นิยาย จินตนาการ กับความจริง 0.1%

:mrgreen: เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 ที่ผ่านมามีข่าวฮือฮาเรื่องลูกไฟดวงใหญ่ที่พุ่งตกจากท้องฟ้า มองเห็นได้ในหลายที บางคนถ่ายภาพก็นำมาแชร์ในโลกโซเชียล
และเมื่อวันที่ 14 ก.ย. นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ลูกไฟสว่างตกจากท้องฟ้า สามารถมองเห็นได้จาก กรุงเทพฯและกาญจนบุรีเมื่อวันที่ 7 ก.ย.นั้น สมาคมดาราศาสตร์ ได้รับข้อมูลที่ยืนยันจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา และการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว วิเคราะห์แล้วพบว่าเป็นวัตถุจากนอกโลก…. อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/social/env/388023
โอกาสที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยมีเพียง 0.1 % ของพื้นที่โลกทั้งหมด โดยอุกกาบาตลูกดังกล่าวมีการลุกไหม้เป็นแสงสว่างและอาจจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วย มีจุดที่สว่างที่สุดคือ 29.3 กิโลเมตร เหนือท้องฟ้า
🙄 เลยทำให้นึกถึงกิจกรรมหนังสือในสวน ของงานเปิดบ้านห้องสมุด ในงานทับแก้ววิชาการเมื่อวันที่ 24-26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสขึ้นไปเล่าเรื่องนิยายที่ผู้เขียนชอบอ่าน
โดยปกติผู้เขียนจะเป็นคนที่อ่านนิยายเกือบจะทุกประเภท ทั้งนิยายรัก นิยายสืบสวน นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายอิงประวัติศาสตร์ เป็นต้น นิยายแต่ละประเภทก็จะมีความสนุก น่าสนใจที่แตกต่างกันไป ส่งเสริมจินตนาการของผู้อ่านที่คละเคล้าอารมณ์ หลากหลายความรู้ที่ได้รับ
จากข่าวที่เกริ่นนำข้างต้น ทำให้นึกถึงนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์มักใช้เหตุผล หลักการทางวิทยาศาสตร์ มาเป็นเค้าโครงเรื่อง ทำให้เรื่องที่เขียนน่าสนใจ น่าติดตาม
ซึ่ง นิยายแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟ หรือ Science fiction หรือ Sci Fi เป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ ประกอบด้วยสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. นิยายวิทยาศาสตร์ (Science fiction) สร้างจากข้อเท็จจริง ข้อสันนิษฐาน หรือสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายแนวนี้ได้แก่ เอช จี. เวลส์ (เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ The Time Machine) โรเบิร์ต เอ. เฮไลน์ (เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ Stranger in The Strange Land) อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ 2001 : Space Odyssey) เรย์ แบรดเบอรี่ (เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ Farenhiet 451) ไอแซก อาซิมอฟ เรื่องที่มีชื่อเสียงคือ The Foundation Trilogy) นักเขียนแนววิทยาศาสตร์ในเมืองไทย เช่น ชัยวัฒน์ คุประตกุล (แอนโดรมีดา ), วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ (ดีเอ็นเอ) เป็นต้น

นิยายประเภทนี้เสนอมุมมองของสิ่งประดิษฐ์ หรือเทคโนโลยีบางอย่าง ที่มีแนวโน้มว่าสามารถเป็นไปได้จริงในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแสดงสภาพสังคมในอนาคตอันใกล้ ตามหลักของอนาคตศาสตร์ (Futurology)

  1. นิยายจินตนิมิต (Fantasy novel)การใช้โลกที่ไม่มีอยู่จริง เช่น สวรรค์ เป็นฉากในงานเขียน เช่น The Lord of the Rings ของ จอห์น ทอลคีน หรือ ทวิภพ ของ ทมยันตี หรือ สุดขอบจักกรวาล ของจุฑารัตน์ (ที่เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ของ สกว.)

นิยายกลุ่มนี้ ไม่เน้นเรื่องความถูกต้อง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปได้ ของหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประกอบตัวเนื้อเรื่อง แต่จะเน้นเรื่องความกลมกลืนของตัวเรื่อง บุคลิกและความสัมพันธ์ของตัวละคร ความสนุกสนานและน่าติดตาม
การอ่านนิยายช่วยอะไรเราได้บ้าง 1) ฝึกสมาธิ 2) เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพราะนิยายควรอ่านในเวลาว่าง  และอ่านติดต่อกันไปเพื่อให้ได้อรรถรส 3) ฝึกนิสัยรักการอ่าน การเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง 4) เป็นการฝึกการ อ่านเร็ว อ่านเอาเรื่อง และอ่านเป็น 5) สร้างจินตนาการ 6) สัมผัสกับสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 7) มองโลกในแง่ดี เข้าใจโลกได้มากขึ้น ได้คติสอนใจ  คำพูดสอนใจ  วัฒนธรรม  ประเพณี ปรัชญาต่างๆ 8) ฝึกการเคลื่อนไหวตา
การอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ในสมัยที่ผู้เขียนยังเด็กๆ เป็นอะไรที่ตื่นตา ตื่นใจ สงสัยใคร่รู้ ว่าเรื่องแบบนี้มันจะเกิดขึ้นจริง มันจะมีอยู่จริงไหม ซึ่งแน่นอนนิยายวิทยาศาสตร์ว่ามันคือ จินตนาการ บวก ความจริง 😯
แต่ที่แน่ๆ อุกกาบาตยังตกในเมืองไทยได้ (แค่ความเป็นไปได้ 0.1 %) ไม่แน่นิยายวิทยาศาสตร์เล่มต่อไปอาจเป็นเรื่องนี้ก็ได้ 😉
แหล่งอ้างอิง :
พิมาน แจ่มจรัส. เขียน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2550
https://th.wikipedia.org/wiki/บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์
https://th.wikipedia.org/wiki/ 88_หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร