การรับคืนหนังสือทางตู้รับคืน

   
การรับคืนหนังสือทางตู้รับคืน  ตั้งแต่ผมมาทำงานปี พ.ศ. 2523 ก็ทราบว่ามีตู้รับคืนหนังสือให้บริการแล้ว โดยอดีตหัวหน้าหอสมุด (คุณมาลินี ศรีพิสุทธิ์) เป็นผู้ริเริ่มให้มีบริการรับคืนหนังสือผ่านตู้รับคืนเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถมาคืนหนังสือที่ห้องสมุดได้ด้วยตนเองจะได้ส่งคืนหนังสือที่ตู้รับคืนใกล้บริเวณที่ทำงานได้  ปัจจุบันก็ยังมีให้บริการตู้รับคืนหนังสือนี้อยู่
ตู้รับคืนหนังสือมีทั้งหมด 3 ที่ ได้แก่ หน้าหอสมุดด้านหน้า 1 ตู้ หน้าหอสมุดด้านข้าง (ย้ายมาจากหน้าไปรษณีย์) 1 ตู้ และคณะศึกษาศาสตร์ 2 ตู้
ทุกวันทำการเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์จะไปไขตู้รับคืนหน้าหอสมุดกับหน้าหอสมุดด้านข้าง เวลาประมาณไม่เกิน 9.30 น. ส่วนตู้รับคืนที่คณะศึกษาศาสตร์  จะมีเจ้าหน้าที่ธุรการของหอสมุดไปไขตู้รับคืนแล้วนำหนังสือมาให้เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ เวลาประมาณ 14.30 น.
ถ้าเป็นวันหยุดยาวจะมีผู้คืนหนังสือทางตู้รับคืนมากหน่อย หากเป็นวันธรรมดาหนังสือที่คืนทางตู้รับคืนมีน้อย
การคืนหนังสือที่ตู้รับคืนหนังสือ
หอสมุดฯ ได้ทำแบบกรอกส่งคืนหนังสือผ่านตู้รับคืน ดังตัวอย่าง
5
แบบกรอกข้อมูลหนังสือที่ส่งคืนทางตู้รับคืนจะมีรายการให้ผู้ใช้บริการเลือกขีด / ในช่องที่คืนหนังสือว่าคืนที่ไหน   ว/ด/ป (ที่ส่งคืนหนังสือ เวลา…………. ชื่อ-สกุล …………….   รหัส ……….. คณะ …………. แล้วกรอกในช่องลำดับเลขเล่มที่คืน ชื่อหนังสือ ……………. บาร์โค้ดหนังสือ…………….
พร้อมแจ้งระเบียบ-ข้อตกลงและถือปฏิบัติ
ด้านล่างสำหรับเจ้าหน้าที่กรอกข้อมูล ได้แก่ ผู้ไขตู้  เวลา ทำรับคืน (check in – Backdate) วันที่ ค่าปรับฯ จำนวน …. เล่ม เป็นเงิน ….. บาท ลงชื่อผู้รับคืน ………… ว/ด/ป ………
การรับคืนหนังสือทางตู้รับคืน

  1. ทุกวันทำการตอนเช้าเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์จะไขตู้รับคืนหนังสือหน้าหอสมุดและด้านข้างหอสมุด (เดิมอยู่หน้าไปรษณีย์)
  2. นำหนังสือที่ส่งคืนในตู้รับคืนนี้มาสแกนบาร์์โค้ดเพื่อรับคืนหนังสือ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในส่วนของเจ้าหน้าที่ด้านหลังเคาน์เตอร์ (ก่อนทำคืนต้องตรวจสภาพว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ หากพบชำรุดจะยังไม่ทำรับคืนต้องติดต่อผู้ยืมมาซักถามก่อน เมื่อชัดเจนว่าผู้ยืมทำชำรุดก็ให้เขียนใบแจ้งชำรุดเพื่อดำเนินการต่อไป)
  3. ก่อนสแกนรับคืนหนังสือต้องถอยวันที่รับคืนหรือที่เรียกว่า back date ไป 1 วัน ถ้าไขตู้รับคืนเช้าวันจันทร์แสดงว่าผู้ใช้อาจนำมาส่งในวันเสาร์-อาทิตย์ จะต้องถอยวันกำหนดส่ง (back date) ไป 2 วัน หรือต้องดูตามวันหยุดที่หยุดไปว่ามีกี่วันแล้วถอยไปให้ตรงกับวันทำงานวันสุดท้ายก่อนวันหยุด
  4. สแกนบาร์โค้ดรับคืนหนังสือทีละเล่มและประทับตรารับคืนที่ใบกำหนดส่งทุกเล่มจนหมด
  5. เมื่อรับคืนและประทับตรารับคืนหมดทุกเล่มแล้ว จะ print รายชื่อและรหัสผู้รับคืนพร้อมบาร์โค้ดและวันกำหนดส่ง มาติดในสมุดรับคืนหนังสือทางตู้รับคืน
  6. สำหรับผู้มีค่าปรับหนังสือส่งเกินกำหนด เงินค่าปรับจะปรากฏในระบบตามชื่อผู้ยืม ก็รอให้ผู้ใช้บริการมาติดต่อชำระค่าปรับ หรือบางทีผู้ใช้บริการอาจมาติดต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ และเจ้าหน้าที่พบข้อมูลว่ามีเงินค่าปรับหนังสือส่งเกินกำหนดก็จะแจ้งผู้ใช้บริการให้ชำระเงินค่าปรับฯ  หากเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งตามข้อตกลงในการทำงานแล้วผู้ใช้บริการยังไม่มาชำระค่าปรับเจ้าหน้าที่จะติดตามผู้ใช้บริการเหล่านี้มาชำระค่าปรับหนังสือต่อไป
  7. นำหนังสือไปสแกนรับคืนซ้ำที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน ตั้งสัญญาณและแยกตัวเล่มก่อนส่งขึ้นชั้น  (ถ้ารับคืนหนังสือและพบว่ามีผู้จองไว้ ต้องนำใบจองในแฟ้มจองมาสอดใส่ไว้ในตัวเล่มและเรียงเข้าชั้นจอง, ถ้าเป็นหนังสือต่างวิทยาเขต ต้องคัดแยกไว้และเขียนรายการหนังสือทุกเล่มลงในบันทึกรับคืนของแต่ละวิทยาเขต เตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนห่อส่งคืนแต่ละวิทยาเขตต่อไป)
  8. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ธุรการไปไขจากตู้รับคืนมาจากคณะศึกษาศาสตร์ก็จะนำมาส่งให้เจ้าหน้าที่ยืม-คืน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อ  2-7  (กรณีนี้อาจรับคืนที่เครื่องตรงเคาน์เตอร์ได้เลยถ้ามีน้อยเล่ม และเขียนรายชื่อและรหัสผู้คืนหนังสือเล่มนั้นๆ  พร้อมวันกำหนดส่งและเลขบาร์โค้ดหนังสือลงสมุดรับคืนทางตู้รับคืน )

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร