ระหว่างทางที่เกียวโต 5 : หนึ่งเดือนผ่านไป ไวเหมือนโกหก

เมื่อวานดิฉันขึ้นสเตตัสว่าแบบนี้ เพื่อนคนหนึ่งตอบกลับมาว่า It means you have a good time. และอีกหลายคนบอกไปในทางนี้
ถามว่าจริงๆ สุขหรือทุกข์  ตอบได้ว่าเราพ้นวัยแบบนั้นมาแล้ว คำถามที่ฮิตคือคิดถึงบ้านมั้ย คิดถึงลูกหรือไม่ คำถามหลังเป็นเรื่องที่ตอบยาก หากบอกว่าไม่คิดถึง ดูเหมือนเป้นคนใจดำ ฮ่าฮ่า ในความคิดของตัวเองคือเป็นห่วงมากกว่า เนื่องจากสภาพของครอบครัวของแต่ละคนต่างกัน อย่างที่บ้านคนในครอบครัวเดินทางกันบ่อย และการเดินทางนั้นไม่ได้หมายความว่าไปกันทั้งครอบครัว จึงเป็นความเคยชินที่มีใครสักคนในบ้านหายหน้าไปนานๆ แต่สมัยนี้เทคโนโลยีทำให้ใกล้กันมาก ได้คุยกัน สื่อสารกันด้วยอวัจนภาษา ไม่ได้มีการสัมผัส แต่เรื่องแบบนี้เป็นกฎบ้านที่ตั้งไว้ว่าจะต้องเข้าใจกันว่าต่างคนมีหน้าที่ ลูกต้องมีหน้าที่เป็นหลานไปอยู่กับบรรพบุรุษหรอืไปดูแลป้าๆ ในยามที่มีโอกาส เป็นต้น
ถามว่าใช้ชีวิตอย่างไร ก่อนมาเราต้องทำความเข้าใจว่าเรามาทำอะไร เราจะทำตัวอย่างไรในเมืองใหญ่ ก่อนมาจึงมีความจำเป็นต้อง “ออกแบบ” ชีวิตให้ดำเนินการต่อไปได้
ครึ่งเดือนแรกเป็นช่วงแห่งการเรียนรู้ ดิฉันใช้เวลาในวันหยุดทุกวันในการขี่จักรยานเพื่อไปสำรวจเส้นทาง พร้อมกับเรียนรู้ชีวิตที่ต้องมีแผนที่เป็นเครื่องมือ แผนที่ของดิฉันจึงเปือย ขาด ยับยู่ยี่ เส้นทางที่เราปั่นจักรยานเป็นเส้นทางที่เราคิดวางแผนเดินทางเอง แล้วกลับมาปักหมุดเส้นทาง ทำแบบนี้ซ้ำแล้วว้ำเล่าจนจำขึ้นใจ
และใช้เส้นทางของรถเมล์หมายเลขต่างๆ จำชื่อสถานี จากแผนที่ข้างต้น ซึ่งเป็นแผนที่รถเมล์ รู้จัการใช้ตั๋ววันแบบไม่จำกัดเที่ยว นั่นแสดงว่าขึ้นมากเท่าไรจึงจะ “คุ้ม” มากเท่านั้น ตื่นเช้ากลับมืด  แล้วก็มาปักหมุด การนั่งรถเมลืในเกียวโต คล้ายๆ กับการนั่งรถเมล์ในกรุงเทพฯ คือจอดตามสถานี จากสายนี้ ไปสายโน้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือจะมีเสียง หรือข้อความบอกทุกป้าย และมาตรงเวลา แบบรถไฟฟ้า หรือรถใต้ดิน ตอนสมัยเรียนหนังสือต้องมาฝึกงานที่กรุงเทพฯ ครูจะเป็นห่วงเพื่อนๆ ที่ไม่ค้นเคยกับการนั่งรถเมล์ในกรุงเทพฯ ครูแนะนำว่าให้แลกเงินเหรียญไว้ แล้วนั่งรถเมล์ไปเรื่อย แล้วให้สังเกตจุดต่างๆ เราจะได้ไม่หลงละไม่ตระหนก ดิฉันจำคำของครูมาใช้ในชีวิตประจำวัน กระทั่งจำไปสอนลูกในเรื่องการเดินทาง
หลังจากครึ่งเดือนดิฉันจำเป็นต้องย้ายจากโรงแรมเข้าพัก เพราะบ้านพัก (แฟลต) ว่างครึ่งเดือนหลัง ดิฉันก็ต้องมาเรียนรู้รอบๆ บ้านเช่นเดิม การย้ายที่พักทำให้เรามีขอบเขตของการรับรู้ที่กว้างขึ้นเพราะเราจะเอาแผนที่ไปต่อกับของเดิม เราจึงสบาย
นักศึกษาญี่ปุ่นเป็นห่วงว่าดิฉันจะอยู่อย่างไร คำถามที่มักถามกันคือไปที่ไหนแล้วบ้าง  ดิฉันออกเสียงกับชื่อสถานที่ไม่ค่อยถูกและมีความทรงจำน้อยจึงยกแผนที่เปื่อยๆ มากลางให้ดู ทุกครั้งที่ยกออกมา จะได้ยินเสียงบอกว่า “สุโค่ย” เพราะน้องๆ จะบอกว่าไม่นึกว่าพี่จะไปมากขนาดนั้นด้วยตัวคนเดียว
ดิฉันบอกว่า หนึ่งไม่รู้จะชวนใคร สองการออกจากบ้านคือการได้พูด เพราะหากไม่ออกจากบ้านแปลว่าต้องอยู่กับตัวเองตลอดทั้งยี่สิบสี่ชั่วโมง  อือออกับความคิดตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องสนุก จำคำศัพท์ พูดได้ ออกเสียงถูกต้องอย่างน้อยวันละคำก็ถือว่าคุ้มแล้ว
ปฏิทินของดิฉันจึงแน่นเอี้ยดไปด้วยกิจกรรมของเมืองเกียวโต จนน้องๆถามว่าพี่เอามาจากไหนแล้วพี่รู้ได้อย่างไร จึงบอกว่าหาอ่านเอา น้องถามว่าเค้าบอกหมดเลยหรือ บอกว่า ไม่ใช่หาจากหลายๆที่ แล้วจดมารวมกัน เจอใบปลิวที่ไหนก็เก็บมาแล้วมาถามคนญี่ปุ่นว่าคืออะไร
ดิฉันโอ้อวดว่าไม่มีตารางกิจกรรมของใครที่สมบูรณ์เท่ากับของพี่ 😳 กว่าจะได้กะทะ หม้อ ตะหลิว ช้อน จาน ชามถ้วย เขียง มีด ล้วนมีประวัติน่าจดจำทั้งนั้น  จนสัญญากับตัวเองว่าจะต้องหอบหิ้วสิ่งพวกนี้กลับบ้านให้จงได้
เวลาที่เหลือเมื่ออยู่บ้านคือการทำอาหาร เนื่องจากเป็นคนชอบทำกับข้าว จึงสรรหา “ซุปเปอร์มาเก็ต” การไปบ่อยๆ ทำให้เรารู้ว่าเราควรจะซื้ออะไร น้ำดื่ม ผัก ผลไม้ เพราะทุกอย่างล้วนมีราคา  อาหารจะกลับด้านกลับเมืองไทย บ้านเราผักผลไม้ราคาถูก ที่นี่เนื้อสัตว์ อาหารทะเลราคาเท่าๆ กับบ้านเรา หมายถึงราคาในซุปเปอร์มาเก็ต เป็นการโชคดีอีกนั่นแหละที่ชอบจ่ายตลาดตั้งแต่ตลาดนัด จนถึงซุปเปอร์หรูๆ ความที่ไปเดินฉุยฉายตามร้านหรูในเมืองไทยทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น เรื่องนี้จึงไม่มีปัญหา
food1 food2 food3 food4 food5 food6
ปัญหาคือจะหาของตลาดนัดบ้านเราอย่างน้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม ได้จากที่ไหน และดิฉันพบว่าไปอยู่ที่ร้านหรูๆ แบบร้านจำหน่ายไวน์ เพราะเป็นสินค้านำเข้า :mrgreen:
งานอดิเรกต่อไปคือการหาร้านขายผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บเพื่อตัดเสื้อผ้าใส่เอง เพราะซื้อแล้วแพงและทำเองได้จึงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ ใช้เวลาที่มีตัดเสื้อ ตัดกระโปรงและกางเกง ตะเข็บบิดๆ เบี้ยวบ้างถือว่าเป็นของแฮนด์เมด 😛
อีกเรื่องที่จะทำคือการเขียนหนังสือแนะนำที่เที่ยวในเกียวโตในแบบฉบับของเรา เรื่องนี้เพื่อนบอกให้เขียน  ก็เลยคิดว่าน่าจะเขียน
ความจริงดิฉันเอา “กี่” ทอผ้า ใส่กระเป๋าหวังจะหอบไปด้วย แต่คุณที่บ้านบอกว่า เอาออกเหอะ ค่อยไปหาอะไรทำที่โน่น ดิฉันไปสรรหาพบว่ามีการสอนงานฝีมือหลายอย่าง ยังคิดว่าหากอะไรๆ ลงตัวไปกว่านี้ คงจะต้องไปเข้าสักคอร์สบ้าง   😆
bou2 bou3
เวลาหนึ่งเดือนหลังจากการทำงานจึงหมดไปกับสิ่งเหล่านี้
คิดถึงทุกคนค่ะ (อันนี้เรื่องจริง) ฝากเยี่ยมน้องนาจด้วย รู้ข่าวตกใจแทบแย่ ขอให้น้องหายเร็วๆ และกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม บุญรักษาค่ะ

7 thoughts on “ระหว่างทางที่เกียวโต 5 : หนึ่งเดือนผ่านไป ไวเหมือนโกหก

  • ทึ่งมากค่ะ ใช้ชีิวิตคุ้มค่าทุกเวลาและนาที อาหารน่ารับประทานมากค่ะ ชอบใจใช้จักรยานปั่นไปทุกที่ ลดโลกร้อน ทำเหมือนปั่นในหนังเลย สาวน้อยมหัศจรรย์รักข้ามภพ ขอให้มีความสุข และมีสุขภาพที่ดีในชีวิตต่างแดนค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ไม่ได้ไปก็เห็นภาพในจินตนาการ กลับมาหัวหน้าฉัน fit and firm หนูต้องเรียกว่า pongsung หรือ? เขียนถูกไหมเนี่ย

  • ชอบเมนูอาหารที่ทำทุกอย่างเลยโดยเฉพาะวุ้นเส้น ไม่น่าเชื่อว่าพี่ปองทำเอง

  • ขอให้มีความสุขทุก ๆ วันนะคะ ช่วงนี้มัวแต่ทำ KPI จนไม่ได้คุยกับปองเลย ทั้งในภาษาอังกฤษกรุบกริบ ก็ไม่ค่อยได้ลงเลย ตอนนี้ KPI เสร็จแล้ว สบายใจแล้ว เอาไว้คุยกันในภาษาอังกฤษกรุบกริบนะคะ

  • เงินค่าตอบแทนตำแหน่งผู้บริหารฯที่ค้างอยู่จะฝากเยี่ยมน้องอำนาจทั้งหมดหรือเปล่าคะ อิอิ

  • ส่วนนั้นเป็นชองรักษาการฯ ทั้งหมดนะฮับคุณใหญ่ ส่วนของน้องเด๋วฝาก ผจก.ส่วนตัวไปให้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร