาลัยให้ทำการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้ https://tdc.thailis.or.th/tdc/register_form.php
ติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ โดยจะดำเนินการตรวจสอบว่ามีที่ใด เป็นห้องสมุดฯ ในเครือข่ายความร่วมมือหรือไม่ หากเป็นจะสอบถามท่านอีกครั้งว่าประสงค์ไปยืมด้วยตนเองโดยออกใบยืมระหว่างห้องสมุด หรือต้องการให้หอสมุดฯ ประสานงานให้แล้วจัดส่งมาทางไปรณีย์ (EMS 2 ขาคือ ส่งมา-ส่งกลับ เพื่อป้องกันการสูญหายและง่ายต่อการตรวจสอบฯ) ซึ่งจะแจ้งให้ทราบถึงค่าดำเนินการโดยรวมก่อนส่งคำขอฯ ซึ่งบางสถาบันจะมีค่าดำเนินการหยิบเล่ม ๆ ละ 100 บาท
สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
โทร. 034-241513 /ภายใน 218025 Email : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
โดยหอสมุดฯ จะค้นคว้าให้จากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานกับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ทั่วประเทศ ซึ่งร่วมมือให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
ให้ผู้ใช้บริการ ติดต่องานบริการสารสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อขอถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุด หรือโทร 0 3424 1513 /(ภายใน) 22726
ติดต่องานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ เพื่อใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด นักศึกษาสามารถขอยืมตัวเล่ม หรือขอถ่ายเอกสารได้โดยมีค่าถ่ายเอกสารสำหรับหนังสือของห้องสมุดในส่วนกลาง หน้าละ 2 บาท และสำหรับห้องสมุดในส่วนภูมิภาค หน้าละ .50 บาท
เบื้องต้น ตรวจสอบจาก PULINET Catalog Sharing จากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ แล้วจึงใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
ติดต่อบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศัพท์ 034-241513 / email : sus.ref2011@gmail.com / Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
ทางหอสมุดฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเป็นบริการสำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของ มศก.
เท่านั้น หากท่านมีสังกัดอยู่มหาวิทยาลัยใด รบกวนติดต่อบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศของสถาบันที่สังกัด อาจมีความร่วมมือในเครือข่ายฯ หากมีก็สามารถขอใช้บริการผ่านบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศของสถาบันที่สังกัดได้
สอบถามสถานะการเป็นสมาชิก มศก. หากเป็น สมาชิก มศก. (นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มศก. )สามารถส่งคำขอได้ทันที แต่หากเป็นศิษย์สถาบันอื่นๆ ในเครือข่ายความร่วมมือฯ รบกวนติดต่อใช้บริการผ่านบรรณารักษ์งานบริการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ของสถาบันท่าน + หากเป็นบุคคลภายนอกทั่วไป หอสมุดฯ ขออภัยเนื่องจากยังไม่มีบริการถ่ายเอกสารหรือยืมหนังสือสำหรับบุคคลภายนอก
สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
กรณีต้องการให้หอสมุดฯ ดำเนินการยืมให้ สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ หรือส่งคำขอ ในช่องทางสืบค้น EDS Publication Sharing หรือ Pulinet Sharing หรือส่งอีเมล sus.ref2011@gmail.com
กรณีต้องการไปติดต่อยืมด้วยตนเอง สามารถมาติดต่อบรรณารักษ์ งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ เพื่อกรอกเอกสารฯ + รับแบบฟอร์มฯ เพื่อนำไปติดต่อยืมด้วยตนเอง
สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ทั้งการขอถ่ายเอกสาร การขอยืมตัวเล่ม หรือการ download file ขอใช้บริการได้ที่โต๊ะบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ
ISBN (14)
ผู้ใช้บริการสามารถขอหมายเลข isbn โดยตรงด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร / ระบบจดแจ้งการพิมพ์ที่ https://e-service.nlt.go.th โดยผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการกรอกข้อมูลสมัครสมาชิกและรออนุมัติเพื่อยืนยันตัวตน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
หมายเลข ISBN ไม่ได้ให้การคุ้มครองทางกฎหมายหรือลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เป็นเพียงหมายเลขระบุสิ่งพิมพ์ตามกฎหมาย
หมายเลข ISBN ไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มดังกล่าวจะเลิกตีพิมพ์แล้วก็ตาม
ผู้เขียนสามารถระบุได้ตามความต้องการ ซึ่งจะระบุเป็นครั้งที่ 1 หรือ ครั้งที่ 2 ก็ได้
หมายเลข isbn ที่กำหนดให้กับหนังสือเล่มใดไปแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ดังนั้น หนังสือที่มีการตีพิมพ์ครั้งใหม่ จำเป็นต้องขอหมายเลข isbn ใหม่ทุกครั้งที่มีการตีพิมพ์ เนื่องจากเป็นกฎของทางหอสมุดแห่งชาติและเพื่อป้องกันการสับสนที่อาจเกิดขึ้นได้
กรณีหนังสือยังไม่ได้ตีพิมพ์ สามารถแจ้งแก้ไขได้ โดยทางหอสมุดฯ จะต้องทำการส่งคำขอยกเลิกหมายเลขเดิมไปยังหอสมุดแห่งชาติ และจัดส่งคำขออีกครั้ง เสมือนกับการขอใหม่ ซึ่งเลขเดิมจะต้องถูกยกเลิก
ตำราที่จัดทำเพื่อการสอน และการขอตำแหน่ง จะไม่สามารถขอ ISBN ได้ สิ่งพิมพ์ที่สามารถขอ ISBN ได้ต้องเป็นหนังสือ งานวิจัยที่จัดพิมพ์ในระบบของโรงพิมพ์ เช่น พิมพ์ในระบบออฟเซท มีสถานที่จัดพิมพ์แน่นอน มีจำนวนการจัดพิมพ์และราคาที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามอาจารย์สามารถประกาศการมีลิขสิทธิ์ของสิ่งพิมพ์ได้โดยการทำหน้าลิขสิทธิ์ไว้ที่ด้านหลังหน้าปกในของเอกสารที่จัดทำ โดยหอสมุดฯ สามารถดำเนินการให้ได้ เพียงอาจารย์จัดส่งหน้าปกใน สารบาญ และเรื่องย่อมาให้ที่ sus.ref2011@gmail.com
ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลของ Ebook ที่จัดทำขึ้น ด้วยการบันทึกแบบฟอร์มการขอg]- ISBN ของหนังสือ และเพิ่มที่อยู่ของหนังสือในช่อง url หอสมุดฯ จะดำเนินการส่งแบบฟอร์มนั้น ไปยังสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อขอเลข isbn เมื่อได้รับเลขจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะดำเนินการส่งเลขให้ผู้ใช้บริการต่อไป เมื่อผู้ใช้บริการได้รับเลขแล้ว กรุณาทำสำเนาไฟล์ E-book ของท่าน ใส่แผ่น CD ส่งให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ 2 แผ่น
แบบฟอร์มการขอเลข ISBN ขอหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ : แบบฟอร์มกรอกข้อมูลการขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือpdf
การขอเลข ISBN กับสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะไม่ได้รับรายการ CIP ทันที ซึ่งจะได้ภายหลัง 1 วัน หลังจากได้รับเลข ISBN ไปแล้ว
ไม่สามารถใช้เลข ISBN เดิมได้ ขอให้อาจารย์ส่งรายละเอียดของหนังสือเล่มที่ 2 มาให้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ และดำเนินการขอเลข ISBN เลขใหม่จากหอสมุดแห่งชาติ
จากการสอบถามเหตุผลความจำเป็นกับทางหอสมุดแห่งชาติ ได้รับคำตอบว่า เนื่องจากเป็นหมายเลข isbn เป็นหมายเลขที่ running ทั่วโลก หากมีการขอฯ และได้รับการอนุมัติหมายเลขไปแล้ว จะต้องตีพิมพ์จริง ๆ มิฉะนั้น หากไม่มีการตีพิมพ์จริงตามที่ขอไป (ไม่มีตัวเล่มจริง) เลข isbn ที่ขอโดยการ running number จากทั่วโลกก็จะว่าง ทำให้หมายเลขนั้นเสียไป และที่สำคัญเป็นการขอจากประเทศไทย ส่งผลต่อชื่อเสียงของประเทศด้วยเช่นกัน
หากเอกสารถูกต้อง + เอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน คร่าว ๆ ประมาณ 2 วัน คือ ใช้เวลาในการขอ cip ประมาณ 1 วัน ใช้เวลาในการขอ isbn ประมาณ 1 วัน รวม 2 วัน แต่บางครั้งก็สามารถเสร็จภายใน 1 วัน
เมื่ออาจารย์จัดพิมพ์หนังสือเสร็จสิ้นแล้ว ต้องส่งมอบหนังสือชื่อที่ขอเลข ISBN ให้กับหอสมุดฯ จำนวน 6 เล่ม เพื่อส่งมอบให้หอสมุดแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ จำนวน 2 เล่ม และจัดเก็บเพื่อให้บริการ ณ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 1 เล่ม หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จ.เพชรบุรี 1 เล่ม หอสมุดวังท่าพระ 1 เล่ม และจัดเก็บเป็นผลงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร อีก 1 เล่ม
อนึ่ง อาจารย์ผู้จัดพิมพ์สามารถนำส่งเล่มตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ไปยังหอสมุดแห่งชาติด้วยตนเอง และกรุณาแจ้งหอสมุดฯ ทราบด้วย
ติดต่อผ่านขอหอสมุดฯ ได้หลากหลายช่องทาง คือ อีเมล : sus.ref2011@gmail.com หรือ โทรศัพท์ : 034-241513 หรือมาติดต่อด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ระยะเวลาในการขอหากเอกสารที่จัดส่งมาครบถ้วน รวมแล้วประมาณ 3 วัน (ไม่ติดวันหยุดเสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์) จะได้รับทันที
นอกจากนี้ สามารถติดต่อขอโดยตรงกับหอสมุดแห่งชาติได้ที่ http://www.e-service.nlt.go.th หรือโทร. 0-2280-9845, 0-2280-9828-32 ต่อ135, 36, 137,140 โทรสาร : 02280-9858 อีเมล์ : isbn@nlt.go.th หรือ issn@nlt.go.th
ISSN (1)
การขอเลข ISSN ของ Ejournal ผู้ผลิตต้องมีการเตรียมการผลิตไว้เรียบร้อยแล้ว ได้แก่
ชื่อวารสาร ความถึ่ในการจัดทำ ผู้รับผิดชอบการจัดทำ
ลักษณะรูปเล่มของ Ejournal , layout หน้าปก
เนื้อหาที่จะปรากฏในตัวเล่ม
ที่อยู่ของวารสาร (URL) ที่พร้อมให้สำนักหอสมุดแห่งชาติเข้าไปตรวจสอบเนื้อหา
เมื่อผู้จัดทำส่งรายละเอียดให้หอสมุดฯ แล้ว หอสมุดฯจะนำส่งรายละเอียดไปให้สำนักหอสมุดแห่งชาติตรวจสอบความถูกต้องทางระบบ e-services ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ และส่งเลข ISSN ให้ผู้จัดทำวารสารต่อไป
iThesis (6)
ขณะใช้งานฯ บางครั้งอาจพบปัญหาว่า แถบเมนู/บานหน้าต่างแสดงตัวอย่าง/แก้ไขฯ (ด้านขวา) ในโปรแกรม EndNote หายไป (ดังภาพ)
สามารถแก้ไขได้ดังนี้
กด Double-click เมาส์ ที่รายการอ้างอิงรายการใดรายการหนึ่ง หรือ
กด Double-click เมาส์ ในพื้นที่ว่าง ๆ (ด้านล่างสุด) ของหน้าจอฯ
แถบเมนู/บานหน้าต่างแสดงตัวอย่าง/แก้ไขฯ (ด้านขวา) ในโปรแกรม EndNote จะคืนกลับมา (ดังภาพ)
หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3
รายการอ้างอิงจะไปปรากฎที่หน้ารายการอ้างอิงเมื่อนักศึกษาทำการ generate เรียบร้อยแล้ว
จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากระบบนักศึกษาต้องทำวิจัยบนระบบ iThesis ของ มศก. และระบบ iThesis กำหนดให้ทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรม EndNote จะช่วยให้ผู้วิจัยจัดเก็บรายการบรรณานุกรมได้อย่างเป็นระเบียบ สามารถปรับรูปแบบบรรณานุกรมไปได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ สามารถส่งบทความวิจัยที่ใช้โปรแกรม EndNote ทำบรรณานุกรมไปตีพิมพ์ในวารสารในต่างประเทศได้ นศ.สามารถติดตั้งโปรแกรมจากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ และหากมีปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อห้องสมุดได้
สามารถทำได้โดยการ สร้างรูปแบบขึ้นใหม่ หรือ edit style จากรูปแบบที่ใช้อยู่ให้เป็นภาษาไทย ปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการแสดงผล แต่ถ้ารายการอ้างอิงมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อนำรูปแบบที่ สร้าง หรือ edit ใหม่ไปใช้ ก็จะกระทบถึงรูปแบบของภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นการแก้รูปแบบ ถ้าเป็นไปได้ ควรแก้ในไฟล์ที่เป็น text แต่ในกรณีของระบบ iThesis จะทำให้เกิดปัญหาการส่งขึ้นระบบ cloud
ระบบ iThesis หรือ eThesis คือระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เริ่มตั้งแต่การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ การส่งผลงาน กระบวนการตรวจสอบการคัดลอก (plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และ Turnitin ไปจนถึงการนำวิทยานิพนธ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ออกเผยแพร่ รวมทั้งจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบการคัดลอกต่อไปในอนาคต
Line (1)
การสมัครแอดไลน์กับห้องสมุดฯ สามารถทำได้ โดยการแอดไลน์ Line ID : @sulib (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) จากนั้นดำเนินการใส่ข้อมูลตามขั้นตอน ที่สำคัญต้องมี Login and Password การใช้อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยนะคะ
ข้อดี :
สามารถยืนยันตัวตนโดยการแสดงบัตรดิจิทัล ในการเข้าใช้ห้องสมุดฯ
สามารถรับทราบผลการแจ้งเตือนหนังสือเกินกำหนดส่งฯ ผ่านช่องทางไลน์
Online database & Data search (38)
หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3
หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปบางส่วนไว้ให้บริการ ดังนี้
1. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากห้องสมุดวิจัยและมหาวิทยาลัยในยุโรป จำนวน 124 แห่ง: https://www.dart-europe.org/basic-search.php
2. คลังวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษประกอบ: http://www.theses.fr/
3. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ: https://www.dissertations.se
4. ดุษฎีนิพนธ์มากกว่า 500,000 รายการ จากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร: https://ethos.bl.uk
5. วิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์: https://www.researchinformation.info/product/index-theses
6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานเขียนของมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนมากกว่า 112,000 รายการ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ฟรี และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์: https://www.essays.se/
7. ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bielefeld ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 100 ล้านฉบับจากแหล่งข้อมูลมากกว่า4,000 แห่ง เนื้อหา 60% เป็นการเข้าถึงแบบเปิด: https://www.base-search.net/
8. ดรรชนีสิ่งพิมพ์ทางด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี: https://dblp.org
9. คลังปัญญาของ University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ จัดเก็บงานวิจัย วิทยานิพนธ์รวมถึงบทความในวารสารทางวิชาการที่ผ่านการ peer review งานประชุมทางวิชาการ: https://www.ucd.ie/library/
10. ฐานขัอมูล ePublications ของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Maynooth ประเทศไอร์แลนด์: http://mural.maynoothuniversity.ie/1233/
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4326879914065595&set=a.4311624932257760
ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของคลังปัญญา ฐานข้อมูลเฉพาะวิทยานิพนธ์ และรวมอยู่กับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น ๆ ดังนี้ คือ
************************************************
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: https://cuir.car.chula.ac.th
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://cmuir.cmu.ac.th
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUTIR): http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: TU Digital Collections มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend
6. มหาวิทยาลัยนครพนม: คลังปัญญา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม: http://arc.npu.ac.th/web/index.php?page=theses
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
8. มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม รวมอยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา: https://webopac.lib.buu.ac.th
9. มหาวิทยาลัยพะเยา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา: http://www.updc.clm.up.ac.th
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: https://library.msu.ac.th
11. มหาวิทยาลัยมหิดล: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้: https://library.mju.ac.th/mjudc
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: http://lib.swu.ac.th
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank): https://kb.psu.ac.th/psukb
15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Thesis) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: https://library.stou.ac.th/2020/09/library-stou-e-thesis
16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: คลังวิทยานิพนธ์เเละงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research
17. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA: Wisdom Repository): https://repository.nida.ac.th
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร: http://www.sure.su.ac.th
************************************************
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
http://ethesis.kru.ac.th/
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://kmresearch.crru.ac.th/
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
https://aritopac.npru.ac.th/
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
http://research.pcru.ac.th/rdb/
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
http://202.29.22.167/~thesis/thesis/
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University)
https://wb.yru.ac.th/
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
http://thesis.rru.ac.th/
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
http://www.etheses.rbru.ac.th/
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
13. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center
http://eresearch.dusit.ac.th/…/ResearchMainSearch.aspx
14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository
http://www.ir.sru.ac.th/
************************************************
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
http://library.siu.ac.th/
6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA)
www.mcuir.com
10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://dspace.spu.ac.th
13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม
https://e-research.siam.edu/
14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)
https://scholar.utcc.ac.th/
15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
https://repository.au.edu/home
17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://repository.rmutp.ac.th/
22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
http://repository.rmutr.ac.th/
23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
http://203.159.12.58/ait-thesis/
Advanced search ของ Scopus มีลักษณะการใช้ไม่เหมือนกับ advanced search ของฐานข้อมูลอื่น advanced search ของ scopus จะมีอยู่ในการสืบค้น document เท่านั้น วัตถุประสงค์ของ scopus ไม่ได้เพื่อการสืบค้นหา fulltext เพื่ออ่าน แต่เพื่อให้ผู้เขียน ดูข้อมูลวิจัยของตนเอง หรือเพื่อดูแนวโน้มของการวิจัย จะได้ fulltext ก็ต่อเมื่อ รายการใดสามารถ link ไปฐานข้อมูล Science Direct ที่บอกรับไว้/emerald ไม่ได้รวมใน scopus แนะนำว่า ถ้าต้องการค้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากหลายฐานข้อมูล ให้ใช้ที่ EDS One search แต่จะได้ข้อมูลมากกว่าซึ่งต้องพิจารณาว่ารายการใดมาจากฐานข้อมูลใด
หอสมุดฯ ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดังตัวอย่าง
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
http://library.siu.ac.th/
6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA)
www.mcuir.com
10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://dspace.spu.ac.th
13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม
https://e-research.siam.edu/
14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)
https://scholar.utcc.ac.th/
15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
https://repository.au.edu/home
17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://repository.rmutp.ac.th/
22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
http://repository.rmutr.ac.th/
23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
http://203.159.12.58/ait-thesis/
สำหรับการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดูได้ที่ https://www.facebook.com/suslibrary/photos/4282131028540484
หอสมุดฯ ขอแนะนำ ฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์และคลังปัญญา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ในประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
http://ethesis.kru.ac.th/
2.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://kmresearch.crru.ac.th/
3.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
4.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
https://aritopac.npru.ac.th/
5.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
7.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
http://research.pcru.ac.th/rdb/
9.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
https://opac.rmu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
10.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University)
https://wb.yru.ac.th/
11.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
http://thesis.rru.ac.th/
12.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
https://etheses.rbru.ac.th/
13.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
14.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center
http://eresearch.dusit.ac.th/
15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository
http://www.ir.sru.ac.th/
16.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี: e-Thesis DRU มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
http://cms.dru.ac.th/jspui/
17.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
18.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://opac.vru.ac.th/Search_Basic.aspx (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
19.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/op https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl ac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
20.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://liberty.udru.ac.th/liberty/libraryHome.do (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
21.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
https://library.nrru.ac.th/aritnrru/?page_id=2
22.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา: ระบบฐานข้อมูลวิจัยและบริการวิชาการ
http://ird.skru.ac.th/RDB/
23.E-Book มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
24.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
25.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
เราสามารถสืบค้นฐานข้อมูล ProQuest แบบฟรี Open Access ได้จาก
https://www.proquest.com/?defaultdiss=true
เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งมีงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลและวารสารในฐานข้อมูล เพิ่มเติมจากที่ สป.อว. บอกรับให้
มศก. ใช้ฐานข้อมูลที่ สป.อว. จัดซื้อให้ และที่ มศก.จัดซื้อเอง ได้แก่ Jstor และ Artstor เมื่อต้องการดูว่า มีวารสารอะไรบ้างในแต่ละฐานข้อมูลให้คลิกที่เมนู Publications หรือ Browse ของแต่ละฐานข้อมูล จะมีรายชื่อวารสพร้อมกับข้อมูลของวารสารว่า เป็นวารสารที่ subscribe หรือไม่ หรือเป็น OA
ใช้ฐานข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น One Search ในการหาข้อมูลบทความวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ ที่หอสมุดมีให้บริการ โดยเข้าใช้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ
ฐานข้อมูล Academic Search Ultimate ฐานข้อมูล ScienceDirect ฐานข้อมูล Emerald เป็นต้น ผ่านเมนูฐานข้อมูลออนไลน์ของหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/online-databases/ สำหรับภาษาไทยแนะนำฐานข้อมูล ThaiLIS, SURE, CUIR เป็นต้น
สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ หรือ https://tdc.thailis.or.th/tdc/หากไม่พบ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com ทางหอสมุดฯ จะดำเนินการสืบค้นให้ หากพบในฐานข้อมูลเปิดจะดำเนินการดาวน์โหลดและส่งให้ทันที หากไม่พบในฐานข้อมูลเปิด จะประสานงานสอบถามไปยังห้องสมุดในความร่วมมือฯ ว่าที่ใดมีบริการเพื่อทำการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ต่อไป
SURE : Silpakorn University Repository คือ คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Repository : SURE) เป็นคลังจัดเก็บและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งผลงานทางศิลปะของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรในรูปแบบดิจิทัล เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นที่ประจักษ์ในแวดวงวิชาการทั่วโลก https://sure.su.ac.th/xmlui/
ตรวจสอบการเข้าใช้ ebook ของ EBSCO พบว่า ไม่สามารถ download offline หรือไม่สามารถยืมตัวเล่มออกจากระบบได้ โดยระบบแจ้งว่า
ให้ผู้ใช้บริการเปิดอ่านโดยการเปิด PDF แทน และจะแจ้งบริษัทตรวจสอบให้ต่อไป
การตรวจสอบจากรายชื่อของวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Jstor ใช้เมนู Browse เลือกสืบค้นตามชื่อวารสาร หรือสาขาวิชาของวารสาร
ให้ใช้ฐานข้อมูล ProQuest (https://search.proquest.com/index) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ในต่างประเทศ ที่สามารถ download เอกสารฉบับเต็มได้ หากใช้จากภายนอกมหาวิทยาลัยจะต้องสืบค้นผ่าน VPN (ศึกษาวิธีการติดตั้งได้จาก http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/index.php/su-vpn/
ผู้ใช้บริการสามารถใช้ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชนของสำนักหอสมุดได้ โดยใช้ username : SU และ Password : su201204
ฐานข้อมูล Scopus เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ครอบคลุมเนื้อหาทุกสาขาวิชา ไม่มีเอกสาร
ฉบับเต็ม แต่จะมีการเชื่อมโยงไปหาเอกสารฉบับเต็มให้ ประโยชน์ของฐานข้อมูล Scopus จะใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทั้งในส่วนของตัวนักวิจัย ภาควิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัย ว่าทำผลงานไว้เพียงใด หรือเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จะมีสถานะเป็นอย่างไร ผลการวิเคราะห์สามารถแสดงทั้งในรุูปของข้อมูล กราฟ รูปภาพ ทำให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ใช้สามารถนำไปอ้างได้ว่ามีสถานะผลงานการวิจัยอย่างไร ในส่วนของการตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ต้องการทราบค่า Quartile หรือค่า Q สามารถใช้ได้ที่ SJR Scimago Journal & Country Rank (https://www.scimagojr.com/)
หากผู้ใช้บริการมีข้อซักถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 22726 (ภายใน) หรือ 0-3424-1513
นักศึกษาสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลของสำนักพิมพ์มติชนได้ โดยการเข้าใช้ที่ http://www.matichonelibrary.com/ แล้วเข้าสู่ระบบโดยใช้ username/password ที่หอสมุดฯมีให้ (กรุณาติดต่อโดยตรงที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ)
ภาษาไทย ค้นจากฐานข้อมูล TDC (http://newtdc.thailis.or.th/index.aspx), CUIR (https://cuir.car.chula.ac.th/) , SU Thesis Online (http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/ ) และ Dspace ของบัณฑิตวิทยาลัย (http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php ) ส่วนภาษาอังกฤษค้นจาก ProQuest (https://search.proquest.com/pqdtglobal/index ) (ฐานข้อมูล ProQuest ค้นได้เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย)
ผู้ใช้บริการสามารถค้นหางานวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้โดยใช้ ฐานข้อมูล SU Thesis Online (http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/) โดยสืบค้นได้จากสาขาวิชาที่ต้องการ หรือใช้คำค้นที่ต้องการ นอกจากนั้นฐานข้อมูลนี้ยังสามารถสืบค้นจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้ด้วย
การสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูล ProQuest ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นต้น ผู้ใช้บริการจะต้องติดตั้งโปรแกรม VPN ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนแล้วจึงเข้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ เข้าใช้ฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้นยกเว้นฐานข้อมูล ProQuest ไม่สามารถเข้าใช้นอกมหาวิทยาลัยศิลปากรได้
ใช้ฐานข้อมูล ProQuest (https://search.proquest.com/pqdtglobal/index) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมดุษฎีนิพนธ์ (Dissertations) และวิทยานิพนธ์ (Theses) ที่ตีพิมพ์ในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งมี บทความ (Articles) ที่มีการ Peer Review แล้วด้วย ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูล ProQuest โดยไม่ต้องใช้ Username/Password แต่ต้องใช้ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น
ผู้ใช้บริการมีข้อซักถามในการใช้ฐานข้อมูล ติดต่อได้ทาง email: sus.ref2011@gmail.com หรือ โทร.0-3424-1513
เมื่อค้นพบ E-book ที่ต้องการอ่านในระบบ EBSCO ผู้ใช้ฯสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยใช้คำสั่ง Save Page ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ได้สูงสุดครั้งละ 100 หน้า
แนะนำให้สืบค้นก่อนจาก Thai Article Index แล้วจดรายละเอียดของบทความ หาเลขรหัสประจำวารสารและไปหยิบตัวเล่มที่งานบริการวารสาร
ฐานข้อมูลที่ใช้ในการหาวรรณกรรมหรือ Review Literature เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ สามารถใช้ได้หลายฐานข้อมูล เช่น ScienceDirect, Academic Search, Education Research Complete, ProQuest หรือสืบค้นผ่าน EDS One Search ก็จะสามารถหาได้จากฐานข้อมูลเกือบทุกฐานข้อมูลที่หอสมุดฯมีให้บริการ
ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตว่า ใช้เครือข่ายใด ต้องแน่ใจว่าใช้ SU WIFI (ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งในหอสมุดฯ สามารถใช้ Wifi ได้หลายเครือข่าย เช่น SU BB ซึ่งไม่สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้)
นักศึกษา ต้องติดตั้ง vpn จากเว็บไซต์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยทำตามคู่มือที่ศูนย์คอมฯมีให้ และต้องติดตั้งให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ เช่น ใช้ Window 8 ให้ทำตามคู่มือ http://www.netserv.su.ac.th/manual/vpn/Manual_VPN_Win8_8.1_10.pdf เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงทดสอบว่า สำเร็จหรือไม่ โดยเข้าเว็บไซต์ห้องสมุด และเรียกใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วจึงสังเกตว่าหน้าแรกของฐานข้อมูลมีชื่อ silpakorn university หรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่สามารถ download fulltextได้
ฐานข้อมูล Thesis Online ของสำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร (ปี 2548-2557) http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/index.asp
ฐานข้อมูล คลังข้อมูลวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ม.ศิลปากร (ปี 2558-ปัจจุบัน) http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php
ฐานข้อมูล ThaiLIS http://newtdc.thailis.or.th/index.aspx
ฐานข้อมูลคลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://cuir.car.chula.ac.th/
บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูล 2ebook ของสำนักหอสมุดฯ ได้ เนื่องจากการสมัครสมาชิกต้องดำเนินการภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้
เมื่อค้นบทความที่ต้องการจาก Google Scholar แล้ว เลือก import into endnote
save file แล้วคลิก ^ แล้ว open จะ import เข้าสู่ Library ของ EndNote ที่เปิดไว้ทันที
หากพยายามค้นจาก แหล่ง Open Access ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถหาได้ ให้ส่งรายละเอียดของ
Article ที่ต้องการมาที่งานบริการสารนิเทศ sus.ref2011@gmail.com จะประสานงานใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดต่อไป
เบื้องต้นสามารถตรวจสอบจาก WebOPACของห้องสมุดก่อน ด้วยการนำเอาชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ไปสืบค้นจาก opac ของห้องสมุด สำหรับในกรณีนี้ พบว่า มีหลายรายการที่ทำรายการอ้างอิงผิดพลาด ข้อมูลไม่ถูกต้อง จะต้องแจ้งให้นักศึกษาทราบ และบอกว่า หากต้องการใช้อ้างอิงต่อ ควรไปหาตัวเล่มและทำการอ้างอิงใหม่ ให้ถูกต้อง
สำคัญอยู่ที่คำค้นของเราว่า เลือกใช้คำค้นเหมาะกับเรื่องที่เราต้องการหรือเปล่า ถ้าภาษาไทย ก็ใช้ ThaiLIS หรือ CUIR ถ้าภาษาอังกฤษ ก็ค้นผ่าน One search ก็ได้ มันครอบคลุม หรือออกไปใช้ Google Scholar ถ้าเราเน้นที่เนื้อหางานก็ไม่น่าต้องระบุชื่อวารสาร หรือเว็บไซต์
1) ฐานข้อมูลคือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งเป็น E-Article, E-book, E-Magazine เป็นต้น ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ค้นได้ง่าย โดยใช้ keyword การค้นคล้ายกับ Google ส่วนเนื้อหามีทุกสาขาวิชา ตามแต่ว่า ฐานข้อมูลนั้นจะเน้นสาขาวิชาใด
2) การใช้ฐานข้อมูล Science Direct ให้ค้นด้วยการใช้ Quick Search หรือจำกัดการสืบค้นด้วย Advanced Search โดยใช้ keyword ในเรื่องที่นักศึกษาต้องการจะทำ Project
ให้ค้นจาก OPAC โดยใช้หัวเรื่อง ภาษาอังกฤษ การศึกษาและการสอน หากต้องการค้นดุษฎีนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ฐานข้อมูล ProQuest โดยสามารถใช้จากเครื่องบริการของหอสมุดฯ โดยใช้ Advanced Search พิมพ์ English Language และ Teaching method แล้วจึง Search
1) กรณีใช้โน๊ตบุ๊คอยู่นอกมหาวิทยาลัย จะต้องลงทะเบียนโน๊ตบุ๊คก่อน โดยให้หาค่า Mac Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนที่ศูนย์คอมฯ อธิบายไว้ และเปิดหน้าสำหรับลงทะเบียน ดำเนินการตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ในคู่มือของศูนย์คอมฯ ก่อนลงทะเบียนจะต้องสมัครสมาชิก SUNet ให้ได้ก่อนด้วย
2) ติดตั้ง VPN โดยเปิดหน้าคู่มือการลง VPN การ download VPN ให้ทำตามขั้นตอนของศูนย์คอมฯ
3) เปิด website ของหอสมุดฯ ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้ตามต้องการ
ส่วนการที่ไม่สามารถ download fulltext จากฐานข้อมูลได้นั้น มีสาเหตุอยู่ 3 ประการ คือ
1) ใช้ฐานข้อมูลอยู่ภายนอก SUNet ให้สังเกตว่า ถ้าเปิดฐานข้อมูลแล้ว ข้อความต้อนรับที่มักจะมีอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายของหน้าหลักของฐานข้อมูล ข้อความต้อนรับต้องเป็น Silpakorn University หากยังไม่ได้เข้าใช้ผ่าน SUNet ได้ จะมีข้อความต้อนรับเป็น Guest ซึ่งจะไม่สามารถเปิด fulltext ได้
2) เอกสารที่จะเปิดนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ได้บอกรับ
3) เอกสารที่จะเปิดนั้น เป็นเอกสารที่ไม่ได้อยู่ในช่วงปีที่ฐานช้อมูลอนุญาตให้ใช้ fulltextได้
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย จะต้องใช้ผ่านในเครือข่ายมหาวิทยาลัยศิลปากร และต้องมี username / password ในการเข้าเครือข่าย ในกรณีที่นักศึกษาต้องการใช้ฐานข้อมูลฯ จากนอกเครือข่าย (เช่น ที่บ้าน ที่หอพัก) จะต้องทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ (http://www.netserv.su.ac.th/manual/vpn/web_VPN.pdf ) หากมีปัญหาอย่างไร รบกวนแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ศึกษาและแก้ปัญหาต่อไป
เป็นฐานข้อมูลสหสาขาวิชาและครอบคลุมทุกสาขาวิชา ได้แก่ มานุษยวิทยา ดาราศาสตร์ ชีววิทยา เคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย วัสดุศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี เภสัชศาสตร์ ฟิสิกส์ จิตวิทยา ศาสนาและเทววิทยา สัตวแพทยศาสตร์ สตรีศึกษา สัตววิทยา และสาขาอื่นๆ โดยมีจำนวนวารสารที่มีข้อมูลฉบับเต็มมากกว่า 8,500 ชื่อเรื่อง ย้อนหลังไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887
Open Access (8)
หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science
กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน)
กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด
วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565
กลุ่ม 1 ได้แก่
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
2. Science, Engineering and Health Studies
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
กลุ่ม 2 ได้แก่
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่ม 3 ได้แก่
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
วารสารน้องใหม่ ได้แก่
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920
(ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565)
หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3
หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปบางส่วนไว้ให้บริการ ดังนี้
1. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากห้องสมุดวิจัยและมหาวิทยาลัยในยุโรป จำนวน 124 แห่ง: https://www.dart-europe.org/basic-search.php
2. คลังวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษประกอบ: http://www.theses.fr/
3. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ: https://www.dissertations.se
4. ดุษฎีนิพนธ์มากกว่า 500,000 รายการ จากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร: https://ethos.bl.uk
5. วิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์: https://www.researchinformation.info/product/index-theses
6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานเขียนของมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนมากกว่า 112,000 รายการ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ฟรี และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์: https://www.essays.se/
7. ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bielefeld ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 100 ล้านฉบับจากแหล่งข้อมูลมากกว่า4,000 แห่ง เนื้อหา 60% เป็นการเข้าถึงแบบเปิด: https://www.base-search.net/
8. ดรรชนีสิ่งพิมพ์ทางด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี: https://dblp.org
9. คลังปัญญาของ University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ จัดเก็บงานวิจัย วิทยานิพนธ์รวมถึงบทความในวารสารทางวิชาการที่ผ่านการ peer review งานประชุมทางวิชาการ: https://www.ucd.ie/library/
10. ฐานขัอมูล ePublications ของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Maynooth ประเทศไอร์แลนด์: http://mural.maynoothuniversity.ie/1233/
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4326879914065595&set=a.4311624932257760
ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของคลังปัญญา ฐานข้อมูลเฉพาะวิทยานิพนธ์ และรวมอยู่กับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น ๆ ดังนี้ คือ
************************************************
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: https://cuir.car.chula.ac.th
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://cmuir.cmu.ac.th
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUTIR): http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: TU Digital Collections มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend
6. มหาวิทยาลัยนครพนม: คลังปัญญา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม: http://arc.npu.ac.th/web/index.php?page=theses
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
8. มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม รวมอยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา: https://webopac.lib.buu.ac.th
9. มหาวิทยาลัยพะเยา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา: http://www.updc.clm.up.ac.th
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: https://library.msu.ac.th
11. มหาวิทยาลัยมหิดล: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้: https://library.mju.ac.th/mjudc
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: http://lib.swu.ac.th
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank): https://kb.psu.ac.th/psukb
15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Thesis) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: https://library.stou.ac.th/2020/09/library-stou-e-thesis
16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: คลังวิทยานิพนธ์เเละงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research
17. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA: Wisdom Repository): https://repository.nida.ac.th
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร: http://www.sure.su.ac.th
************************************************
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
http://ethesis.kru.ac.th/
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://kmresearch.crru.ac.th/
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
https://aritopac.npru.ac.th/
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
http://research.pcru.ac.th/rdb/
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
http://202.29.22.167/~thesis/thesis/
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University)
https://wb.yru.ac.th/
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
http://thesis.rru.ac.th/
11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
http://www.etheses.rbru.ac.th/
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
13. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center
http://eresearch.dusit.ac.th/…/ResearchMainSearch.aspx
14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository
http://www.ir.sru.ac.th/
************************************************
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
http://library.siu.ac.th/
6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA)
www.mcuir.com
10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://dspace.spu.ac.th
13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม
https://e-research.siam.edu/
14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)
https://scholar.utcc.ac.th/
15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
https://repository.au.edu/home
17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://repository.rmutp.ac.th/
22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
http://repository.rmutr.ac.th/
23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
http://203.159.12.58/ait-thesis/
หอสมุดฯ ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดังตัวอย่าง
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
http://library.siu.ac.th/
6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses)
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA)
www.mcuir.com
10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
http://dspace.spu.ac.th
13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม
https://e-research.siam.edu/
14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)
https://scholar.utcc.ac.th/
15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
https://repository.au.edu/home
17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://repository.rmutp.ac.th/
22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
http://repository.rmutr.ac.th/
23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
http://203.159.12.58/ait-thesis/
สำหรับการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ดูได้ที่ https://www.facebook.com/suslibrary/photos/4282131028540484
หอสมุดฯ ขอแนะนำ ฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์และคลังปัญญา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ในประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
http://ethesis.kru.ac.th/
2.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
http://kmresearch.crru.ac.th/
3.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
4.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
https://aritopac.npru.ac.th/
5.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
7.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
http://research.pcru.ac.th/rdb/
9.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
https://opac.rmu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
10.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University)
https://wb.yru.ac.th/
11.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
http://thesis.rru.ac.th/
12.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
https://etheses.rbru.ac.th/
13.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
14.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center
http://eresearch.dusit.ac.th/
15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository
http://www.ir.sru.ac.th/
16.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี: e-Thesis DRU มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
http://cms.dru.ac.th/jspui/
17.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
18.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://opac.vru.ac.th/Search_Basic.aspx (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
19.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/op https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl ac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
20.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์
https://liberty.udru.ac.th/liberty/libraryHome.do (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
21.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
https://library.nrru.ac.th/aritnrru/?page_id=2
22.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา: ระบบฐานข้อมูลวิจัยและบริการวิชาการ
http://ird.skru.ac.th/RDB/
23.E-Book มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
24.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
25.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
เราสามารถสืบค้นฐานข้อมูล ProQuest แบบฟรี Open Access ได้จาก
https://www.proquest.com/?defaultdiss=true
หากพยายามค้นจาก แหล่ง Open Access ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถหาได้ ให้ส่งรายละเอียดของ Article ที่ต้องการมาที่งานบริการสารนิเทศ email: sus.ref2011@gmail.com จะประสานงานไปยังสถาบันอื่น ๆ ที่อาจตรวจสอบให้ได้
OpenAthens (1)
OpenAthens ใช้เพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลางจากภายนอกเครือข่าย โดย Login ด้วยรหัสการใช้งานอินเทอร์เน็ต (SU-Net) ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง VPN
Others (31)
สามารถติดต่องานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร สำนักหอสมุดกลาง ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในวัน เวลา ราชการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หรือ หาจากหนังสือรุ่น หรือรายงานประจำปีของคณะฯ ที่มีให้บริการบนชั้นหนังสือปกติได้ เช่น อักษรศาสตร์ 2516 LG395.ท9ศ6 อ625 c.2 / 25 ปี อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร LG395.ท9ศ6 ย654 c.2 เป็นต้น
วารสารฉบับล่วงเวลา ฉบับที่ยังไม่ได้เย็บเล่ม สามารถติดต่อขอยืมใช้ได้ที่ เจ้าหน้าที่บริการวารสาร ชั้น 3 อาคาร ม.ล. ปิ่น ส่วนฉบับที่เย็บเล่มแล้ว หากได้เลขประจำวารสารแล้ว ฉบับภาษาไทยใช้ได้ที่ช้ันบริการวารสารเย็บเล่ม ชั้น 3 ภาษาอังกฤษใช้ได้ที่ชั้น 2 อาคาร ม.ล. ปิ่น มาลากุล เช่นเดียวกัน
สามารถตรวจสอบรายชื่อ และรหัสวารสารของวารสารวิชาการภาษาไทยได้ที่หน้าจอ Web OPAC ชั้น 1-4 อาคารหอสมุดฯ และที่เครื่องบริการคอมพิวเตอร์ของงานบริการวารสารฯ ชั้น 3 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ งานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 3 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หอสมุดฯ มีนโยบายเพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า จึงอนุญาตให้ยืมใช้ได้เป็นรายชั่วโมงที่สอบเท่านั้น ไม่สามารถยืมข้ามวันได้ หากต้องการยืมข้ามวันโดยมีสอบในเช้าวันรุ่งขึ้นที่หอสมุดฯ ยังไม่เปิดทำการ จะมีการพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษและนักศึกษาจะต้องแสดงตารางการสอบต่อเจ้าหน้าที่เป็นหลักฐาน
ขอให้ติดต่อ งานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร สำนักหอสมุดกลาง ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ในวัน เวลา ราชการ จ-ศ 8.30-16.30 น.
หอสมุดฯ ยินดีรับบริจาคหนังสือทุกประเภท โดยขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ฯ /การอภินันทนาการต่อยังห้องสมุดอื่น ๆ
หอสมุดฯ ไม่มีบริการจอง/ยืมออนไลน์ หนังสือจากวิทยาเขตอื่น ๆ หากมีความจำเป็นต้องการใช้หนังสือดังกล่าว อาจต้องติดต่อด้วยตนเองที่หอสมุดฯ วิทยาเขตนั้น ๆ
หอสมุดฯ ยินดีรับบริจาคหนังสือทุกประเภท โดยขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ฯ /การอภินันทนาการต่อยังห้องสมุดอื่น
ติดต่อยืมใช้ภายในหอสมุดฯ/ถ่ายเอกสาร ได้ที่ศูนย์ฯ ชั้น 2 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ โดยการกรอกแบบฟอร์ม + แสดงบัตรประจำตัวประชาชน (งดยืมออกภายนอกห้องสมุด)
ทางหอสมุดฯ ยินดีรับบริจาค และหอสมุดฯ ขออนุญาตสงวนสิทธิ์ในการนำออกเผยแพร่ในหอสมุดฯ หรือการบริจาคต่อห้องสมุดอื่น ๆ
หากเป็นช่วงที่พี่ๆ ป.ตรี โท เอก ปิดภาคการศึกษา และไม่มีการใช้ห้องกลุ่ม จะอนุญาตให้ใช้ได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ห้องเกิดประโยชน์สุงสุดคือมีการใช้ที่คุ้มค่า โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อมีพี่ๆ ป.ตรี โท เอก ต้องการใช้ฯ นักเรียนต้องพร้อมสละห้องทันที
แนะนำให้นักศึกษาติดต่อและนำเสนอข้อมูลกับหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง คือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล จะสามารถให้ข้อมูลได้ถูกตรงและตรงประเด็น
แนะนำสมัครบริการ sms alert เพื่อรับทราบข่าวสารฯ เมื่อหนังสือเดินทางมาถึงจะมี sms แจ้งนักศึกษาทราบทันที
พจนานุกรม คือ เอกสารที่รวบรวมรายการของคำ เรียงลำดับตามพยัญชนะ สระ (หรืออื่น ๆ ตามภาษานั้น ๆ) ให้ความหมายชองคำ หรือคำจากภาษาอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมบางเล่มยังบอกที่มาของคำ วิธีการออกเสียง และวิธีการใช้ อาจมีตัวอย่างประโยคให้ด้วย
ประมวลคำศัพท์ มักเป็นการรวบรวมคำศัพท์ ที่อาจเป็นคำเดียวหรือ วลี ในเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การจัดเรียงในเล่มมีทั้งเรียงลำดับตัวอักษร หรือแบ่งหมวดหมู่ของเรื่องนั้น ๆ รวมทั้งมีคำอธิบายความหมาย และการใช้คำหรือวลีนั้น ๆ
หนังสือรายปี เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นรายปีรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ และความก้าวหน้าด้านวิทยาการในปีที่ผ่านมา เช่น กินเนสส์บุ๊ก สยามจดหมายเหตุ เป็นต้น จัดเก็บอยู่ในห้องหนังสืออ้างอิง ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น (ยืมออกนอกห้องสมุดไม่ได้)
เป็น collection หนังสือวรรณกรรมฯ หากต้องการใช้/ยืม ติดต่อเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ
ตามปกติพจนานุกรมจัดเป็นหนังสืออ้างอิงที่ไม่อนุญาตให้ขอยืมออกนอกห้องสมุด แต่หากผู้ใช้บริการมีความจำเป็น เช่น นำไปใช้ในห้องสอบ สามารถติดต่อขอยืมได้เป็นกรณีพิเศษที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ
เป็นหนังสือเยาวชน หาได้จากชั้นหนังสือเยาวชน ที่ชั้น 3 และในห้องโลกของหนู
หนังสือรายปี เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นรายปีรวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ และความก้าวหน้าด้านวิทยาการในปีที่ผ่านมา เป็นต้น เช่น กินเนสส์บุ๊ก สยามจดหมายเหตุ เป็นต้น จัดเก็บอยู่ในห้องหนังสืออ้างอิง ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น (ยืมออกนอกห้องสมุดไม่ได้
DVD สามารถยืมได้กลับไปดูที่บ้านได้ ดังรายละเอียดการ http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/students-borrow
บุคคลภายนอกไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยได้ เนื่องจากผู้เข้าใช้จะต้องมี username/password ที่ออกโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดฯ มีวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษไม่มาก จัดเรียงอยู่ต่อจากชั้นวิทยานิพนธ์ภาษาไทย มีป้ายบอกที่ชั้นว่าเป็นวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ
จัดรวมอยู่กับหนังสือทั่วไป นศ.ควรทราบและค้นหาจากชื่อเรื่องที่ต้องการอ่าน หรือไม่ต้องการระบุ สามารถไปที่หมวดประมาณ PS3515 ที่ชั้น 4 อาคารหอสมุด
ไม่ได้ย้ายมา สามารถสอบถามรายละเอียดได้จากห้องสมุดวังท่าพระ โทรศัพท์ 02-223-5219, 02-623-6115 ต่อ 11442-3
สามารถติดต่อเสนอซื้อเข้ามาได้ โดยหอสมุดฯ จะพิจารณาข้อมูลจากช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1.การเสนอซื้อหน้า web opac (www.opac.lib.su.ac.th) โดยการใส่ login ของท่านแล้วสามารถเสนอซื้อผ่านแถบเมนู suggest a purchase
2.การเสนอซื้อผ่าน www.snc.lib.su.ac.th ซึ่งจะมีการแจ้งผลการเสนอซื้อในเว็บไซต์ด้วย
3.การเสนอซื้อกับเจ้าหน้าที่ด้วยตนเองเมื่อมาติดต่อใช้บริการอื่นๆ
หนังสือหายากสามารถใช้บริการได้ แต่ยืมออกนอกห้องสมุดไม่ได้
วิธีการใช้บริการ : จดเลขเรียก/ชื่อหนังสือที่ต้องการใช้ มาแจ้งเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศชั้น 2 เพื่อหยิบให้ และกรอกแบบฟอร์มการยืมฯ และใช้บัตรสมาชิก หรือบัตรประจำตัวเป็นหลักฐาน
หมายเหตุ : สามารถยืมใช้ภายใน 1 วันเท่านั้น
ตรวจสอบโปรแกรมที่ต้องการจากหลักสูตรที่หอสมุดฯจัดให้
และสามารถติดต่อนัดหมายกับห้องสมุดตามช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้
โทรศัพท์เบอร์ตรง 034-255092 / 034-241513
2. โทรศัพท์เบอร์ต่อ 034- 253-841-44 , 034-270-222-41
2.1 ต่อ 22724 งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
2.2 ต่อ 22726 งานบริการตอบคำถาม/บริการสารนิเทศ ชั้น 2 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
2.3 ต่อ 22734 งานบริการโสตทัศนศึกษา ชั้น 4 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ
Facebook Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
Email : sus.ref2011@gmail.com
5. โทรสาร : 034-255092
เป็นชื่อห้องสมุด ของ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อยู่ที่ห้องสมุดสาขาวังท่าพระ และไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้
นำพจนานุกรมเล่มที่ต้องการขอยืม มาติดต่อที่โต๊ะบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ โดยบรรณารักษ์จะเป็น
ผู้พิจารณาอนุญาตให้ยืมออกได้ตามความเหมาะสม
License คือ การอนุญาต หรือสิทธิ์ในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราไปซื้อซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งมาแบบถูกกฎหมายจากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้อง หมายความว่าเราสามารถที่จะใช้ซอฟต์แวร์นั้นเต็มที่ตามสิทธิ์ที่เรามี License นี้ยังเจาะจงได้อีกว่าอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะบุคคลหรือไม่ ถ้าเราไปซื้อมาใช้คนเดียวก็เป็นสิทธิ์ของเราคนเดียว แต่ถ้าเราซื้อในนามหน่วยงานเราก็สามารถกำหนดได้ว่าจะขอสิทธิ์การใช้จำนวนเท่าไหร่ เช่น บริษัทเรามีพนักงานสิบคน เราซื้อซอฟต์แวร์จำนวนสิบ license
Copyright หมายถึงสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น หรือก็คือ ลิขสิทธิ์ license นั้นบอกว่าเราสามารถใช้งานซอฟต์แวร์นั้นแต่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เราจะใช้เท่าไหร่ก็ใช้ไป แต่หากจะก๊อปปี้ไปให้เพื่อนใช้ทำไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เป็นเจ้าของ เราไม่ได้เป็นคนคิดไม่ได้เป็นคนผลิตซอฟต์แวร์นี้ขึ้นมา เราแค่ไปซื้อเขามาใช้เท่านั้น
เอกสารสาธารณะ (Public Document) คือ เอกสารที่เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่โดยหน่วยงานสาธารณะ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้เพื่อนำเสนอข้อมูล นโยบาย แนวทาง หรือข้อความรู้ต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา รายงานประจำปี หรือเอกสารที่แสดงค่าสถิติต่าง ๆ ที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นเป็นประจำตามวาระของหน่วยงาน
Pulinet (5)
PULINET Plus คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางจำนวน 9 แห่ง ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) โดยมีวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติร่วมกัน https://pulinet2022.pulinet.org/pulinet-plus/
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การยืมหนังสือในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Pulinet) มีค่าใช้จ่าย “ตามที่เกิดขึ้นจริง” เช่น ค่าจัดส่ง EMS (ส่งยืม-ส่งคืน), ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น
ติดต่อบรรณารักษ์ งานบริการสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศํพท์ 034-241513 / อีเมล : sus.ref2011@gmail.com
Pulinet คือ ข่ายงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2/2528 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เรื่อง:โครงการความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคคิดรูปแบบโครงการความร่วมมือที่เหมาะสมโดยมุ่งเน้นการประหยัดงบประมาณและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค http://www.pulinet.org/about/
Quartile (1)
ค่า Q ของวารสาร Social Network Analysis and Mining จาก Scimago กรุณาคลิกที่ https://www.scimagojr.com/journalsearch.php?q=19700177337&tip=sid&clean=0
References and Bibliograpies (28)
การอ้างอิงผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ในเนื้อหาจะใส่ฐานันดรไว้ก่อนหน้าชื่อ – สกุล
สำหรับบรรณานุกรมให้ใส่ชื่อ – สกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค , ตามด้วยฐานันดรศักดิ์ สามารถแก้ไขได้ ซึ่งวิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เหมาะกับบทความ ที่มีการอ้างอิงผู้แต่งคนไทยเท่านั้น และใช้โปรแกรม Endnote 21 โดยมีวิธีการ ดังนี้
คลิกที่นี่
การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ ในส่วนเนื้อหาจะมีลักษณะเป็นตัวเลข และมีรายการอ้างอิงอยู่ท้ายหน้า ซึ่งใช้รูปแบบ Chicago Style footnote
ในกรณีนี้…การที่จะใส่เลขหน้าอ้างอิงในการอ้างอิงในเนื้อหาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการนำข้อมูลของแหล่ง (sources) มาใช้ในเอกสารของเรา
-ถ้าเป็นการ quote ข้อความ คือการนำข้อความของผู้อื่นมาอ้าง โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงคำพูด (วิธีการ quote ยังมีวิธีการหลายอย่าง) เมื่อเขียนอ้างอิงในเนื้อหา ก็จะต้องใส่เลขหน้าของแหล่งด้วย เพื่อให้ผู้อ่านตามไปอ่านเพิ่มเติมได้
-ถ้าเป็นการ paraphrase คือการอ่านเนื้อหาของแหล่ง ด้วยความเข้าใจ โดยอาจจะอ่านจากแหล่งหลายแหล่ง แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ด้วยภาษาของตนเอง ในกรณีนี้การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา ก็จะใส่เฉพาะชื่อผู้แต่งและปี ไม่ต้องใส่เลขหน้า และใส่ทุกรายการที่อ่านมา
ในเว็บไซต์ของ APA Style ได้ระบุ Author-Date Citation System ไว้ เป็น 2 กรณี คือ Parenthetical citation และ Narrative citation โดยไม่ได้มีการระบุว่าต้องใส่เลขหน้า ดังนี้ (มีหลักการ Author-Date Citation System โดยละเอียด ใน Manual บทที่ 8)
ส่วนในการอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ที่อยู่บนระบบ iThesis ต้องใช้โปรแกรม EndNote ในการทำบรรณานุกรม ซึ่งเมื่อ insert citation จะไม่ปรากฏเลขหน้า ในกรณีนี้ให้นักศึกษาสอบถามกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่า อาจารย์ต้องการอย่างไร แล้วจึงมา insert เลขหน้าด้วยโปรแกรม EndNote การใช้ APA6th หรือ APA7th สามารถปรับได้ด้วยโปรแกรม EndNote
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th (ต่อ)
สัปดาห์นี้ยังคงเป็นเรื่องการอ้างอิงตารางและภาพต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “พี่พร้อม” อธิบายการอ้างอิงตารางและภาพ โดยยกตัวอย่างเฉพาะการอ้างอิงตาราง สัปดาห์นี้จะอธิบายและยกตัวอย่างการอ้างอิงภาพ คำว่า ‘ภาพ’ ในการอ้างอิงนี้ คือ figure หมายความถึง ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพ ไม่เป็นรูปแบบตาราง (table) เช่น กราฟ (graph), แผนที่ (map), แผนภูมิสายงาน (flow chart) หรือแบบจำลองเส้นทาง (path model) องค์ประกอบของการอ้างอิงภาพจะเหมือนกับองค์ประกอบการอ้างอิงของตาราง ดังนี้
1. หมายเลขภาพ (Figure number) คือ ตัวเลข (เช่น Figure 1/ภาพ 1) วางไว้เหนือชื่อภาพ ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อภาพ (Figure title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขภาพ และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ภาพ คือ ข้อมูลของภาพโดยรวม
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำเป็นตัวเอียง เป็นการอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพที่สร้างสรรค์เองจะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของภาพ ถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ พร้อมทั้งเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ ด้วย
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของภาพ ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำภาพมาจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงภาพจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น
6. การแสดงข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ต้องการประกาศการสงวนลิขสิทธิ์ หรือแสดงลิขสิทธิ์ของภาพที่นำมาใช้
อย่างไรก็ตามการอ้างอิงตารางและภาพยังมีบริบทปลีกย่อยอีกหลายประการ ที่ทำให้การเขียนอ้างอิงมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก แต่เพื่อความกระชับในการนำเสนอเนื้อหา “พี่พร้อม” จึงขอสรุปโดยย่อตามรูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นค่ะ
การอ้างอิง “การสัมภาษณ์ (Personal Interview)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การสัมภาษณ์ (Personal Interviews) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสารสนเทศแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communications) หมายถึง การอ้างอิงข้อมูลที่ผู้อ่านผลงานไม่สามารถหาข้อมูลนั้นมาอ่านย้อนหลังได้ ข้อมูลที่จัดว่าเป็น Personal Communications ได้แก่ อีเมล, Online chats, direct messages, live speech, การสนทนาทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์ (Personal Communication) เป็นต้น และจะใช้การอ้างอิงแบบ personal communications เมื่อแหล่งของข้อมูลนั้นไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีก
– ถ้าต้องการอ้างอิงข้อมูลที่เรียนในชั้นเรียน ให้อ้างอิงงานวิจัยที่ผู้สอนใช้เป็นหลักในการสอน แต่ถ้าสิ่งที่ผู้สอนเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิ ไม่เคยมีการตีพิมพ์ ให้อ้างอิงแบบ Personal Communications ได้
– ถ้าการสื่อสารนั้นจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ให้อ้างอิงแบบเอกสารจดหมายเหตุ (Archival materials)
– ถ้าเป็น live บน Social media ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้บน platform อื่น ที่สามารถย้อนกลับไปดูได้ เช่น วีดิโอ Instagram live ที่บันทึกไว้เป็นวีดิโอในช่อง YouTube ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของสื่อที่บันทึกนั้น
การอ้างอิงข้อมูล Personal Communications จะอ้างถึงเฉพาะในเนื้อหา ไม่ต้องใส่ลงในรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่สามารถค้นหาย้อนหลังได้ และมีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ชาวต่างประเทศ ใช้ อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. เขียนคำว่า “Personal Communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “แผนที่ Online หรือ Google Maps (Online Maps References/Google Maps)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
Google Maps เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางยอดนิยม ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่ที่ไม่ทราบเส้นทางหรือไม่คุ้นเคยได้ง่าย โดย Google จะกำหนดเส้นทาง แจ้งระยะทาง และเวลาที่ใช้ให้ เมื่อต้องการอ้างอิงการเดินทางด้วย Google Maps ข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ใคร (Who) เมื่อใด (When) อะไร (What) และที่ไหน (Where) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง (Who) สำหรับ Google Maps ใช้ Google Inc. เป็นชื่อผู้แต่ง โดยให้ใส่คำว่า Google ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่ Inc. ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี (When) เนื่องจากไม่สามารถกำหนดวันที่สร้างหน้า page ของ Google Maps ได้ ดังนั้นให้ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. ข้อมูลของเส้นทาง (What) เนื่องจากแผนที่ในการนำทางไม่มีชื่อเรื่อง จึงให้เขียนอธิบายจุดมุ่งหมายของการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยระบุวิธีการเดินทาง อธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ที่มาของแผนที่ (Where) ระบุวัน เดือน ปี ที่เรียกใช้ Google Maps เพราะเส้นทางการเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใส่คำว่า ‘สืบค้นเมื่อ’ หรือ ‘Retrieved’ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ วัน เดือน ปี สำหรับภาษาไทย หรือ เดือน วัน, ปี สำหรับภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่คำว่า ‘จาก’ หรือ ‘from’ ตามด้วย url ของหน้า Map นั้น
การอ้างอิง “แหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หัวข้อการเขียนบรรณานุกรมสัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ไม่ได้ขึ้นต้นว่า “การเขียนบรรณานุกรม” เพราะแหล่งข้อมูลที่นำมาอธิบายในครั้งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่จะลงรายการเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) ไม่ต้องทำรายการบรรณานุกรมท้ายเอกสาร
ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น ถ้าผู้อ่านต้องการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้เหล่านี้ จะต้องเขียนอ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (personal communications) ซึ่งจะทำการอ้างอิงเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) โดยไม่ต้องเขียนบรรณานุกรมท้ายเอกสารโดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้เผยแพร่ข้อมูล เช่น เจ้าของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ผู้นำเสนอในการประชุมออนไลน์ เป็นต้น ชาวต่างประเทศ ใช้อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า “personal communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในการนำเสนอผลงานวิจัย ข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบตาราง (Tables) หรือภาพ (Figures) ที่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนมากได้ และเข้าใจง่าย ถ้าผู้วิจัยสร้างสรรค์ตารางหรือภาพขึ้นเอง เพียงแค่กำหนดชื่อตารางหรือภาพนั้น แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ตารางหรือภาพ แต่หากผู้วิจัยใช้ตารางหรือภาพจากแหล่งอ้างอิงอื่น ไม่ว่าจะนำมาทั้งหมด หรือนำมาดัดแปลงบางส่วน ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลนั้น ใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) กำหนดให้การอ้างอิงตารางและภาพใช้โครงสร้างเดียวกัน และตัวอย่างที่ “พี่พร้อม” นำมาอธิบายนี้ขอใช้ตามที่ปรากฏใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.)
ตาราง (Tables) หรือภาพ(Figures) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตารางหรือภาพที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์เอง ตารางหรือภาพที่ปรับปรุงจากแหล่งอื่น และตารางหรือภาพที่นำมาจากแหล่งอื่นทั้งหมด สัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ขอยกตัวอย่างการอ้างอิงตารางเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. หมายเลขตาราง (Table number) คือ ตัวเลข (เช่น ตาราง 1) วางไว้เหนือชื่อตาราง ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน
2. ชื่อตาราง (Table title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขตาราง และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize)
3. ข้อมูลตาราง คือ ข้อมูลที่ต้องการอธิบายสิ่งที่ค้นพบในรูปแบบตาราง
4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำตัวเอียง เป็นการอธิบายข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่สร้างสรรค์เอง จะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ และเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ
5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของตาราง ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น ส่วนบรรณานุกรมท้ายรายงานเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบของแหล่งอ้างอิงนั้น
การอ้างอิง “หนังสือแปล (Book republished in translation)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
หนังสือที่เป็นหนังสือคลาสสิก เช่น หนังสือของ Shakespeare หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น Le petit prince, Harry Potter เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาอื่นสามารถอ่านและเพลิดเพลินไปกับบทบาทของตัวละครได้ เมื่อต้องการอ้างอิงหนังสือแปลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร พี่พร้อมสรุปให้เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ค่ะ
1. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
2. ปีที่แปล ให้ใส่ปีที่แปลอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
3. ชื่อเรื่องแปล ใช้ชื่อหนังสือในภาษาของฉบับที่อ้างอิง ทำเป็นตัวเอียง
4. ชื่อผู้แปล ใส่ชื่อผู้แปล แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยคำว่า ‘ผู้แปล’ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เว้นวรรคจากชื่อเรื่องแปล 1 ระยะ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า ‘Trans’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ
6. ปีพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์คำว่า ‘ต้นฉบับพิมพ์ปี’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Original work published’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
การอ้างอิง “หนั)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิง ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ได้เปิดตัวและได้รับเสียงฮือฮาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน GPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งบริษัท OpenAI เป็นผู้พัฒนาให้เป็นโมเดลสนทนาที่สามารถตอบคำถามได้อย่างหลากหลาย มีบทสนทนาที่ให้ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง แล้วยังมีกลไกป้องกันคำถามที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทุกคนสามารถไปทดลองใช้ได้ที่ https://chat.openai.com/chat
Kiattirat Jindamanee (2565) ได้สรุป 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ChatGPT คือ 1) เป็นการสื่อสารในรูปแบบการสนทนา 2) มีการตอบสนองที่เป็นไดนามิกมากขึ้น และมีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก 3) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ของ ChatGPT จะเรียนรู้การจัดอันดับคำตอบของมนุษย์ไว้เป็นฐานข้อมูลต่อไป 4) มีการใช้ Sibling Model เพื่อนำร่องให้ ChatGPT สามารถตอบสนองได้ในเชิงลึก 5) ตอบสนองต่อทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตอบคำถาม การเขียนงานทางวิชาการ หรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนใช้เครื่องมือค้นหาสิ่งที่ต้องการ จากที่ใช้ Search engine ธรรมดาค้นหาข้อมูลที่จะให้เพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ ChatGPT จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วย 7) ChatGPT ยังคงให้ใช้งานฟรีเพราะยังอยู่ในระยะทดลองใช้ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ Elon Musk ไม่อนุญาตให้ ChatGPT ใช้ข้อมูลของ Twitter เนื่องจากเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร และ 9) การเข้ามาทดแทนมนุษย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเรียบเรียงและใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์
แม้จะทดลองใช้กันบ้างแล้ว พออ่านถึงข้อ 9) “พี่พร้อม” ได้มีการตั้งวงสนทนากันอย่างจริงจัง เพราะโลกมักเต็มไปด้วยเรื่อง hi tech หาก “พี่พร้อม” ก็ยังอยากคงไว้ซึ่งความ hi touch ให้อยู่ในโลกการทำงานของห้องสมุดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศฯ เครื่องมือช่วยในการแสวงหาสารสนเทศต่าง ๆ นานา แล้วแตะมือส่งต่อความรู้ วิธีการ หนังสือ ฯลฯ ไปให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้มากที่สุด
เมื่อเข้าไปทดลองใช้จึงมีคำถามว่า หากผู้ใช้บริการไปถามใน ChatGPT แล้วต้องการนำมาอ้างอิง จะเขียนอย่างไร เพราะพยายามค้นหาในคู่มือแล้วยังไม่มีบอกไว้ จึงช่วยกันวางรูปแบบโดยอิงจาก APA 7th รวมไปถึงถาม ChatGPT แต่ด้วยความที่ “น้อง” ขยันมาก คำถามที่ห่างกันเพียง 5 นาที อาจได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น “พี่พร้อม” จึงหาข้อยุติด้วยการวางรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมในการเขียนอ้างอิงแบบนี้ ซึ่งพิจารณาแล้วละม้ายกับการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source) รายละเอียดอ่านที่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=447382884243194&set=a.4890909600995954 “ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น”
รูปแบบการเขียน “พี่พร้อม” เลือกใช้เป็นแบบนี้ ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. ชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อของบริษัท AI เป็นชื่อผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปี ใส่ ปี, เดือน วัน ที่ถามใน Chatbot ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
3. ชื่อเรื่อง หมายถึง คำถามหรือบทสนทนาที่ผู้ถามพิมพ์ลงใน Chat ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า ‘Chat’ หรือ ‘การสื่อสารส่วนบุคคล’ อยู่ในเรื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. url ปิดท้ายรายการด้วย url ของ ChatGPT
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 2: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author)
การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็ก กรณีที่ 2 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน ยังคงใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป และให้ลงรายการชื่อผู้วาดภาพประกอบซ้ำ ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนเรื่อง) แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วาดภาพประกอบไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ตอนที่ 1: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author)
หนังสือสำหรับเด็ก เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความคิด ให้คติสอนใจ ช่วยสร้างจินตนาการ พัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา การอ่าน การสังเกต หนังสือสำหรับเด็กต้องมีภาพประกอบที่สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กจึงให้ความสำคัญกับผู้วาดภาพประกอบด้วย บางเรื่องผู้เขียนเรื่องและผู้วาดภาพประกอบเป็นคนละคนกัน และบางเรื่องผู้เขียนเรื่องกับผู้วาดภาพประกอบเป็นคนเดียวกัน การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็กใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป ถ้ามีการให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบที่มีชื่อระบุไว้บนหน้าปก ก็ให้ระบุชื่อผู้วาดภาพประกอบไว้ในรายการบรรณานุกรมด้วย
สำหรับสัปดาห์นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้
1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนเรื่องไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’
5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
การอ้างอิง “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release Reference)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมักจะมีประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปทราบความเคลื่อนไหว หรือข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานราชการนั้น ข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ จัดเป็นข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary source) สามารถนำมาใช้ประกอบในงานวิจัยและสามารถอ้างอิงได้ ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/ )
สำหรับการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th ของข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release References) มีดังนี้
1. ชื่อหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.)
2. ปี เดือน วัน ให้ใส่วันที่ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ โดยใข้รูปแบบ ปี ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่เดือนที่พิมพ์ เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่วันที่ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ทำเป็นตัวเอียง ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ พิมพ์คำว่า ‘Press release’ ถ้าเป็นภาษาไทยใช้คำว่า ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ทีอยู่ของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ url ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค
การอ้างอิง “หนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
การอ้างอิงวิดีโอ TikTok ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้
TikTok เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้ในการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที จัดเป็นสื่อประเภท Social Media ประเภทหนึ่ง การอ้างอิงวิดีโอบน TikTok นี้ สามารถใช้กับการอ้างอิง Instagram และ Twitter ได้ด้วย โดยมีรูปแบบ ดังนี้
1. ชื่อผู้ใช้ คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ หรือเป็นชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้ TikTok นั้น แล้วเว้นหนึ่งระยะ
2. ชื่อบัญชีผู้ใช้ ใส่เครื่องหมาย @ ตามด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
3. วัน เดือน ปีที่โพสต์ ให้ใส่ ปี, เดือน วัน ที่โพสต์ ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
4. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง โดยนับจำนวน 20 คำของชื่อ Caption รวมทั้งนับคำใน # (hashtag) หรือ อิโมจิ เป็น 1 คำด้วย ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ
5. ประเภทของ TikTok ใส่ชื่อประเภทของ TikTok ว่า ‘วิดีโอ’ หรือ ‘Video’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
6. ชื่อ Social Media ใส่คำว่า ‘TikTok’ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ
7. URL ใส่ URL ของ link วิดีโอนั้น
แสดงว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์เรามี Product Key / License Key มากกกว่า 1 ไฟล์ ซึ่งเราอาจจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้งฯ โปรแกรมนี้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ให้ดำเนินการค้นหา Product Key / License Key ในเครื่องฯ แล้วลบออกทั้งหมด จากนั้นดำเนินการดาวน์โหลดโปรแกรมฯ พร้อม Product Key / License Key และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง
ให้ทำด้วยหลักการว่า ถ้าลอกมาเลย ไม่เกิน 4 บรรทัด ก็จะพิมพ์แทรกในเนื้อหา และใส่ ” …” คร่อมประโยคไว้ โดยเว้นระยะหน้า และหลังเครื่องหมาย ” 1 ระยะ ถ้าเกิน 4 บรรทัด ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย “….” แต่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ เว้นเพิ่มอีก 1 บรรทัด และข้อความที่พิมพ์ ให้ย่อหน้าเข้ามา 4 ตัวอักษร โดยพิมพ์แบบไม่ต้องย่อหน้า และไม่ควรเอาข้อความของคนอื่นมาหลายหน้าแบบไม่มีการปรับ ถึงแม้จะอ้างอิงก็ไม่ได้ เพราะเยอะมากเสียจนผู้อ่านไม่รู้ว่า คนอ้าง อ้างจากไหนถึงไหน ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ต้องนำมาใช้แบบถอดความ คือต้องอ่านแล้วเรียบเรียงใหม่ แต่ใจความคงแบบเดิม ไม่ต้องใส่ “…” แต่ถึงแม้ว่า เรียบเรียงใหม่แล้ว (อาจมีคำหรือประโยคเหมือนต้นฉบับบ้างก็ไม่เป็นไร) ก็ยังต้องอ้างอิงในเนื้อหาตามปกติ
แนะนำหนังสือเรื่อง ทักษะการค้นคว้า วิธีวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ และเทคนิคการเขียนรายงานวิจัย เล่ม 1 (Z669.7 ช632 ล.1)
เมื่อเป็นการส่งบทความไปเป็นไฟล์ word ไม่เกี่ยวกับ iThesis นศ.มีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือ พิมพ์อ้างอิงเองด้วยมือทั้งหมด ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (APA 6th) และ/หรือในกรณีที่มีรายการอ้างอิงจำนวนหลายรายการ และมีข้อมูลอยู่ใน EndNote อยู่แล้ว ก็ให้ทำการ insert citation ด้วย EndNote ทำให้ครบทุกรายการ แล้วให้คลิกที่ Tab EndNote เลือก Converted Citations and Bibliography > Converted to plain text จะได้ file document ใหม่ที่เป็น text file ที่นักศึกษาสามารถแก้ไขรูปแบบการอ้างอิงให้เป็นตามต้องการของวารสารได้
ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงจากเอกสารเรื่องเดียวกัน แต่คนละหน้าแบบที่ผู้ใช้ถามมา อ้างครั้งที่ 1 เขียนเต็มรูปแบบ (Chicago 17th ) / อ้างอิงครั้งที่ 2 ใช้คำว่า เรื่องเดียวกัน, น.187 / อ้างอิงครั้งที่ 3 ใช้คำว่า เรื่องเดียวกัน, น.270
มีความเห็นว่า ควรอ้างอิง เพราะเราใช้ข้อมูลของผู้สร้างวิดีโอนั้น เราไม่ได้คิดเอง ไม่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเอง โดยการบันทึกข้อมูลใน EndNote สามารถใช้ reference type เป็น Film and broadcast แทน
ในการทำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปัจจุบันใช้โปรแกรม EndNote ในการทำรายการอ้างอิง แต่ถ้านักศึกษาต้องการทำงานวิจัยที่ไม่ใช่วิทยานิพนธ์แต่จะใช้รูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก แบบนามปี : http://www.graduate.su.ac.th/images/manual/manual_2.pdf และแบบเชิงอรรถ : http://www.graduate.su.ac.th/images/manual/m1.pdf
ถ้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระดับปริญญาตรีและทำรายงานในรายวิชาปกติ สามารถใช้รูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ แต่ถ้าหากเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทำดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งต้องทำวิจัยด้วยระบบ iThesis จะต้องใช้โปรแกรม EndNote ทำบรรณานุกรม ไม่บังคับให้ใช้รูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัย รูปแบบที่ใช้จึงต้องเป็นไปตามการจัดการของ EndNote แต่ถ้าหากอาจารย์และนักศึกษาต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ก็สามารถปรับได้ ในกรณีที่อาจารย์ทำเป็นเอกสารประกอบการสอน ถ้าส่งเผยแพร่ในประเทศอาจารย์สามารถเลือกรูปแบบที่ต้องการ แต่ถ้าส่งเผยแพร่ในวารสารในต่างประเทศจะต้องพิจารณาตามข้อกำหนดของวารสารนั้น ๆ
การทำวิจัยบนระบบ iThesis และอ้างอิงด้วยโปรแกรม EndNote ไม่สามารถใช้ระบบการอ้างอิงหลายรูปแบบได้ ต้องเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ใช้แบบนามปี ส่วนมากจะใช้รูปแบบ APA ส่วนแบบเชิงอรรถจะต้องใช้การเขียนบรรณานุกรมแบบ Chicago
โดยปกติหนังสือประเภทพจนานุกรม จัดเป็น Collection หนังสืออ้างอิง ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น แต่หอสมุดฯ มีนโยบายเพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า จึงอนุญาตให้ยืมใช้ได้เป็นรายชั่วโมงที่สอบเท่านั้น ไม่สามารถยืมข้ามวันได้ หากต้องการยืมข้ามวันโดยมีสอบในเช้าวันรุ่งขึ้นที่หอสมุดฯ ยังไม่เปิดทำการ จะมีการพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษและนักศึกษาจะต้องแสดงตารางการสอบต่อเจ้าหน้าที่เป็นหลักฐาน
การอ้างอิง book กับ book section แตกต่างกัน โดยการอ้างอิงหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวเมื่ออ้างอิงก็จะอ้างอิงทั้งเล่ม ส่วน book section จะมีลักษณะการเขียนที่มีผู้รับผิดชอบเป็นตอน ๆ เนื้อหาอาจไม่ต่อเนื่องกัน ในการอ้างอิง มักจะอ้างเฉพาะบทหรือตอนที่นำข้อมูลมาใช้เท่านั้น รูปแบบในการอ้างอิงจึงต่างกัน เช่นในระบบ APA 6th
รูปแบบการเขียนอ้างอิงของหนังสือทั่วไป (Book)
รูปแบบการเขียนอ้างอิงของบทความในหนังสือหรือบทหนึ่งในหนังสือ (Book Section)
หากผู้ใช้บริการกำลังทำงานวิจัยอยู่ในปีปัจจุบัน ผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการรายงานการวิจัยบนระบบ iThesis ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรม EndNote ในการจัดทำบรรณานุกรม ไม่ต้องอิงตามรูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
SMS Alert (1)
ติดต่อสมัครบริการ SMS Alert กับทางหอสมุดฯ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายฯ)
Speexx (4)
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2560 และปี 2561 ทางมหาวิทยาลัยฯ จะมี login and password ให้ และสามารถเข้าใช้โปรแกรมฯ แบบออนไลน์และต้องทดสอบให้ผ่านตามข้อกำหนดฯ ของมหาวิทยาลัยฯ นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (คุณแสงระวี ชุนถนอม)
ส่วนนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ หากสนใจเรียนโปรแกรม Speexx ฟรี สามารถสมัครกับหอสมุดฯ ได้ ที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ ซึ่งของหอสมุดฯ จะเป็นการเรียนแบบออฟไลน์ ต้องมาเรียนภายในห้องคอมฯ ของหอสมุดฯ เท่านั้น ไม่สามารถใช้แบบออนไลน์ได้ และที่สำคัญหอสมุดฯ จัดซื้อ license จำนวนค่อนข้างน้อย คือ ประมาณ 10 user เท่านั้น
SPEEXX ที่นักศึกษาต้องการใช้เป็นของมหาวิทยาลัยไม่ใช่ของห้องสมุด ห้องสมุดไม่สามารถกำหนดusername/password ให้ได้ ให้นักศึกษาติดต่อกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ ศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไปและพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ Silpakorn.eep@gmail.com
เป็นโปรแกรมเรียนภาษาด้วยตนเองสำหรับนักศึกษา คนทำงานและผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ มีเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและง่ายต่อการใช้งาน มีบทเรียนในส่วนของไวยากรณ์ คำศํพท์ การออกเสียงและสำเนียงที่ถูกต้อง ในส่วนของมหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถขอ username/password ได้ที่หอสมุดฯ
ติดต่อเคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ หรือ ส่งอีเมลมาที่ sus.ref2011@gmail.com หรือส่งคำถามมาที่แฟนเพจ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์” หรือ โทรศัพท์สอบถามได้ที่ 034-241513
Submit manuscript (3)
เมื่อเป็นการส่งบทความไปเป็นไฟล์ word ไม่เกี่ยวกับ iThesis นศ.มีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือ พิมพ์อ้างอิงเองด้วยมือทั้งหมด ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (APA 6th) และ/หรือในกรณีที่มีรายการอ้างอิงจำนวนหลายรายการ และมีข้อมูลอยู่ใน EndNote อยู่แล้ว ก็ให้ทำการ insert citation ด้วย EndNote ทำให้ครบทุกรายการ แล้วให้คลิกที่ Tab EndNote เลือก Converted Citations and Bibliography > Converted to plain text จะได้ file document ใหม่ที่เป็น text file ที่นักศึกษาสามารถแก้ไขรูปแบบการอ้างอิงให้เป็นตามต้องการของวารสารได้
แสดงว่า ในการทำตารางใน manuscript ไม่ได้สร้างด้วย msword ให้ผู้ใช้แก้ไขตารางโดยการสร้างด้วย msword
หมายถึงว่า รูปภาพที่จะส่งไปเป็น manuscript จะต้องมีนามสกุล .tiff แล้วส่ง manuscript ไปใหม่ โดยแยกไฟล์รูปภาพไปกับไฟล์ word
TCI (1)
หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science
กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน)
กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด
วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565
กลุ่ม 1 ได้แก่
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
2. Science, Engineering and Health Studies
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
กลุ่ม 2 ได้แก่
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่ม 3 ได้แก่
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
วารสารน้องใหม่ ได้แก่
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920
(ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565)
Thesis online & Dspace (7)
Turnitin (24)
ฟังก์ชั่น AI Checker Solutions มีข้อจำกัด ดังนี้
ตั้งค่าที่หน้า Home คลิก Edit เพื่อเปลี่ยนวันหมดอายุฯ ที่เมนู Class end date โดยวันที่หมดอายุจะต้องไม่เกิน 7 ปี นับจากการสร้างห้องเรียน แล้วคลิก Submit
กรณีส่งงานโดยการคลิกปุ่ม Resubmit ระบบฯ จะไม่ปรากฏเปอร์เซ็นต์การคัดลอกฯ ทันที จะต้องรอ 24 ชั่วโมง Turnitin จึงจะปรากฏเปอร์เซ็นต์การคัดลอกให้
1. Log in เข้าใช้งานครั้งแรก
2. กำหนดค่าความปลอดภัยของผู้ใช้เพิ่มเติมที่ Secret question และ Question Answer
ขั้นตอนการสมัครสำหรับอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร
1. ขอเปิดบัญชีใหม่ โดยแจ้งชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) คณะ เบอร์โทรศัพท์มือถือและ e-mail ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น (username@su.ac.th หรือ username@silpakorn.edu) กับเจ้าหน้าที่ของคณะวิชาที่สังกัดฯ
2. เจ้าหน้าที่คณะวิชาฯ ส่งรายละเอียดมาที่ e-mail ที่
phoungsuwan_s@silpakorn.edu
3. Administrator ดำเนินการ แล้ว Turnitin จะส่ง e-mail ไปตามที่แจ้งไว้
4. Instructor สร้าง Account ใหม่
ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Turnitin โดยตรง ได้ที่ https://www.turnitin.com
หรือเข้าจากเว็บไซต์หอสมุดฯ พร้อมคู่มือแนะนำฯ http://www.resource.lib.su.ac.th/turnitin
ผู้มีสิทธิ์ใช้ฯ คือ นักศึกษา/คณาจารย์/บุคลากร ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานะปัจจุบัน เท่านั้น สามารถสมัครใช้โดย e-mail ของมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น (username@su.ac.th หรือ username@silpakorn.edu)
Turnitin คือ
Anti-Plagiarism Software เป็นซอฟต์แวร์/เครื่องมือฯ ใช้ตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism Checker) เช่น วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ โดยสามารถตรวจสอบข้อความซ้ำ และทำการเปรียบเทียบกับเอกสารจากแหล่งข้อมูลที่รองรับในระบบ สามารถตรวจได้ 50 ภาษาทั่วโลก
หากลืมรหัสผ่านการเข้าใช้โปรแกรม Turnitin
ให้คลิกเลือกที่ Forgot your password? Click here. ที่หน้า Login หลังจากนั้นใส่ e-mail address และนามสกุล (username@su.ac.th หรือ username@silpakorn.edu เท่านั้น) และใส่คำตอบในช่อง Answer
กรณีที่ไม่ทราบคำตอบ หากไม่ทราบคำตอบ ให้คลิกที่ Forget your answer หลังจากนั้นเปิด e-mail ที่ส่งมาจาก Turnitin และคลิกลิงก์ที่ได้จากอีเมล์ เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่
ฟังก์ชั่นการกำหนด Assignment (Allow students to see Similiarity Report?) หากต้องการให้นักศึกษาได้เห็นรายงานผลการตรวจการคัดลอก ให้กำหนดเป็น “Yes”
ห้ามลบงานที่ส่งตรวจด้วยตนเอง หาก ต้องการลบไฟล์ให้แจ้ง Administrator โดยแจ้งไปที่ e-mail : phoungsuwan_s@silpakorn.edu พร้อมทั้งแจ้ง Paper ID (เป็นการลบไฟล์ออกจากฐานขข้อมูล Turnitin)
คู่มือ/วิธีการใช้งาน Turnitin เบื้องต้นสำหรับนักเรียน (Student) http://www.resource.lib.su.ac.th/turnitin/manual/Students300561.pdf
วิธีการใช้งาน Turnitin เบื้องต้นสำหรับผู้สอนฯ http://www.resource.lib.su.ac.th/turnitin/manual/Turnitin_Instructor_User_update_Apr_2021.pdf
ปัจจุบันโปรแกรม Turnitin สามารถตรวจจับการเขียนผลงานด้วย AI ได้แล้ว เช่น ChatGPT, Google Bard AI Writer และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่มีข้อจำกัดว่า แต่ละไฟล์ต้องไม่เกิน 30,000 คำ (words) และสามารถตรวจจับได้เฉพาะงานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ฟังก์ชั่น AI Checker Solutions นี้ เป็นฟังก์ชั่นเสริม ซึ่งหากมีการจัดซื้อร่วมกับโปรแกรมฯ จึงจะสามารถตรวจจับได้ หากไม่มีการจัดซื้อฟังก์ชั้นนี้ ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้
สามารถส่งผลงานตรวจสอบด่วน โดยไม่ต้องสร้างชั้นเรียนหรือไม่ต้องลงทะเบียนเรียนในชั้นเรียน ด้วยการเปิดการใช้งานฟีเจอร์ส่งด่วน (Quick Submit)
สาเหตุหนึ่ง มาจาก บริษัทฯ Turnitin ไม่อนุญาตให้ส่งผลงานตรวจสอบได้ พร้อมแสดงข้อความแจ้งเตือนดังนี้
“From September 26th, students must be enrolled in a class before submitting to an assignment on their behalf. Check out our guidance on enrolling students or submitting on behalf of students. If your account has reached its student limit, contact your Turnitin account administrator.”
ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2566 เป็นต้นไป Turnitin ไม่รองรับการอัปโหลดการส่งงานของนักเรียน/Students ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ดังนั้น Instructor/ผู้สอนจำเป็นจะต้องสร้างคลาส/Class เพื่อส่ง enrollment key ให้กับ student ในคลาสทราบเพื่อการอัปโหลดผลงานตรวจสอบฯ หรือสามารถเปิดการใช้งาน Quick Submit เพื่อการส่งผลงานตรวจสอบทันที โดยไม่ต้องสร้าง Class & Assignment
สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสอบการลักลอกวรรณกรรม Turnitin ที่จัดทำโดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/turnitin/
ขอให้นักศึกษาติดต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้สร้าง class สำหรับนักศึกษาเป็น advisee โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องติดต่อไปที่ผู้ที่ถือ Account Turnitin ของแต่ละคณะวิชา เพื่อขอสิทธิ์ในการเข้าใช้ระบบ Turnitin เนื่องจากอาจารย์จะเป็นผู้ตัดสินวิธีการส่งตรวจ และพิจารณาเกณฑ์ similarity หากนักศึกษาไม่สามารถติดต่ออาจารย์ได้กรุณาแจ้งกลับมาที่หอสมุดฯ อีกครั้ง ที่ sus.ref2011@gmail.com เพื่อพิจารณาต่อไป
สามารถส่งไฟล์ที่เป็นรูปแบบ pdf หรือไฟล์ word มาที่ sus.ref2011@gmail.com บรรณารักษ์จะดำเนินการตรวจสอบให้ด้วยระบบ Turnitin และจัดส่งรายงานให้ภายใน 1 วันทำการ
ขอให้อาจารย์ติดต่อไปที่ผู้ที่เป็นผู้ถือ Account ของ Turnitin ของคณะวิชาของอาจารย์ หากอาจารย์ไม่ทราบว่าเป็นท่านใด อาจารย์สามารถติดต่อสอบถามได้ที่คุณสายัณห์ พวงสุวรรณ (phoungsuwan_s@silpakorn.edu) โทร. 22910 หรือ ติดต่อที่หอสมุดฯ โทร 034-241513 / ภายใน 22726 เพื่อให้ admin ตรวจสอบให้ ต่อจากนั้นอาจารย์จึงจะสามารถเข้าใช้ระบบ turnitin ได้
เบื้องต้นขอให้อาจารย์เข้าระบบ Turnitin อีกครั้งหนึ่ง และเปิดเอกสารฉบับที่ซ้ำ 100% หา paper id ของเอกสารนั้น ส่งคำขอลบ paper พร้อมทั้ง paper id และคัดลอกหน้าจอระบบที่แจ้งเรื่องการซ้ำ 100% มาให้หอสมุดฯ หอสมุดฯจะดำเนินการส่งข้อมูลให้ Admin ประสานงานกับบริษัท Turnitin ให้ลบ paper นั้นให้ อย่างไรก็ตามขอให้อาจารย์ตรวจสอบระบบ Turnitin ที่อาจารย์ใช้อยู่ด้วยว่ามีการตั้งค่าของโปรแกรมไว้ให้จัดเก็บ paper หรือไม่ ควรจะต้องมีการตั้งค่าให้เหมาะสมและถูกต้อง และเมื่อมีการ submit paper ใด ๆ แล้วคิดว่าผิดพลาดอย่าลบทิ้งจนกว่าจะมั่นใจว่าได้ตั้งค่าและ submit paper ได้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ 034-241513
ขอให้นักศึกษาติดต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้สร้าง class สำหรับนักศึกษาเป็น advisee โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องติดต่อไปที่ผู้ที่ถือ Account Turnitin ของแต่ละคณะวิชา เพื่อขอสิทธิ์ในการเข้าใช้ระบบ Turnitin เนื่องจากอาจารย์จะเป็นผู้ตัดสินวิธีการส่งตรวจ และพิจารณาเกณฑ์ similarity หากนักศึกษาไม่สามารถติดต่ออาจารย์ได้กรุณาแจ้งกลับมาที่หอสมุดฯ อีกครั้ง ที่ sus.ref2011@gmail.com เพื่อพิจารณาต่อไป
VPN (1)
หากเป็นฐานข้อมูล E-books ที่ทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือ มหาวิทยาลัยศิลปากรบอกรับ จึงจำเป็นต้องติดตั้ง VPN ยกเว้น E-books ในฐานฟรีออนไลน์ต่าง ๆ ขอแนะนำลิงค์การติดตั้ง VPN เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้ http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/index.php/su-vpn/
WEB OPAC (2)
สถานะ ( Status) ความหมาย
Due 08-10-13 หนังสือถูกยืม กำหนดส่งคืน 08-10-2013
On Shelves อยู่บนชั้น ตาม Location ที่ระบุไว้
On Holdshelf อยู่บนชั้นจอง
Lib Use Only ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น
Missing หนังสือหาไม่พบ (อยู่ระหว่างการค้นหา)
Cataloging/In Process อยู่ระหว่างดำเนินการ/การจัดหมวดหมู่
Intransit อยู่ระหว่างการเดินทาง/การขนส่ง
In Repair อยู่ระหว่างการซ่อมฯ
Lost and Paid แจ้งหาย+ชำระเป็นเงินแล้ว
Lost and Replace แจ้งหาย+ซื้อชดใช้แล้ว
นอกเหนือจากสถานะต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ท่านสามารถติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน หรือ บรรณารักษ์บริการตอบคำถามได้
Abbreviation
Location
SUS Abstract (2st fl.)
บทคัดย่อ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 2
SUS Abstract J.(M.L.Pin 3rd Fl.)
บทคัดย่อของวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3
SUS Archive (M.L.Pin 5th Fl.)
เอกสารจดหมายเหตุ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 5
SUS AV (M.L.Pin 4th Fl.)
สื่อโสตทัศนวัสดุ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 4
SUS AV Handbk (M.L.Pin 4th Fl.)
คู่มือประกอบสื่อโสตทัศนวัสดุ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 4
SUS CD for book (Cir Desk)
CD-ROM/DVD ประกอบหนังสือทั่วไป อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1 เคาน์เตอร์ยืม – คืน
SUS CD-thesis (Cir Desk)
วิทยานิพนธ์ในรูปแบบดิจิตอล อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1 เคาน์เตอร์ยืม – คืน
SUS Chinese (4th fl.)
หนังสือภาษาจีน อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS Curr (4th fl.)
หลักสูตร อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS Franco-Thai (4th fl.)
ศูนย์ข้อมูลศึกษาฝรั่งเศสไทย อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS French (4th fl.)
หนังสือฝรั่งเศส อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS German (4th fl.)
หนังสือภาษาเยอรมัน อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS handbook
คู่มือ อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
SUS Index Journal
ดัชนีวารสาร อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
SUS Japanese (4th fl.)
หนังสือภาษาญี่ปุ่น อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS Korean (4th fl.)
หนังสือภาษาเกาหลี อยู่ในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS Literature (1st fl.)
หนังสือวรรณกรรมที่ได้รับรางวัล อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1
SUS Prof.Chetana (2nd fl)
ห้องหนังสือของดร.เจตนา นาควัชระ อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 2
SUS Reference (1st fl.)
หนังสืออ้างอิง อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1
SUS Rare Book (1st fl.)
หนังสือหายาก อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1
SUS Reserve (Cir Desk)
หนังสือสำรอง อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 1 เคาน์เตอร์ยืม – คืน
SUS Serial (M.L.Pin 2nd Fl.)
วารสารเย็บเล่มต่างประเทศ/หนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 2
SUS Serial (M.L.Pin 3rd Fl.)
วารสารเย็บเล่มภาษาไทย/วาสารฉบับปัจจุบัน/วารสารล่วงเวลา อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3
SUS Stack 2nd fl.
หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 2
SUS Stack 3rd fl.
หนังสือสาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ภาษาไทย) หนังสือเยาวชน อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 3
SUS Stack 4th fl.
หนังสือสาขาสังคมศาสตร์และมานุษย์ศาสตร์ (ภาษาต่างประเทศ) อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS textbook (4rd fl.)
ตำราภาษาต่างประเทศ Textbook อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 4
SUS Thesis (2nd fl.)
วิทยานิพนธ์ อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 2
SUS Undergrad. Proj.(3rd fl.)
สารนิพนธ์/project ระดับปริญญาตรี อยู่ใน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ชั้น 3
SUS Western (M.L.Pin 2nd Fl.)
เอกสาร/หนังสือเกี่ยวกับภูมิภาคตะวันตก อยู่ในศูนย์ข้อมูลภูมิภาคตะวันตก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 2
Abbreviation
Location
SUT Anekprasong Building ติดต่อบริการยืม-คืน
request หรือติดต่อขอยืมที่เคาน์เตอร์หรือ SUT
SUT (Circulation Desk)
CD-ROM/DVD ประกอบหนังสือทั่วไป อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ เคาน์เตอร์ยืม – คืน
SUT Audio-visual ชั้น 3
สื่อโสตทัศนวัสดุ อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Artists book
หนังสือศิลปิน อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Basic courses
หนังสือพื้นฐาน อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ ชั้นล่าง หน้าห้องอ้างอิง
SUT Bidyalabh coll. (ชั้นบน)
มุมหนังสือพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Exhibition Collection
หนังสือนิทรรศการ อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Fiction (ห้องชั้นบน)
หนังสือนวนิยาย/เรื่องสั้น อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ ชั้นบน หน้าห้องวิทยานิพนธ์
SUT General stack (ชั้นล่าง)
หนังสือทั่วไป อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ ชั้นล่าง
SUT LargeBooks (Special Reserve)
หนังสือสำรองขนาดใหญ่ อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ ชั้นบน ห้องวิทยานิพนธ์
SUT LargeBooks (ชั้นล่าง)
หนังสือขนาดใหญ่ อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ ชั้นล่าง
SUT MAFCT Collection
มุมหนังสือภาษาฝรั่งเศส เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อยู่ใน หอสมุดวังท่าพระ อยู่ในห้องนิทรรศการ
SUT New Books (ชั้นบน)
หนังสือใหม่ อยู่ใน หอสมุดวังท่าพระ
SUT Prayoon collection
มุมหนังสือของ อ.ประยูร อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Ref. Room (ชั้นล่าง)
หนังสืออ้างอิง อยู่ใน หอสมุดวังท่าพระ ชั้นล่าง
SUT Sirindhorn Collection
หนังสือพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
SUT Special Reserve
หนังสือเก่าหายาก/หนังสือสงวน อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
M.C.Subhadradis Library
ห้องสมุดศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
M.C.Subhadradis Lib.(LargeBooks)
หนังสือขนาดใหญ่ ห้องสมุดศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
M.C.Subhadradis Lib.(RareBooks)
หนังสือหายาก ห้องสมุดศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อยู่ในหอสมุดวังท่าพระ
Abbreviation
Location
SUP Audio-visual
สื่อโสตทัศนวัสดุ อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP General stack
หนังสือทั่วไป อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP New Books
หนังสือใหม่ อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP Reference Room
หนังสืออ้างอิง อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP Reserve Books
หนังสือสำรอง อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP Journal
วารสาร/นิตยสาร/จุลสาร/หนังสือพิมพ์ อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP SU Collection
หนังสืออนุสรณ์ หนังสือรับน้อง หนังสือคู่มือของมหาวิทยาลัยศิลปากร อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
SUP Thesis
วิทยานิพนธ์/จุลนิพนธ์ อยู่ในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
PPSC Set Corner
มุมตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 1 หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
การละเมิดลิขสิทธิ์ (2)
ฟังก์ชั่น AI Checker Solutions มีข้อจำกัด ดังนี้
รูปภาพที่มาจาก istock /flipkart/shutterstock ให้ตรวจสอบ และอ่าน license detail ชองแต่ละรูปภาพว่า มีข้อกำหนดอย่างไรบ้างในการนำไปใช้
ดรรชนีวารสาร (2)
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ ดังนี้
สืบค้นผ่านฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร http://www.opac.lib.su.ac.th:81/ โดยระบุเรื่องที่ต้องการในช่องการสืบค้น แล้วจึงเลือกรายการดรรชนีจากมติชนสุดสัปดาห์ หยิบตัวเล่มที่ต้องการที่ชั้นวารสารเย็บเล่ม
สืบค้นผ่านข้อมูลผ่านฐานข้อมูลมติชนออนไลน์ http://www.matichonelibrary.com/ ระบุเรื่องที่ต้องการ และหนังสือพิมพ์ที่ต้องการ แล้วสืบค้น (ขอรหัสผ่านเข้าใช้ฐานข้อมูลได้ที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ หรืองานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 3 อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล)
ให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบรายชื่อและรหัสวารสารได้ที่ หน้าจอ WEBOpac ชั้น 1-4 ของอาคารหอสมุดฯ และที่เครื่องบริการคอมพิวเตอร์ของงานบริการวารสาร ชั้น 3 อาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย รหัส ว6ภ62 / วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รหัส ว6ม3759 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์
บริการจองออนไลน์ (2)
หนังสือที่มีกำหนดส่งนาน เช่น อาจารย์ยืมใช้เพื่อการสอนตลอดเทอม สามารถจองออนไลน์เพื่อเข้าคิวใช้ต่อได้ โดยทันทีที่ได้รับคำขอ (Request) ทางหอสมุดจะติดตามตัวเล่มจากอาจารย์เพื่อนำมาให้นักศึกษายืมใช้ก่อน (กำหนดส่งตามสิทธิ์การยืม) หากผู้ใช้บริการส่งคืนแล้ว จะติดต่อสอบถามอาจารย์อีกครั้ง หากยังมีความต้องการใช้ก็สามารถมาติดต่อยืมและรับตัวเล่มต่อไป
ติดต่อสมัครบริการ SMS Alert กับทางหอสมุดฯ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายฯ)
บริการยืม-คืน (25)
PULINET Plus คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางจำนวน 9 แห่ง ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) โดยมีวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติร่วมกัน https://pulinet2022.pulinet.org/pulinet-plus/
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หนังสือที่มีกำหนดส่งนาน เช่น อาจารย์ยืมใช้เพื่อการสอนตลอดเทอม สามารถจองออนไลน์เพื่อเข้าคิวใช้ต่อได้ โดยทันทีที่ได้รับคำขอ (Request) ทางหอสมุดจะติดตามตัวเล่มจากอาจารย์เพื่อนำมาให้นักศึกษายืมใช้ก่อน (กำหนดส่งตามสิทธิ์การยืม) หากผู้ใช้บริการส่งคืนแล้ว จะติดต่อสอบถามอาจารย์อีกครั้ง หากยังมีความต้องการใช้ก็สามารถมาติดต่อยืมและรับตัวเล่มต่อไป
Rare Book คือ หนังสือ Collection “หายาก” หรือ Rare Book จัดเก็บที่ชั้น 2 ณ ห้องศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ หากต้องการใช้ กรุณาแจ้งความประสงค์พร้อมกรอกรายละเอียดลงแบบฟอร์มฯ + แสดงบัตรประจำตัวฯ กับเจ้าหน้าที่ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ไม่สามาถยืมออกนอกห้องสมุดได้)
การส่งคืนหนังสือ/ทรัพยากรห้องสมุด มีช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
1) ส่งคืนด้วยตนเอง ณ เคาน์เตอร์ยืม-คืน (ในเวลาเปิดบริการ) สามารถส่งคืนต่างวิทยาเขตได้นะคะ
2) ส่งคืนที่ตู้รับคืนบริเวณด้านหน้า อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (ตลอดเวลา)
3) ส่งคืนทางไปรษณีย์ แบบ EMS เท่านั้น ได้ที่…
หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (ส่งคืนหนังสือ)
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 6 ถ.ราชมรรคาใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
การส่งคืนหนังสือทางไปรษณีย์ สามารถจัดส่งได้ดังนี้
จ่าหน้ากล่องพัสดุ : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (ส่งคืนหนังสือ)
ที่อยู่จัดส่ง : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 6 ถ.ราชมรรคาใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
หมายเหตุ : รูปแบบการจัดส่งต้องเป็นแบบ EMS เท่าน้ั้น หลังการจัดส่งทุกครั้งกรุณาแจ้งหมายเลขการจัดส่งมาที่ sus.ref2011@gmail.com
การส่งคืนหนังสือ ไม่ว่าท่านจะยืมหนังสืหรือทรัพยากรห้องสมุดฯ จากห้องสมุดวิทยาเขตใดก็ตาม สามารถส่งคืนได้ทุกวิทยาเขตนะคะ (วิทยาเขตวังท่าพระ/วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์/วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี)
สามารถส่งคืนหนังสือกับทางหอสมุดฯ ทางไปรษณีย์ได้ โดยจัดส่งแบบ EMS เท่านั้น พร้อมแจ้งหมายเลขการจัดส่งให้ทางห้องสมุดทราบด้วย สามารถแจ้งทางห้องสมุดทราบได้ที่ sus.ref2011@gmail.com เพื่อรอรับและตรวจสอบพัสดุ เพื่อความเรียบร้อยของกระบวนการจัดส่งทุกครั้งนะคะ
การสมัครแอดไลน์กับห้องสมุดฯ สามารถทำได้ โดยการแอดไลน์ Line ID : @sulib (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) จากนั้นดำเนินการใส่ข้อมูลตามขั้นตอน ที่สำคัญต้องมี Login and Password การใช้อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยนะคะ
ข้อดี :
สามารถยืนยันตัวตนโดยการแสดงบัตรดิจิทัล ในการเข้าใช้ห้องสมุดฯ
สามารถรับทราบผลการแจ้งเตือนหนังสือเกินกำหนดส่งฯ ผ่านช่องทางไลน์
ติดต่อสมัครบริการ SMS Alert กับทางหอสมุดฯ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายฯ)
สามารถดำเนินการได้โดยการ Add Line กับห้องสมุดจาก Line@ ที่ชื่อว่า “@SULIB” แล้วสมัคร/ยกเลิกบริการแจ้งเตือนฯ (Notification Service)
ในส่วนของผู้ใช้บริการในสังกัดของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com
หนังสือเกินกำหนดส่งฯ ไม่สามารถยืมต่อด้วยตนเองได้ ่จำเป็นต้องนำหนังสือมาติดต่อยืมต่อกับเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ทั้ง 3 วิทยาเขตฯ พร้อม่ชำระค่าปรับหนังสือเกินกำหนดส่งฯ
การยืมต่อด้วยตนเอง จาก http://www.opac.lib.su.ac.th/patroninfo สามารถยืมต่อได้ 2 ครั้งต่อเนื่อง หากครบ 2 ครั้งแล้ว ต้องการใช้ต่อฯ สามารถนำหนังสือมาติดต่อยืมต่อกับเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ทั้ง 3 วิทยาเขต ทั้งนี้ หนังสือเล่มนั้น ๆ จะต้องไม่มีการจองใช้จากผู้ใช้บริการท่านอื่น ๆ
นักเรียนโครงการ วมว. สามารถยืมได้ 3 เล่ม/7 วัน
นักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถยืมทรัพยากรได้ 7 เล่ม/7 วัน
Pulinet Sharing /PULINET Catalog sharing เป็นช่องทางในการสืบค้นทรัพยากรฯ จากห้องสมุดอื่นในเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกว่า 20 สถาบัน http://www.pulinet.org/member/
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อ “พี่พร้อม” (ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์) ได้ที่
Email : sus.ref2011@gmail.com
Facebook Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
Tel : 081-3272881
Instagram : suslibrary
Twitter : suslibrary
Tiktok : snc_lib
หอสมุดฯ มีบริการแจ้งเตือนผลการจอง โดยท่านสามารถสมัครบริการ SMS ALERT ฟรี ได้ที่ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน
ทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืม สามารถใช้ต่อได้โดยการจองผ่านระบบ www.opac.lib.su.ac.th
กรณีผู้ใช้บริการทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย หรือชำรุดเสียหาย จะต้องรับผิดชอบชดใช้ (ตามแต่กรณี) และต้องชำระค่าดำเนินการ จำนวน 100 บาท / เล่ม / รายการ พร้อมทั้งชำระค่าปรับเกินกำหนดส่ง (ถ้ามี)
หนังสือทั่วไป
หนังสือประกอบการสอน/การวิจัย
หนังสือสำรอง
โสตทัศนวัสดุ
3 บาท/เล่ม/วัน
3 บาท/เล่ม/วัน
20 บาท/เล่ม/วัน
20 บาท/เล่ม/วัน
ประเภทผู้ใช้บริการ
หนังสือทั่วไป
หนังสือประกอบการสอน/การวิจัย
หนังสือสำรอง
โสตทัศนวัสดุ
อาจารย์/อาจารย์พิเศษ/บุคลากรที่ได้รับทุนวิจัย
15 เล่ม / 15 วัน
40 เล่ม : 1 ภาคการศึกษา
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย
15 เล่ม / 15 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักศึกษาระดับปริญญาโท/เอก
20 เล่ม / 15 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักศึกษาระดับตรี
10 เล่ม / 10 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักเรียนโรงเรียนสาธิต/ลูกจ้าง/ข้าราชการ-พนักงานเกษียณอายุ
7 เล่ม / 7 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
สถานะ ( Status) ความหมาย
Due 08-10-13 หนังสือถูกยืม กำหนดส่งคืน 08-10-2013
On Shelves อยู่บนชั้น ตาม Location ที่ระบุไว้
On Holdshelf อยู่บนชั้นจอง
Lib Use Only ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น
Missing หนังสือหาไม่พบ (อยู่ระหว่างการค้นหา)
Cataloging/In Process อยู่ระหว่างดำเนินการ/การจัดหมวดหมู่
Intransit อยู่ระหว่างการเดินทาง/การขนส่ง
In Repair อยู่ระหว่างการซ่อมฯ
Lost and Paid แจ้งหาย+ชำระเป็นเงินแล้ว
Lost and Replace แจ้งหาย+ซื้อชดใช้แล้ว
นอกเหนือจากสถานะต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ท่านสามารถติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน หรือ บรรณารักษ์บริการตอบคำถามได้
นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับมัธยมศึกษาทุกคน เป็นสมาชิกหอสมุดฯ ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการหอสมุดฯ และสามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศตามสิทธิการยืมได้โดยแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน
นักศึกษาสามารถยืมหนังสือได้โดยการแสดงบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน
บริการยืมระหว่างห้องสมุด (7)
หากต้องการใช้บริการถ่ายเอกสารหนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารถติดต่อกับบรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศด้วยตนเอง หรือส่งคำขอผ่านอีเมลฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (sus.ref2011@gmail.com) แจ้งชื่อ-สกุล ผู้ขอใช้ /คณะ/สถาบัน / รหัสนักศึกษา / เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ / อีเมล / ชื่อหนังสือหรือวารสาร /ผู้แต่ง / หน้าที่ต้องการถ่ายฯ / รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น (
เป็นบริการเฉพาะคณาจารย์/บุคลากร/นักศึกษา ที่สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น)
ทั้งนี้ บริการถ่ายเอกสารในปัจจุบัน บางสถาบันฯ (ไม่มีให้บริการ) แล้ว บางสถาบันยัง (มีบริการ) เฉพาะการถ่ายเอกสารบางส่วนฯ ที่ไม่เกิน 25-75 % ของหนังสือทั้งเล่มนั้น ๆ เป็นต้น หากทางหอสมุดฯ ส่งคำขอไปยังห้องสมุดปลายทางแล้ว ได้ผลเป็นเช่นไรจะแจ้งท่านกลับทางข้อมูลติดต่อฯ ที่ได้ให้ไว้
PULINET Plus คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางจำนวน 9 แห่ง ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) โดยมีวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติร่วมกัน https://pulinet2022.pulinet.org/pulinet-plus/
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การยืมหนังสือในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Pulinet) มีค่าใช้จ่าย “ตามที่เกิดขึ้นจริง” เช่น ค่าจัดส่ง EMS (ส่งยืม-ส่งคืน), ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น
ติดต่อบรรณารักษ์ งานบริการสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศํพท์ 034-241513 / อีเมล : sus.ref2011@gmail.com
Pulinet คือ ข่ายงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2/2528 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เรื่อง:โครงการความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคคิดรูปแบบโครงการความร่วมมือที่เหมาะสมโดยมุ่งเน้นการประหยัดงบประมาณและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค http://www.pulinet.org/about/
บริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม (4)
การต่อเวลาการใช้ห้องกลุ่ม เมื่อหมดเวลาการใช้ห้อง ให้นักศึกษามาติดต่อสอบถามอีกครั้ง สามารถต่อเวลาการใช้ห้องฯ ได้เมื่อไม่มีผู้ใดจองใช้ห้องดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อแบ่งปัน/กระจายการใช้งานให้ทั่วถึง เนื่องจากจำนวนห้องฯ มีจำนวนน้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้ฯ
บริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม สามารถจองใช้ได้ครั้งละ 2 ชั่วโมง และสามารถต่อเวลาการใช้ได้ หากห้องนั้น ๆ ไม่มีการจองใช้ฯ
ติดต่อจองใช้ “บริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม”
อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ติดต่อจองใช้ได้ที่ เคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 1
อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ติดต่อจองใช้ได้ที่ เคาน์เตอร์บริการวารสาร ชั้น 2
ฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีบริการห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่มให้บริการจำนวน 8 ห้อง ดังนี้
อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีบริการจำนวน 5 ห้อง
อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มีบริการจำนวน 3 ห้อง
วารสารวิชาการ (1)
หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science
กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน)
กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด
วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565
กลุ่ม 1 ได้แก่
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
2. Science, Engineering and Health Studies
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
กลุ่ม 2 ได้แก่
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
กลุ่ม 3 ได้แก่
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
วารสารน้องใหม่ ได้แก่
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920
(ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565)
สิทธิ์การยืม (8)
หนังสือที่มีกำหนดส่งนาน เช่น อาจารย์ยืมใช้เพื่อการสอนตลอดเทอม สามารถจองออนไลน์เพื่อเข้าคิวใช้ต่อได้ โดยทันทีที่ได้รับคำขอ (Request) ทางหอสมุดจะติดตามตัวเล่มจากอาจารย์เพื่อนำมาให้นักศึกษายืมใช้ก่อน (กำหนดส่งตามสิทธิ์การยืม) หากผู้ใช้บริการส่งคืนแล้ว จะติดต่อสอบถามอาจารย์อีกครั้ง หากยังมีความต้องการใช้ก็สามารถมาติดต่อยืมและรับตัวเล่มต่อไป
Rare Book คือ หนังสือ Collection “หายาก” หรือ Rare Book จัดเก็บที่ชั้น 2 ณ ห้องศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ หากต้องการใช้ กรุณาแจ้งความประสงค์พร้อมกรอกรายละเอียดลงแบบฟอร์มฯ + แสดงบัตรประจำตัวฯ กับเจ้าหน้าที่ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ไม่สามาถยืมออกนอกห้องสมุดได้)
นักเรียนโครงการ วมว. สามารถยืมได้ 3 เล่ม/7 วัน
นักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถยืมทรัพยากรได้ 7 เล่ม/7 วัน
กรณีผู้ใช้บริการทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย หรือชำรุดเสียหาย จะต้องรับผิดชอบชดใช้ (ตามแต่กรณี) และต้องชำระค่าดำเนินการ จำนวน 100 บาท / เล่ม / รายการ พร้อมทั้งชำระค่าปรับเกินกำหนดส่ง (ถ้ามี)
หนังสือทั่วไป
หนังสือประกอบการสอน/การวิจัย
หนังสือสำรอง
โสตทัศนวัสดุ
3 บาท/เล่ม/วัน
3 บาท/เล่ม/วัน
20 บาท/เล่ม/วัน
20 บาท/เล่ม/วัน
ประเภทผู้ใช้บริการ
หนังสือทั่วไป
หนังสือประกอบการสอน/การวิจัย
หนังสือสำรอง
โสตทัศนวัสดุ
อาจารย์/อาจารย์พิเศษ/บุคลากรที่ได้รับทุนวิจัย
15 เล่ม / 15 วัน
40 เล่ม : 1 ภาคการศึกษา
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
ข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย
15 เล่ม / 15 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักศึกษาระดับปริญญาโท/เอก
20 เล่ม / 15 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักศึกษาระดับตรี
10 เล่ม / 10 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
นักเรียนโรงเรียนสาธิต/ลูกจ้าง/ข้าราชการ-พนักงานเกษียณอายุ
7 เล่ม / 7 วัน
–
จำนวนรวมตามสิทธิ์ในการยืมหนังสือทั่วไป : 3 วัน
3 รายการ : 3 วัน
ผู้ใช้บริการประเภท “อาจารย์” สามารถยืมเป็นเทอมใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ โดยระบุในแบบฟอร์มการยืมฯ หรือ แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทุกครั้ง (หมายถึง หนังสือทั่วไปของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร ยกเว้น หนังสือคอลเล็คชั่นพิเศษ/หนังสือสำรอง/หนังสือยืมระหว่างห้องสมุดต่างสถาบัน)
หนังสือใหม่ (1)
สามารถตรวจสอบรายชื่อหนังสือใหม่ประจำเดือนได้จาก http://www.opac.lib.su.ac.th/search/ftlist%5Ebib01,1,0,320/mode=2
อักขราวิสุทธิ์ (2)
ในการส่งไฟล์งานวิจัยเข้าไปตรวจสอบนั้น ให้แยกเนื้อหาและส่วนผลงานวิจัยออกจากกัน และส่งตรวจอีกครั้งทีละไฟล์ อ่านผลการตรวจสอบทีละไฟล์
ระบบอักขราวิสุทธิ์จะไม่ได้ส่งผลการตรวจทันที อาจต้องรอประมาณ 30 นาที หรือแล้วแต่ปริมาณข้อมูลที่ระบบต้องตรวจสอบ นอกจากนั้น ไฟล์รายงานผลการตรวจจะถูกส่งไปที่อีเมลของผู้ใช้ระบบที่ใช้ตอน log in ให้นักศึกษาเข้าไปตรวจสอบในอีเมล หรือในเมลถังขยะ
ถ้าเป็นงานที่เป็นภาษาต่างประเทศ นักศึกษาสามารถส่งตรวจสอบการลักลอกวรรณกรรมกับระบบ Turnitin ได้ ซึ่งส่วนมากจะสามารถออก report ให้รวดเร็ว นักศึกษาสามารถติดต่อส่งเอกสารเพื่อเข้าระบบ turnitin ได้โดยสอบถามเบื้องต้นกับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือหากมีความขัดข้องหรือเร่งด่วน ส่งผลงานได้ที่ sus.ref@gmail.com
เสนอซื้อ (2)
ท่านสามารถดูผลการพิจารณาเสนอซื้อหนังสือได้จาก https://www.plan.lib.su.ac.th/SuggestAPurchase/SuggestAPurchase.aspx
ท่านสามารถเสนอรายชื่อหนังสือให้หอสมุดฯ จัดซื้อ และตรวจสอบผลการพิจารณาได้ที่ช่องทาง https://www.plan.lib.su.ac.th/SuggestAPurchase/SuggestAPurchase.aspx
เสนอซื้อ/ผลการพิจารณา (1)
ท่านสามารถดูผลการพิจารณาเสนอซื้อหนังสือได้จาก https://www.plan.lib.su.ac.th/SuggestAPurchase/SuggestAPurchase.aspx