เอาไงดี Do(อยู่ต่อ) or Undo(ไม่อยู่/ออก) กบข.

18 December 2014
Posted by thitima

ตอนนี้กระแสเรื่องจะออกหรือไม่ออกจาก กบข. เป็นที่สนใจของสมาชิกมาก บ้างก็ถามจากผู้รู้ให้ช่วยอธิบายเพราะเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วกว่าอ่านเองและเพราะเรื่องคำนวณหรืออะไรที่ยาก ๆ คนแก่รุ่นเราไม่ค่อยจะรับแล้ว แค่อยากรู้ว่าออกจะได้อะไรบ้าง ไม่ออกจะได้อะไรบ้าง และจากการพูดคุยกับผู้รู้และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมพอจะได้ข้อสรุปดังนี้
หากต้องการออกจาก กบข. เพื่อไปรับบำนาญสูตรเดิม พ.ศ.๒๔๙๔ ทั้งข้าราชการและผู้รับบำนาญ ให้ขอรับแบบฟอร์มจากหน่วยงานต้นสังกัดและใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
สิ่งที่จะได้รับเมื่อออกจาก กบข. คือ
๑. เงินที่สะสมเข้า กบข. ตามกฎหมาย ๓% (และที่สะสมเพิ่มตามความสมัครใจ ๑-๑๒% ถ้ามี) และผลประโยชน์ของเงินสะสมตัวเองเท่านั้น เงินอื่น ๆ จะไม่ได้รับด้วยคือ เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ ดังนั้นดูว่าหากออกจาก กบข.จะได้เงินส่วนนี้เท่าไรตามที่เราถูกหักไว้จากใบแจ้งรายปีที่ได้รับหรือเข้าเว็บไซต์ กบข.www.gpf.or.th หรือโทร. ๑๑๗๙ กด ๖ เวลาราชการ (ดูตัวอย่างจากใบแจ้งยอด กบข.ด้านล่างนี้ค่ะ หากออกจาก กบข. จะได้เงินสะสม = ๑๑๕,๗๘๔.๙๓ บาทเท่านั้นค่ะ)
4
๒. เงินบำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการ หารด้วย ๕๐
(โดยผู้ที่ออกจาก กบข.ทั้งข้าราชการบำนาญและข้าราชการปัจจุบันจะต้องทราบว่า ๑. ตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ หน่วยงานหยุดส่งเงินสะสมของสมาชิกเข้า กบข. ๒. รัฐหยุดส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้าบัญชีสมาชิก กบข. ๓. กบข.หยุดการบริหารเงินให้สมาชิก ๔. วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ กบข.เริ่มทยอยเงินคืนผู้ออกจาก กบข. ๕. วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ข้าราชการบำนาญที่ออกจาก กบข. ได้รับเงินบำนาญ พ.ศ.๒๔๙๔ และเงินที่ต้องคืนรัฐหรือรับเงินที่รัฐต้องคืนให้กรณีหักลบส่วนต่างแล้ว ๖.ข้าราชการที่จะเกษียณหรือออกจากราชการรับบำนาญ พ.ศ.๒๔๙๔)
หากไม่ออกจาก กบข. จะได้อะไร
๑. เงินก้อนจาก กบข. =เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสบทบ และผลประโยชน์ตอบแทน ๒. เงินบำนาญ คำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการหารด้วย ๕๐ แต่ไม่เกิน ๗๐% ๓. บำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรม ทั้งนี้ผู้เกษียณขอรับมาใช้ได้ก่อนไม่เกิน ๔๐๐.๐๐๐ บาท แบ่งจ่าย ๒ ครั้งเมื่อเกษียณ ๒๐๐.๐๐๐ บาท และครั้งที่ ๒ เมื่ออายุครบ ๖๕ ปี
อ่านไปอ่านมาก็ยังไม่ได้ลองใช้สูตรที่เขาว่าคำนวณดูสักทีว่าคุ้มหรือไม่คุ้มอย่างไร แต่ที่ได้ข้อคิดคือหากคำนวณแล้วเวลาที่รับราชการมากกว่า ๓๕ ปี มีเงินส่วนต่างบำนาญเดิมมากกว่า กบข. ๗,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ควรลาออกจาก กบข. ใครที่มีส่วนต่างเงินบำนาญน้อยกว่านี้ก็อาจเลือกรับบำนาญจาก กบข.ซึ่งน่าจะคุ้มกว่า และคิดว่าเงินก้อน กบข. ที่ได้รับนั้นใช้เวลาสะสมเงินบำนาญเดิมกี่ปี หากใช้เวลาประมาณ ๗-๙ ปี แล้วคุ้มก็ควรเลือกบำนาญเดิม
ปัจจัยอื่นที่ควรคำนึงถึงว่ามีความจำเป็นแค่ไหนอย่างไร โดยคิดว่าเงินก้อนที่ได้รับทันทีที่ออกจาก กบข. แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ในสิ่งที่ตัวเองจำเป็น กับการที่ต้องรอคอยสะสมจากเงินบำนาญแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้นนั้น (เงินอนาคต) อย่างไหนดีกว่ากัน
ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่เป็นตัวแปรคือปัญหาสุขภาพ คนสุขภาพดีตัดสินใจลาออกจาก กบข.ได้ง่ายขึ้นแล้วหมั่นดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป
ส่วนตัวนั้นเคยคิดว่าหากได้เงินก้อน กบข.แล้วนำมาลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ให้เช่า เงินค่าเช่าก็นำมาลบส่วนต่างที่จะได้จากเงินบำนาญเดิมไปสักครึ่งหนึ่ง ราคาที่ซื้อได้ในวันนี้กับราคาที่รอเก็บเงินรวบรวมไว้ประมาณอีก ๕ ปี นั้นคงซื้อไม่ได้แล้ว
ไม่รู้จะคิดว่า “กำขี้ดีกว่ากำตด” ถูกต้องหรือเปล่าก็ต้องดูบริบทของแต่ละคนเป็นสำคัญ ต้องศึกษาให้ดีและตัดสินใจ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่
http://region1.excise.go.th/
http://edoc.engrdept.com/gpf/
http://www2.cgd.go.th/

One thought on “เอาไงดี Do(อยู่ต่อ) or Undo(ไม่อยู่/ออก) กบข.

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร