แขกต่างชาติ

17 October 2014
Posted by thitima

indo
ประมาณกลางเดือนกันยายน ๒๕๕๗ พี่แมวได้ส่งต่อจดหมายมาให้เตรียมตัวพร้อมแนะนำทีมงานว่าควรต้องมีใครบ้างสำหรับการต้อนรับบรรณารักษ์ชาวอินโดนีเซีย สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะมาเยี่ยมชมห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยหัวข้อ “บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร กับการจัดการและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล” วันศุกร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ นี้ ก็คิดว่าสักต้นเดือนตุลาคม จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาเตรียมงานกัน และจะถามเอ๋เรื่องการจัดการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล แต่ก็หมุนไปมาเรื่องรายงานผลโครงการปี ๒๕๕๗ และอื่นๆ จนกระทั่งจิบโทร.มาเตือนว่าอย่าลืมเรื่องต้อนรับและนำชมบรรณารักษ์อินโดนีเซียนะ โดยจิบขอให้น้องแอนเป็นคนพูดเกริ่นนำก่อน จึงเริ่มต้นด้วยการทาบทามน้องแอนพร้อมข้อมูลเบื้องต้นที่จิบเคยกล่าวแนะนำเมื่อครั้งที่แล้วให้น้องแอน แล้วถามเอ๋ว่าครั้งที่แล้วคนพูดบรรยายและข้อมูลเป็นอย่างไร เอ๋บอกว่าพี่ปองเป็นคนพูดเนื้อหาแต่ไม่ต้องไปหวังว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากสไลด์นั้นหรอกเพราะไม่มีอะไร พี่เขาขึ้นสไลด็โชว์แค่คำว่า “What” “Where” “When” “Why” ประมาณนี้แล้วพี่เขาก็ร่ายยาวไปเลยด้วยความสามารถเฉพาะตัวจริงๆ (ยอดเยี่ยมมาก)
ดังนั้นครั้งนี้จึงขอให้เอ๋ทำสไลด์ข้อมูลและเตรียมคนนำเสนอซึ่งที่หมายตาไว้ก็คือพี่พัช และพี่เล็ก เพราะ ๒ คนนี้ภาษาและสำเนียงใช้ได้ดีที่สุดขณะนี้ พี่พัชกับเอ๋เตรียมข้อมูล ระหว่างนี้ทั้งพี่พัชพี่เล็กคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราๆ บรรณารักษ์ทั้งหลายจะต้องเอาจริงเอาจังเสียทีกับการฝึกพูดภาษาอังกฤษให้ได้ และต้องขอขอบคุณทั้งพี่พัช พี่เล็ก ที่ไม่ได้เกี่ยงงอนงานต้อนรับนี้เลยเพราะรู้ๆ กันอยู่ว่าไม่มีใครแล้ว
วันจริงพี่พัชทำสมาธิฝึกพูดและจำเพื่อจะไม่ให้เป็นเหมือนการท่องให้ฟัง น้องแทนมากอดให้กำลังใจแม่ก่อนไปเริ่มงานเป็นวิทยากร
ในการต้อนรับท่านผู้อำนวยการกล่าวต้อนรับทักทายบรรณารักษ์ผู้มาเยี่ยมชมงานก่อน ตามด้วยน้องแอน กล่าวแนะนำสำนักหอสมุดกลางและหอสมุดฯ ๓ แห่ง และผู้บริหารที่มาต้อนรับ จากนั้นเป็นการมอบของที่ระลึกซึ่งกันและกัน
IMG_3088
IMG_3121
IMG_3133
IMG_3110
เสร็จพิธีการพี่พัชก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมา
IMG_3135
ระหว่างนี้ท่านผู้อำนวยการและ ผศ.ดร.ธีรพงษ์ ได้ออกไปปรึกษางานกันข้างนอก พี่พัชบรรยายไปคนเดียวไม่มีคนช่วยเสริมจนกระทั่ง ผศ.ดร.ธีรพงษ์ กลับเข้าาอีกครั้งและช่วยเสริมข้อความให้แขกผู้เยี่ยมชมเข้าใจชัดเจนขึ้น จนมาถึงประเด็นคำถาม บรรณารักษ์อินโดนีเซียถาม ๓ ข้อ ดังนี้
๑. มีหนังสือ และวารสาร กี่ชื่อ ๒. ปัญหาการบริหารจัดการห้องสมุดของเราคืออะไร ๓. มีมาตรการความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร ข้อ ๑ พี่อ้อ ตอบได้สบายมาก และ อ.ธีร์ ก็บรรยายความภาษาอังกฤษให้ ข้อ ๒ พี่เล็ก ตอบว่าเป็นเรื่องของงบประมาณและคนดูแลด้านไอทีซึ่งทั้ง ๓ วิทยาเขตมีแค่ ๓ คน ประกอบกับปัญหาซอฟ์ตแวร์ไม่รองรับภาษาไทย ข้อ ๓ มาตรการการความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล กลุ่มพวกเราช่วยกันตอบว่าข้อมูลบางอย่างเราให้ใช้เฉพาะสมาชิกของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้ผ่าน VPN เช่น ฐานข้อมูลต่างๆ แต่มีวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็มที่เราเปิดให้เข้าถึงโดยเสรี
IMG_3171
ดิฉันฝากถามกลับว่าปัญหาของบรรณารักษ์อินโดนีเซียคืออะไร บรรณารักษ์อินโดนีเซียตอบโดย อ.ธีร์ ช่วยแปลความว่าปัญหาของเขาคล้ายกับเราโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณเขาได้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้นซึ่งไม่ได้ร่ำรวยนัก ส่วนนักคอมพิวเตอร์เขามี ๕ คนดูแลทั้งหมด ซึ่งประเทศเขาเป็นเกาะ ๖๕ เกาะ บรรณารักษ์กระจายอยู่แต่ละที่ มีบรรณารักษ์ส่วนกลางประสานงานอยู่ ๒ คน และปัญหาอีกอย่างคือผู้ใช้ไม่ค่อยรู้ระบบของห้องสมุดจึงใช้งานไม่ค่อยได้
เวลาเกือบเที่ยงแล้วบรรณารักษ์อินโดนีเซียแจ้งว่าจะต้องทำพิธีละหมาดก่อนเดี๋ยวไม่ทัน และจะเดินทางต่อไปชะอำ ระหว่างทางที่เดินลงมาส่งจากชั้น ๕ เมื่อผู้เยี่ยมชมเห็นป้ายต้อนรับของเราก็จะแวะถ่ายภาพด้วยความประทับใจอย่างมาก โดยทางหอสมุดฯ เตรียมป้ายต้อนรับติดไว้ ๓ ที่ คือหน้าประตูอาคารหอสมุดฯ หน้าประตูทางเข้าอาคาร ม.ล.ปิ่น มาลากุล และหน้าประตูทางเข้าห้องประชุมชั้น ๕ แม้จะเป็นภาพเดียวกันแต่เขาก็ถ่ายภาพนี้กันทุกจุด จุดสุดท้ายไฮไลท์ไม่มาชมไม่ได้ นั่นคือบริเวณที่โชว์หนังสือใหม่ ซึ่งทางเราเตรียมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับประเทศอินโดนีเซียไว้พร้อมสไลด์โชว์ที่จอทีวี สวยงามแจ่มแจ๋วมาก (ฝีมือน้องหนิง) จุดนี้ก็ได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันสนุกสนานมาก ดาวเด่นของกลุ่มเราได้แก่น้องแอน หนุ่มสาวอินโดขอถ่ายภาพด้วยเยอะมาก และขวัญใจบรรณารักษ์อินโดนีเซียคือ ผศ.ดร.ธีรพงษ์ บัวหล้า นั่นเอง
IMG_3217
IMG_3252
IMG_3273
ระหว่างที่บรรณารักษ์อินโดนีเซียมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่อาคารหอสมุดฯ น้องแทนรีบเดินเข้ามาพบแม่พัชและถามว่า success ไหมแม่ งานนี้พี่พัชคงตอบลูกเอง แต่ป้านกรีบบอกให้น้องแทนปลื้มใจว่า success ซิลูกระดับนี้แล้ว
ทั้งนี้บรรณารักษ์อินโนีเซียแจ้งว่าจะมีบรรณารักษ์ของประเทศอินโดนีเซียในโครงการนี้หมุนเวียนกันมาศึกษาดูงานทั้งหมด ๕ รุ่น รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ ๒ ไม่แน่ใจว่ารุ่น ๓-๕ จะมาที่หอสมุดฯ เราอีกหรือไม่ เตรียมตัวกันไว้ให้ดีนะพี่น้อง
ขอบคุณภาพ Welcome ของน้องหนิง ธนวรรณ ขาวบาง
ภาพกิจกรรมต่างๆ โดยน้องหนุ่ย สายัณห์ พวงสุวรรณ

4 thoughts on “แขกต่างชาติ

  • พี่นกคะจะเข้าไปอ่านไม่มีเรื่องให้อ่านหรือคะ

  • น้องปู ต้องขอโทษอย่างแรงเลย พี่คิดว่าตัวเอง draft ไว้ ส่วนเนื้อหาจะต้องกลับไปตั้งสติเรียกความทรงจำคืนมาก่อนเพราะไม่ได้นำอะไรติดตัวไปเลยทั้งกระดาษ ปากกา ดินสอ โทรศัพท์ ไม่รู้ตัวว่าคลิกปล่อยเรื่องออกไปได้อย่างไรและเพิ่งกลับมาดูวันนี้นี่เอง เลยต้องรีบเขียนให้เสร็จ

  • ผู้เยี่ยมชมกลับไป คงชมหอสมุดไม่ขาด ก็เหมือนพวกเราที่ไปที่ใด ประทับใจกลับมาเล่ากันไม่จบซักที นี่ก็คงเช่นกัน

  • อ่านแรกๆ แล้วนึกในใจว่าเค้าจะมาอีกไหม มาเห็นในย่อหน้าสุดท้ายของพี่นกพอดีค่ะ
    การไปดูงาน หรือมีใครมาดูงาน สิ่งที่ชอบเป็นส่วนตัวคือชอบถามตัวเองว่าเราได้อะไรจากเหตุการณ์ในแต่ละครั้ง แล้วเก็บๆ เอาไว้
    ส่วนสไลด์ไม่มีอะไร มีแต่รูป เพราะเป็นคนขี้เกียจพิมพ์ อาศัยอ่านเยอะๆ คิดไปเรื่อย จนวินาทีสุดท้าย ซึ่งไม่ดีค่ะ
    อีกอย่างหนึ่งคือมีความเชื่อเป็นส่วนตัวว่าคนพูดกับคนทำสไลด์จะต้องเป็นคนๆเดียว เพราะระหว่างที่ทำเราก็ต้องคิด ทำให้เราทบทวนตัวเองไปมาหลายๆ รอบโดยอัตโนมัติ ยิ่งแก้สไลด์เท่าไร เราก็จะมีโอกาสในการเรียบเรียงความคิดมากเท่านั้น ส่วนเรื่องความสวยงามให้ใครทำให้ก็ได้ค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร