เปลี่ยน DEADLINE เป็น HAPPYLINE

“DEADLINE เส้นตายสายชีวิต” เป็นชื่อนิยายออนไลน์ที่เห็นในเว็บเด็กดี ไม่เคยอ่าน แต่สะดุดตากับชื่อเรื่อง ที่คนตั้งชื่อเรื่องได้ใช้คำที่เราคุ้นเคยได้เห็นอานุภาพของคำว่า DEADLINE
ลองไปค้นจากกูเกิ้ลด้วยการใส่คำว่า Deadline management พบว่ามีคำที่เกี่ยวถึง 76,000,000 results ไล่ดูแบบผ่านๆ พบว่ามีความพยายามที่จะแก้ปัญหานี้กันมากมาย มีการบอกเทคนิควิธีการมากมาย กระทั่งโยงไปสู่เรื่องของการบริหารเวลา หากใครสนใจลองหาๆ อ่าน ดูค่ะ มีด้วยกันหลายสำนัก การอ่านจากหลายแนวคิดทำให้เรามีอะไรๆ ในมุมที่กว้าง/ลึกขึ้น
ในชีวิตเราคำนี้หรือคำที่มีความหมายแบบนี้อยู่กับเราแทบทุกลมหายใจ ต้องเสียภาษี ต้องจ่ายประกัน ต้องส่งลูก ต้องกินยา ต้องหาหมอ ต้องไปธนาคาร ต้องจ่ายค่าบัตรเครดิต ต้องจ่ายค่าบัตรอิออน ต้องไปสหกรณ์ ต้องจ่ายค่าเทอม ต้องส่งแชร์ ฯลฯ กระทั่งการแทงหวยใต้ดินก็ยังมีเส้นตายสายชีวิต
จึงไม่แปลกที่ชีวิตการทำงานจะมีคำนี้ พอสิ่งใดมาผูกกับงานคนเรามักอึดอัด/แน่นอก/ติดขัด/รำคาญ/หงุดหงิด/
…. เส้นตายแบบแรกเรามักเลือกใช้ตรงตามกำหนดเวลาพอดิบพอดี ส่งผลให้เส้นตายแบบที่สองหมดแรง จึงมักภาวนาว่าขอให้ยืดยาวได้ต่อไปอีกสักนิด
หากเรามีอะไรๆ หลายอย่างที่ต้องทำ ตามประสบการณ์คือจะเขียน DEADLINE ลงในปฏิทิน แล้วทำงานตามช่วงเวลา ตัวอย่างที่ดีคือปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ที่งานทะเบียนผลิตฯ ขั้นมาทั้งปีให้เป็นคัมภีร์ใช้ ดิฉันเรียนรู้การใช้ปฏิทินนี้จากพี่จุ๋มและพี่ติ๋วในครั้งที่ทำงานในฝ่ายบริการ จึงทำให้มองออกถึงแต่ละช่วงเวลาในหนึ่งเทอมว่าควรจะทำหรือจัดกิจกรรมอะไร
การมองทะลุจึงทำให้เราไม่หลุด แม้กระทั่งการนำไปเชื่อมโยงกับปฏิทินออนไลน์หรือ Timeline คนที่ทำงานใกล้ชิดจะได้ยินดิฉันเตือนหรือบ่นบ่อยๆ เรื่องเวลา
แต่งานบางอย่างต้องใช้เวลา ต้องใช้สมองในการคิด DEADLINE จะเป็นตัวที่ทำให้เราต้องเค้นออกมาให้ได้ แต่บางครั้งมันยาก เพราะคิดอย่างไรก็ไม่ลงตัว ต้องคอยให้ถึงที่สุดจริงๆ ถึงคิดมาได้ ดิฉันชอบพูดว่า ในที่สุดก็คิดออกมาได้ แต่พอมองย้อนกลับ พบว่าที่เราได้ออกมานั้นเราผ่านกระบวนการคิดมาแล้วหลายครั้งกระทั่งตกผลึกต่างหาก
ปฏิทินหรือเครื่องมืออะไรก็ตามแต่จะไม่ทรงประสิทธิภาพหากผู้ใช้ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ งานบางอย่างที่เรารู้ว่าต้องทำ เช่น ต้องเขียนบล๊อก 6 บล๊อก เราอาจจะตั้ง DEADLINE ไว้ 6 ครั้ง เฉลี่ยกันไป เทคนิคนี้พี่สุนีย์กับน้องอ้อเคยเล่าให้ฟัง และยังมีอีกหลายคนที่ใช้วิธีีนี้
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าในอนาคตจะมีงานจร งานบิ๊ก งานช้าง อะไรๆ เข้ามาในชีวิตการทำงานของเราหรือไม่ หากเรารีบหรือรน คุณภาพของงานเราอาจไม่ดีพอ
คำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” เป็นมุมมองของคนรอบข้าง และมุมที่เราจะเลือกมอง คำว่า “ดี” อาจถูกใจ แต่ไปต่อไม่ได้ เท่ากับอยู่กับที่   คำว่า “ไม่ดี” อาจทำให้เราท้อแท้ ทำให้เราต้องทำใหม่ แต่ทำให้เราไปต่อได้ เท่ากับเราก้าว ถึงก้าวนั้นมันจะมีเศษกรวด หิน ดิน ทรายอยู่บ้าง เราจะได้รับรู้ถึงการสัมผัส การสัมผัสจะทำให้เราจำแม่น กว่าสิ่งที่ผ่านไปมา แต่ไม่ทำให้เรา DEAD
DEAD เป็นเรื่องเศร้า HAPPY เป็นเรื่องสุข
เนื่องจากดิฉันเป็นคนชอบตัวหนังสือ จึงถามตัวเองว่าหากเราไม่ชอบ DEADLINE ล่ะ คำอะไรจะเป็นสิ่งที่ใช้ทดแทนกัน HAPPY LINE จึงผุดพรายขึ้นมา
HAPPY LINE เป็นการเต้นค่ะ ในยูทูบมีการสอน ในเว็บมีรูปของการวางเท้า ในเมืองไทยเริ่มการการเต้นแบบนี้ที่ มอ.หาดใหญ่ลองตามไปดูได้จากที่นี่ค่ะ http://share.psu.ac.th/blog/notetaker2013/31062 กิจกรรมแบบนี้ทำได้ทุกคน ห้องสมุดเรามีผู้มีความสามารถลองรวมตัวทำกิจกรรมแบบนี้ช่วงเย็นก่อนกลับบ้าน น่าจะเพิ่มความกระฉับกระเฉงและลดน้ำหนักได้ เพราะเต้นแบบ T25 คงไม่ไหว
HAPPY LINE อาจเป็นทางเลือกให้เรามีกิจกรรม หรืออาจเป็นทางเลือกให้เราเขียนลงในปฏิทินเพื่อบอกช่วงเวลาที่เราต้องทำก็อาจเป็นไปได้
HAPPY WORKPLACE แบบไร้ทฤษฎีเกิดจากพวกเรา
คิดถึงทุกคนค่ะ

One thought on “เปลี่ยน DEADLINE เป็น HAPPYLINE

  • ไม่ชอบเหมือนกันคะ แต่ทำอะไรต้อง DEADLINE ทุกที (คิดถึงนะ )

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร