พริก คู่ครัวไทย ปลูกง่าย รายได้งาม

25 June 2015
Posted by Aree Piyarattanawat

“พริก” เป็นส่วนประกอบของอาหารสำคัญที่ช่วยชูรสชาติอาหารของไทยเราให้มีเอกลักษณ์ จนเป็นที่ถูกปากถูกใจคนไทย และชาวต่างประเทศ ความเผ็ดจัดจ้านคือรสชาติที่อยู่คู่ครัวของคนไทยมาช้านานทุกบ้านมักจะมีพริกติดครัวไว้เสมอ ทั้งพริกสด พริกแห้ง พริกป่น รวมถึง น้ำพริกนานาชนิด และพริกแกงแบบต่างๆ ตามความนิยมยังแพร่หลายไปจนถึงตลาดต่างประเทศ พริกจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการอย่างสูง
พริก คู่ครัวไทย ปลูกง่าย รายได้งาม อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระระดับคุณภาพ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของกองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน รวบรวมสายพันธุ์พริกยอดนิยมของผู้สนใจทั่วไปและเกษตรกร อาทิ เช่น ซูเปอร์ฮอต พริกอัคนี พิโรธ พริกเรดฮอต TA 100 พริกพิโรธร้อยครก พริกลูกผสม พริกหนุ่มเขียวหยกสยาม พริกกะเหรี่ยง พริกขาวชัยบุรี พริกประดับ พริกรูปหัวใจ และอื่นๆอีกมากมายหลากหลายสายพันธุ์รวมไปถึงรายละเอียดขั้นตอนการเพาะปลูกในรูปแบบต่างๆ ทั้งปลูกในบ้านและปลูกเป็นพืชไร่ และปลูกแซมในสวนหลังบ้าน หรือนาข้าวก็ได้ พร้อมทิปการดูแลรักษาและการป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลง เนื้อหาในเล่มนี้จับประเด็นพร้อมไขข้อสงสัยทุกแง่ทุกมุมต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกและการจัดจำหน่ายปลูกพริกทำได้ไม่ยากนัก แต่ต้องเรียนรู้ เมื่อพูดถึงพริกแล้วต้องนึกถึงความเผ็ดและสีสันที่สวยงาม ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยรสแซบขาดพริกไม่ได้นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกง ผัด หรือต้มยำกุ้งที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปกันทั่วโลกแล้ว คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีว่าพริกเป็นพืชที่ปลูกในเขตร้อน หรือกึ่งร้อนที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร และสามารถปลูกในที่ดินได้แทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย เพราะมีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง หรือชื้นแฉะจนเกินไป ซึ่งจะทำให้รากเน่า และตายไปในที่สุด รูปแบบการปลูกพริกในประเทศไทยมีความ
แตกต่างกันไปตามลักษณะของดิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแบบใดๆ เกษตรกรจะให้ความสำคัญ กับขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การให้น้ำรวมถึงการดูแลป้องกันโรคและแมลง วิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ล้วนแล้วแต่เร่งรีบ เวลาว่างก็เพียงนิดหน่อย แต่มีกิจกรรมที่กำหนดไว้มากมายการปลูกผักไว้
รับประทานเองภายในบ้านก็เป็นอีกวิถีที่คนเมืองนิยมทำกันแต่ในที่นี้ คงขอเอ่ยเฉพาะ “พริก” ตัวเอกของเล่ม
พืชที่ใช้ในชีวิตประจำวันจำนวนไม่น้อย เดิมที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ แต่เมื่อไทยนำเข้ามานานๆ เกิดการปรับตัวและพัฒนาแล้วใช้ประโยชน์จากพืชเหล่านั้น มากกว่าแหล่งเดิมของเราเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น มะละกอ ทุเรียน รวมทั้งพริกอาหารหลักๆ ของมวลมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นของชนชาติไหนก็จะมีการทำอาหารในรูปแบบต่างๆ
ที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทย่าง ทอด ผัด ลวก ต้ม ตุ๋น จนบางทีเราแยกแยะไม่ออกว่า ใครเป็นต้นตำรับที่แท้จริง อาหารไทยแต่เดิมมาเป็นอย่างนี้ ในสมัยก่อนที่ไทยยังไม่มีพริกไทย พริกขึ้หนู พริกชี้ฟ้าอาหารไทยก็คงจืดชืด และหนักเกลือ เราเริ่มกินพริกกันมาประมาณ 400 กว่าปีเท่านั้น วิวัฒนาการอาหารเผ็ดๆ จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องในทุกสังคมมนุษย์ สังเกตุได้ว่าคนไทยกินพริกทุกวัน พริกเป็นเครื่องปรุงที่มีรสที่จำเป็นสำหรับคนไทยไปแล้ว และสามารถพูดได้เลยว่าคนไทยกินพริกกันทุกวัน ลองนึกดูว่าตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา อาหารมื้อใด มื้อหนึ่ง หรือ เมนูใดเมนูหนึ่ง ต้องมีพริกเป็นส่วนประกอบ ในอาหารแน่นอน การใช้ประโยชน์จากพริกนั้นทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น กินเป็นเครื่องเคียง เช่น กินพริกสดกับแหนม ปลาจ่อม ลาบ ข้าวขาหมู แปรรูปเป็นน้ำพริก เป็นการถนอมอาหาร อาจจะเป็นพริกเป็นหลัก หรือมีวัตถุดิบอื่นเป็นหลัก เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกปลาร้าเป็นส่วนประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ ผัด แกง ต้ม ฉู่ฉี่ เป็นต้น พริกที่ใช้มีทั้งพริกสดและพริกแห้ง บางส่วนแปรรูปโดยการดองให้เหมาะกับอาหารชนิดนั้นๆ คนไทยกินพริกกันทุกวัน ลองนึกภาพดูซิว่า ตื่นแต่เช้าขึ้นมาก็ไปกินข้าวแกง แต่ไม่มีพริก หรือมื้อเที่ยง หากส้มตำไม่มีพริก รับรองชีวิตไม่ปกติสุขแน่ นอกจากพริกจะเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่น่าจับตามองแล้ว พริกสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง และงานปศุสัตว์อีกด้วย สารสกัดจากพริกได้ให้คุณประโยชน์มากมาย มากไปกว่านั้นยังมีข้อมูลการแปรรูปน้ำพริกยอดนิยมของคนไทยแล้วอย่างน้ำพริกกะปิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกลาบ น้ำพริกน้ำเงี้ยว น้ำพริกเผา เป็นต้น หารู้ไม่ว่า เจ้าพริกเม็ดเล็กที่เราลิ้มรสเพียงความเผ็ดร้อนธรรมดาๆ สร้างรายได้อย่างงามให้กับเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากพริกอย่างมหาศาล หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมเรื่องพริกออกมาเป็นรูปเล่มทั้งนี้เพราะพริกนั้นเป็นพื้นฐานแต่มองให้ลึกลงไปแล้วพืชชนิดนี้ มีความสำคัญที่ครัวไทยเราขาดไม่ได้ ถึงแม้ว่าไม่ใช่พืชพื้นถิ่นของไทย แต่พริกอยู่ในประเทศนี้จนสามารถปรับตัวและพัฒนา ทำให้มีความหลากหลายพริกท้องถิ่น อย่างพริกขี้หนูหัวเรือ กะเหรี่ยงอีโต๊ะ นักวิชาการเกษตรบอกว่า เป็นพันธุ์พื้นเมือง คุณสมบัติที่พบคือทนทานต่อสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นต่างๆ มีกลิ่นหอม แต่เพราะคุณสมบัติบางอย่างจึงไม่สามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศได้ พริกพันธุ์ใหม่ที่นักวิชาการเกษตรผสมพันธุ์ขึ้นเรียกว่า พริกลูกผสม ถึงแม้ความหอมน้อย แต่เพราะคุณสมบัติบางอย่างโดดเด่นทนทานต่อการขนส่งจึงเป็นสินค้าส่งออก ทั้งพริกพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสมได้สร้างงานทำเงินให้ผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเป็นวงจร
หนังสือเล่มนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวของพริกตั้งแต่ความเป็นมาพร้อมทั้งการปลูก และสายพันธุ์วิธีดูแลการรักษาตัวอย่างการแปรรูป และการส่งออกการตลาด จึงนำเสนอมายังผู้อ่านพิจารณาด้วย
แหล่งข้อมูล จากการอ่านหนังสือ หมวด SB 307 P4ก52 กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน สำนักพิมพ์มติชน, 2557

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร