Booktalk

ทีมหนังสือในสวน  เมื่อได้รับการจัดตั้งก็ได้จัดเตรียมตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์ สมาชิกเตรียมหนังสือตามแนวที่แต่ละคนถนัด เพื่อที่จะสามารถเล่าให้คนอื่นฟังได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีนักศึกษา และเพื่อนบุคลากรจากคณะ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องราวอีกด้วย ทำให้งานที่เรายังไม่เคยทำ และมีความกังวลว่าจะราบรื่นหรือไม่ กลายเป็นกิจกรรมดี ๆ ที่เกินความคาดหวัง ต้องขอขอบคุณเพื่อน ๆ น้อง ๆ ที่ช่วยทำให้กิจกรรมสนุกสนาน และสิ่งที่ได้รับคำชมจากคนฟังคือความสวยงามและเหมาะสมของสถานที่ ก็ต้องขอบคุณทีมจัดสวน จัดสถานที่ ที่ทำมุมในสวนให้น่ารักมาก ขนาดกำลังดี บรรยากาศเป็นกันเอง ทำให้ทุกคนรู้สึกสบายกับการนั่งอยู่บนเวทีและที่เก้าอี้นั่งฟัง ทำให้เราไม่รู้สึกแบ่งแยก เป็นการเล่าที่เล่าให้ฟังในหมู่เพื่อน
z002
กิจกรรม Booktalk หรือการเล่าหนังสือ คือ การเล่าเรื่องในหนังสือเล่มที่เลือกสรรแล้ว  มาเล่าให้ผู้ฟังฟังถึง ตัวละคร บุคลิกของตัวละครแต่ละตัว ฉาก เหตุการณ์  เล่าจนเกือบถึงจุดพีค แล้วเว้นไว้เพื่อชักนำผู้ฟังให้ติดตามจากตัวเล่ม  booktalker หรือผู้เล่าจะต้องสามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้อยู่กับเรื่องที่เรากำลังเล่าให้ได้  หากมีเวลาในการเตรียมการผู้เล่าควรได้มีการเตรียมตัวบ้างในประเด็น ดังนี้
1. การเลือกหนังสือ  ควรดูกลุ่มผู้ฟังว่า เป็นใคร อายุ เพศ อาชีพ เป็นต้น เพื่อจะได้เลือกได้ตรงตามความสนใจของบุคคลแต่ละกลุ่ม
2. ผู้ฟัง   ถ้าผู้เล่าได้ทราบก่อนว่า กลุ่มผู้ฟังเป็นใครก็จะทำให้การเลือกหนังสือ และการเตรียมกลวิธีนำเสนอได้เหมาะสม
3. ทำ short note สำหรับหนังสือเล่มที่จะเล่า  แม้ว่าผู้เล่าจะจดจำเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มนั้นได้แล้วก็ตาม การเขียนประเด็นที่สำคัญลงกระดาษ จะทำให้เราได้ทบทวนสิ่งที่คิดอีกครั้งหนึ่ง และทำให้การเล่ามีการลำดับเรื่องที่ดี
4.กำหนดเวลา  การกำหนดเวลาไว้สำหรับหนังสือแต่ละเล่ม จะช่วยให้สามารถควบคุมการเล่าได้ และต้องคิดเผื่อด้วยว่า จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น หรือซักถาม เพิ่มเติมได้ด้วย
5. ซ้อมการอ่าน  เพื่อปรับปรุงการเล่าให้เหมาะสม
ประโยชน์ของการเล่าหนังสือ ดิฉันมองว่า เป็นประโยชน์ที่ต่างตอบแทน  ไม่ใช่จะเกิดประโยชน์แต่ฝ่ายผู้ฟังหรือผู้เล่าแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้แก่
1. การส่งเสริมการอ่าน ผู้เล่าชักจูงให้ผู้ฟังไปอ่านตาม แต่ในขณะเดียวกันเมื่อผู้ฟังที่ฟังแล้วเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการอ่าน ผู้ที่เคยเป็นผู้เล่าก็จะกลับกลายสถานะเป็นผู้ฟัง ถูกชักจูงให้อยากอ่านตามบ้างเช่นกัน
2. การเปิดทัศนคติ  เมื่อเราอ่านหนังสือ แล้วเกิดความคิดพร้อมนำเสนอความคิดนั้นกับผู้ฟัง การแลกเปลี่ยนความคิดจากผู้ฟังกลับมาอาจเป็นคนละมุมกับที่เราคิดอยู่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวที เมื่อน้องนักศึกษาเล่าเรื่อง wolfpack ให้ฟัง น้องมีความคิดตามทัศนะของเด็ก แต่เรานำเสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้สร้างเขาเปรียบครอบครัวที่เขานำมาสร้างภาพยนตร์ เป็นเหมือนกลุ่มก้อนของหมาป่า ที่มีธรรมชาติการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ที่ไม่ยุ่งกับใคร น้องก็ยังรู้สึกว่าเขาได้ความคิดใหม่
3. เรียนรู้กลวิธีนำเสนอของผู้เขียนในรูปแบบต่าง ๆ  ถ้าเราเป็นนักอ่าน เราจะรู้สึกถึงความเป็นอัจฉริยะของนักเขียนว่า พวกเขาสามารถครอบงำความรู้สึกนึกคิดของคนอ่านได้ เพียงใช้ตัวอักษรที่มีอยู่ไม่ถึงร้อยตัว ผสมผสานกัน รวมกับจินตนาการ การสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายที่จินตนาการล้วน ๆ หรือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ หรือ อิงชีวประวัติ หรือ ร้อยกรองต่าง ๆ ถือเป็นความลึกล้ำของตัวอักษรและอัจฉริยะของนักประพันธ์
มาอ่านหนังสือกันเถอะ..
 

2 thoughts on “Booktalk

  • มีโอกาศ ได้ไปร่วมฟังบ้าง ช่วงเวลาพัก ผู้เล่านำเสนอเรื่องราวได้น่าฟังมาก ทำให้รู้ว่ายังมีหนังสือดีดี อีกมาก ที่เรายังไม่ได้อ่าน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร