อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

ข่าวของการสูญเสียอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เมือกลางดึกของคืนวันที่ 2 ก.ย. ที่ผ่านมา ดิฉันเห็นข่าวจาก “ฟีด” ที่ไหลอย่างต่อเนื่อง ทุกคนพูดถึงความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะ สำหรับดิฉันสิ่งที่ชอบคือข้อเขียนและนวคิดของท่านในการมองสรรพสิ่งรอบตัว สิ่งได้จากการฟังสัมภาษณ์ตามรายการโทรทัษน์ และติดตามอ่านจากตามหน้านิตยสาร  สิ่งที่จำได้คือการได้อ่าน “ปาฐกถาศิลป์ พีระศรี” ซึ่งทุกๆ ปี มหาวิทยาลัยจะเชิญท่านผู้รู้มาพูดให้เราฟัง และท่านเหล่านั้นมักเกี่ยวพันกับศิลปากรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดิฉันไม่มีโอกาสไป แต่ชอบที่จะอ่าน และมีความเห็นว่าคนทำงานในศิลปากรควรอ่าน
ประวัติของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี สามารถหาอ่านได้ที่จากหน้าแฟนเพจของท่าน ซึ่งเขียนไว้ละเอียดพอสมควร ท่านสำเร็จการศึกษาศิลปบัณฑิต (เกียรตินิยม)  จากคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร   จากหน้าแฟนเพจ ทำให้เราได้เห็นความยิ่งของท่าน ได้เห็นผู้คนมากหน้าหลายตาไปแสดงความเคาารพรัก ได้อ่านความรู้สึกของคนในสังคม ศิลปะนี้ยิ่งใหญ่จริงๆ
คุณวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้เขียนบทความเรื่อง “ถวัย์ ดัชนี” ลงในโพสต์ทูเดย์ได้อย่างน่าอ่าน ดิฉันขอคัดลอกมาแปะให้อ่านในส่วนที่แสดงถึงความพยายามของมนุษย์คนหนึ่งที่จะก้าวไปให้ถึงฝั่งฝัน….  เมื่อพี่หวันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากรชั้นปีที่ 1 พี่หวันทำคะแนนวาดรูปได้ถึง 100+ แต่เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2 พี่หวันทำได้เพียง 15 คะแนน ด้วยเหตุผลที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้ไว้ว่“ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ”
เมื่อได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี พี่หวันก็เปลี่ยนแปลงการทำงานศิลปะของตนเองใหม่หมด พยายามค้นหาพลังความสามารถและวิถีแห่งตนอย่างจริงจัง ในระหว่างที่เรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากรนี่เอง พี่หวันก็มีโอกาสได้พบและรู้จักกับผู้ใหญ่สองท่านที่พี่หวันมีความเคารพ นับถือในใจมานานคือ อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ซึ่งทั้งสองท่านนี้ได้เป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนการทำงานศิลปะของพี่หวัน ตลอดมา
ความพยายามที่จะดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งศิลปะของพี่หวัน อยู่ในสายตาของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี อย่างต่อเนื่อง เมื่อเห็นแววว่าลูกศิษย์ผู้นี้มีโอกาสจะประสบความสำเร็จในวิชาชีพศิลปะใน อนาคต อาจารย์ศิลป์จึงสนับสนุนให้พี่หวันสอบชิงทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์วัฒนธรรม และการศึกษาเนเธอร์แลนด์……. อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1w2PCt0
การได้อ่าน ได้ศึกษาชีวิตคนด้วยการ “อ่าน” มีความสุขแบบนี้นี่เอง  ทำให้นึกถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งห้องสมุดแบบดั้งเดิม  และเราคือผู้รับผิดชอบให้ห้องสมุดเป้นไปตามวัตถุประสงค์นั้น และเราจะทำหน้าที่ เราจะคิด เราจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อ “ส่ง” สารสนเทศออกไปให้ “ถึง” ผู้ใช้บริการ
รังกานาธาน ได้เขียน Ranganathan’s five laws ในเวอร์ชั่นแรกเมื่อปี 1928 ไว้ว่า 1) Books are for use 2) Every Reader His Book 3) Every Book Its Reader 4) Save the Time of the Reader 5) A library is a Growing Organism  ปัจจุบันกฏข้อ 5 ของรังกานาธานเติบโตขึ้นมากทั้งในแง่ของปริมาณ รูปแบบ แลเนื้อหา ส่วนข้อที่เหลือยังใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ และเป็นแนวทางที่ไม่ว่ายุทธศาสตร์ วิสัยทัสน์จะคงเดิมหรือเปลี่ยนไปอย่างไร  …
นำตัวเลข ค.ศ.มาลบ ผลลัพท์เยอะแฮะ ครบร้อยปีเมื่อไรควรจะได้จัดงานฉลอง หากอยู่ถึงบัดนั้น 😳
คนรุ่นเก่าเป็นผู้สร้าง คนรุ่นต่อมาคือผู้รักษา เฉกเช่นเดียวกับป้ายรูป อ.ศิลป์ พีระศรี ที่บอกว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” (Ars longa, vita brevis)
ท่านจากไป แต่ได้ทิ้งอะไรๆ ไว้มากมาย ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตของท่าน จึงรู้สึกใจหายและขอให้ท่านไปสู่สุคติ ส่วนภาพด้านล่างดิฉันได้จากเพจบรรยายไว้ว่า
“ภาพสุดท้าย”  วันที่21/7/2557 พ่อวาดภาพ”ม้า”ขึ้นที่โรงพยาบาลในขณะที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ เป็นภาพสุดท้ายที่พ่อวาดในขณะยังมีลมหายใจ” เทคนิคปากกาเคมีและปากกาลูกลื่นบนกระดาษ  ปล.ในวันพระราชทานเพลิงศพ 10 กันยายน 2557 เวลา 5 โมงเย็นนี้เราจะนำภาพนี้มาจัดพิมพ์ขึ้นจำนวนจำกัด และมอบให้ทุกท่านเป็นที่ระลึกแด่การจากไปของท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ครับ ดอยธิเบศร์ ดัชนี  7/9/2557
10649820_10152670214361070_1101343752762541904_n
ส่วนดิฉันมีโอกาสได้ไปบ้านดำ ในจังหวัดเชียงราย เช่นกัน มีกระเป่าผ้าหนึ่งใบ คงต้องเก็บเข้าตู้ต่อไป
857808_512160395509131_1433209582_o
 
ปล. อยากกลับไปอ่านเรื่อง “ความรักเยี่ยงบิดามีต่อบุตร” อีกครั้ง
 

One thought on “อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

  • งานชิ้นสุดท้าย ทรงคุณค่ามาก ทำงานจนวินาทีสุดท้าย นี่คือผู้ให้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร