การเก็บเกี่ยวกระชาย

26 February 2018
Posted by Karuna Srijareon

คราวที่แล้วดิฉันได้เขียนถึงเรื่องการปลูกกระชายกันไปแล้ว ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเก็บเกี่ยวกระชายกันค่ะ
กระชายเมื่อปลูกได้ประมาณ 7-8 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ โดยดูจากใบที่เริ่มมีสีเหลือง ลำต้นจะมีสีเหลือง กระชายจะมีทั้งกระชายเก่าและกระชายใหม่ สังเกตได้ดังนี้

กระชายใหม่ กระชายเก่า
ระยะเวลานับจากปลูกประมาณ 1 ปี เกิน 1 ปีขึ้นไป
ลำต้นและใบ มีสีเหลือง แต่ยังยึดติดกันระหว่างลำต้นกับกอ ลำต้นต้นแห้งยุบไปกับดิน
ราก/กอ จะเป็นสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง ยิ่งอ่อนมากผิวเปลือกจะหลุดลอกออกมา สีของกระชายจะเป็นสีเหลืองเข้ม
กลิ่นจะอ่อนกว่า กลิ่นเข้มข้นกว่า ฉุนกว่า

 
การเก็บเกี่ยว มี 2 แบบ คือ
แบบแรก การขุด โดยรดน้ำให้ดินชุ่มพอประมาณ ให้ลองเอาจอบขุดดู หากรดน้ำมากเกินไปดินจะแฉะทำให้ขุดยาก หากรถน้ำน้อยจะขุดไม่เข้า กระชายใหม่จะมีลำต้นอยู่ให้ตัดลำต้นทิ้งก่อนจากนั้นจึงขุดกระชายขึ้นมาโดยใช้จอบที่มีลักษณะโค้งเป็นตัวยูขุดระหว่างกอ จากนั้นงัดขึ้นมาเป็นก้อนแล้วจึงใช้จอบเคาะดินให้หลุดออกจากกอ กองรวมกันไว้ก่อน เมื่อได้จำนวนพอสมควรแล้วจึงค่อยมาแคะดินที่ยังติดกับกออยู่ออกโดยใช้ไม้แหลมๆช่วยและดึงรากฝอยออกให้หมด (ถ้าเป็นกระชายเก่าจะไม่มีรากฝอย) แล้วนำกอกระชายไปเรียงใส่ตะกร้าไว้ หรือใครสะดวกที่จะขุดไปแคะดินไปก็ได้ไม่ว่ากัน ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ส่วนรากที่ร่วงจากการขุด จะแยกใส่ถุงเอาไว้ เมื่อขุดได้สัก 2-3 วัน จะนำมาล้างน้ำให้สะอาดเพราะถ้าเก็บไว้นานดินที่ติดกับกอกระชายจะแห้งทำให้ล้างออกได้ยากและใช้เวลานาน ซึ่งต้องใช้น้ำที่มีความแรง (ส่วนใหญ่จะใช้ไดนาโม) ล้างทั้งกอกระชายและราก เมื่อล้างเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือตกแต่งกอกระชายให้เป็นกอ เช่น การเอารากฝอยที่ยังติดอยู่ออก ดึงหัวเหง้าเก่าออก การตัดหัวให้เรียบร้อย หักรากเล็ก ๆ ออก เป็นต้น
แบบที่สอง การฉีดน้ำ หรือที่เรียกว่าจี้กระชาย เป็นการใช้แรงดันน้ำแบบแรงฉีดรอบ ๆ กอกระชายเพื่อให้กอหลุดออกมาจากดิน จากนั้นล้างกอแบบคร่าวๆ แล้วจึงนำไปตัดลำต้นทิ้งให้เหลือติดหัวนิดหน่อยและดึงรากฝอยออก เรียงกอกระชายใส่ตะกร้า และเอารากที่ร่วงใส่ถุง เมื่อได้จำนวนพอสมควรจึงนำมาล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งล้างดินออกให้หมด และตกแต่งกอกระชาย  
 
จากประสบการณ์การทำกระชาย ทั้งสองวิธีมีข้อดีข้อเสีย ดังนี้

 
  ข้อดี ข้อเสีย
แบบขุด ·         เป็นการรักษาหน้าดิน เพราะการขุด ดินจะยังอยู่ที่บริเวณนั้น ไม่หายไปกับน้ำ
·         ไม่เหี่ยวง่าย เนื่องจากมีดินที่เกาะติดอยู่ช่วยรักษาความชุ่มชื้น
 
·         ใช้เวลานานในการขุดและล้างทำความสะอาด กว่าจะได้ 1 ตะกร้า ใช้เวลานานพอสมควร ยิ่งถ้าขุดไปแล้วเจอกระชายเน่าเยอะๆ เล่นเอาหมดแรงหมดกำลังไปเยอะเลย
·         เปลืองน้ำ เพราะใช้น้ำการล้างมาก ยิ่งเก็บไว้นานดินจะแห้งล้างออกยาก
 
แบบฉีดน้ำ ·         ใช้เวลาน้อย ได้กอกระชายเร็วขึ้น
·         ใช้เวลาล้างทำความสะอาดน้อย เนื่องจากล้างมาบางส่วนจากการจี้กอขึ้นจากดินแล้ว
·         การจี้แบบนี้เป็นการเสียหน้าดิน บางส่วน เนื่องจากดินไหลไปกับน้ำที่จี้
·         ระวังสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง ตะขาบ มด เป็นต้นที่หนีน้ำขึ้นมา เพราะน้ำเข้าไปท่วมที่อยู่ของสัตว์เหล่านั้น
·         ค่าไฟ/ค่าน้ำมัน เพราะใช้ไดนาโมในการจี้จึงมีค่าไฟฟ้าสูงขึ้น

การขาย สำหรับบ้านของดิฉัน จะมีพ่อค้ามารับกระชายถึงบ้าน ดิฉันเพียงแค่ใส่ตะกร้ารอ เมื่อพ่อค้ามาถึงก็ชั่งน้ำหนัก แล้วค่อยคิดราคาทีหลัง บางบ้านอาจจะจัดใส่ถุงเอง ซึ่งจะได้ราคาสูงขึ้น( เพราะไม่ต้องจ้างคนมาจัดใส่ถุง) ราคากระชายก็จะผันตามกระชายที่ขายได้ ถ้าในท้องตลาดมีกระชายออกมาจำหน่ายมาก ก็จะได้ราคาลดลง อย่างปีที่แล้วราคาถูกเพราะคนหันมาปลูกกระชายเป็นจำนวนมาก อยู่ที่12-20 บาท

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร