EdPEx

มีเรื่องอยากเล่าให้ฟังค่ะ … เมื่อเดือนที่แล้วมีคุณน้องจากแดนไกลถามว่า
คุณน้อง: EdPEx มา หนูทำไงดีพี่
คุณปอง: โอเปครวยดี โอแพคงงดี ส่วนอันนี้ท่าทางจะไม่ดี
คุณน้อง: หนูซีเรียสนะพี่
คุณปอง: แกจะตกใจอะไรนักหนาฮึ!
คุณน้อง: ตกใจดิเจ้ ก้อหนูจะตรวจประกันอยู่แล้ว
คุณปอง: อ้าวเรอะ พร้อมกับร่ายคาถาว๊า… คุณพี่ได้แต่อ่าน ติดตามข่าวและคุยแบบนกแก้วนกขุนทอง ด้วยความกระตือรือร้น (อยากรู้อยากเห็น) เพราะมีความเชื่อส่วนตัวว่าไม่มีระบบอะไรจะจีรัง สิ่งที่แน่นอนในระบบต่างๆ ของทุกองค์กรคือการต่อยอดและพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่าได้ยึดมั่นถือมั่นทีเดียว ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ดีแล้ว เก๋แล้ว เพราะความคลาสสิคของคำว่าคลื่นลูกใหม่ยังใช้ได้อยู่ บอกน้องว่าไปว่าใจเย็นๆ เพราะเรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่ต้องสะสมพัฒนาความมี “คุณภาพ” อย่างยาวนาน อย่าไปติดและทำตัวเองเหมือนเด็กเข้าโรงเรียนกวดวิชาเพื่อให้สอบได้ หรือสอบผ่าน พอได้แล้วก้อหลงดีใจ แล้วหยุดอยู่ที่ตรงนั้น ปัญหาตอนนี้คือจะทำอย่างไรให้เขียนรายงานและพร้อมให้กรรมการมาตรวจ ค่อยๆ แกะไปทีละเปลาะ แก้ไปทีละปม … ปลอบใจไปว่าคุณภาพขององค์กรต้องเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักกับอายุของเรา และตามด้วยคำยอดฮิตคือ สู้ สู้
มาเล่าให้น้องอ้อฟัง เนื่องจากคุณน้องเป็นกรรมการประกันคณภาพฯ บอกว่าระวังนะ หาอ่านไว้บ้าง เห็นพยักหน้าโงกเงก งึ่กงั่ก ซึ่งแปลว่าโอเค และดิฉันสัญญาว่าจะเขียนบล็อกให้อ่าน เพราะขี้เกียจพูด
EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดาเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบันของเราจริงๆ
เกณฑ์นี้ได้นามาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2545 โดยปรับเป็นไทย และใช้ชื่อว่าเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถ้าเรื่องใดทำให้เราสามารถพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันได้อย่างก้าวกระโดด เกณฑ์ Baldrige เป็นเกณฑ์ที่ชี้แนะว่า เรื่องไหนมีความสาคัญต่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศขององค์กร โดยจะเสนอข้อคำถามให้เราค้นหาคำตอบเอง ไม่ระบุตัวบ่งชี้ และไม่บังคับให้ต้องใช้เครื่องมือใดๆ เพราะบริบทขององค์กร/สถาบัน แต่ละแห่งจะแตกต่างกัน (แนวคิดนี้น่าจะเหมาะกับเราที่มีหน่วยงานย่อยหลายหน่วยงาน)
เราต้องมาตั้งต้นตอบคำถามด้วยกันเองว่า สถาบันของเรา มีคุณลักษณะที่สาคัญและสภาวะการณ์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันเป็นอย่างไร เราจะกำหนด กลยุทธ์และแนวทางต่อไปอย่างไร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ เรื่องของคุณภาพลอกกันเต็มๆไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อม จุดเด่น บุคลากร สมรรถนะหลัก ฯลฯ ของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน (เราน่าจะปวดหัวนะคะ โดยเฉพาะท่านหัวหน้าน้อยใหญ่ทั้งหลายที่ต้องเป็นหลักให้กับองค์กร)
การดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ไม่ใช่การให้คำตอบหรือการกำหนดให้ทำตาม ตัวบ่งชี้ เรื่องนี้จึงอาจขัดใจคนหลายกลุ่มที่เคยชินกับการได้รับคาสั่งชัดเจน คนในสถาบันต้องสร้างความเคยชินขึ้นใหม่โดยร่วมกันคิดหาตัวบ่งชี้เอง เพราะการมีบริบทของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามอาจจะมีตัวบ่งชี้ร่วมบางด้าน (อันนี้พวกเราน่าจะถนัดเพราะมีประสบการณ์ร่วมหัวจมท้ายในการสร้าง KPI รายบุคคล มาแบบโชกโชนนนน)
เท่าที่รู้เห็นกว่าจะเริ่มงานนี้ได้ต้องอบรม ฟังบรรยายกันแบบหัวฟู ถึงขั้นสมองบวม แต่เราอาจจะโชคดีที่มีรอยของสถาบันที่นำร่องไปล่วงหน้าแล้ว ….
เอาเหอะอะไรจะมาแค่เราเปิดใจ ทำความรู้จัก สวัสดีค่ะ ช่วยกันประคับประคอง อะไรก้อเอาอยู่ ระหว่างนี้อ่านๆ เรื่อง TQA  หรือ Thailand Quality Award หรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ที่มีสถาบันเพิ่มผลผลิตเป็นเจ้าภาพ
รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิค และกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)
Mr.Malcom Baldrige เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ของอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดี Ronald Regan ปลายทศวรรษ 1980 ที่เห็นว่าสินค้าของอเมริกาแข่งขันกับชาวโลกไม่ได้ โดยเฉพาะญี่ปุ่น ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพครั้งใหญ่ จัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้น แต่เสียชีวิตเสียก่อนจึงตั้งชื่อรางวัลนี้ว่า Malcom Baldrige National Quality Award (MBNQA)
ประกาศรางวัลครั้งแรกเมื่อปี 1989
อ่านแล้วจะได้ไม่สับสนระหว่าง TQA กับ TQM
อ่านและอ่านข้มูลทั้งหลายได้ที่นี่ค่ะ
http://www.tqa.or.th/
http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/ecpethai.pdf
http://www.mua.go.th/users/bhes/edpex/download.html
http://qm.kku.ac.th/files/01-255488090755-phanch-1.pdf

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร