Tag Archives: ห้องสมุด

EdPEx

มีเรื่องอยากเล่าให้ฟังค่ะ … เมื่อเดือนที่แล้วมีคุณน้องจากแดนไกลถามว่า
คุณน้อง: EdPEx มา หนูทำไงดีพี่
คุณปอง: โอเปครวยดี โอแพคงงดี ส่วนอันนี้ท่าทางจะไม่ดี
คุณน้อง: หนูซีเรียสนะพี่
คุณปอง: แกจะตกใจอะไรนักหนาฮึ!
คุณน้อง: ตกใจดิเจ้ ก้อหนูจะตรวจประกันอยู่แล้ว
คุณปอง: อ้าวเรอะ …

Online Information and Education Conference

ทุกๆ ปี จะมีการสัมมนาเรื่อง Online Information and Education Conference โต้โผคือบริษัทบุ๊คโปรโมชั่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ที่ถือเป็นกิจกรรมคืนกำไรที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ เพราะเป็นการให้กำไรทางสติปัญญา เสียดายที่ปีนี้พวกเราติดการสัมมนาประจำปีของหอสมุดฯ ทำให้ไปไม่ได้ แต่โชคดีที่มี workshop ครึ่งวัน ส่วนเอกสารทั้งหลาย คงต้งไปหาและติดตามจากเว็บไซต์ของ ม.ราชภัฎสวนดุสิต…

สักวันหนึ่ง

มุมหนังสือเล็ก ๆ ภายในอาคารเอนกประสงค์ บ้านปิ่นเกลียว ม.1 ตำบลวังตะกู อ.เมือง จ.นครปฐม เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจ ของชาวบ้าน และผู้ใหญ่บ้าน ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ไว้ให้ประชากรชาวตำบลวังตะกูมีหนังสือได้อ่านกันเป็นประจำ จึงทำการขอบริจาคหนังสือจากหน่วยงานต่าง ๆ และจากผู้มีจิตศรัทธา ที่เล็งเห็นคุณค่าของหนังสือที่อ่านแล้วจะทิ้ง หรือจะขายชั่งกิโล ก็คงจะได้ไม่กี่สตางค์ สู่นำมาแบ่งปัน …

ไปฟังเรื่องนี้มา การสร้างแผนดำเนินธุรกิจห้องสมุดได้อย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต (Business Continuity Plan /BCP)

เรื่องนี้ไปพร้อมคุณใหญ่ ซึ่งคุณใหญ่เขียน blog ไว้แล้วที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=26867
ส่วนเรางุ่มง่ามหากวันใด หน.หอสมุดฯ ถามก็จะมีข้ออ้างด้วยการใส่ร้ายว่างานบุ๊คแฟร์เป็นเหตุ ทำให้ทำงานอย่างอื่นๆไม่ได้ ซึ่งพิจารณาด้วยสติแล้ว คิดว่าไม่ใช่เหตุผลน่าจะเป็นคำแก้ตัวมากกว่า เดชะบุญที่ได้เขียนรายงานการไปราชการแล้ว จึงคิดว่าน่าจะขยายต่อในอีกมุมหนึ่งที่คุณใหญ่ไม่ได้เขียน
เพราะอ่านสองฉบับแล้ว งงว่าเราไปงานเดียวกันหรือปล่าวนี้ เรื่องนี้เป็นเหตุผลหนึ่งของมนุษย์ที่เราจะสนใจในส่วนที่เราสนใจ เราอยากให้คนอื่นรู้ในส่วนที่คนอื่นรู้ ดังนั้นโลกนี้จึงมีคนคิดว่าเราควรต้องมาแชร์ข้อมูลกัน จะได้เติมเต็มกันและกัน
งานที่ว่าจัดเมื่อวันที่ …

ปล่อยของดอง2 "ของดีต้องมีดอง"


ปล่อยของดองครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วนะครับ ถ้าจะถามว่าครั้แรกอยู่ไหน-เมื่อไหร่? ก็ต้องว่ากันไปตั้งแต่สมัยหัดเขียน blog ครั้งแรกๆโน่น
ครั้งนั้น อ.เอ๋ กับ อ.ก้อ เป็นผู้สอน (ดุมาก555) นักเรียนอย่างเราก็ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไรดี กลัวก็กลัว! องค์มันก็เยอะแต่ไม่รู้มันหลบไปไหนหมด หาไม่เจอ….เลย! นั่งอึ้งอยู่นาน พี่ปองมาเห็นก็เลยบอกว่า “เทพไม่รู้จะเขียนอะไร …

สมุดไทย สมุดฝรั่ง ต่างมาพบกันที่..??

ในยุคที่เรายังไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นตัวหนังสือนั้น มนุษย์ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวด้วยวิธีจากปากต่อปากสืบต่อๆกันมา หรือเรียกว่า “มุขปาฐะ” จนกระทั่งริเริ่มคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ แล้วหาวิธีการและวัสดุที่จะนำมาใช้ในการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เริ่มตั้งแต่จารึกไว้บนแผ่นหิน แผ่นไม้ ใบไม้จนพัฒนามาเป็นกระดาษที่ใช้กันทุกวันนี้
สำหรับของไทยเรานั้นก็เริ่มจากศิลาจารึกในยุคของพ่อขุุนรามคำแหงในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยาก็เริ่มมีการจารึกลงใบลานและสมุดข่อย ซึ่งเป็นกระดาษที่ทำจากต้นข่อย ทำเป็นแผ่นยาวๆหน้าแคบ แล้วพับทบไปมาคล้ายผ้าจีบแล้วจารึกเรื่่องราวต่างๆด้วยลายมือเขียน เรื่่องที่จารึกนั้นมีทั้งพงศาวดาร ตำรายา คาถา บทสวดต่างๆ โคลง ฉันท์

เชียงใหม่ก็ประทับใจ เชียงรายก็ประทับจิต

จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานห้องสมุด ม.เชียงใหม่ กับม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายเมื่อปลายเดือนกุมภาที่ผ่านมานั้น สำหรับฉันถือว่าเป็นการได้ไปเยี่ยมเยือนบ้านเพื่อนในแวดวงอาชีพเดียวกัน ได้ไปเห็นกับตาบ้างว่า บ้านเขากับบ้านเรามีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไรบ้าง นับเป็นครั้งแรกในชีวิตการทำงานที่ได้ไปในครั้งนี้ (ที่มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง)
เชียงใหม่นั้นเปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคเหนือ บริเวณมหาวิทยาลัยกว้างขวาง สำนักหอสมุดก็มีพื้นที่กว้าง แต่สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้ายบอกแต่ละพื้นที่การให้บริการชัดเจนเห็นง่าย มีบุคลากรเป็นร้อยเช่นกัน
ส่วน  ม.แม่ฟ้าหลวงภูมิทัศน์ด้านหน้ามหาวิทยาลัยสวยงามมาก ในส่วนของห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารฯ) ก็กว้างพอสมควร …

Previous Posts Next posts

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร