สอบถามเกี่ยวกับบริการฐานข้อมูล และการสืบค้น…ได้ที่ บริการสารนิเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ e-mail : sus.ref2011@gmail.com หรือ โทรศัพท์ : 034-241513 หรือ 034-109686 ต่อ 218025 |
สามารถสืบค้นได้จาก http://www.opac.lib.su.ac.th/ โดยเลือกเมนู การสืบค้น SEARCH ARTICLE IN JOURNALS (ดังภาพประกอบ) เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งมีงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลและวารสารในฐานข้อมูล เพิ่มเติมจากที่ สป.อว. บอกรับให้ มศก. ใช้ฐานข้อมูลที่ สป.อว. จัดซื้อให้ และที่ มศก.จัดซื้อเอง ได้แก่ Jstor และ Artstor เมื่อต้องการดูว่า มีวารสารอะไรบ้างในแต่ละฐานข้อมูลให้คลิกที่เมนู Publications หรือ Browse ของแต่ละฐานข้อมูล จะมีรายชื่อวารสพร้อมกับข้อมูลของวารสารว่า เป็นวารสารที่ subscribe หรือไม่ หรือเป็น OA เป็นการจัดกลุ่มของวารสารไทยที่ได้รับการพิจารณาจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) แล้วว่าเป็นวารสารที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยเกณฑ์หลักและเกณฑ์รอง และมีโอกาสที่จะได้รับการเสนอชื่อ เข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) วารสารที่เลือกเบื้องต้นจะต้องเป็นวารสารที่น่าเชื่อถือ มีการ peer review มีค่า impact factor โดยวารสารภาษาไทยควรมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล TCI ภาษาต่างประเทศควรมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือนานาชาติ ซึ่งเราสามารถเลือกดูชื่อวารสารได้ตามสาขาวิชา ตามค่า impact factor แต่วารสารที่มีค่า impact factor สูงก็มักจะมีขบวนการ review article อย่างเข้มข้นเช่นกัน อาจทำให้ตอบรับได้ยาก DVD สามารถยืมกลับไปดูที่บ้านได้ ดังรายละเอียดการยืม http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/students-borrow การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บ่อยครั้งที่จะได้คำอธิบายหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ Wikipedia ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ เนื่องจากข้อมูลของ Wikipedia เป็นข้อมูลที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดยเสรี ดังนั้น ผู้สืบค้นข้อมูลจำเป็นจะต้องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนนำไปใช้ เพราะข้อมูลของ Wikipedia ถือว่าเป็นข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary source) ที่มีการเรียบเรียงขึ้นใหม่ ในการอ้างอิงหากเราสามารถหาแหล่งอ้างอิงอื่นที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) ได้ ก็ควรใช้การอ้างอิงจากแหล่งปฐมภูมินั้น แต่หากพิจารณาแล้วว่าข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ Wikipedia นั้น ๆ เชื่อถือได้และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นในการอ้างอิง มีวิธีในการเขียนอ้างอิง ดังนี้ การอ้างอิงในเนื้อหา …..………… (“สารสนเทศ,” 2565) วงเล็บเปิด ใส่ชื่อเรื่อง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (Comma) อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ (Quotation marks) เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่ปีที่เผยแพร่ปิดท้ายด้วยวงเล็บปิด “สารสนเทศ” (2565) ……………….. ใส่ชื่อเรื่องอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ (Quotation marks) เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่ปีที่เผยแพร่อยู่ในวงเล็บ บรรณานุกรมท้ายเรื่อง สามารถเขียนได้ ดังนี้ การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th (ต่อ) สัปดาห์นี้ยังคงเป็นเรื่องการอ้างอิงตารางและภาพต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “พี่พร้อม” อธิบายการอ้างอิงตารางและภาพ โดยยกตัวอย่างเฉพาะการอ้างอิงตาราง สัปดาห์นี้จะอธิบายและยกตัวอย่างการอ้างอิงภาพ คำว่า ‘ภาพ’ ในการอ้างอิงนี้ คือ figure หมายความถึง ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพ ไม่เป็นรูปแบบตาราง (table) เช่น กราฟ (graph), แผนที่ (map), แผนภูมิสายงาน (flow chart) หรือแบบจำลองเส้นทาง (path model) องค์ประกอบของการอ้างอิงภาพจะเหมือนกับองค์ประกอบการอ้างอิงของตาราง ดังนี้ 1. หมายเลขภาพ (Figure number) คือ ตัวเลข (เช่น Figure 1/ภาพ 1) วางไว้เหนือชื่อภาพ ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน 2. ชื่อภาพ (Figure title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขภาพ และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize) 3. ภาพ คือ ข้อมูลของภาพโดยรวม 4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำเป็นตัวเอียง เป็นการอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพที่สร้างสรรค์เองจะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของภาพ ถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ พร้อมทั้งเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ ด้วย 5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของภาพ ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำภาพมาจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงภาพจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น 6. การแสดงข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ต้องการประกาศการสงวนลิขสิทธิ์ หรือแสดงลิขสิทธิ์ของภาพที่นำมาใช้ อย่างไรก็ตามการอ้างอิงตารางและภาพยังมีบริบทปลีกย่อยอีกหลายประการ ที่ทำให้การเขียนอ้างอิงมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก แต่เพื่อความกระชับในการนำเสนอเนื้อหา “พี่พร้อม” จึงขอสรุปโดยย่อตามรูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นค่ะ การอ้างอิง “การสัมภาษณ์ (Personal Interview)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การสัมภาษณ์ (Personal Interviews) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสารสนเทศแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communications) หมายถึง การอ้างอิงข้อมูลที่ผู้อ่านผลงานไม่สามารถหาข้อมูลนั้นมาอ่านย้อนหลังได้ ข้อมูลที่จัดว่าเป็น Personal Communications ได้แก่ อีเมล, Online chats, direct messages, live speech, การสนทนาทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์ (Personal Communication) เป็นต้น และจะใช้การอ้างอิงแบบ personal communications เมื่อแหล่งของข้อมูลนั้นไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีก – ถ้าต้องการอ้างอิงข้อมูลที่เรียนในชั้นเรียน ให้อ้างอิงงานวิจัยที่ผู้สอนใช้เป็นหลักในการสอน แต่ถ้าสิ่งที่ผู้สอนเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิ ไม่เคยมีการตีพิมพ์ ให้อ้างอิงแบบ Personal Communications ได้ – ถ้าการสื่อสารนั้นจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ให้อ้างอิงแบบเอกสารจดหมายเหตุ (Archival materials) – ถ้าเป็น live บน Social media ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้บน platform อื่น ที่สามารถย้อนกลับไปดูได้ เช่น วีดิโอ Instagram live ที่บันทึกไว้เป็นวีดิโอในช่อง YouTube ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของสื่อที่บันทึกนั้น การอ้างอิงข้อมูล Personal Communications จะอ้างถึงเฉพาะในเนื้อหา ไม่ต้องใส่ลงในรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่สามารถค้นหาย้อนหลังได้ และมีรูปแบบดังนี้ 1. ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ชาวต่างประเทศ ใช้ อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล แล้วเว้นหนึ่งระยะ การอ้างอิง “แผนที่ Online หรือ Google Maps (Online Maps References/Google Maps)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ Google Maps เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางยอดนิยม ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่ที่ไม่ทราบเส้นทางหรือไม่คุ้นเคยได้ง่าย โดย Google จะกำหนดเส้นทาง แจ้งระยะทาง และเวลาที่ใช้ให้ เมื่อต้องการอ้างอิงการเดินทางด้วย Google Maps ข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ใคร (Who) เมื่อใด (When) อะไร (What) และที่ไหน (Where) โดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้แต่ง (Who) สำหรับ Google Maps ใช้ Google Inc. เป็นชื่อผู้แต่ง โดยให้ใส่คำว่า Google ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่ Inc. ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปี (When) เนื่องจากไม่สามารถกำหนดวันที่สร้างหน้า page ของ Google Maps ได้ ดังนั้นให้ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) 3. ข้อมูลของเส้นทาง (What) เนื่องจากแผนที่ในการนำทางไม่มีชื่อเรื่อง จึงให้เขียนอธิบายจุดมุ่งหมายของการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยระบุวิธีการเดินทาง อธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ที่มาของแผนที่ (Where) ระบุวัน เดือน ปี ที่เรียกใช้ Google Maps เพราะเส้นทางการเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใส่คำว่า ‘สืบค้นเมื่อ’ หรือ ‘Retrieved’ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ วัน เดือน ปี สำหรับภาษาไทย หรือ เดือน วัน, ปี สำหรับภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่คำว่า ‘จาก’ หรือ ‘from’ ตามด้วย url ของหน้า Map นั้น การอ้างอิง “แหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ หัวข้อการเขียนบรรณานุกรมสัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ไม่ได้ขึ้นต้นว่า “การเขียนบรรณานุกรม” เพราะแหล่งข้อมูลที่นำมาอธิบายในครั้งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่จะลงรายการเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) ไม่ต้องทำรายการบรรณานุกรมท้ายเอกสาร ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น ถ้าผู้อ่านต้องการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้เหล่านี้ จะต้องเขียนอ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (personal communications) ซึ่งจะทำการอ้างอิงเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) โดยไม่ต้องเขียนบรรณานุกรมท้ายเอกสารโดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้เผยแพร่ข้อมูล เช่น เจ้าของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ผู้นำเสนอในการประชุมออนไลน์ เป็นต้น ชาวต่างประเทศ ใช้อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า “personal communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ในการนำเสนอผลงานวิจัย ข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบตาราง (Tables) หรือภาพ (Figures) ที่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนมากได้ และเข้าใจง่าย ถ้าผู้วิจัยสร้างสรรค์ตารางหรือภาพขึ้นเอง เพียงแค่กำหนดชื่อตารางหรือภาพนั้น แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ตารางหรือภาพ แต่หากผู้วิจัยใช้ตารางหรือภาพจากแหล่งอ้างอิงอื่น ไม่ว่าจะนำมาทั้งหมด หรือนำมาดัดแปลงบางส่วน ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลนั้น ใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) กำหนดให้การอ้างอิงตารางและภาพใช้โครงสร้างเดียวกัน และตัวอย่างที่ “พี่พร้อม” นำมาอธิบายนี้ขอใช้ตามที่ปรากฏใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) ตาราง (Tables) หรือภาพ(Figures) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตารางหรือภาพที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์เอง ตารางหรือภาพที่ปรับปรุงจากแหล่งอื่น และตารางหรือภาพที่นำมาจากแหล่งอื่นทั้งหมด สัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ขอยกตัวอย่างการอ้างอิงตารางเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. หมายเลขตาราง (Table number) คือ ตัวเลข (เช่น ตาราง 1) วางไว้เหนือชื่อตาราง ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน 2. ชื่อตาราง (Table title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขตาราง และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize) 3. ข้อมูลตาราง คือ ข้อมูลที่ต้องการอธิบายสิ่งที่ค้นพบในรูปแบบตาราง 4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำตัวเอียง เป็นการอธิบายข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่สร้างสรรค์เอง จะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ และเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ 5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของตาราง ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น ส่วนบรรณานุกรมท้ายรายงานเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบของแหล่งอ้างอิงนั้น การอ้างอิง “หนังสือแปล (Book republished in translation)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ หนังสือที่เป็นหนังสือคลาสสิก เช่น หนังสือของ Shakespeare หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น Le petit prince, Harry Potter เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาอื่นสามารถอ่านและเพลิดเพลินไปกับบทบาทของตัวละครได้ เมื่อต้องการอ้างอิงหนังสือแปลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร พี่พร้อมสรุปให้เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ค่ะ 1. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 2. ปีที่แปล ให้ใส่ปีที่แปลอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 3. ชื่อเรื่องแปล ใช้ชื่อหนังสือในภาษาของฉบับที่อ้างอิง ทำเป็นตัวเอียง 4. ชื่อผู้แปล ใส่ชื่อผู้แปล แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยคำว่า ‘ผู้แปล’ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เว้นวรรคจากชื่อเรื่องแปล 1 ระยะ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า ‘Trans’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 6. ปีพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์คำว่า ‘ต้นฉบับพิมพ์ปี’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Original work published’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/) การอ้างอิง “หนั)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การอ้างอิง ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ได้เปิดตัวและได้รับเสียงฮือฮาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน GPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งบริษัท OpenAI เป็นผู้พัฒนาให้เป็นโมเดลสนทนาที่สามารถตอบคำถามได้อย่างหลากหลาย มีบทสนทนาที่ให้ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง แล้วยังมีกลไกป้องกันคำถามที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทุกคนสามารถไปทดลองใช้ได้ที่ https://chat.openai.com/chat Kiattirat Jindamanee (2565) ได้สรุป 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ChatGPT คือ 1) เป็นการสื่อสารในรูปแบบการสนทนา 2) มีการตอบสนองที่เป็นไดนามิกมากขึ้น และมีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก 3) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ของ ChatGPT จะเรียนรู้การจัดอันดับคำตอบของมนุษย์ไว้เป็นฐานข้อมูลต่อไป 4) มีการใช้ Sibling Model เพื่อนำร่องให้ ChatGPT สามารถตอบสนองได้ในเชิงลึก 5) ตอบสนองต่อทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตอบคำถาม การเขียนงานทางวิชาการ หรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนใช้เครื่องมือค้นหาสิ่งที่ต้องการ จากที่ใช้ Search engine ธรรมดาค้นหาข้อมูลที่จะให้เพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ ChatGPT จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วย 7) ChatGPT ยังคงให้ใช้งานฟรีเพราะยังอยู่ในระยะทดลองใช้ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ Elon Musk ไม่อนุญาตให้ ChatGPT ใช้ข้อมูลของ Twitter เนื่องจากเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร และ 9) การเข้ามาทดแทนมนุษย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเรียบเรียงและใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ แม้จะทดลองใช้กันบ้างแล้ว พออ่านถึงข้อ 9) “พี่พร้อม” ได้มีการตั้งวงสนทนากันอย่างจริงจัง เพราะโลกมักเต็มไปด้วยเรื่อง hi tech หาก “พี่พร้อม” ก็ยังอยากคงไว้ซึ่งความ hi touch ให้อยู่ในโลกการทำงานของห้องสมุดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศฯ เครื่องมือช่วยในการแสวงหาสารสนเทศต่าง ๆ นานา แล้วแตะมือส่งต่อความรู้ วิธีการ หนังสือ ฯลฯ ไปให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้มากที่สุด เมื่อเข้าไปทดลองใช้จึงมีคำถามว่า หากผู้ใช้บริการไปถามใน ChatGPT แล้วต้องการนำมาอ้างอิง จะเขียนอย่างไร เพราะพยายามค้นหาในคู่มือแล้วยังไม่มีบอกไว้ จึงช่วยกันวางรูปแบบโดยอิงจาก APA 7th รวมไปถึงถาม ChatGPT แต่ด้วยความที่ “น้อง” ขยันมาก คำถามที่ห่างกันเพียง 5 นาที อาจได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น “พี่พร้อม” จึงหาข้อยุติด้วยการวางรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมในการเขียนอ้างอิงแบบนี้ ซึ่งพิจารณาแล้วละม้ายกับการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source) รายละเอียดอ่านที่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=447382884243194&set=a.4890909600995954 “ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น” รูปแบบการเขียน “พี่พร้อม” เลือกใช้เป็นแบบนี้ ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ ดังนี้ 1. ชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อของบริษัท AI เป็นชื่อผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปี ใส่ ปี, เดือน วัน ที่ถามใน Chatbot ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) 3. ชื่อเรื่อง หมายถึง คำถามหรือบทสนทนาที่ผู้ถามพิมพ์ลงใน Chat ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า ‘Chat’ หรือ ‘การสื่อสารส่วนบุคคล’ อยู่ในเรื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. url ปิดท้ายรายการด้วย url ของ ChatGPT การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ตอนที่ 2: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็ก กรณีที่ 2 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน ยังคงใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป และให้ลงรายการชื่อผู้วาดภาพประกอบซ้ำ ดังนี้ 1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนเรื่อง) แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วาดภาพประกอบไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ตอนที่ 1: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) หนังสือสำหรับเด็ก เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความคิด ให้คติสอนใจ ช่วยสร้างจินตนาการ พัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา การอ่าน การสังเกต หนังสือสำหรับเด็กต้องมีภาพประกอบที่สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กจึงให้ความสำคัญกับผู้วาดภาพประกอบด้วย บางเรื่องผู้เขียนเรื่องและผู้วาดภาพประกอบเป็นคนละคนกัน และบางเรื่องผู้เขียนเรื่องกับผู้วาดภาพประกอบเป็นคนเดียวกัน การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็กใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป ถ้ามีการให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบที่มีชื่อระบุไว้บนหน้าปก ก็ให้ระบุชื่อผู้วาดภาพประกอบไว้ในรายการบรรณานุกรมด้วย สำหรับสัปดาห์นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้ 1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนเรื่องไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) การอ้างอิง “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release Reference)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมักจะมีประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปทราบความเคลื่อนไหว หรือข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานราชการนั้น ข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ จัดเป็นข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary source) สามารถนำมาใช้ประกอบในงานวิจัยและสามารถอ้างอิงได้ ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/) สำหรับการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th ของข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release References) มีดังนี้ 1. ชื่อหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) 2. ปี เดือน วัน ให้ใส่วันที่ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ โดยใข้รูปแบบ ปี ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่เดือนที่พิมพ์ เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่วันที่ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ทำเป็นตัวเอียง ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ พิมพ์คำว่า ‘Press release’ ถ้าเป็นภาษาไทยใช้คำว่า ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. ทีอยู่ของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ url ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค การอ้างอิง “หนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การอ้างอิงวิดีโอ TikTok ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ TikTok เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้ในการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที จัดเป็นสื่อประเภท Social Media ประเภทหนึ่ง การอ้างอิงวิดีโอบน TikTok นี้ สามารถใช้กับการอ้างอิง Instagram และ Twitter ได้ด้วย โดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้ใช้ คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ หรือเป็นชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้ TikTok นั้น แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ชื่อบัญชีผู้ใช้ ใส่เครื่องหมาย @ ตามด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. วัน เดือน ปีที่โพสต์ ให้ใส่ ปี, เดือน วัน ที่โพสต์ ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง โดยนับจำนวน 20 คำของชื่อ Caption รวมทั้งนับคำใน # (hashtag) หรือ อิโมจิ เป็น 1 คำด้วย ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. ประเภทของ TikTok ใส่ชื่อประเภทของ TikTok ว่า ‘วิดีโอ’ หรือ ‘Video’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 6. ชื่อ Social Media ใส่คำว่า ‘TikTok’ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 7. URL ใส่ URL ของ link วิดีโอนั้น แสดงว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์เรามี Product Key / License Key มากกกว่า 1 ไฟล์ ซึ่งเราอาจจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้งฯ โปรแกรมนี้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ให้ดำเนินการค้นหา Product Key / License Key ในเครื่องฯ แล้วลบออกทั้งหมด จากนั้นดำเนินการดาวน์โหลดโปรแกรมฯ พร้อม Product Key / License Key และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง วารสารหน้าจั่วไม่ได้ทำ index ในฐานข้อมูล scopus เพียงแต่เมื่อดูรายละเอียดในฐานข้อมูล TCI แล้วปรากฏว่ามีชื่อวารสารหน้าจั่วอยู่ 2 ชื่อ อยู่กลุ่ม 1 1 ชื่อ และอยู่กลุ่ม 2 1 ชื่อ (วารสารไทยที่จะสามารถเข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus ได้ต้องอยู่ใน TCI กลุ่ม 1) การทำวิจัยบนระบบ iThesis และอ้างอิงด้วยโปรแกรม EndNote ไม่สามารถใช้ระบบการอ้างอิงหลายรูปแบบได้ ต้องเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ใช้แบบนามปี ส่วนมากจะใช้รูปแบบ APA ส่วนแบบเชิงอรรถจะต้องใช้การเขียนบรรณานุกรมแบบ Chicago ให้นักศึกษาทำการ insert รายการอ้างอิงตามปกติ แล้วคลิกขวาที่รายการอ้างอิงนั้น เลือก Edit citation แล้วเลือก more ใส่เลขหน้าที่ต้องการในช่อง pages แล้ว ok ตามปกติเมื่อผู้ใช้ฯต้องการอ้างอิงแบบอ้างเอกสารอันดับรอง (Secondary source) เนื่องจากหาเอกสารอันดับต้น (Primary Source) อ่านไม่ได้ ในส่วนบรรณานุกรมท้ายเล่มจะอ้างเฉพาะเอกสารอันดับรอง ส่วนในเนื้อหาจะระบุเอกสารอันดับรองอ้างถึงในเอกสารอันดับต้น ในกรณีนี้ผู้ใช้ฯต้องการอ้างที่บรรณานุกรมลงเฉพาะเอกสารอันดับรอง ในรูปแบบ APA 6th จึงแนะนำให้ทำดังนี้ – บันทึกรายการอ้างอิงของทั้งเอกสารอันดับต้นและเอกสารอันดับรองลงใน library – ใน document ทำการ insert citation ตามปกติ ด้วยเอกสารอันดับรอง – ทำการ edit citation > more > edit & manage citation – พิมพ์รายการของเอกสารอันดับต้นที่ช่อง suffix ว่า…อ้างถึงใน เอกสารอันดับต้น, ปี ค่า Q คือค่า Journal Quartile Score ที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของวารสารวิชาการ เฉพาะอย่างยิ่งในการเปรียบเทียบคุณภาพของวารสารข้ามสาขาวิชา เพราะเป็นการจัดอันดับและแบ่งช่วงเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม Q1-Q4 คิดจำนวนวารสารในสาขาวิชานั้นทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเป็น 100 % แบ่งเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 25% Q1 คือ กลุ่มวารสารที่ดีที่สุด (The highest) Q2 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา (Middle-Upper position) Q3 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพรองลงมา (Middle-lower position) Q4 คือ กลุ่มวารสารที่มีคุณภาพต่ำสุด (The lowest) สามารถตรวจค่า Q หรือ ค่า Quartile ได้จากเว็บไซต์ SCImago (http://www.scimagojr.com/) หากผู้ใช้บริการอ่านงานเขียนของ พัชรี เวชการ เรื่อง การบริการของห้องสมุด ที่พิมพ์ในปี 2555 ในเนื้อเรื่องได้อ้างถึงผลงานของ นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ ที่พิมพ์ในปี 2540 นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ เป็นเอกสารปฐมภูมิ ปี 2540 พัชรี เวชการ เป็นเอกสารทุติยภูมิ ปี 2555 นักศึกษาไม่สามารถหาเอกสารปฐมภูมิอ่านได้ จึงจำเป็นต้องอ้างเอกสารของ พัชรี เวชการ ซึ่งมีวิธีการเขียน ดังนี้ การอ้างในเนื้อหา นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (อ้างถึงใน พัชรี เวชการ, 2555 : 15) กล่าวว่า…. การเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่ม : ให้เขียนอ้างเฉพาะเอกสารทุติยภูมิเล่มเดียว คือเล่มของพัชรี เวชการเท่านั้น ดังนี้ พัชรี เวชการ. (2555). การบริการของห้องสมุด. นครปฐม: หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. ให้นำชื่อหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือ ไปค้นจาก WebOPAC ของห้องสมุด และเลือกข้อมูลจากรายละเอียดของหนังสือที่พบไปเขียนบรรณานุกรม อักษรย่อ Ibid. หมายความถึงการอ้างถึงหนังสือเล่มเดิม (ที่อ้างไว้ก่อนหน้า) โดยไม่มีรายการอื่นมาคั่น ภาษาไทยใช้คำว่า เรื่องเดียวกัน / Op. cit. ใช้ในกรณีที่ต้องการอ้างถึงเอกสารรายการเดิมซ้ำ แต่มีเอกสารรายการอื่นมาคั่น ภาษาไทยใช้คำว่า เรื่องเดิม / log cit ภาษาไทย เรื่องเดียวกัน หน้าเดียวกัน ได้ค่ะ เชิญที่งานบริการสารนิทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุด หรือส่ง email มาได้ที่ sus.ref2011@gmail.com ขออธิบายเป็นตัวอย่าง ดังนี้ Primary Source 1 คือ ชุติมา สัจจานันท์. (2540). วิทยานุกรมรรณารักษศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. Primary Source 2 คือ นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2535). บรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: Secondary Source คือ พัชรี เวชการ. (2555). ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. Intext : “กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก” (ชุติมา สัจจานันท์, 2540 อ้างถึงใน “ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข” (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ, 2535 อ้างถึงใน Reference (อ้างครั้งเดียว) พัชรี เวชการ. (2555). ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. หอสมุดฯ มีบริการแนะนำการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถค่ะ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ บรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดค่ะ ผู้ใช้บริการประเภท “อาจารย์” สามารถยืมเป็นเทอมใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ โดยระบุในแบบฟอร์มการยืมฯ หรือ แจ้งเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทุกครั้ง (หมายถึง หนังสือทั่วไปของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร ยกเว้น หนังสือคอลเล็คชั่นพิเศษ/หนังสือสำรอง/หนังสือยืมระหว่างห้องสมุดต่างสถาบัน) เป็นการแจ้งเตือนจากหอสมุดฯ ว่า ท่านมีการค้างส่งหนังสือ/มีหนังสือเกินกำหนดส่งนานที่ยังไม่ได้จัดส่งคืน มีค่าปรับคงค้างในระบบฯ เป็นต้น ให้นักศึกษาไปติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ชัดเจนได้ที่เคาน์เตอร์งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ โทร. 034-255092 : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สถานะ Cataloging /In Process คือ อยู่ระหว่างกระบวนการจัดหมวดหมู่ฯ โดยฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ใช้สามารถต้องการใช้สามารถติดต่อจองออนไลน์ผ่านระบบฯ หรือติดต่อขอยืมใช้ชั่วคราวก่อน โดยการอ่านหรือถ่ายสำเนาฯ ได้ที่งานบริการยืม-คืน หรืองานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 เพื่อกรอกแบบฟอร์มส่งคำขอฯ ไปยังฝ่ายงานดังกล่าวเพื่อขอใช้ตัวเล่มชั่วคราว ส่งคืนภายใน 21.00 น. ในวันนั้น ๆ ซึ่งยังไม่สามารถยืมตัวเล่มออกนอกห้องสมุดได้ หรือหากต้องการยืมออก เจ้าหน้าที่จะแจ้งความประสงค์ของท่านไปยังฝ่ายวิเคราะห์ฯ เพื่อการจัดทำรายการให้ด่วน ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 1-3 วันหลังจากแจ้ง หากเสร็จสิ้น จะแจ้งให้ท่านมาติดต่อยืมตัวเล่มได้ต่อไป ติดต่อหอสมุดฯ โทร. 034-255092 (เบอร์ตรง), 034-253-841-44 , 034-270-222-41 ต่อ 22724 หรือ หรือทางอีเมล sus.ref2011@gmail.com หรือ ทางแฟนเพจ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์” สถานะ Central Library เป็นหนังสือจัดเก็บที่สำนักหอสมุดกลางฯ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ หากสถานะ “On shelves” หรือ “อยู่บนชั้น” สามารถทำจองออนไลน์ได้ หรือหากต้องการอ่านไม่ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ พบกรณีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่งานบริการสารนิเทศ หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามได้ที่ 034-241-513 หรือส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ sus.ref2011@gmail.com หรือทางแฟนเพจฯ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์” สถานะ Central Library เป็นหนังสือจัดเก็บที่สำนักหอสมุดกลางฯ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ หากสถานะ “On shelves” หรือ “อยู่บนชั้น” สามารถทำจองออนไลน์ได้ หรือหากต้องการอ่านไม่ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ หอสมุดฯ ไม่มีบริการจอง/ยืมออนไลน์ หนังสือจากวิทยาเขตอื่น ๆ หากมีความจำเป็นต้องการใช้หนังสือดังกล่าว อาจต้องติดต่อด้วยตนเองที่หอสมุดฯ วิทยาเขตนั้น ๆ พบกรณีดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่งานบริการสารนิเทศ หรือเคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามได้ที่ 034-241-513 หรือส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ sus.ref2011@gmail.com หรือทางแฟนเพจฯ “หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์” การค้นหาตัวเล่มไม่พบ สามารถหาเพิ่มเติมได้จาก ทางหอสมุดฯ มีบริการ Cataloging ด่วน โดยการกรอกแบบฟอร์มฯ ขอใช้บริการ หรือหากไม่ต้องการขอยืมออก ก็สามารถยืมใช้ด่วนโดยการกรอกแบบฟอร์มฯ ยืมใช้ทรัพยากรภายในห้องสมุดได้เช่นกัน (ยืมใช้ในห้องสมุด/อ่าน/สำเนา ภายใน 1 วันเท่านั้น) พร้อมแสดงบัตรฯ เป็นหลักฐาน เมื่อส่งคืนตัวเล่ม จึงรับบัตรฯ คืน ติดต่อแจ้งชื่อ-สกุล-รหัสบาร์โค้ดผู้จองหนังสือที่จอง จำนวนที่ต้องการยกเลิก ที่ 034- 253-841-44 , 034-270-222-41 ต่อ 22724 งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์หรือ เบอร์ตรง 034-241513 เป็น collection หนังสือวรรณกรรมฯ หากต้องการใช้/ยืม ติดต่อเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ นักศึกษาควรจะตรวจสอบทรัพย์สินคงค้างกับห้องสมุดฯ ก่อนกลับบ้านหลังการสอบเสร็จ มิฉะนั้น ก็จะประสบปัญหาไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ในภาคการศึกษาต่อไป หรือ อาจไม่จบการศึกษา เป็นต้น การดำเนินการ : ติดต่อส่งคืนหนังสือกับห้องสมุด หากมีความจำเป็นเร่งด่วน โทรศัพท์สอบถามได้ที่ 2.1 ต่อ 21111 งานบริการยืม-คืน ชั้น 1 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ 2.2 ต่อ 21120 งานบริการตอบคำถาม/บริการสารนิเทศ ชั้น 2 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ 2.3 ต่อ 21342 งานบริการโสตทัศนศึกษา ชั้น 4 อาคารหม่อมหลวงปิ่นฯ 5. โทรสาร : 034-255092 ปัจจุบัน หอสมุดฯ เรามีบริการ sms alert เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่าน โดยท่านสามารถติดต่อสมัครใช้บริการนี้ได้ ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ณ เคาน์เตอร์ยืม-คืน งานบริการยืม—คืน ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ ทันทีที่หนังสือจองมาถึง ท่านก็จะได้รับ sms จากเจ้าหน้าที่ส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือตามหมายเลขที่ท่านแจ้งไว้ เพื่อให้มาติดต่อรับตัวเล่ม ในการดาวน์โหลด E-Book จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อเปิดอ่านฯ ดังนี้ หากเป็นฐานข้อมูล E-books ที่ทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือ มหาวิทยาลัยศิลปากรบอกรับ จึงจำเป็นต้องติดตั้ง VPN ยกเว้น E-books ในฐานฟรีออนไลน์ต่าง ๆ ขอแนะนำลิงค์การติดตั้ง VPN เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้ http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/index.php/su-vpn/ ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลของ Ebook ที่จัดทำขึ้น ด้วยการบันทึกแบบฟอร์มการขอg]- ISBN ของหนังสือ และเพิ่มที่อยู่ของหนังสือในช่อง url หอสมุดฯ จะดำเนินการส่งแบบฟอร์มนั้น ไปยังสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อขอเลข isbn เมื่อได้รับเลขจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะดำเนินการส่งเลขให้ผู้ใช้บริการต่อไป เมื่อผู้ใช้บริการได้รับเลขแล้ว กรุณาทำสำเนาไฟล์ E-book ของท่าน ใส่แผ่น CD ส่งให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ 2 แผ่น แบบฟอร์มการขอเลข ISBN ขอหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ : แบบฟอร์มกรอกข้อมูลการขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือpdf ebook ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ บนfacebook หรือบนระบบต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระนั้น ป้องกันการลักลอกได้ยากมาก แม้ว่าผู้จัดทำจะใส่ water mark ไว้ ผู้ลักลอกก็ยังสามารถคัดลอกเนื้อหาได้ ส่วนในการป้องกันการละเมิดทำได้เพียงระบุสิทธิ์การใช้งานเอาไว้เบื้องต้น อาจด้วยการใช้สัญลักษณ์ของ Creative Commons ในการระบุขอบเขตการอนุญาตใช้งานเนื้อหา ขอแนะนำว่า หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน โดยสอบถามที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/th/home.html ebook ที่ผู้ใช้บริการค้นได้จาก one search สามารถขอยืมตัวเล่ม โดย หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3 กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 กลุ่ม 1 ได้แก่ 2. Science, Engineering and Health Studies 3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology 4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal) 5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University) 6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture) 7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University กลุ่ม 2 ได้แก่ 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal) 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University) 4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment) 5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences กลุ่ม 3 ได้แก่ วารสารน้องใหม่ ได้แก่ หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920 (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565) ปัญหาการแสดงภาษาไทยในโปรแกรม EndNote 20/EndNote 21 ในส่วนของ Summary เป็นสี่เหลี่ยม ทำให้การแสดงผลภาษาไทยในส่วนของ Summary ไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของโปรแกรมฯ แต่ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการนำรายการอ้างอิงไปใช้งาน สามารถแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้ ดังนี้ การอ้างอิงซ้ำ กรณี ผู้แต่งและชื่อเรื่องซ้ำกัน แต่ปีพิมพ์ต่างกัน โดยต้องการให้แสดงเป็นเครื่องหมายต่าง ๆในรูปแบบ APA สามารถทำได้ ดังนี้ 2. คลิกเลือกข้อมูลรายการที่ต้องการนำเข้า EndNote แล้วคลิก ADD MARKED TO BAG 3. คลิก VIEW BAG 4. คลิก EXPORT SAVED 5. เมนู (Format of List) คลิกเลือก End-Note/RefWorks เมนู (Send List To) คลิกเลือก Local Disk แล้วคลิก Submit
6. จะพบไฟล์รายการอ้างอิงที่ดาวน์โหลด ชื่อประมาณนี้ คือ export(*.*).txt ในการดาวน์โหลดแต่ละครั้ง จำเป็นจะต้องจำลำดับชื่อไฟล์ทุกครั้ง เพื่อการนำเข้าที่ไม่คลาดเคลื่อน 7. เปิดโปรแกรม EndNote แล้วไปที่เมนู File/Import/File 8. คลิกค้นหาชื่อไฟล์ที่ต้องการจากแหล่งจัดเก็บที่ดาวน์โหลดฯ แล้วคลิก Open 9. เมนู Import Option คลิกเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง (EndNote Import หรือ Tab Delimited) 10. เมนู Duplicated คลิกเลือกตามที่ต้องการดังนี้ – Discard Duplicates หมายถึง หากรายการอ้างอิงซ้ำต้องการให้ตัดทิ้งไป ไม่ต้องนำเข้าฯ – Import All หมายถึง นำเข้ารายการอ้างอิงทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะซ้ำก็ตาม – Import into Duplicates Library หมายถึง หากรายการอ้างอิงซ้้ำ ให้นำเข้าแบบสร้างไว้ใน Library ใหม่ เมื่อเลือกได้ตามต้องการแล้ว คลิก Import นำเข้าฯ 11. แสดงรายการบรรณานุกรมที่นำเข้าฯ EndNote สำเร็จแล้ว ดังนี้ จาก https://scholar.google.com/ 2. จะปรากฎเมนูการตั้งค่าฯ Settings ดังนี้ 3. คลิก Settings แล้ว คลิกเลือก Show links to import citations into … 4. คลิกเครื่องหมาย Drop down เพื่อเลือกเป็น EndNote แล้วกดบันทึกการตั้งค่าฯ (Save) 5. เลือกข้อมูลรายการที่ต้องการนำเข้าสู่ EndNote แล้วคลิก Import into EndNote รายการบรรณานุกรมนั้นก็จะถูกดาวน์โหลด 6. สังเกตว่าจะมีไฟล์รายการบรรณานุกรมที่ดาวน์โหลดจะมีชื่อประมาณนี้ คือ (scholar(***).enw และจะมีนามสกุล .enw ให้ทำการดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ดังกล่าวเพื่อการนำเข้าฯ 7. ไฟล์รายการบรรณานุกรมที่นำเข้าแล้ว เมื่อเปิดโปรแกรม EndNote ดูก็จะพบรายการบรรณานุกรมดังกล่าว ดังนี้ กรณี กำหนดรูปแบบการอ้างอิงด้วย “ระบบตัวเลข” เช่น Numbered, Vancouver แล้วพบว่า หมายเลขที่ระบบแสดงไม่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 เกิดจากการตั้งค่า ให้แก้ไขดังนี้ 3. สังเกตที่ Start with bibliography number ว่า เป็นเลข 1 หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้เปลี่ยนเป็น 1 แล้วคลิก OK 4. หากต้องการแก้ไขรายการอ้างอิงให้ขึ้นต้นด้วยลำดับใด สามารถกำหนด/ตั้งค่าได้ตามความต้องการ กรณีพบว่า ไฟล์รายการอ้างอิงใน library ที่ใช้อยู่เกิดปัญหา และต้องการสร้าง Library ใหม่ทดแทนโดยการย้ายรายการอ้างอิงใน Microsoft Word ที่ใช้งานอยู่ แต่จะสามารถทำได้เฉพาะรายการอ้างอิงที่มีการ cite จาก EndNote เท่านั้น ดังนี้ ในกรณีที่รายการอ้างอิง (reference) ถูกลบออกจาก library ด้วยการ move to trash นำกลับมาใช้งานได้อย่างไร ใช้คำสั่ง Compressed Library สามารถทำได้ดังนี้ 2. จะปรากฏข้อความถามว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง ให้คลิก Next แล้วตั้งชื่อ library (จะได้นามสกุล .enlx) 3. คลิกบันทึก (save) สามารถนำ library นี้ ไปใช้กับโปรแกรม EndNote ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้ โดย open ตามปกติ 3. คลิก Choose เลือกไฟล์ Full Text & PDF จากแหล่งจัดเก็บที่ต้องการ 4. คลิกเลือกไฟล์ Full Text & PDF ที่ต้องการได้ จากนั้นคลิก Open 5. กำหนดรูปแบบดังนี้ จากนั้นคลิก Choose Import File : ชื่อไฟล์ (Full Text & PDF) ที่คลิกเลือก Import Option : PDF (รูปแบบ) Duplicates : Discard Duplicates (ถ้าพบว่ารายการบรรณานุกรมซ้ำให้ตัดออก) Text Translation : No Translation 6. จะปรากฎรายการ (Full Text & PDF) ดังนี้ กรณีไฟล์ (Full Text & PDF) เป็นไปตามมาตรฐาน / มีค่า DOI จะปรากฎรายการบรรณานุกรมใน EndNote (ดังภาพด้านบน) กรณีไฟล์ (Full Text & PDF) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จะไม่ปรากฎรายการบรรณานุกรมใน EndNote (ดังภาพด้านล่าง) แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะคงมีไฟล์เนื้อหาของ (Full Text & PDF) แนบใน EndNote ปรากฎให้สามารถดู/อ่านได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องกรอกรายการบรรณานุกรมเข้าด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้แต่งชาวเยอรมัน จะมีตัวอักษรพิเศษแตกต่างจากภาษาอังกฤษ หากต้องการพิมพ์ใส่ใน Endnote สามารถทำได้ ดังนี้ วิธีที่ 1 การ copy ตัวอักษรพิเศษจาก MS Word โดย วิธีที่ 2 ใช้ Character map โดยพิมพ์คำว่า Character map ที่ช่องสืบค้น จากนั้นเลือก Character map การอ้างอิงผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ในเนื้อหาจะใส่ฐานันดรไว้ก่อนหน้าชื่อ – สกุล หากต้องการให้แสดงเฉพาะ “บรรณานุกรมท้ายเล่ม” สามารถทำได้ ดังนี้ เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าว เป็นบริการเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานะปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมี Login and Password (SU-NET) เพื่อการดาวน์โหลด ทั้งนี้ หากลืมหรือยังยังไม่มีอีเมลของมหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจากยังไม่ได้ยืนยันตัวตนใน SU-Net นั้น สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ คลังคำถาม-คำตอบ เบื้องต้น ปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรม EndNote 2. จัดทำโดยบริษัทผู้จัดจำหน่ายฯ ArticlesEndNote FAQs —> https://support.clarivate.com/Endnote/s/article/EndNote-FAQs?language=en_US นอกจากนี้ ยังสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา EndNote เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์หน่วยงาน/สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องฯ ดังเช่น http://www.snc.lib.su.ac.th/sncfaq/?s=endnote https://www.car.chula.ac.th/endnote_faq.php https://lib.swu.ac.th/index.php/services/special-service/endnote-faq https://latrobe.libguides.com/EndNote21PC/faqs https://uj.ac.za.libguides.com/endnote_guide/FQA https://guides.hsict.library.utoronto.ca/c.php?g=737226&p=5311567 https://libguides.nova.edu/c.php?g=1117424&p=8148515 https://www.wur.nl/en/newsarticle/endnote-21.htm สามารถรวมหลาย Library ใน EndNote เข้าด้วยกันได้ ดังนี้ EndNote สามารถซิงโครไนซ์ ได้เพียงไลบรารีเดียว (library เดียว) เท่านั้น หากพยายามหรือต้องการใช้ Library อื่นร่วมด้วย ระบบฯ จะสอบถามว่าคุณต้องการรวม library ทั้งสองเข้าด้วยกันหรือไม่ หากต้องการรวมไลบรารี ทำได้ ดังนี้ http://www.snc.lib.su.ac.th/sncfaq/?ufaq=%E0%B9%83%E0%B8%99-endnote-สามารถรวม-library-เข้าด้วยก ในกรณีที่ Add-ins ใหม่และเห็น tab EndNote อีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อปิดและเปิด Word ใหม่ Tab EndNote กลับหายไปอีก เมื่อลอง Add in ใหม่จะเห็นว่า ในช่อง ที่เคยเลือกแสดง EndNote CWYW ไว้ เครื่องหมาย √ หายไป (เมื่อ √ อีกครั้ง ก็จะเห็น tab EndNote ได้อีก) จะต้องแก้ไข ดังนี้ . หรือ Run MsWord ด้วย Run as administrator แล้วตอบ Yes ให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงบน Computer จะยังคงมี Tab EndNote อยู่ 1.ใน Word…File > Options > Add-ins > Selected Disable Items จาก dropdown ของ Manage > Click Go หรือ ไป แล้วคลิก ตกลง convert ไฟล์ให้เป็น text file ก่อนค่อยส่ง จะเป็นการเอา fieldcode ออก ที่หน้า msword คลิก tab end note มองหาตรงกลางๆ นะจะมีคำสั่ง convert citation and bibliography คลิก แล้วเลือก convert to plain text โปรแกรมจะถามว่าจะสร้างไฟล์ให้อีก 1 ไฟล์ ตกลงมั๊ย ตอบ yes ฟล์ใหม่จะเป็นไฟล์ wordธรรมดา สามารถแก้ไขทุกอย่างได้ ส่งไฟล์นี้ไป แต่เก็บไฟล์original ที่มี field code ไว้ ถ้ามีการปรับปรุงต้องทำที่ไฟล์นี้ สามารถแก้ไข font ได้ดังนี้ 2. ที่ message box คลิก tab Layout แล้วเปลี่ยน font และ size ตามต้องการ 3. คลิก OK เมื่อใช้โปรแกรม EndNote จัดการบรรณานุกรม ถ้าพบว่าการแสดงผลของการอ้างอิงแบบ numbered หรือ vancouver ตัวเลขที่กำกับในเนื้อหาเป็นตัวปกติ และถ้าต้องการให้แสดงเป็นตัวยก (Superscript) จะต้องทำการ edit style ดังนี้ 2. ที่ Citations เลือก templates และคลิกที่ 3. Save Style ที่สร้างขึ้นโดยคลิกที่ เมนู File > Save as แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Numbered Copy Superscript แล้วคลิก Save เมื่อต้องการใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Numbered ที่มีตัวเลขเป็นตัวยก ให้เลือกในช่อง Bibliographic Output Style เป็น Numbered Copy superscript หรือถ้าใช้รูปแบบ Vancouver ก็ให้ Edit Vancouver แล้วทำตามขั้นตอนเดียวกัน การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th (ต่อ) สัปดาห์นี้ยังคงเป็นเรื่องการอ้างอิงตารางและภาพต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่ง “พี่พร้อม” อธิบายการอ้างอิงตารางและภาพ โดยยกตัวอย่างเฉพาะการอ้างอิงตาราง สัปดาห์นี้จะอธิบายและยกตัวอย่างการอ้างอิงภาพ คำว่า ‘ภาพ’ ในการอ้างอิงนี้ คือ figure หมายความถึง ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นภาพ ไม่เป็นรูปแบบตาราง (table) เช่น กราฟ (graph), แผนที่ (map), แผนภูมิสายงาน (flow chart) หรือแบบจำลองเส้นทาง (path model) องค์ประกอบของการอ้างอิงภาพจะเหมือนกับองค์ประกอบการอ้างอิงของตาราง ดังนี้ 1. หมายเลขภาพ (Figure number) คือ ตัวเลข (เช่น Figure 1/ภาพ 1) วางไว้เหนือชื่อภาพ ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน 2. ชื่อภาพ (Figure title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขภาพ และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize) 3. ภาพ คือ ข้อมูลของภาพโดยรวม 4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำเป็นตัวเอียง เป็นการอธิบายภาพ ถ้าเป็นภาพที่สร้างสรรค์เองจะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของภาพ ถ้าเป็นภาพที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ พร้อมทั้งเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ ด้วย 5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของภาพ ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำภาพมาจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงภาพจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น 6. การแสดงข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ต้องการประกาศการสงวนลิขสิทธิ์ หรือแสดงลิขสิทธิ์ของภาพที่นำมาใช้ อย่างไรก็ตามการอ้างอิงตารางและภาพยังมีบริบทปลีกย่อยอีกหลายประการ ที่ทำให้การเขียนอ้างอิงมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีก แต่เพื่อความกระชับในการนำเสนอเนื้อหา “พี่พร้อม” จึงขอสรุปโดยย่อตามรูปแบบที่กล่าวไปในข้างต้นค่ะ การอ้างอิง “การสัมภาษณ์ (Personal Interview)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การสัมภาษณ์ (Personal Interviews) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของสารสนเทศแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communications) หมายถึง การอ้างอิงข้อมูลที่ผู้อ่านผลงานไม่สามารถหาข้อมูลนั้นมาอ่านย้อนหลังได้ ข้อมูลที่จัดว่าเป็น Personal Communications ได้แก่ อีเมล, Online chats, direct messages, live speech, การสนทนาทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์ (Personal Communication) เป็นต้น และจะใช้การอ้างอิงแบบ personal communications เมื่อแหล่งของข้อมูลนั้นไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้อีก – ถ้าต้องการอ้างอิงข้อมูลที่เรียนในชั้นเรียน ให้อ้างอิงงานวิจัยที่ผู้สอนใช้เป็นหลักในการสอน แต่ถ้าสิ่งที่ผู้สอนเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิ ไม่เคยมีการตีพิมพ์ ให้อ้างอิงแบบ Personal Communications ได้ – ถ้าการสื่อสารนั้นจัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ให้อ้างอิงแบบเอกสารจดหมายเหตุ (Archival materials) – ถ้าเป็น live บน Social media ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้บน platform อื่น ที่สามารถย้อนกลับไปดูได้ เช่น วีดิโอ Instagram live ที่บันทึกไว้เป็นวีดิโอในช่อง YouTube ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามประเภทของสื่อที่บันทึกนั้น การอ้างอิงข้อมูล Personal Communications จะอ้างถึงเฉพาะในเนื้อหา ไม่ต้องใส่ลงในรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่สามารถค้นหาย้อนหลังได้ และมีรูปแบบดังนี้ 1. ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ชาวต่างประเทศ ใช้ อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล แล้วเว้นหนึ่งระยะ การอ้างอิง “แผนที่ Online หรือ Google Maps (Online Maps References/Google Maps)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ Google Maps เป็นเครื่องมือสำหรับนำทางยอดนิยม ที่ช่วยให้เราสามารถเดินทางไปในที่ที่ไม่ทราบเส้นทางหรือไม่คุ้นเคยได้ง่าย โดย Google จะกำหนดเส้นทาง แจ้งระยะทาง และเวลาที่ใช้ให้ เมื่อต้องการอ้างอิงการเดินทางด้วย Google Maps ข้อมูลที่ใช้จะประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ใคร (Who) เมื่อใด (When) อะไร (What) และที่ไหน (Where) โดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้แต่ง (Who) สำหรับ Google Maps ใช้ Google Inc. เป็นชื่อผู้แต่ง โดยให้ใส่คำว่า Google ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่ Inc. ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปี (When) เนื่องจากไม่สามารถกำหนดวันที่สร้างหน้า page ของ Google Maps ได้ ดังนั้นให้ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) 3. ข้อมูลของเส้นทาง (What) เนื่องจากแผนที่ในการนำทางไม่มีชื่อเรื่อง จึงให้เขียนอธิบายจุดมุ่งหมายของการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยระบุวิธีการเดินทาง อธิบายไว้ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ที่มาของแผนที่ (Where) ระบุวัน เดือน ปี ที่เรียกใช้ Google Maps เพราะเส้นทางการเดินทางมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใส่คำว่า ‘สืบค้นเมื่อ’ หรือ ‘Retrieved’ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ วัน เดือน ปี สำหรับภาษาไทย หรือ เดือน วัน, ปี สำหรับภาษาอังกฤษ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ใส่คำว่า ‘จาก’ หรือ ‘from’ ตามด้วย url ของหน้า Map นั้น การอ้างอิง “แหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ หัวข้อการเขียนบรรณานุกรมสัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ไม่ได้ขึ้นต้นว่า “การเขียนบรรณานุกรม” เพราะแหล่งข้อมูลที่นำมาอธิบายในครั้งนี้เป็นแหล่งข้อมูลที่จะลงรายการเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) ไม่ต้องทำรายการบรรณานุกรมท้ายเอกสาร ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น ถ้าผู้อ่านต้องการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้เหล่านี้ จะต้องเขียนอ้างอิงแบบการสื่อสารส่วนบุคคล (personal communications) ซึ่งจะทำการอ้างอิงเฉพาะในเนื้อหา (in-text citation) โดยไม่ต้องเขียนบรรณานุกรมท้ายเอกสารโดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้เผยแพร่ข้อมูล เช่น เจ้าของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอน ผู้นำเสนอในการประชุมออนไลน์ เป็นต้น ชาวต่างประเทศ ใช้อักษรย่อของชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล สำหรับคนไทย ใช้ชื่อ เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า “personal communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) การอ้างอิง “ตารางและภาพ (Tables and figures)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ในการนำเสนอผลงานวิจัย ข้อมูลบางอย่างจำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบตาราง (Tables) หรือภาพ (Figures) ที่สามารถแสดงข้อมูลจำนวนมากได้ และเข้าใจง่าย ถ้าผู้วิจัยสร้างสรรค์ตารางหรือภาพขึ้นเอง เพียงแค่กำหนดชื่อตารางหรือภาพนั้น แล้วเขียนคำอธิบายไว้ใต้ตารางหรือภาพ แต่หากผู้วิจัยใช้ตารางหรือภาพจากแหล่งอ้างอิงอื่น ไม่ว่าจะนำมาทั้งหมด หรือนำมาดัดแปลงบางส่วน ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลนั้น ใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) กำหนดให้การอ้างอิงตารางและภาพใช้โครงสร้างเดียวกัน และตัวอย่างที่ “พี่พร้อม” นำมาอธิบายนี้ขอใช้ตามที่ปรากฏใน Publication Manual of the American Psychological Association: The official guide to APA style. (7th ed.) ตาราง (Tables) หรือภาพ(Figures) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ตารางหรือภาพที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์เอง ตารางหรือภาพที่ปรับปรุงจากแหล่งอื่น และตารางหรือภาพที่นำมาจากแหล่งอื่นทั้งหมด สัปดาห์นี้ “พี่พร้อม” ขอยกตัวอย่างการอ้างอิงตารางเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. หมายเลขตาราง (Table number) คือ ตัวเลข (เช่น ตาราง 1) วางไว้เหนือชื่อตาราง ใช้ตัวเลขที่เป็นตัวหนา (Bold) และเรียงลำดับตัวเลขตามที่อ้างในผลงาน 2. ชื่อตาราง (Table title) เขียนในบรรทัดถัดลงมาจากหมายเลขตาราง และทำเป็นตัวเอียง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ (capitalize) 3. ข้อมูลตาราง คือ ข้อมูลที่ต้องการอธิบายสิ่งที่ค้นพบในรูปแบบตาราง 4. หมายเหตุ (Note) คำว่า ‘Note’ หรือ ‘หมายเหตุ’ ทำตัวเอียง เป็นการอธิบายข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่สร้างสรรค์เอง จะเป็นการอธิบายความหมายหรือรายละเอียดของข้อมูลในตาราง ถ้าเป็นตารางที่ดัดแปลงหรือนำมาจากแหล่งอื่น ให้อ้างอิงไว้ในส่วนของหมายเหตุนี้ และเขียนบรรณานุกรมท้ายรายงานตามประเภทของแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ 5. การอ้างอิงเอกสารที่มาของตาราง ให้ใส่คำว่า ‘From’ หรือ ‘จาก’ สำหรับการนำตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่นมาใช้ ให้ใส่คำว่า ‘Adapt from’ หรือ ‘ปรับปรุงจาก’ สำหรับการดัดแปลงตารางจากแหล่งสารสนเทศอื่น ตามด้วยข้อมูลของแหล่งอ้างอิงนั้น ส่วนบรรณานุกรมท้ายรายงานเขียนบรรณานุกรมตามรูปแบบของแหล่งอ้างอิงนั้น การอ้างอิง “หนังสือแปล (Book republished in translation)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ หนังสือที่เป็นหนังสือคลาสสิก เช่น หนังสือของ Shakespeare หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น Le petit prince, Harry Potter เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้อ่านที่ใช้ภาษาอื่นสามารถอ่านและเพลิดเพลินไปกับบทบาทของตัวละครได้ เมื่อต้องการอ้างอิงหนังสือแปลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร พี่พร้อมสรุปให้เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ค่ะ 1. ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 2. ปีที่แปล ให้ใส่ปีที่แปลอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 3. ชื่อเรื่องแปล ใช้ชื่อหนังสือในภาษาของฉบับที่อ้างอิง ทำเป็นตัวเอียง 4. ชื่อผู้แปล ใส่ชื่อผู้แปล แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยคำว่า ‘ผู้แปล’ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) เว้นวรรคจากชื่อเรื่องแปล 1 ระยะ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า ‘Trans’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้น 1 ระยะ 6. ปีพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์คำว่า ‘ต้นฉบับพิมพ์ปี’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล สำหรับภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Original work published’ ตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับที่นำมาแปล ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/) การอ้างอิง “หนั)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การอ้างอิง ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ChatGPT (Generative Pre-trained Transformer) ได้เปิดตัวและได้รับเสียงฮือฮาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน GPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสื่อสารผ่านข้อความกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งบริษัท OpenAI เป็นผู้พัฒนาให้เป็นโมเดลสนทนาที่สามารถตอบคำถามได้อย่างหลากหลาย มีบทสนทนาที่ให้ข้อมูล โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง แล้วยังมีกลไกป้องกันคำถามที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทุกคนสามารถไปทดลองใช้ได้ที่ https://chat.openai.com/chat Kiattirat Jindamanee (2565) ได้สรุป 9 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ChatGPT คือ 1) เป็นการสื่อสารในรูปแบบการสนทนา 2) มีการตอบสนองที่เป็นไดนามิกมากขึ้น และมีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก 3) เทคนิคและวิธีการที่ใช้ของ ChatGPT จะเรียนรู้การจัดอันดับคำตอบของมนุษย์ไว้เป็นฐานข้อมูลต่อไป 4) มีการใช้ Sibling Model เพื่อนำร่องให้ ChatGPT สามารถตอบสนองได้ในเชิงลึก 5) ตอบสนองต่อทุกสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การตอบคำถาม การเขียนงานทางวิชาการ หรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 6) เปลี่ยนวิธีที่ผู้คนใช้เครื่องมือค้นหาสิ่งที่ต้องการ จากที่ใช้ Search engine ธรรมดาค้นหาข้อมูลที่จะให้เพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ ChatGPT จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาได้ด้วย 7) ChatGPT ยังคงให้ใช้งานฟรีเพราะยังอยู่ในระยะทดลองใช้ และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ Elon Musk ไม่อนุญาตให้ ChatGPT ใช้ข้อมูลของ Twitter เนื่องจากเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร และ 9) การเข้ามาทดแทนมนุษย์ เนื่องจากมีความสามารถในการเรียบเรียงและใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ แม้จะทดลองใช้กันบ้างแล้ว พออ่านถึงข้อ 9) “พี่พร้อม” ได้มีการตั้งวงสนทนากันอย่างจริงจัง เพราะโลกมักเต็มไปด้วยเรื่อง hi tech หาก “พี่พร้อม” ก็ยังอยากคงไว้ซึ่งความ hi touch ให้อยู่ในโลกการทำงานของห้องสมุดที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสารสนเทศฯ เครื่องมือช่วยในการแสวงหาสารสนเทศต่าง ๆ นานา แล้วแตะมือส่งต่อความรู้ วิธีการ หนังสือ ฯลฯ ไปให้ถึงมือผู้ใช้บริการได้มากที่สุด เมื่อเข้าไปทดลองใช้จึงมีคำถามว่า หากผู้ใช้บริการไปถามใน ChatGPT แล้วต้องการนำมาอ้างอิง จะเขียนอย่างไร เพราะพยายามค้นหาในคู่มือแล้วยังไม่มีบอกไว้ จึงช่วยกันวางรูปแบบโดยอิงจาก APA 7th รวมไปถึงถาม ChatGPT แต่ด้วยความที่ “น้อง” ขยันมาก คำถามที่ห่างกันเพียง 5 นาที อาจได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน ดังนั้น “พี่พร้อม” จึงหาข้อยุติด้วยการวางรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมในการเขียนอ้างอิงแบบนี้ ซึ่งพิจารณาแล้วละม้ายกับการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ (Nonrecoverable Source) รายละเอียดอ่านที่ https://www.facebook.com/photo/?fbid=447382884243194&set=a.4890909600995954 “ตามหลักการปกติของการอ้างอิง ข้อมูลของรายการอ้างอิงจะต้องมีรายละเอียดและถูกต้องที่ผู้อ่านจะสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ แต่ในบางกรณีแหล่งของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ เช่น ข้อมูลที่เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว (personal emails), livestreams หรือ โพสต์ของ Social media ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เก็บหรือถูกลบไปแล้ว รวมทั้งข้อมูลที่เป็นการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ที่ไม่ได้บันทึกไว้ หรือข้อมูลที่เป็น intranet เป็นต้น” รูปแบบการเขียน “พี่พร้อม” เลือกใช้เป็นแบบนี้ ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์อื่น ๆ ได้ ดังนี้ 1. ชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อของบริษัท AI เป็นชื่อผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปี ใส่ ปี, เดือน วัน ที่ถามใน Chatbot ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) 3. ชื่อเรื่อง หมายถึง คำถามหรือบทสนทนาที่ผู้ถามพิมพ์ลงใน Chat ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ลักษณะของข้อมูล เขียนคำว่า ‘Chat’ หรือ ‘การสื่อสารส่วนบุคคล’ อยู่ในเรื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. url ปิดท้ายรายการด้วย url ของ ChatGPT การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ตอนที่ 2: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน (Children’s book with illustrator same as author) การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็ก กรณีที่ 2 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนเดียวกัน ยังคงใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป และให้ลงรายการชื่อผู้วาดภาพประกอบซ้ำ ดังนี้ 1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ (ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับผู้เขียนเรื่อง) แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วาดภาพประกอบไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) การอ้างอิงหนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ กรณี ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ตอนที่ 1: ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน (Children’s book with illustrator different than author) หนังสือสำหรับเด็ก เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังความคิด ให้คติสอนใจ ช่วยสร้างจินตนาการ พัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษา การอ่าน การสังเกต หนังสือสำหรับเด็กต้องมีภาพประกอบที่สวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กจึงให้ความสำคัญกับผู้วาดภาพประกอบด้วย บางเรื่องผู้เขียนเรื่องและผู้วาดภาพประกอบเป็นคนละคนกัน และบางเรื่องผู้เขียนเรื่องกับผู้วาดภาพประกอบเป็นคนเดียวกัน การเขียนบรรณานุกรมหนังสือสำหรับเด็กใช้รูปแบบของหนังสือทั่วไป ถ้ามีการให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบที่มีชื่อระบุไว้บนหน้าปก ก็ให้ระบุชื่อผู้วาดภาพประกอบไว้ในรายการบรรณานุกรมด้วย สำหรับสัปดาห์นี้ ขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 คือ ผู้วาดภาพประกอบและผู้เขียนเรื่องเป็นคนละคนกัน จะมีรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม ดังนี้ 1. ผู้เขียนเรื่อง คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ปีที่พิมพ์ ให้ใส่ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ใช้ ม.ป.ป. หรือ n.d. แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ใส่ชื่อผู้วาดภาพประกอบ แล้วใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยคำว่า ‘ผู้วาดภาพประกอบ’ ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนเรื่องไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้น และใช้ตัวย่อว่า ‘Illus.’ 5. สำนักพิมพ์ ใส่ชื่อสำนักพิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) การอ้างอิง “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release Reference)” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ ในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการมักจะมีประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปทราบความเคลื่อนไหว หรือข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานราชการนั้น ข้อมูลจากข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการ จัดเป็นข้อมูลประเภทปฐมภูมิ (Primary source) สามารถนำมาใช้ประกอบในงานวิจัยและสามารถอ้างอิงได้ ผู้ใช้บริการสามารถเลียนแบบรูปแบบหรือ pattern ที่สรุปไว้ให้ หรือถ้ามีหนังสือที่มีลักษณะต่างจากตัวอย่างของ “พี่พร้อม” ก็สามารถส่งข้อมูลให้มาให้ช่วยพิจารณาได้ โดยจะอ้างอิงตามคู่มือของเว็บไซต์ APA Styles (https://apastyle.apa.org/) สำหรับการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th ของข่าวประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (Press Release References) มีดังนี้ 1. ชื่อหน่วยงาน ให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) 2. ปี เดือน วัน ให้ใส่วันที่ประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ โดยใข้รูปแบบ ปี ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่เดือนที่พิมพ์ เว้นหนึ่งระยะแล้วใส่วันที่ ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ชื่อเรื่องของข่าวประชาสัมพันธ์ ทำเป็นตัวเอียง ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ประเภทของข่าวประชาสัมพันธ์ พิมพ์คำว่า ‘Press release’ ถ้าเป็นภาษาไทยใช้คำว่า ‘ข่าวประชาสัมพันธ์’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. ทีอยู่ของข่าวประชาสัมพันธ์ ใส่ url ไม่ต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมหัพภาค การอ้างอิง “หนังสือสำหรับเด็กหรือหนังสือภาพ” ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ การอ้างอิงวิดีโอ TikTok ในรูปแบบ APA7th มีวิธีการดังนี้ TikTok เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้ในการสร้างเนื้อหาที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้น ๆ มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที จัดเป็นสื่อประเภท Social Media ประเภทหนึ่ง การอ้างอิงวิดีโอบน TikTok นี้ สามารถใช้กับการอ้างอิง Instagram และ Twitter ได้ด้วย โดยมีรูปแบบ ดังนี้ 1. ชื่อผู้ใช้ คนไทย ใช้ ชื่อ สกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้สลับเอานามสกุลขึ้นตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และชื่อย่อ หรือเป็นชื่อหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ใช้ TikTok นั้น แล้วเว้นหนึ่งระยะ 2. ชื่อบัญชีผู้ใช้ ใส่เครื่องหมาย @ ตามด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 3. วัน เดือน ปีที่โพสต์ ให้ใส่ ปี, เดือน วัน ที่โพสต์ ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 4. ชื่อเรื่อง ใส่ชื่อเรื่อง โดยนับจำนวน 20 คำของชื่อ Caption รวมทั้งนับคำใน # (hashtag) หรือ อิโมจิ เป็น 1 คำด้วย ทำเป็นตัวเอียง แล้วเว้นหนึ่งระยะ 5. ประเภทของ TikTok ใส่ชื่อประเภทของ TikTok ว่า ‘วิดีโอ’ หรือ ‘Video’ อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยมตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 6. ชื่อ Social Media ใส่คำว่า ‘TikTok’ ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) แล้วเว้นหนึ่งระยะ 7. URL ใส่ URL ของ link วิดีโอนั้น แสดงว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์เรามี Product Key / License Key มากกกว่า 1 ไฟล์ ซึ่งเราอาจจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้งฯ โปรแกรมนี้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ให้ดำเนินการค้นหา Product Key / License Key ในเครื่องฯ แล้วลบออกทั้งหมด จากนั้นดำเนินการดาวน์โหลดโปรแกรมฯ พร้อม Product Key / License Key และทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง คู่มือการติดตั้งฯ และการใช้โปรแกรม EndNote ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถหาดูได้จาก –>http://www.resource.lib.su.ac.th/web/EndNote/manual?menu=manual ให้ตรวจสอบว่ารายการอ้างอิงที่เกินมานั้น เป็นรายการที่พิมพ์ขึ้นเองหรือไม่ โดยลองคลิกที่รายการอ้างอิงในเนื้อหา แล้วเกิดแถบสีเทาหรือไม่ หากเป็นแถบสีเทาแสดงว่าเป็นรายการที่ link จาก library Endnote แล้วกลับไปดูที่ library ว่ามีเอกสารรายการนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มี(ซึ่งอาจหายไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง) ให้เพิ่มเอกสารนั้นลงไปใน library แต่ถ้าคลิกแล้วไม่เกิดแถบสีเทา แสดงว่าอ้างอิงรายการนั้น นักศึกษาพิมพ์ขึ้นมาเอง ก็ให้ไปเพิ่มรายการใน library เช่นเดียวกัน และทำการ insert ใหม่ ที่ tab endnote คลิกลูกศรที่คอลัมน์ bibliography ให้แก้ font ขนาด และ เปลี่ยนคำว่า Reference เป็นบรรณานุกรม เลือก font ตามต้องการ แล้วคลิก ok ส่วนการแก้ font ในส่วนเชิงอรรถ ให้ selected รายการ แล้วเปลี่ยน font ต้องดูว่า หายไปจากสาเหตุใด ตามปกติถ้าหายไปโดยการถูก delete ออกจาก library เบื้องต้นรายการที่ถูก delete จะไปอยู่ในห้องที่เป็นถังขยะของ library และสามารถเรียกคืนได้เหมือนกับการ restore ข้อมูลจากถังขยะ แต่ถ้าดูแล้วว่า ทุกห้องใน library ทุกอย่างเหลือเป็น ศูนย์ ทั้งหมด ก็จะไม่มีข้อมูลอ้างอิงให้เรียกคืนได้อีก ในแต่ละฐานข้อมูลจะมีเมนูการสืบค้นและการนำเข้ารายการบรรณานุกรม (Citation) ที่แตกต่างกัน เมื่อคลิกเข้ารายการที่ต้องการนำเข้าแล้ว ให้มองหาหรือสังเกตเมนูที่ปรากฎคำต่าง ๆ (ด้านล่าง) โดยคลิกเลือกรูปแบบ RIS FormatEndNote,Reference Manager ดังนี้ ไปที่เนื้อหาใน Microsoft Word ดำเนินการคลิกเมาส์ด้านขวาของรายการอ้างอิงนั้น แล้วเลือกเมนู Edit Citation แล้วเลือก Display as author (Year) จากการดูข้อมูลของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาใช้ รูปแบบ APA6 กับ Endnote x9 รูปแบบที่นักศึกษาใช้นั้นเป็นรูปแบบของ APA6 ถ้านศ.ต้องการให้ แสดงชื่อผู้แต่งทุกคนต้องปรับปรุงรูปแบบ หรือเลือกรูปแบบเป็น APA7 แทน ซึ่งจะแสดงผลถึง 20 คน แต่ต้องสังเกตว่ารูปแบบการแสดงผลบรรณานุกรมของหนังสือจะเปลี่ยนไป คือไม่มีเมืองที่พิมพ์ จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากระบบนักศึกษาต้องทำวิจัยบนระบบ iThesis ของ มศก. และระบบ iThesis กำหนดให้ทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรม EndNote จะช่วยให้ผู้วิจัยจัดเก็บรายการบรรณานุกรมได้อย่างเป็นระเบียบ สามารถปรับรูปแบบบรรณานุกรมไปได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ สามารถส่งบทความวิจัยที่ใช้โปรแกรม EndNote ทำบรรณานุกรมไปตีพิมพ์ในวารสารในต่างประเทศได้ นศ.สามารถติดตั้งโปรแกรมจากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ และหากมีปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อห้องสมุดได้ ให้แก้ไขที่ คลิกที่ Page Numbers ที่คอลัมน์ขวาสุด แล้วเลือกข้อ Show the full range of page (e.g. 123-125) ให้ เปิด EndNote > ที่เมนู tools > edit output styles > edit APA 7 ในคอลัมน์กลาง ให้ลบอักษร p และ pp. ออก ใน Reference type ของ EndNote ให้เลือกเป็น webpage มีความเห็นว่า ควรอ้างอิง เพราะเราใช้ข้อมูลของผู้สร้างวิดีโอนั้น เราไม่ได้คิดเอง ไม่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเอง โดยการบันทึกข้อมูลใน EndNote สามารถใช้ reference type เป็น Film and broadcast แทน ตามรูปแบบของการอ้างอิงในระบบ Chicago เมื่อมีการอ้างอิงซ้ำ ที่ใช้กันอยู่เสมอคือคำว่า เรื่องเดียวกัน หรือ ibid จะใช้ในกรณีที่ใช้รายการอ้างอิงซ้ำเรื่องเดิมต่อเนื่องกัน แต่ถ้าเป็นกรณีที่ใช้เรื่องเดิมแต่มีเรื่องอื่นมาคั่น จะใช้รูปแบบย่อ คือ ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่อง หรือคำว่า op cit เท่านั้น แต่นักศึกษาบอกว่า ในกรณีซ้ำต่อเนื่องอาจารย์ให้ใช้ ibid แต่ถ้าไม่ต่อเนื่องให้ใช้ บรรณานุกรมแบบเต็ม แต่ในโครงสร้างของ Chicago 17 ไม่ได้กำหนดไว้ให้สามารถใช้รูปแบบเต็มได้ จึงต้อง edit ด้วยตัวเอง ดังนี้ จากรูปแบบที่เห็น (ตามภาพ) แสดงว่าผู้ใช้ฯ ยังคงใช้รูปแบบบรรณานุกรมแบบ APA อยู่ ไม่ได้เปลี่ยน Bibliographic Output Styles ให้ทำการเปลี่ยน Bibliographic Output Styles เป็น Chicago 17th footnote ดังนี้ ที่ไฟล์เอกสาร เลือก Tab EndNote ที่ช่อง Styles คลิกลูกศร dropdown เลือก Chicago 17th footnote EndNote ทุกรุ่น ไม่สามารถเรียก library ที่อยู่บน cloud มาใช้ได้ (ข้อมูลจาก Clarivate เจ้าของ EndNote) จะต้องดึงไฟล์ library และ data มาไว้บนคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วจึงเปิด library ใช้ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ใช้รูปแบบบรรณานุกรมแบบใด ถ้าเป็น APA 6th ที่สามารถแสดงชื่อผู้แต่งได้ถึง 6 คน ก็จะไม่ต้องใช้คำว่า ‘และคณะ’ แต่ถ้าผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นตามที่ต้องการ สามารถทำได้โดยการ edit รูปแบบการแสดงผลที่ใช้อยู่ ตามตัวอย่าง 2. เมื่อต้องการปรับรูปแบบของบรรณานุกรม เมื่อผู้ใช้ได้ทำการปรับปรุงรูปแบบแล้ว ให้คลิก save as และเปลี่ยนชื่อรูปแบบไม่ให้ซ้ำกับรูปแบบดั้งเดิมด้วย ในกรณีนี้ ถ้าผู้ใช้มีบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้รายการที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็น ‘และคณะ’ เช่นเดียวกัน เพราะในการทำบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถเรียกใช้รูปแบบการอ้างอิงได้เพียง 1 รูปแบบเท่านั้น และต้องใช้ไปตลอดทั้งเล่ม ให้ทำการ edit รูปแบบการแสดงบรรณานุกรมที่ต้องการ โดยการเปิดโปรแกรม EndNote ถ้าเป็น version 20 ให้คลิกที่ tool –> output style –>edit…(ชื่อรูปแบบ) 2. คลิก file –> save as แล้วตั้งชื่อรูปแบบใหม่ ไม่ให้ซ้ำกับชื่อดั้งเดิม 3. กลับไปที่ microsoft word คลิกที่ tab EndNote 4. คลิกคำสั่ง update citation and bibliography ในกรณีนี้ ถ้าผู้ใช้มีบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้รายการที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็น ‘และคนอื่น ๆ’ เช่นเดียวกัน เพราะในการทำบรรณานุกรมของวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถเรียกใช้รูปแบบการอ้างอิงได้เพียง 1 รูปแบบเท่านั้น และต้องใช้ไปตลอดทั้งเล่ม ตอบว่า ในการทำวิทยานิพนธ์ 1 ไฟล์ สามารถใช้รูปแบบได้รูปแบบเดียว เมื่อปรับรูปแบบให้เป็นไปตามต้องการแล้ว ต้องใช้รูปแบบนั้นไปตลอดทั้งเล่ม โดยสามารถเปลี่ยนวิธีการปรับการบันทึกข้อมูลผู้แต่งคนไทย โดยการพิมพ์ชื่อผู้แต่งคนไทยให้เสร็จในบรรทัดเดียว ใส่คำว่า และ ก่อนคนสุดท้ายแล้วจึงใส่ , ปิดท้ายแทน และใช้รูปแบบ apa ตามปกติ การแสดงผลก็จะแสดงได้ตามต้องการ ให้ตรวจสอบการพิมพ์ข้อมูล ให้ถุกต้อง ทดลองด้วยการลบรายการที่ export มาออก แล้วพิมพ์ด้วยมือใหม่ ถ้ายังไม่ได้ ให้ปรับที่โปรแกรมด้วยการ edit style ที่เลือกใช้ แล้วเปลี่ยน/ตรวจสอบค่า ดังนี้ ที่ journal Names เลือก Use full journal name ที่ title Capitalization เลือก leaves title as entered แล้วกลับไปเลือก style ที่ save ไว้ใหม่ สั่ง update citation and bibliography ใช้วิธีการอ้างอิงแบบเอกสารอันดับรอง หรือการอ้างแบบทุติยภูมิ โดยในการเขียนบรรณานุกรม ให้ใช้คำว่า ‘อ้างถึงใน’ หรือ ‘as cited in’ โดยมีรูปแบบ ดังนี้ ให้ตรวจสอบรูปแบบ Bibliographic output style ใน Tab EndNote ต้องเป็น Chicago Style การทำรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมด้วย EndNote และจัดรูปแบบแบบ Chicago นั้น ต้องใช้คำสั่งของ Msword ช่วย ดังนี้ 2. คลิก insert footnote 3. เคอร์เซอร์จะมารอที่หมายเลขเชิงอรรถท้ายหน้ากระดาษ 4. ที่ โปรแกรม EndNote เปิด library และเลือก reference รายการที่ต้องการอ้าง คลิกเครื่องหมาย 5. จะปรากฏรายการอ้างอิงที่ตัวเลขเชิงอรรถท้ายหน้ากระดาษนั้น ให้ตรวจสอบ bibliographic output style ว่า เป็นรูปแบบอะไร ให้เลือกรูปแบบ Chicago 17 footnote หรือต้องการใช้เป็นเชิงอรรถขยายความ ก็สามารถพิมพ์คำอธิบายต่อจากหมายเลขเชิงอรรถได้เลย ผู้ใช้บริการบอกว่าติดตั้งและใช้ EndNote 20 ที่หอสมุดฯ มีให้ download แต่เมื่อสร้าง library และบันทึกข้อมูลภาษาไทย แล้ว save ข้อมูลในช่อง summary และช่อง preview ไม่แสดงผลเป็นภาษาไทย และหาเมนู display font เพื่อจะแก้ไม่พบต้องทำอย่างไร EndNote 20 ไม่มี function ให้แก้การแสดง font ดังนั้นใน summary และ preview จึงไม่สามารถแสดงให้เห็นเป็นภาษาไทย แต่เมื่อทำการ insert citation ลงใน word จะเป็นภาษาไทยตามที่บันทึกข้อมูลไว้ และแสดงบรรณานุกรมตามรูปแบบที่เลือก ในการทำการอ้างอิงแบบเชิงอรรถด้วยโปรแกรม EndNote ต้องเริ่มต้นด้วยการวางเคอร์เซอร์ไว้ตรงจุดที่ต้องการอ้างด้วยคำสั่งแทรกเชิงอรรถ (insert footnote) ในเมนู Reference ของ Msword เมื่อหมายเลขที่อ้างและเคอร์เซอร์มารอที่ส่วนท้ายหน้ากระดาษให้ทำการ insert citation จาก library ของ EndNote และเลือก bibliographic output style เป็น Chicago 2.จะปรากฏหน้าโครงสร้างของบรรณานุกรม ให้เลือก templates ที่หัวข้อ citation 3. ลบอักษร p. และ pp. ออก ใส่เครื่องหมาย : แทน ทั้ง 2 บรรทัด 4.คลิกเมนู file –> save as โดยตั้งชื่อไม่ให้ซ้ำกับชื่อรูปแบบดั้งเดิม 5. ที่ไฟล์ word ทำการ insert citation แล้วคลิก select ที่ citation –>คลิกขวา –> เลือก Edit citation –> more 6.จะพบหน้าสำหรับจัดการข้อมูล ใส่เลขหน้าลงในช่อง page แล้วคลิก ok ที่ library EndNote เลือก Select Another Style ในช่อง Output style แล้วหา Medical Anthropology แล้วคลิก choose ให้ทำการ clear journal term lists ก่อน เพื่อจะได้ download รูปแบบของชื่อวารสารได้ถูกต้อง โดยดำเนินการดังนี้ การเลือกใช้ชื่อย่อของวารสาร เมื่อพบว่า ชื่อย่อของวารสารที่ได้จากการ import citation มา เป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบหาชื่อย่อของวารสารที่ถูกต้องได้ โดยการ import ชื่อย่อของวารสารมาจาก Journal term list โดยมีวิธีการดังนี้ 3.จะปรากฏหน้าต่าง Term Lists คลิกที่ tab Terms แล้ว Selected all ที่ รายชื่อวารสาร แล้วคลิก Deleted Term 4.เลือก tab Lists คลิก Journals แล้วคลิก Import List จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกสาขาของวารสารที่ต้องการ ในที่นี้เลือกสาขา Chemical แล้วคลิก Open ปรากฏหน้าต่างข้อความแจ้งจำนวนของวารสารที่ถูกนำเข้า แล้วคลิก ok – ที่เมนู Tools เลือก Output Style แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการใช้งาน -คลิกที่ Journal Names แล้วสังเกตคอลัมน์ขวามือว่า เลือกใช้รูปแบบชื่อวารสารอย่างไร ให้ดูจาก Term list ของวารสารที่ download มา แล้วเลือกวิธีการย่อชื่อวารสารตามต้องการ – คลิกเมนู File à Save as แล้วตั้งชื่อรูปแบบใหม่ไม่ซ้ำกับชื่อรูปแบบเดิม 8.ที่ไฟล์ Word เลือก tab EndNote 20 คลิก Update Citation and Bibliography ให้ตรวจสอบก่อนว่า ในรูปแบบการแสดงผลที่ใช้นั้น ตามปกติมีการแสดงผลอย่างไร เช่น ถ้าใช้ระบบ APA 6 ใน EndNote สามารถปรับรูปแบบได้ตามต้องการ โดยเข้าไปในเมนู File > Edit output style > APA 6th เลือก Author List ของ Bibliograpy แล้วเลือกการแสดงผลตามต้องการ ในการ copy library EndNote เพื่อนำไปเปิดกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนั้น ให้ใช้คำสั่ง compress library ทำการ copy ข้อมูล โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ให้ดำเนินการแทรกรายการบรรณานุกรมด้วย EndNote ไปตามปกติ เมื่อนักศึกษาทำการ generate ตัวเล่มแล้ว ฉบับที่เป็น pdf จะมีรายการบรรณานุกรมอยู่ที่หน้า Reference ในการทำวิจัยบนระบบ iThesis และอ้างอิงด้วยโปรแกรม EndNote ไม่สามารถใช้ระบบการอ้างอิงหลายรูปแบบได้ ต้องเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รูปแบบ (bibliographic output style) ที่เลือกเป็นแบบ Chicago ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ มีรูปแบบตามที่เห็น แต่ถ้าไม่ต้องการมีรายการท้ายหน้ากระดาษ ให้ปรากฏในส่วนท้ายของเอกสาร ให้ใช้รูปแบบอื่น เช่น APA ในกรณีที่เป็นผู้แต่งคนไทยหลายคน ให้พิมพ์ชื่อผู้แต่งเรียงกันทุกคน และพิมพ์คำว่า และ ก่อนคนสุดท้าย แล้วค่อยบันทึกข้อมูล สำหรับหนังสือภาษาไทยที่พิมพ์ครั้งแรก ไม่ต้องใส่คำว่า พิมพ์ครั้งที่ 1 ใน field edition หอสมุดฯ มีการเปิดการอบรมการรู้สารสนเทศเป็นรอบ ๆ บางครั้งอาจไม่ตรงกับความต้องการของท่าน หรือไม่ทราบข่าวสารการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาสามารถรวมกลุ่มในคลาสมาติดต่ออบรมกับหอสมุดฯ ได้ทันที หรือหากไม่สามารถรวมกลุ่มได้จริง ๆ จะมา 1 หรือตามจำนวนที่สามารถรวมได้ โดยติดต่อนัดหมายล่วงหน้าได้ที่งานบริการสารนิเทศชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (คุณพัชรี/คุณธนวรรณ) โทร. 034-241513 Email : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ปัญหาที่มักพบบ่อยครั้ง คือ ขัดข้องประการใด รบกวนติดต่อโทร. 034-241-513 หรือส่งข้อมูลมาที่อีเมลนี้ (sus.ref2011@gmail.com) อีกครั้ง เนื่องด้วย product key จะเป็นรูปแบบใหม่ คือ โปรแกรมจะทำการ run และวิ่งหา product key เอง โดยที่เราไม่ต้องดำเนินการติดตั้งแบบ EndNote เวอร์ชั่น 7/8 ซึ่งจะต้องคัดลอก product key แล้วนำมาวางด้วยตนเอง โดยท่านสามารถดำเนินการ ดังนี้ ทั้งนี้ หากติดขัดอย่างไร รบกวนติดต่อ 034-241-513 บันทึกใน field Author ตามปกติ ถ้าเป็นหน่วยงานเดี่ยว ๆ ให้ลงไปตามปกติ และถ้ามีหน่วยงานใหญ่ หน่วยงานรอง ให้ใส่เรียงตามปกติ และใส่ , ปิดท้าย ในโปรแกรม EndNote ให้แก้จาก Edit > preferences > Display font > จะเห็น tab ให้เลือกคลิก 4 tab ได้แก่ Library, General, Label, Search ให้คลิกเลือกทีละ tab จะเห็นว่า ชื่อ font ที่อยู่ในช่องแสดง font เป็น font ที่รับภาษาไทยไม่ได้ ให้คลิกเลือก Change font แล้วเลือก font ที่รับภาษาไทยได้ เช่น Angsana New, TH Sarabun เป็นต้น แล้วเลือก font style และ size ให้เหมาะสม เสร็จแล้วเลือก ok ใช้ Reference Type เป็น Book แล้วบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ลงใน field ที่ถูกต้อง ส่วนรายการที่เป็นบทหนึ่งในหนังสือให้บันทึกใน Reference Type เป็น Book Section รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาที่เกิดจากการใช้โปรแกรม EndNote ขึ้นอยู่กับ Bibliographic Output Style ที่ผู้ใช้บริการเลือก รูปแบบที่เป็น (ชื่อ, ปี) เป็นรูปแบบ APA 6th การแสดงผลรูปแบบการอ้างอิงที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับการเลือก Reference Type การบันทึกข้อมูลใน Library และการเลือก Bibliographic Output Style ด้วย ตรวจสอบการเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ต้องเข้าใช้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มศก. เท่านั้น หากใช้จากบ้าน ต้องติดตั้ง web vpn –> http://netserv.su.ac.th/manual/vpn/web_VPN.pdf (นอกเครือข่ายฯ ไม่อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้) การอ้างอิงด้วยfootnote ต้องใช้โปรแกรม msword ในการ insert footnote แล้วจึง insert citation มาจาก EndNote เบื้องต้นให้ตรวจสอบใน EndNote library ว่า จัดเก็บข้อมูลถูกต้องตามประเภท (reference type) หรือไม่ และบันทึกข้อมูลใน field ที่ถูกต้องหรือไม่ ชื่อผู้แต่งเอานามสกุลขึ้นแก้ไขได้ โดยเข้าไป edit reference ภาษาไทยที่ต้องการแก้ไข ที่ Author ให้พิมพ์ , (Comma) ปิดท้ายนามสกุลผู้แต่งภาษาไทยทุกคน แล้วจึง close reference สำหรับรายการบรรณานุกรมภาษาไทยที่มีภาษาอังกฤษปนอยู่ ต้องดูว่าปนอยู่แบบใด สามารถแก้ไขได้ ดังนี้ เปิดไฟล์งานใน Ms word คลิกแท็บเมนู EndNote X21 ให้สังเกตว่า Instant Formattion is off ให้คลิกที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมหัวคว่ำท้าย Instant Formattion is off แล้วเปลี่ยนเป็น Turn instant formatting on ในขั้นตอนของการบันทึกข้อมูล ให้ใช้ Ref type เป็น Webpage ในการบันทึกข้อมูลผู้แต่งที่เป็นภาษาไทย ต้องใส่เครื่องหมาย , ต่อจากนามสกุลเสมอ แล้วจึง save หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยการ enter ทุกครั้ง จากปัญหาของนักศึกษาพบว่า โน้ตบุ๊คใฃ้ระบบปฏิบัติการเป็น windows 7 ไม่สามารถติดตั้ง EndNote X8 ได้ ต้องติดตั้ง EndNote X7 แทน PDF ที่นำมา import ด้วยโปรแกรม EndNote ต้องเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหมายเลข DOI (Digital Object Identifier) หรือหมายเลขประจำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นมาตรฐาน (PDF เอกสารที่มี เลข DOI มักเป็น PDF ที่ได้จากการ download จากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ) PDF ที่เกิดจากการ scan หรือจากการเปลี่ยนรูปแบบเอกสาร ไม่สามารถ import เข้า EndNote ได้ ผู้ใช้บริการอาจแก้ไขปัญหาได้โดยการนำชื่อบทความไป search ผ่าน google scholar แล้วให้นำเข้า EndNote ด้วย Google scholar แทน สามารถทำได้โดยการ สร้างรูปแบบขึ้นใหม่ หรือ edit style จากรูปแบบที่ใช้อยู่ให้เป็นภาษาไทย ปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการแสดงผล แต่ถ้ารายการอ้างอิงมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อนำรูปแบบที่ สร้าง หรือ edit ใหม่ไปใช้ ก็จะกระทบถึงรูปแบบของภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นการแก้รูปแบบ ถ้าเป็นไปได้ ควรแก้ในไฟล์ที่เป็น text แต่ในกรณีของระบบ iThesis จะทำให้เกิดปัญหาการส่งขึ้นระบบ cloud ให้ติดตั้งโปรแกรม EndNote X7 แทน โดยสามารถ download โปรแกรมได้จากเว็บไซต์ของหอสมุดฯ เกิดจาก font ของการแสดงผลไม่สามารถแสดงผลภาษาไทยได้ สามารถปรับ font ได้ดังนี้ เข้าโปรแกรม EndNote > edit > preference > Display font แล้วแก้ไข font ที่ปรากฏที่ tab เครื่องมือทั้ง 4 tab ให้เป็น font ที่สามารถแสดงภาษาไทยได้ เช่น Angsana, ThSaraban เป็นต้น เมื่อค้นบทความที่ต้องการจาก Google Scholar แล้ว เลือก import into endnote save fileแล้วคลิก ^ แล้ว open จะ import เข้าสู่ Library ของ EndNote ที่เปิดไว้ทันที ในโปรแกรม EndNote เมื่อ insert ref รายการแรกแล้ว สามารถวาง cursor ต่อแล้ว select ref ต่อไปจาก library และทำการ insert ต่อได้เลย โปรแกรม จะทำการรวมในวงเล็บและแยกแต่ละรายการด้วยเครื่องหมาย ; โปรแกรม EndNote ไม่สามารถจัดการบรรณานุกรมภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้พร้อม ๆ กัน ดังนั้นในกรณีปัญหาที่ได้รับแจ้งมาเรื่องการเปลี่ยนคำว่า and เป็น และ ใน reference ภาษาอังกฤษและภาษาไทย นั้น วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือ ปล่อยให้การแทรกรายการอ้างอิงเป็นไปตามที่โปรแกรมจัดให้ ในภาษาไทยอาจได้เครืองหมาย & มาแทนคำว่า และ ก็ปล่อยไปค่ะ จนคุณคิดว่าคุณทำการอ้างอิงเสร็จแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยตัวเราเอง ตอนไฟล์เอกสาร ไม่มีคำสั่งของ EndNote แล้ว โดยทำดังนี้ – ใน MsWord (ที่เป็นไฟล์ที่พิมพ์และทำการแทรกรายการอ้างอิงเรียบร้อยแล้ว) คลิกที่ tab EndNote – ในคำสั่งของ EndNote ไปที่คำสั่ง Convert citation and bibliography คลิกสามเหลี่ยมเล็กๆ ข้างท้าย จะมีคำสั่งย่อย ๆ ปรากฏออกมา – คลิก Convert to plain text – ตอบ Yes เมือ Word ถามว่าจะสร้างไฟล์ให้ใหม่ เสร็จแล้วตั้งชื่อไฟล์ Wordจะสร้างไฟล์ให้ใหม่อีกไฟล์หนึ่ง เป็นไฟล์ที่ไม่มีคำสั่งของ EndNote ติดอยู่ – ทำการแก้ไข เครื่องหมาย ที่คั่นระหว่างผู้แต่ง ด้วยการพิมพ์ตามปกติ ให้เป็นคำว่า และ แล้วจึง save หรือถ้าหากมี output style สำหรับรายการอ้างอิงภาษาไทยที่สร้างขึ้นใหม่แล้ว ก็สามารถเลือกใช้ได้ (ต้องดูว่า รายการอ้างอิงภาษาใดมีมาก ให้เลือกรูปแบบของภาษานั้น แล้วไปแก้อีกภาษาหนึ่งที่ plain text) การทำเชิงอรรถในเอกสารด้วยโปรแกรม EndNote ต้องใช้คำสั่งในเมนูการอ้างอิง (Reference) ของ Microsoft word ที่มี เมนู EndNote ด้วย ทำได้โดยการ insert เชิงอรรถด้วยคำสั่งแทรกเชิงอรรถในเมนูการอ้างอิง และใช้ insert citation จากเมนู EndNote ถ้าดูจากหน้าจอที่ส่งมาให้ ไม่แน่ใจว่าติดตั้ง EndNote สำเร็จหรือยัง เพราะอาจติดตั้งสำเร็จแล้ว แต่ยังไม่เห็น EndNote ด้วยเหตุผลใดๆ หรืออาจยังติดตั้งไม่สำเร็จก็เป็นได้ อย่างนี้ต้องเข้าไปดูใน Add in ในโปรแกรม Word แต่การอ้างอิงที่คลิกให้ดูนั้น ไม่ได้มาจาก EndNote เป็นการอ้างอิงด้วยคำสั่งของ Word ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าอ้างอิงแบบวารสาร food chemistry การอ้างอิงจะใช้นามสกุล เช่น Link & Schlünder, 1996 แต่มีบางเอกสารอ้างอิง จะปรากฎชื่อแรกตามมา Sitthiphong Soradech, Nunthanid, Limmatvapirat, & Luangtana-anan, 20 12 หรือบางอัน S. Wu 1981 เป็นต้น สาเหตุที่รูปแบบของชื่อผู้แต่งไม่ตรงกัน เนื่องจาก ผู้แต่งที่เป็นชาวยุโรป จะใช้นามสกุลขึ้นต้น แต่ถ้าเป็นคนไทย จะใช้ชื่อขึ้นต้นค่ะ ในการลงรายการ ก็น่าจะลงตามรูปแบบการอ่านชื่อของประเทศนั้น ๆ แต่ถ้าหากต้องการให้รูปแบบการแสดงชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย เอานามสกุลขึ้นต้นเหมือนกับชาวยุโรป ทำได้โดยการ… 1. แก้ไขรูปแบบ (output style) ให้แสดงผลได้ตามต้องการ หรือที่สะดวกกว่า คือ 2. ทำการ edit reference นั้นด้วยการพิมพ์แก้ไข 2.1 เปิด Library ที่อาจารย์ต้องการ 2.2 double คลิก reference ที่ต้องการแก้ไข โปรแกรมจะเปิดหน้า worksheet ของ reference รายการนั้น 2.3 ที่ Author ที่เป็นคนไทย จะเป็น Sitthipong Soradech, ให้อาจารย์เอา , ออก (ผู้แต่งคนอื่นทีเป็นคนไทย ให้เอา , ออกให้หมด) แล้วกด Ctrl W คลิก yes เพื่อ Save ข้อมูล 2.4 ลองกลับไปดูการแสดงผลที่ tab preview ใน library เลือก output style เป็น food chemistry ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย จะกลายเป็น Soradech, S. สามารถ download ได้ โดยลงทะเบียนเข้าใช้งานเครือข่าย SUNet ก่อน หากลงทะเบียนไม่สำเร็จให้ติดต่อศูนย์คอมพิวเตอร์ หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3 หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปบางส่วนไว้ให้บริการ ดังนี้ https://www.facebook.com/photo/?fbid=4326879914065595&set=a.4311624932257760 ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของคลังปัญญา ฐานข้อมูลเฉพาะวิทยานิพนธ์ และรวมอยู่กับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น ๆ ดังนี้ คือ ************************************************ ************************************************ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University) 10. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 13. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository ************************************************ 1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) หอสมุดฯ ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดังตัวอย่าง 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สำหรับการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร กรณีนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ของมหาวิทยาลัยฯ ต้องการสืบค้นหรือสืบค้นแล้วหาไม่พบ สามารถกรอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ที่ https://forms.gle/WfruFKfGDoxzqH6h9 ทั้งนี้ ข้อมูลที่พบอาจจะได้จากแหล่งฟรี หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายฯ ทางหอสมุดฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อการตัดสินใจ หากได้จากแหล่งฟรีจะดำเนินการดาวน์โหลดจัดส่งให้ทางอีเมลที่แจ้งมานั้นต่อไป เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งมีงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลและวารสารในฐานข้อมูล เพิ่มเติมจากที่ สป.อว. บอกรับให้ สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ หรือ https://tdc.thailis.or.th/tdc/หากไม่พบ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com ทางหอสมุดฯ จะดำเนินการสืบค้นให้ หากพบในฐานข้อมูลเปิดจะดำเนินการดาวน์โหลดและส่งให้ทันที หากไม่พบในฐานข้อมูลเปิด จะประสานงานสอบถามไปยังห้องสมุดในความร่วมมือฯ ว่าที่ใดมีบริการเพื่อทำการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ต่อไป SURE : Silpakorn University Repository คือ คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Repository : SURE) เป็นคลังจัดเก็บและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งผลงานทางศิลปะของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรในรูปแบบดิจิทัล เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นที่ประจักษ์ในแวดวงวิชาการทั่วโลก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/ ในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงได้โดยเสรี ผู้ใช้บริการเพียงแต่ทราบชื่อผู้แต่ง หรือ ชื่อเรื่อง หรือสืบค้นพบเรื่องที่ต้องการ และสังเกตว่ามีไฟล์อยู่กับรายการเอกสารนั้น ก็จะสามารถ download ได้ด้วยตนเอง เมื่อค้นพบ E-book ที่ต้องการอ่านในระบบ EBSCO ผู้ใช้ฯสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยใช้คำสั่ง Save Page ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ได้สูงสุดครั้งละ 100 หน้า ตรวจสอบจาก Web OPAC โดยการพิมพ์ชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ถ้าหากปรากฏ คำว่า เอกสารฉบับเต็ม ให้คลิกเปิด fulltext หรือ ค้นผ่าน Thesis Online ก็จะสามารถคลิกที่ชื่อเรื่องเปิด fulltext ได้ ส่วนวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาสามารถดูได้จาก เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php การ download fulltext จากฐานข้อมูลของสมุด จำเป็นต้องดำเนินการภายในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยศิลปากร และจะได้ fulltext เฉพาะจากวารสารที่หอสมุดฯบอกรับ หรือเป็น open access หากผู้ค้นค้นจากคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยศิลปากร จะสามารถ download บทความได้ เฉพาะจากวารสารที่ห้องสมุด หรือ สกอ.เป็นสมาชิกเท่านั้น แต่ถ้าผู้ค้นค้นจากภายนอกมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถเปิด fulltext ได้ หากต้องการใช้บริการถ่ายเอกสารหนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารถติดต่อกับบรรณารักษ์งานบริการสารสนเทศด้วยตนเอง หรือส่งคำขอผ่านอีเมลฝ่ายหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ (sus.ref2011@gmail.com) แจ้งชื่อ-สกุล ผู้ขอใช้ /คณะ/สถาบัน / รหัสนักศึกษา / เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ / อีเมล / ชื่อหนังสือหรือวารสาร /ผู้แต่ง / หน้าที่ต้องการถ่ายฯ / รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น ( เป็นบริการเฉพาะคณาจารย์/บุคลากร/นักศึกษา ที่สังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น) ทั้งนี้ บริการถ่ายเอกสารในปัจจุบัน บางสถาบันฯ (ไม่มีให้บริการ) แล้ว บางสถาบันยัง (มีบริการ) เฉพาะการถ่ายเอกสารบางส่วนฯ ที่ไม่เกิน 25-75 % ของหนังสือทั้งเล่มนั้น ๆ เป็นต้น หากทางหอสมุดฯ ส่งคำขอไปยังห้องสมุดปลายทางแล้ว ได้ผลเป็นเช่นไรจะแจ้งท่านกลับทางข้อมูลติดต่อฯ ที่ได้ให้ไว้ กรณีนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ของมหาวิทยาลัยฯ ต้องการสืบค้นหรือสืบค้นแล้วหาไม่พบ สามารถกรอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ที่ https://forms.gle/WfruFKfGDoxzqH6h9 ทั้งนี้ ข้อมูลที่พบอาจจะได้จากแหล่งฟรี หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายฯ ทางหอสมุดฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อการตัดสินใจ หากได้จากแหล่งฟรีจะดำเนินการดาวน์โหลดจัดส่งให้ทางอีเมลที่แจ้งมานั้นต่อไป หากนักศึกษาสืบค้นแล้วพบว่า หนังสือเล่มที่ต้องการยืม มีบริการที่ห้องสมุดในสถาบันการศึกษาในความร่วมมือฯ นักศึกษาสามารถติดต่อกับห้องสมุดฯ เพื่อแจ้งความประสงค์พร้อมกรอกรายละเอียดฯ เพื่อให้ทางห้องสมุดฯออกแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดฯ แล้วนำไปติดต่อยืมด้วยตนเองได้ ดังนี้ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การยืมหนังสือในข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Pulinet) มีค่าใช้จ่าย “ตามที่เกิดขึ้นจริง” เช่น ค่าจัดส่ง EMS (ส่งยืม-ส่งคืน), ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ติดต่อบรรณารักษ์ งานบริการสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์บริการสารสนเทศ ชั้น 1 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศํพท์ 034-241513 / อีเมล : sus.ref2011@gmail.com Pulinet คือ ข่ายงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2/2528 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เรื่อง:โครงการความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคคิดรูปแบบโครงการความร่วมมือที่เหมาะสมโดยมุ่งเน้นการประหยัดงบประมาณและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค http://www.pulinet.org/about/ กรณีนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ของมหาวิทยาลัยฯ ต้องการสืบค้นหรือสืบค้นแล้วหาไม่พบ สามารถกรอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ที่ https://forms.gle/WfruFKfGDoxzqH6h9 ทั้งนี้ ข้อมูลที่พบอาจจะได้จากแหล่งฟรี หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายฯ ทางหอสมุดฯ จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อการตัดสินใจ หากได้จากแหล่งฟรีจะดำเนินการดาวน์โหลดจัดส่งให้ทางอีเมลที่แจ้งมานั้นต่อไป หากนักศึกษาสืบค้นแล้วพบว่า หนังสือเล่มที่ต้องการยืม มีบริการที่ห้องสมุดในสถาบันการศึกษาในความร่วมมือฯ นักศึกษาสามารถติดต่อกับห้องสมุดฯ เพื่อแจ้งความประสงค์พร้อมกรอกรายละเอียดฯ เพื่อให้ทางห้องสมุดฯออกแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดฯ แล้วนำไปติดต่อยืมด้วยตนเองได้ ดังนี้ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ หรือ https://tdc.thailis.or.th/tdc/หากไม่พบ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com ทางหอสมุดฯ จะดำเนินการสืบค้นให้ หากพบในฐานข้อมูลเปิดจะดำเนินการดาวน์โหลดและส่งให้ทันที หากไม่พบในฐานข้อมูลเปิด จะประสานงานสอบถามไปยังห้องสมุดในความร่วมมือฯ ว่าที่ใดมีบริการเพื่อทำการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ต่อไป ผู้ใช้บริการสามารถใช้ฐานข้อมูล ThaiLIS ซึ่งสามารถ download ฉบับเต็มได้ฟรี http://newtdc.thailis.or.th/index.aspx ผู้ใช้บริการจากภายนอกมหาวิทยาลัยให้ทำการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้ https://tdc.thailis.or.th/tdc/register_form.php ติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ โดยจะดำเนินการตรวจสอบว่ามีที่ใด เป็นห้องสมุดฯ ในเครือข่ายความร่วมมือหรือไม่ หากเป็นจะสอบถามท่านอีกครั้งว่าประสงค์ไปยืมด้วยตนเองโดยออกใบยืมระหว่างห้องสมุด หรือต้องการให้หอสมุดฯ ประสานงานให้แล้วจัดส่งมาทางไปรณีย์ (EMS 2 ขาคือ ส่งมา-ส่งกลับ เพื่อป้องกันการสูญหายและง่ายต่อการตรวจสอบฯ) ซึ่งจะแจ้งให้ทราบถึงค่าดำเนินการโดยรวมก่อนส่งคำขอฯ ซึ่งบางสถาบันจะมีค่าดำเนินการหยิบเล่ม ๆ ละ 100 บาท สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ โทร. 034-241513 /ภายใน 218025 Email : sus.ref2011@gmail.com Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ โดยหอสมุดฯ จะค้นคว้าให้จากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานกับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ทั่วประเทศ ซึ่งร่วมมือให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ให้ผู้ใช้บริการ ติดต่องานบริการสารสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อขอถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุด หรือโทร 0 3424 1513 /(ภายใน) 22726 ติดต่องานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ เพื่อใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด นักศึกษาสามารถขอยืมตัวเล่ม หรือขอถ่ายเอกสารได้โดยมีค่าถ่ายเอกสารสำหรับหนังสือของห้องสมุดในส่วนกลาง หน้าละ 2 บาท และสำหรับห้องสมุดในส่วนภูมิภาค หน้าละ .50 บาท เบื้องต้น ตรวจสอบจาก PULINET Catalog Sharing จากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ แล้วจึงใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ติดต่อบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ / โทรศัพท์ 034-241513 / email : sus.ref2011@gmail.com / Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ทางหอสมุดฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเป็นบริการสำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของ มศก. เท่านั้น หากท่านมีสังกัดอยู่มหาวิทยาลัยใด รบกวนติดต่อบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศของสถาบันที่สังกัด อาจมีความร่วมมือในเครือข่ายฯ หากมีก็สามารถขอใช้บริการผ่านบรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศของสถาบันที่สังกัดได้ สอบถามสถานะการเป็นสมาชิก มศก. หากเป็น สมาชิก มศก. (นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มศก. )สามารถส่งคำขอได้ทันที แต่หากเป็นศิษย์สถาบันอื่นๆ ในเครือข่ายความร่วมมือฯ รบกวนติดต่อใช้บริการผ่านบรรณารักษ์งานบริการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ของสถาบันท่าน + หากเป็นบุคคลภายนอกทั่วไป หอสมุดฯ ขออภัยเนื่องจากยังไม่มีบริการถ่ายเอกสารหรือยืมหนังสือสำหรับบุคคลภายนอก สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ทั้งการขอถ่ายเอกสาร การขอยืมตัวเล่ม หรือการ download file ขอใช้บริการได้ที่โต๊ะบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ ผู้ใช้บริการสามารถขอหมายเลข isbn โดยตรงด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร / ระบบจดแจ้งการพิมพ์ที่ https://e-service.nlt.go.th โดยผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการกรอกข้อมูลสมัครสมาชิกและรออนุมัติเพื่อยืนยันตัวตน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หมายเลข ISBN ไม่ได้ให้การคุ้มครองทางกฎหมายหรือลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เป็นเพียงหมายเลขระบุสิ่งพิมพ์ตามกฎหมาย หมายเลข ISBN ไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มดังกล่าวจะเลิกตีพิมพ์แล้วก็ตาม ผู้เขียนสามารถระบุได้ตามความต้องการ ซึ่งจะระบุเป็นครั้งที่ 1 หรือ ครั้งที่ 2 ก็ได้ หมายเลข isbn ที่กำหนดให้กับหนังสือเล่มใดไปแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ดังนั้น หนังสือที่มีการตีพิมพ์ครั้งใหม่ จำเป็นต้องขอหมายเลข isbn ใหม่ทุกครั้งที่มีการตีพิมพ์ เนื่องจากเป็นกฎของทางหอสมุดแห่งชาติและเพื่อป้องกันการสับสนที่อาจเกิดขึ้นได้ กรณีหนังสือยังไม่ได้ตีพิมพ์ สามารถแจ้งแก้ไขได้ โดยทางหอสมุดฯ จะต้องทำการส่งคำขอยกเลิกหมายเลขเดิมไปยังหอสมุดแห่งชาติ และจัดส่งคำขออีกครั้ง เสมือนกับการขอใหม่ ซึ่งเลขเดิมจะต้องถูกยกเลิก ตำราที่จัดทำเพื่อการสอน และการขอตำแหน่ง จะไม่สามารถขอ ISBN ได้ สิ่งพิมพ์ที่สามารถขอ ISBN ได้ต้องเป็นหนังสือ งานวิจัยที่จัดพิมพ์ในระบบของโรงพิมพ์ เช่น พิมพ์ในระบบออฟเซท มีสถานที่จัดพิมพ์แน่นอน มีจำนวนการจัดพิมพ์และราคาที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามอาจารย์สามารถประกาศการมีลิขสิทธิ์ของสิ่งพิมพ์ได้โดยการทำหน้าลิขสิทธิ์ไว้ที่ด้านหลังหน้าปกในของเอกสารที่จัดทำ โดยหอสมุดฯ สามารถดำเนินการให้ได้ เพียงอาจารย์จัดส่งหน้าปกใน สารบาญ และเรื่องย่อมาให้ที่ sus.ref2011@gmail.com ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลของ Ebook ที่จัดทำขึ้น ด้วยการบันทึกแบบฟอร์มการขอg]- ISBN ของหนังสือ และเพิ่มที่อยู่ของหนังสือในช่อง url หอสมุดฯ จะดำเนินการส่งแบบฟอร์มนั้น ไปยังสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อขอเลข isbn เมื่อได้รับเลขจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะดำเนินการส่งเลขให้ผู้ใช้บริการต่อไป เมื่อผู้ใช้บริการได้รับเลขแล้ว กรุณาทำสำเนาไฟล์ E-book ของท่าน ใส่แผ่น CD ส่งให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ 2 แผ่น แบบฟอร์มการขอเลข ISBN ขอหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ : แบบฟอร์มกรอกข้อมูลการขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือpdf การขอเลข ISBN กับสำนักหอสมุดแห่งชาติ จะไม่ได้รับรายการ CIP ทันที ซึ่งจะได้ภายหลัง 1 วัน หลังจากได้รับเลข ISBN ไปแล้ว ไม่สามารถใช้เลข ISBN เดิมได้ ขอให้อาจารย์ส่งรายละเอียดของหนังสือเล่มที่ 2 มาให้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ และดำเนินการขอเลข ISBN เลขใหม่จากหอสมุดแห่งชาติ จากการสอบถามเหตุผลความจำเป็นกับทางหอสมุดแห่งชาติ ได้รับคำตอบว่า เนื่องจากเป็นหมายเลข isbn เป็นหมายเลขที่ running ทั่วโลก หากมีการขอฯ และได้รับการอนุมัติหมายเลขไปแล้ว จะต้องตีพิมพ์จริง ๆ มิฉะนั้น หากไม่มีการตีพิมพ์จริงตามที่ขอไป (ไม่มีตัวเล่มจริง) เลข isbn ที่ขอโดยการ running number จากทั่วโลกก็จะว่าง ทำให้หมายเลขนั้นเสียไป และที่สำคัญเป็นการขอจากประเทศไทย ส่งผลต่อชื่อเสียงของประเทศด้วยเช่นกัน หากเอกสารถูกต้อง + เอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน คร่าว ๆ ประมาณ 2 วัน คือ ใช้เวลาในการขอ cip ประมาณ 1 วัน ใช้เวลาในการขอ isbn ประมาณ 1 วัน รวม 2 วัน แต่บางครั้งก็สามารถเสร็จภายใน 1 วัน เมื่ออาจารย์จัดพิมพ์หนังสือเสร็จสิ้นแล้ว ต้องส่งมอบหนังสือชื่อที่ขอเลข ISBN ให้กับหอสมุดฯ จำนวน 6 เล่ม เพื่อส่งมอบให้หอสมุดแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ จำนวน 2 เล่ม และจัดเก็บเพื่อให้บริการ ณ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 1 เล่ม หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จ.เพชรบุรี 1 เล่ม หอสมุดวังท่าพระ 1 เล่ม และจัดเก็บเป็นผลงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศิลปากร อีก 1 เล่ม อนึ่ง อาจารย์ผู้จัดพิมพ์สามารถนำส่งเล่มตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ไปยังหอสมุดแห่งชาติด้วยตนเอง และกรุณาแจ้งหอสมุดฯ ทราบด้วย ติดต่อผ่านขอหอสมุดฯ ได้หลากหลายช่องทาง คือ อีเมล : sus.ref2011@gmail.com หรือ โทรศัพท์ : 034-241513 หรือมาติดต่อด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์บริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ระยะเวลาในการขอหากเอกสารที่จัดส่งมาครบถ้วน รวมแล้วประมาณ 3 วัน (ไม่ติดวันหยุดเสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์) จะได้รับทันที นอกจากนี้ สามารถติดต่อขอโดยตรงกับหอสมุดแห่งชาติได้ที่ http://www.e-service.nlt.go.th หรือโทร. 0-2280-9845, 0-2280-9828-32 ต่อ135, 36, 137,140 โทรสาร : 02280-9858 อีเมล์ : isbn@nlt.go.th หรือ issn@nlt.go.th การขอเลข ISSN ของ Ejournal ผู้ผลิตต้องมีการเตรียมการผลิตไว้เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เมื่อผู้จัดทำส่งรายละเอียดให้หอสมุดฯ แล้ว หอสมุดฯจะนำส่งรายละเอียดไปให้สำนักหอสมุดแห่งชาติตรวจสอบความถูกต้องทางระบบ e-services ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ และส่งเลข ISSN ให้ผู้จัดทำวารสารต่อไป หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3 รายการอ้างอิงจะไปปรากฎที่หน้ารายการอ้างอิงเมื่อนักศึกษาทำการ generate เรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากระบบนักศึกษาต้องทำวิจัยบนระบบ iThesis ของ มศก. และระบบ iThesis กำหนดให้ทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรม EndNote จะช่วยให้ผู้วิจัยจัดเก็บรายการบรรณานุกรมได้อย่างเป็นระเบียบ สามารถปรับรูปแบบบรรณานุกรมไปได้ตามที่ผู้วิจัยต้องการ สามารถส่งบทความวิจัยที่ใช้โปรแกรม EndNote ทำบรรณานุกรมไปตีพิมพ์ในวารสารในต่างประเทศได้ นศ.สามารถติดตั้งโปรแกรมจากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ และหากมีปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อห้องสมุดได้ สามารถทำได้โดยการ สร้างรูปแบบขึ้นใหม่ หรือ edit style จากรูปแบบที่ใช้อยู่ให้เป็นภาษาไทย ปรับปรุง เพิ่มเติมส่วนที่ต้องการแสดงผล แต่ถ้ารายการอ้างอิงมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เมื่อนำรูปแบบที่ สร้าง หรือ edit ใหม่ไปใช้ ก็จะกระทบถึงรูปแบบของภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นการแก้รูปแบบ ถ้าเป็นไปได้ ควรแก้ในไฟล์ที่เป็น text แต่ในกรณีของระบบ iThesis จะทำให้เกิดปัญหาการส่งขึ้นระบบ cloud ระบบ iThesis หรือ eThesis คือระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เริ่มตั้งแต่การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ การส่งผลงาน กระบวนการตรวจสอบการคัดลอก (plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และ Turnitin ไปจนถึงการนำวิทยานิพนธ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ออกเผยแพร่ รวมทั้งจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบการคัดลอกต่อไปในอนาคต การสมัครแอดไลน์กับห้องสมุดฯ สามารถทำได้ โดยการแอดไลน์ Line ID : @sulib (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) จากนั้นดำเนินการใส่ข้อมูลตามขั้นตอน ที่สำคัญต้องมี Login and Password การใช้อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยนะคะ ข้อดี : หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3 หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปบางส่วนไว้ให้บริการ ดังนี้ https://www.facebook.com/photo/?fbid=4326879914065595&set=a.4311624932257760 ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของคลังปัญญา ฐานข้อมูลเฉพาะวิทยานิพนธ์ และรวมอยู่กับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น ๆ ดังนี้ คือ ************************************************ ************************************************ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University) 10. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 13. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository ************************************************ 1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) Advanced search ของ Scopus มีลักษณะการใช้ไม่เหมือนกับ advanced search ของฐานข้อมูลอื่น advanced search ของ scopus จะมีอยู่ในการสืบค้น document เท่านั้น วัตถุประสงค์ของ scopus ไม่ได้เพื่อการสืบค้นหา fulltext เพื่ออ่าน แต่เพื่อให้ผู้เขียน ดูข้อมูลวิจัยของตนเอง หรือเพื่อดูแนวโน้มของการวิจัย จะได้ fulltext ก็ต่อเมื่อ รายการใดสามารถ link ไปฐานข้อมูล Science Direct ที่บอกรับไว้/emerald ไม่ได้รวมใน scopus แนะนำว่า ถ้าต้องการค้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากหลายฐานข้อมูล ให้ใช้ที่ EDS One search แต่จะได้ข้อมูลมากกว่าซึ่งต้องพิจารณาว่ารายการใดมาจากฐานข้อมูลใด หอสมุดฯ ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดังตัวอย่าง 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สำหรับการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร หอสมุดฯ ขอแนะนำ ฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์และคลังปัญญา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ในประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 5.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 6.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 7.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 9.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 10.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University) 11.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 12.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 13.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 14.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center 15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository 16.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี: e-Thesis DRU มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 17.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search) 18.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ 19.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ 20.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ https://liberty.udru.ac.th/liberty/libraryHome.do (สืบค้นจากเมนู Advance Search) 21.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 22.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา: ระบบฐานข้อมูลวิจัยและบริการวิชาการ 24.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ 25.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ เราสามารถสืบค้นฐานข้อมูล ProQuest แบบฟรี Open Access ได้จาก เพราะมหาวิทยาลัยบางแห่งมีงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลและวารสารในฐานข้อมูล เพิ่มเติมจากที่ สป.อว. บอกรับให้ มศก. ใช้ฐานข้อมูลที่ สป.อว. จัดซื้อให้ และที่ มศก.จัดซื้อเอง ได้แก่ Jstor และ Artstor เมื่อต้องการดูว่า มีวารสารอะไรบ้างในแต่ละฐานข้อมูลให้คลิกที่เมนู Publications หรือ Browse ของแต่ละฐานข้อมูล จะมีรายชื่อวารสพร้อมกับข้อมูลของวารสารว่า เป็นวารสารที่ subscribe หรือไม่ หรือเป็น OA ใช้ฐานข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น One Search ในการหาข้อมูลบทความวิจัยจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ ที่หอสมุดมีให้บริการ โดยเข้าใช้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ ฐานข้อมูล Academic Search Ultimate ฐานข้อมูล ScienceDirect ฐานข้อมูล Emerald เป็นต้น ผ่านเมนูฐานข้อมูลออนไลน์ของหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ http://www.snc.lib.su.ac.th/libsnc/index.php/online-databases/ สำหรับภาษาไทยแนะนำฐานข้อมูล ThaiLIS, SURE, CUIR เป็นต้น สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ หรือ https://tdc.thailis.or.th/tdc/หากไม่พบ สามารถส่งคำขอมาได้ที่อีเมล sus.ref2011@gmail.com ทางหอสมุดฯ จะดำเนินการสืบค้นให้ หากพบในฐานข้อมูลเปิดจะดำเนินการดาวน์โหลดและส่งให้ทันที หากไม่พบในฐานข้อมูลเปิด จะประสานงานสอบถามไปยังห้องสมุดในความร่วมมือฯ ว่าที่ใดมีบริการเพื่อทำการยืมระหว่างห้องสมุดฯ ต่อไป SURE : Silpakorn University Repository คือ คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Repository : SURE) เป็นคลังจัดเก็บและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งผลงานทางศิลปะของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากรในรูปแบบดิจิทัล เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และเป็นการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เป็นที่ประจักษ์ในแวดวงวิชาการทั่วโลก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/ ตรวจสอบการเข้าใช้ ebook ของ EBSCO พบว่า ไม่สามารถ download offline หรือไม่สามารถยืมตัวเล่มออกจากระบบได้ โดยระบบแจ้งว่า ให้ผู้ใช้บริการเปิดอ่านโดยการเปิด PDF แทน และจะแจ้งบริษัทตรวจสอบให้ต่อไป การตรวจสอบจากรายชื่อของวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Jstor ใช้เมนู Browse เลือกสืบค้นตามชื่อวารสาร หรือสาขาวิชาของวารสาร ให้ใช้ฐานข้อมูล ProQuest (https://search.proquest.com/index) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ในต่างประเทศ ที่สามารถ download เอกสารฉบับเต็มได้ หากใช้จากภายนอกมหาวิทยาลัยจะต้องสืบค้นผ่าน VPN (ศึกษาวิธีการติดตั้งได้จาก http://www.snc.lib.su.ac.th/snclib/index.php/su-vpn/ ผู้ใช้บริการสามารถใช้ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชนของสำนักหอสมุดได้ โดยใช้ username : SU และ Password : su201204 ฐานข้อมูล Scopus เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ครอบคลุมเนื้อหาทุกสาขาวิชา ไม่มีเอกสาร หากผู้ใช้บริการมีข้อซักถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 22726 (ภายใน) หรือ 0-3424-1513 นักศึกษาสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลของสำนักพิมพ์มติชนได้ โดยการเข้าใช้ที่ http://www.matichonelibrary.com/ แล้วเข้าสู่ระบบโดยใช้ username/password ที่หอสมุดฯมีให้ (กรุณาติดต่อโดยตรงที่งานบริการสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารหอสมุดฯ) ภาษาไทย ค้นจากฐานข้อมูล TDC (http://newtdc.thailis.or.th/index.aspx), CUIR (https://cuir.car.chula.ac.th/) , SU Thesis Online (http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/) และ Dspace ของบัณฑิตวิทยาลัย (http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php) ส่วนภาษาอังกฤษค้นจาก ProQuest (https://search.proquest.com/pqdtglobal/index) (ฐานข้อมูล ProQuest ค้นได้เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย) ผู้ใช้บริการสามารถค้นหางานวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้โดยใช้ ฐานข้อมูล SU Thesis Online (http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/) โดยสืบค้นได้จากสาขาวิชาที่ต้องการ หรือใช้คำค้นที่ต้องการ นอกจากนั้นฐานข้อมูลนี้ยังสามารถสืบค้นจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้ด้วย การสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฐานข้อมูล ProQuest ฐานข้อมูล ScienceDirect เป็นต้น ผู้ใช้บริการจะต้องติดตั้งโปรแกรม VPN ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนแล้วจึงเข้าเว็บไซต์ของหอสมุดฯ เข้าใช้ฐานข้อมูลที่ต้องการสืบค้นยกเว้นฐานข้อมูล ProQuest ไม่สามารถเข้าใช้นอกมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ ใช้ฐานข้อมูล ProQuest (https://search.proquest.com/pqdtglobal/index) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมดุษฎีนิพนธ์ (Dissertations) และวิทยานิพนธ์ (Theses) ที่ตีพิมพ์ในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งมี บทความ (Articles) ที่มีการ Peer Review แล้วด้วย ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูล ProQuest โดยไม่ต้องใช้ Username/Password แต่ต้องใช้ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น ผู้ใช้บริการมีข้อซักถามในการใช้ฐานข้อมูล ติดต่อได้ทาง email: sus.ref2011@gmail.com หรือ โทร.0-3424-1513 เมื่อค้นพบ E-book ที่ต้องการอ่านในระบบ EBSCO ผู้ใช้ฯสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยใช้คำสั่ง Save Page ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ได้สูงสุดครั้งละ 100 หน้า แนะนำให้สืบค้นก่อนจาก Thai Article Index แล้วจดรายละเอียดของบทความ หาเลขรหัสประจำวารสารและไปหยิบตัวเล่มที่งานบริการวารสาร ฐานข้อมูลที่ใช้ในการหาวรรณกรรมหรือ Review Literature เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ สามารถใช้ได้หลายฐานข้อมูล เช่น ScienceDirect, Academic Search, Education Research Complete, ProQuest หรือสืบค้นผ่าน EDS One Search ก็จะสามารถหาได้จากฐานข้อมูลเกือบทุกฐานข้อมูลที่หอสมุดฯมีให้บริการ ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตว่า ใช้เครือข่ายใด ต้องแน่ใจว่าใช้ SU WIFI (ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งในหอสมุดฯ สามารถใช้ Wifi ได้หลายเครือข่าย เช่น SU BB ซึ่งไม่สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้) นักศึกษา ต้องติดตั้ง vpn จากเว็บไซต์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยทำตามคู่มือที่ศูนย์คอมฯมีให้ และต้องติดตั้งให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ เช่น ใช้ Window 8 ให้ทำตามคู่มือ http://www.netserv.su.ac.th/manual/vpn/Manual_VPN_Win8_8.1_10.pdf เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงทดสอบว่า สำเร็จหรือไม่ โดยเข้าเว็บไซต์ห้องสมุด และเรียกใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วจึงสังเกตว่าหน้าแรกของฐานข้อมูลมีชื่อ silpakorn university หรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าไม่สามารถ download fulltextได้ บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูล 2ebook ของสำนักหอสมุดฯ ได้ เนื่องจากการสมัครสมาชิกต้องดำเนินการภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้ เมื่อค้นบทความที่ต้องการจาก Google Scholar แล้ว เลือก import into endnote save fileแล้วคลิก ^ แล้ว open จะ import เข้าสู่ Library ของ EndNote ที่เปิดไว้ทันที หากพยายามค้นจาก แหล่ง Open Access ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถหาได้ ให้ส่งรายละเอียดของ เบื้องต้นสามารถตรวจสอบจาก WebOPACของห้องสมุดก่อน ด้วยการนำเอาชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ไปสืบค้นจาก opac ของห้องสมุด สำหรับในกรณีนี้ พบว่า มีหลายรายการที่ทำรายการอ้างอิงผิดพลาด ข้อมูลไม่ถูกต้อง จะต้องแจ้งให้นักศึกษาทราบ และบอกว่า หากต้องการใช้อ้างอิงต่อ ควรไปหาตัวเล่มและทำการอ้างอิงใหม่ ให้ถูกต้อง สำคัญอยู่ที่คำค้นของเราว่า เลือกใช้คำค้นเหมาะกับเรื่องที่เราต้องการหรือเปล่า ถ้าภาษาไทย ก็ใช้ ThaiLIS หรือ CUIR ถ้าภาษาอังกฤษ ก็ค้นผ่าน One search ก็ได้ มันครอบคลุม หรือออกไปใช้ Google Scholar ถ้าเราเน้นที่เนื้อหางานก็ไม่น่าต้องระบุชื่อวารสาร หรือเว็บไซต์ 1) ฐานข้อมูลคือ แหล่งจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งเป็น E-Article, E-book, E-Magazine เป็นต้น ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ค้นได้ง่าย โดยใช้ keyword การค้นคล้ายกับ Google ส่วนเนื้อหามีทุกสาขาวิชา ตามแต่ว่าฐานข้อมูลนั้นจะเน้นสาขาวิชาใด ให้ค้นจาก OPAC โดยใช้หัวเรื่อง ภาษาอังกฤษ การศึกษาและการสอน หากต้องการค้นดุษฎีนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ ให้ใช้ฐานข้อมูล ProQuest โดยสามารถใช้จากเครื่องบริการของหอสมุดฯ โดยใช้ Advanced Search พิมพ์ English Language และ Teaching method แล้วจึง Search 1) กรณีใช้โน๊ตบุ๊คอยู่นอกมหาวิทยาลัย จะต้องลงทะเบียนโน๊ตบุ๊คก่อน โดยให้หาค่า Mac Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนที่ศูนย์คอมฯ อธิบายไว้ และเปิดหน้าสำหรับลงทะเบียน ดำเนินการตามขั้นตอนที่แจ้งไว้ในคู่มือของศูนย์คอมฯ ก่อนลงทะเบียนจะต้องสมัครสมาชิก SUNet ให้ได้ก่อนด้วย ส่วนการที่ไม่สามารถ download fulltext จากฐานข้อมูลได้นั้น มีสาเหตุอยู่ 3 ประการ คือ 1) ใช้ฐานข้อมูลอยู่ภายนอก SUNet ให้สังเกตว่า ถ้าเปิดฐานข้อมูลแล้ว ข้อความต้อนรับที่มักจะมีอยู่ที่มุมบนด้านซ้ายของหน้าหลักของฐานข้อมูล ข้อความต้อนรับต้องเป็น Silpakorn University หากยังไม่ได้เข้าใช้ผ่าน SUNet ได้ จะมีข้อความต้อนรับเป็น Guest ซึ่งจะไม่สามารถเปิด fulltext ได้ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย จะต้องใช้ผ่านในเครือข่ายมหาวิทยาลัยศิลปากร และต้องมี username / password ในการเข้าเครือข่าย ในกรณีที่นักศึกษาต้องการใช้ฐานข้อมูลฯ จากนอกเครือข่าย (เช่น ที่บ้าน ที่หอพัก) จะต้องทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ (http://www.netserv.su.ac.th/manual/vpn/web_VPN.pdf) หากมีปัญหาอย่างไร รบกวนแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ศึกษาและแก้ปัญหาต่อไป เป็นฐานข้อมูลสหสาขาวิชาและครอบคลุมทุกสาขาวิชา ได้แก่ มานุษยวิทยา ดาราศาสตร์ ชีววิทยา เคมี วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมศาสตร์ การศึกษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย วัสดุศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี เภสัชศาสตร์ ฟิสิกส์ จิตวิทยา ศาสนาและเทววิทยา สัตวแพทยศาสตร์ สตรีศึกษา สัตววิทยา และสาขาอื่นๆ โดยมีจำนวนวารสารที่มีข้อมูลฉบับเต็มมากกว่า 8,500 ชื่อเรื่อง ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 หอสมุดฯ สำรวจพบว่า หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตวารสาร แล้วกระจายอยู่ในกลุ่ม 1- 3 กลุ่มที่ 1 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป โดยพิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักทุกข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันไม่ต่ำกว่า 16 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus และ/หรือ Web of Science กลุ่มที่ 2 เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI อยู่ในฐานข้อมูล TCI แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ พิจารณาจากวารสารที่ผ่านเกณฑ์หลักบางข้อ และมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกัน 10 คะแนนขึ้นไป (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) กลุ่มที่ 3 เป็นวารสารที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพ และอาจไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI ในอนาคต พิจารณาจากวารสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์หลัก หรือมีคะแนนในเกณฑ์รองรวมกันต่ำกว่า 10 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) หรือไม่ส่งข้อมูลเพื่อขอรับการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนด วารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 สามารถขอรับการประเมินใหม่ เพื่อปรับกลุ่มคุณภาพได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 กลุ่ม 1 ได้แก่ 2. Science, Engineering and Health Studies 3. ดำรงวิชาการ Damrong: Journal of the Faculty of Archaeology 4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University Journal) 5. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University) 6. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย (NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture) 7. Humanities, Arts and Social Sciences Studies: ออกในนาม Silpakorn University กลุ่ม 2 ได้แก่ 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal) 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Education, Silpakorn University) 4. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม (NAJUA: Architecture, Design and Built Environment) 5. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences กลุ่ม 3 ได้แก่ วารสารน้องใหม่ ได้แก่ หากท่านใดพบว่า มีวารสารที่ผลิตในหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มเติมจากนี้ แจ้ง “พี่พร้อม” เพื่อปรับปรุงข้อมูลได้นะคะ https://www.facebook.com/photo/?fbid=390406566607493&set=a.390392296608920 (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565) หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของสถาบัน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยบางส่วนไว้ให้บริการดังนี้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4917136611706586&type=3 หอสมุดฯ ได้มีการรวบรวมฐานข้อมูล คลังวิทยานิพนธ์ งานวิจัยและบทความวิจัยแบบเปิด (Open Access) ของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปบางส่วนไว้ให้บริการ ดังนี้ https://www.facebook.com/photo/?fbid=4326879914065595&set=a.4311624932257760 ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งมีทั้งอยู่ในรูปแบบของคลังปัญญา ฐานข้อมูลเฉพาะวิทยานิพนธ์ และรวมอยู่กับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น ๆ ดังนี้ คือ ************************************************ ************************************************ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University) 10. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 12. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 13. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center 14. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository ************************************************ 1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) หอสมุดฯ ขอแนะนำฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาเอกชนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดังตัวอย่าง 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ: บริการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 3. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน: ระบบสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยชินวัตร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร 6. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อิเล็กทรอนิกส์ (DPU e-Theses) 7. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 8. มหาวิทยาลัยพายัพ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยพายัพ 9. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คลังสืบค้นงานวิจัยพระพุทธศาสนากับสหวิทยาการเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม MCU Research Archive (MRA) 10. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: ผลงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 11. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 12. มหาวิทยาลัยศรีปทุม: คลังข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 13. มหาวิทยาลัยสยาม: ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม 14. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: คลังข้อมูลนักวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar) 15. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ: 16. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ: คลังข้อมูลดิจิทัล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 17. มหาวิทยาลัยเกริก: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) มหาวิทยาลัยเกริก 18. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์: ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 22. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์: คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 23. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: คลังสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 24. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: คลังข้อมูลทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT): ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สำหรับการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร หอสมุดฯ ขอแนะนำ ฐานข้อมูลงานวิจัย สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์และคลังปัญญา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ในประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ฐานข้อมูลคลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 5.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 6.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 7.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: คลังสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 9.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 10.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (The Wisdom Bank University) 11.มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 12.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 13.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร: ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 14.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต: ระบบค้นหางานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Suan Dusit University Research Center 15.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี: SRU Intellectual Repository 16.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี: e-Thesis DRU มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 17.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search) 18.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ 19.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ 20.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ https://liberty.udru.ac.th/liberty/libraryHome.do (สืบค้นจากเมนู Advance Search) 21.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา: ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 22.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา: ระบบฐานข้อมูลวิจัยและบริการวิชาการ 24.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ 25.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ: ฐานข้อมูลผลงานวิชาการ เราสามารถสืบค้นฐานข้อมูล ProQuest แบบฟรี Open Access ได้จาก หากพยายามค้นจาก แหล่ง Open Access ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถหาได้ ให้ส่งรายละเอียดของ Article ที่ต้องการมาที่งานบริการสารนิเทศ email: sus.ref2011@gmail.com จะประสานงานไปยังสถาบันอื่น ๆ ที่อาจตรวจสอบให้ได้ OpenAthens ใช้เพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลางจากภายนอกเครือข่าย โดย Login ด้วยรหัสการใช้งานอินเทอร์เน็ต (SU-Net) ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง VPN สามารถติดต่องานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยศิลปากร สำนักหอสมุดกลาง ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในวัน เวลา ราชการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หรือ หาจากหนังสือรุ่น หรือรายงานประจำปีของคณะฯ ที่มีให้บริการบนชั้นหนังสือปกติได้ เช่น อักษรศาสตร์ 2516 LG395.ท9ศ6 อ625 c.2 / 25 ปี อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร LG395.ท9ศ6 ย654 c.2 เป็นต้น วารสารฉบับล่วงเวลา ฉบับที่ยังไม่ได้เย็บเล่ม สามารถติดต่อขอยืมใช้ได้ที่ เจ้าหน้าที่บริการวารสาร ชั้น 3 อา
Academic journal (6)
Audiovisual Service (1)
Citation & reference (26)
2. เขียนคำว่า “Personal Communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
พัชรี เวชการ, 2555, หน้า 15)
พัชรี เวชการ, 2555, หน้า 26)
Counter Service (15)
E-book (5)
Windows และ Macintosh
E-Journal (1)
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
EndNote (95)
สำหรับบรรณานุกรมให้ใส่ชื่อ – สกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค , ตามด้วยฐานันดรศักดิ์ สามารถแก้ไขได้ ซึ่งวิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เหมาะกับบทความ ที่มีการอ้างอิงผู้แต่งคนไทยเท่านั้น และใช้โปรแกรม Endnote 21 โดยมีวิธีการ ดังนี้
หากไม่มลมีอีเของมหาวิทยาลัยศิลปากร (xxxx@su.ac.th / xxx@silpakorn.edu) ไม่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม EndNote ได้
1. เปิด Library หลัก ที่คุณต้องการนำเข้ารายการอ้างอิงจากรายการอ้างอิงจาก Library อื่นเข้ามาไว้
2. จากเมนู File เลือก Import > File
3. คลิก Choose… (เลือกไฟล์ Library.enl อื่น) ที่ต้องการรวม
4. คลิกเลือกรายการ Import Options เลือก EndNote Library
5. เลือกตัวเลือกจากรายการ Duplicates: … / Discard Duplicates / Import All ตามความซ้ำที่ต้องการให้นำเข้าฯ
6. เลือกตัวเลือก Text Translation …
7. คลิก Import
2. เขียนคำว่า “Personal Communication” หรือ “การสื่อสารส่วนบุคคล” ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เว้นหนึ่งระยะ แล้วใส่ เดือน วัน, ปี สำหรับรายการภาษาอังกฤษ หรือใส่ วัน เดือน ปี สำหรับรายการภาษาไทย ทั้งหมดอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ ( )
Fulltext download (13)
1. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากห้องสมุดวิจัยและมหาวิทยาลัยในยุโรป จำนวน 124 แห่ง: https://www.dart-europe.org/basic-search.php
2. คลังวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษประกอบ: http://www.theses.fr/
3. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ: https://www.dissertations.se
4. ดุษฎีนิพนธ์มากกว่า 500,000 รายการ จากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร: https://ethos.bl.uk
5. วิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์: https://www.researchinformation.info/product/index-theses
6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานเขียนของมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนมากกว่า 112,000 รายการ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ฟรี และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์: https://www.essays.se/
7. ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bielefeld ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 100 ล้านฉบับจากแหล่งข้อมูลมากกว่า4,000 แห่ง เนื้อหา 60% เป็นการเข้าถึงแบบเปิด: https://www.base-search.net/
8. ดรรชนีสิ่งพิมพ์ทางด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี: https://dblp.org
9. คลังปัญญาของ University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ จัดเก็บงานวิจัย วิทยานิพนธ์รวมถึงบทความในวารสารทางวิชาการที่ผ่านการ peer review งานประชุมทางวิชาการ: https://www.ucd.ie/library/
10. ฐานขัอมูล ePublications ของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Maynooth ประเทศไอร์แลนด์: http://mural.maynoothuniversity.ie/1233/
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: https://cuir.car.chula.ac.th
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://cmuir.cmu.ac.th
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUTIR): http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: TU Digital Collections มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend
6. มหาวิทยาลัยนครพนม: คลังปัญญา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม: http://arc.npu.ac.th/web/index.php?page=theses
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
8. มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม รวมอยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา: https://webopac.lib.buu.ac.th
9. มหาวิทยาลัยพะเยา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา: http://www.updc.clm.up.ac.th
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: https://library.msu.ac.th
11. มหาวิทยาลัยมหิดล: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้: https://library.mju.ac.th/mjudc
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: http://lib.swu.ac.th
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank): https://kb.psu.ac.th/psukb
15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Thesis) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: https://library.stou.ac.th/2020/09/library-stou-e-thesis
16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: คลังวิทยานิพนธ์เเละงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research
17. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA: Wisdom Repository): https://repository.nida.ac.th
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร: http://www.sure.su.ac.th
http://ethesis.kru.ac.th/
http://kmresearch.crru.ac.th/
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
https://aritopac.npru.ac.th/
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
http://research.pcru.ac.th/rdb/
http://202.29.22.167/~thesis/thesis/
https://wb.yru.ac.th/
http://thesis.rru.ac.th/
http://www.etheses.rbru.ac.th/
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
http://eresearch.dusit.ac.th/…/ResearchMainSearch.aspx
http://www.ir.sru.ac.th/
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
ดูได้ที่ https://www.facebook.com/suslibrary/photos/4282131028540484
Interlibrary Loan (7)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุดกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ฝ่ายห้องสมุด โครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หอสมุดศิริราช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Interlibrary loan Service (14)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักหอสมุดกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
ฝ่ายห้องสมุด โครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หอสมุดศิริราช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอสมุดจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ISBN (14)
ISSN (1)
iThesis (5)
Line (1)
Online database & Data search (38)
1. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากห้องสมุดวิจัยและมหาวิทยาลัยในยุโรป จำนวน 124 แห่ง: https://www.dart-europe.org/basic-search.php
2. คลังวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษประกอบ: http://www.theses.fr/
3. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ: https://www.dissertations.se
4. ดุษฎีนิพนธ์มากกว่า 500,000 รายการ จากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร: https://ethos.bl.uk
5. วิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์: https://www.researchinformation.info/product/index-theses
6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานเขียนของมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนมากกว่า 112,000 รายการ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ฟรี และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์: https://www.essays.se/
7. ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bielefeld ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 100 ล้านฉบับจากแหล่งข้อมูลมากกว่า4,000 แห่ง เนื้อหา 60% เป็นการเข้าถึงแบบเปิด: https://www.base-search.net/
8. ดรรชนีสิ่งพิมพ์ทางด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี: https://dblp.org
9. คลังปัญญาของ University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ จัดเก็บงานวิจัย วิทยานิพนธ์รวมถึงบทความในวารสารทางวิชาการที่ผ่านการ peer review งานประชุมทางวิชาการ: https://www.ucd.ie/library/
10. ฐานขัอมูล ePublications ของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Maynooth ประเทศไอร์แลนด์: http://mural.maynoothuniversity.ie/1233/
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: https://cuir.car.chula.ac.th
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://cmuir.cmu.ac.th
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUTIR): http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: TU Digital Collections มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend
6. มหาวิทยาลัยนครพนม: คลังปัญญา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม: http://arc.npu.ac.th/web/index.php?page=theses
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
8. มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม รวมอยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา: https://webopac.lib.buu.ac.th
9. มหาวิทยาลัยพะเยา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา: http://www.updc.clm.up.ac.th
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: https://library.msu.ac.th
11. มหาวิทยาลัยมหิดล: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้: https://library.mju.ac.th/mjudc
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: http://lib.swu.ac.th
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank): https://kb.psu.ac.th/psukb
15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Thesis) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: https://library.stou.ac.th/2020/09/library-stou-e-thesis
16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: คลังวิทยานิพนธ์เเละงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research
17. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA: Wisdom Repository): https://repository.nida.ac.th
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร: http://www.sure.su.ac.th
http://ethesis.kru.ac.th/
http://kmresearch.crru.ac.th/
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
https://aritopac.npru.ac.th/
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
http://research.pcru.ac.th/rdb/
http://202.29.22.167/~thesis/thesis/
https://wb.yru.ac.th/
http://thesis.rru.ac.th/
http://www.etheses.rbru.ac.th/
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
http://eresearch.dusit.ac.th/…/ResearchMainSearch.aspx
http://www.ir.sru.ac.th/
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
ดูได้ที่ https://www.facebook.com/suslibrary/photos/4282131028540484
http://ethesis.kru.ac.th/
http://kmresearch.crru.ac.th/
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
https://aritopac.npru.ac.th/
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
http://research.pcru.ac.th/rdb/
https://opac.rmu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://wb.yru.ac.th/
http://thesis.rru.ac.th/
https://etheses.rbru.ac.th/
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
http://eresearch.dusit.ac.th/
http://www.ir.sru.ac.th/
http://cms.dru.ac.th/jspui/
https://opac.vru.ac.th/Search_Basic.aspx (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/op https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl ac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://library.nrru.ac.th/aritnrru/?page_id=223.E-Book มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
https://arit.skru.ac.th/bdetail_accept.php?db_id=1002
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
ฉบับเต็ม แต่จะมีการเชื่อมโยงไปหาเอกสารฉบับเต็มให้ ประโยชน์ของฐานข้อมูล Scopus จะใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทั้งในส่วนของตัวนักวิจัย ภาควิชา คณะวิชา และมหาวิทยาลัย ว่าทำผลงานไว้เพียงใด หรือเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จะมีสถานะเป็นอย่างไร ผลการวิเคราะห์สามารถแสดงทั้งในรุูปของข้อมูล กราฟ รูปภาพ ทำให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ใช้สามารถนำไปอ้างได้ว่ามีสถานะผลงานการวิจัยอย่างไร ในส่วนของการตรวจสอบรายชื่อวารสารที่ต้องการทราบค่า Quartile หรือค่า Q สามารถใช้ได้ที่ SJR Scimago Journal & Country Rank (https://www.scimagojr.com/)
Article ที่ต้องการมาที่งานบริการสารนิเทศ sus.ref2011@gmail.com จะประสานงานใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดต่อไป
2) การใช้ฐานข้อมูล Science Direct ให้ค้นด้วยการใช้ Quick Search หรือจำกัดการสืบค้นด้วย Advanced Search โดยใช้ keyword ในเรื่องที่นักศึกษาต้องการจะทำ Project
2) ติดตั้ง VPN โดยเปิดหน้าคู่มือการลง VPN การ download VPN ให้ทำตามขั้นตอนของศูนย์คอมฯ
3) เปิด website ของหอสมุดฯ ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้ตามต้องการ
2) เอกสารที่จะเปิดนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ได้บอกรับ
3) เอกสารที่จะเปิดนั้น เป็นเอกสารที่ไม่ได้อยู่ในช่วงปีที่ฐานช้อมูลอนุญาตให้ใช้ fulltextได้
Open Access (8)
ของ TCI หรือ Thai-Journal Citation Index Centre หรือ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย นอกจากนี้ ยังมีวารสารน้องใหม่อีก 1 ชื่อ ดังนี้
1. ไทยไภษัชยนิพนธ์ (Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะเภสัชศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research and Development Institute (SURDI)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะโบราณคดี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะอักษรศาสตร์
หมายเหตุ: เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา (Journal of Arts and Thai Studies : ARTS) ตั้งแต่ปีที่ 44 ฉบับที่ 1มกราคม-เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นฉบับแรก จึงยังไม่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูล TCI
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: Silpakorn University Research, Innovation and Creativity Administration Office, Sanam Chandra Palace Campus
1. วารสารศิลป์ พีระศรี (Journal of Fine Arts)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะศึกษาศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: บัณฑิตวิทยาลัย
1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Journal of Educational Administration, Silpakorn University)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
1. วารสารวิชาการ DEC Journal
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อเดือนมกราคม – เมษายน 2565
1. ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มจากห้องสมุดวิจัยและมหาวิทยาลัยในยุโรป จำนวน 124 แห่ง: https://www.dart-europe.org/basic-search.php
2. คลังวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาเป็นภาษาฝรั่งเศส และมีบทคัดย่อภาษาอังกฤษประกอบ: http://www.theses.fr/
3. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ: https://www.dissertations.se
4. ดุษฎีนิพนธ์มากกว่า 500,000 รายการ จากสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร: https://ethos.bl.uk
5. วิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์: https://www.researchinformation.info/product/index-theses
6. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานเขียนของมหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดน ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จำนวนมากกว่า 112,000 รายการ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ฟรี และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกสัปดาห์: https://www.essays.se/
7. ฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Bielefeld ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีเอกสารมากกว่า 100 ล้านฉบับจากแหล่งข้อมูลมากกว่า4,000 แห่ง เนื้อหา 60% เป็นการเข้าถึงแบบเปิด: https://www.base-search.net/
8. ดรรชนีสิ่งพิมพ์ทางด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Trier ประเทศเยอรมนี: https://dblp.org
9. คลังปัญญาของ University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ จัดเก็บงานวิจัย วิทยานิพนธ์รวมถึงบทความในวารสารทางวิชาการที่ผ่านการ peer review งานประชุมทางวิชาการ: https://www.ucd.ie/library/
10. ฐานขัอมูล ePublications ของบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัย Maynooth ประเทศไอร์แลนด์: http://mural.maynoothuniversity.ie/1233/
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: https://cuir.car.chula.ac.th
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: http://cmuir.cmu.ac.th
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUTIR): http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: TU Digital Collections มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend
6. มหาวิทยาลัยนครพนม: คลังปัญญา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม: http://arc.npu.ac.th/web/index.php?page=theses
7. มหาวิทยาลัยนเรศวร: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace
8. มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม รวมอยู่ในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา: https://webopac.lib.buu.ac.th
9. มหาวิทยาลัยพะเยา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา: http://www.updc.clm.up.ac.th
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: https://library.msu.ac.th
11. มหาวิทยาลัยมหิดล: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.li.mahidol.ac.th/mahidol-e-theses
12. มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้: https://library.mju.ac.th/mjudc
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ (Thesis Online) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: http://lib.swu.ac.th
14. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU Knowledge Bank): https://kb.psu.ac.th/psukb
15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Thesis) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: https://library.stou.ac.th/2020/09/library-stou-e-thesis
16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: คลังวิทยานิพนธ์เเละงานวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research
17. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: คลังปัญญา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA: Wisdom Repository): https://repository.nida.ac.th
18. มหาวิทยาลัยศิลปากร: คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร: http://www.sure.su.ac.th
http://ethesis.kru.ac.th/
http://kmresearch.crru.ac.th/
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
https://aritopac.npru.ac.th/
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
http://research.pcru.ac.th/rdb/
http://202.29.22.167/~thesis/thesis/
https://wb.yru.ac.th/
http://thesis.rru.ac.th/
http://www.etheses.rbru.ac.th/
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
http://eresearch.dusit.ac.th/…/ResearchMainSearch.aspx
http://www.ir.sru.ac.th/
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
1.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: รวมงานวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ BU RESEARCH
dspace.bu.ac.th
http://www.lib.bsu.ac.th/index.php?option=com_content…
https://edoc.umt.ac.th/…/umtthesis/thesis/thesis_index.php
http://library.christian.ac.th/thesis/index.html
http://library.siu.ac.th/
https://lib.dpu.ac.th/page.php?id=6488
https://online.library.stamford.edu/…/handlenumbersearc…
http://opacbook.payap.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?idx=kw&q=PYUTHTH&op=or&idx=kw&q=PYUTHEN&op=or&idx=kw&q=PYUISTH&op=or&idx=kw&q=PYUISEN
www.mcuir.com
http://research.rpu.ac.th/?page_id=853
http://ethesis.vu.ac.th/vuOnlinethesis-ts/
http://dspace.spu.ac.th
https://e-research.siam.edu/
https://scholar.utcc.ac.th/
https://tdc.thailis.or.th/tdc/BrowseDataTable.php…
https://repository.au.edu/home
https://mis.krirk.ac.th/library/Kr_res.html
https://art.sau.ac.th/ngan-wicay-laea-bthkhwam-wichakar
https://dspace.rmutk.ac.th/xmlui/
http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/
https://repository.rmutp.ac.th/
http://repository.rmutr.ac.th/
https://www.repository.rmutsv.ac.th/
http://ir.rmuti.ac.th/xmlui/
http://203.159.12.58/ait-thesis/
ดูได้ที่ https://www.facebook.com/suslibrary/photos/4282131028540484
http://ethesis.kru.ac.th/
http://kmresearch.crru.ac.th/
http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/5
https://aritopac.npru.ac.th/
http://202.29.54.157/s/library/page/digital
http://dspace.bru.ac.th/xmlui/
http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/
http://research.pcru.ac.th/rdb/
https://opac.rmu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://wb.yru.ac.th/
http://thesis.rru.ac.th/
https://etheses.rbru.ac.th/
https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/
http://eresearch.dusit.ac.th/
http://www.ir.sru.ac.th/
http://cms.dru.ac.th/jspui/
https://opac.vru.ac.th/Search_Basic.aspx (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/op https://opac.pkru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl ac-search.pl (สืบค้นจากเมนู Advance Search)
https://library.nrru.ac.th/aritnrru/?page_id=223.E-Book มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
https://arit.skru.ac.th/bdetail_accept.php?db_id=1002
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
https://eresearch.cpru.ac.th/eresearch/findresearch.php
OpenAthens (1)
Others (31)