ความตระหนักด้านภาษาที่สองเพื่อการสื่อสาร

22 May 2013
Posted by patcharee

วันนี้มาประชุมคณะทำงานบริการสารนิเทศฯ ที่นิด้า  ซึ่งจะต่อด้วยการบรรยายของอาจารย์ที่นิด้า และวิทยากรที่สำนักบรรณสารคัดมาให้ ซึ่งไม่เคยผิดหวังสักครั้งเดียว วันนี้มีการบรรยายเรื่อง ความตระหนักด้านภาษาที่สองเพื่อการสื่อสาร โดย ผศ. ดร. ศักดิ์สิทธิ์ แสงบุญ  อาจารย์ประจำคณะภาษาและการสื่อสาร
อาจารย์เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามไว้ให้ว่า  ห้องสมุดจะช่วยสังคมไทยในการพัฒนาภาษาที่สองได้อย่างไร?  โดยก่อนอื่นเราต้องตระหนัก (Stop and Think) ถึงความสำคัญของภาษาที่สองเสียก่อน เหมือนกับ คำพูดของ Kim Dae Jung อดีตประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ว่า “We will not win in  world competition unless South Korea masters the lingua franca of the internet age, Learning English or face being left behind.”
แต่ถ้าจะตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเราจึงไม่เก่งภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สอง  สาเหตุเพราะ เราเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ  (English as a Foreign Language : EFL แทนที่จะเป็น English as a Second Language : ESL) การเรียนภาษาอังกฤษแบบ EFL มีชั่วโมงเรียน ในเวลา 12 ปีเพียง 2000 ชั่วโมง แต่เด็กอเมริกันได้ฟังภาษาอังกฤษทึ่ถูกต้องตั้งแต่เกิดจนถึง 5 ขวบ ถึง 8400 ชั่วโมง ด้งนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่เด็กไทยจะไม่เก่งภาษาอังกฤษ และการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่อนุบาล หรือมาเริ่มเรียนตอน ป. 5 ก็ไม่มีผลที่แตกต่างกัน ยกเว้นเสียแต่ว่า การเรียนตั้งแต่อนุบาลนั้น เด็กได้เรียนจากเจ้าของภาษา ซึ่งเด็กจะได้สำเนียงและการฟังมาด้วย จึงทำให้เห็นว่าการมี model ที่ดีจะทำให้เกิดการเลียนแบบ และเรียนรู้ที่ถูกต้อง อาจารย์แนะนำว่า ให้หา model ของตัวเอง และฟัง ฝึกฝนอย่างตะลุยอ่าน ตะลุยฝึก
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษ เป็นภาษาของโลก (World Englishes)  เป็นภาษากลาง(Lingua Franca)  จึงทำให้ผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (EFL) และเป็นภาษาที่สอง (ESL)  รวมกันแล้วมีจำนวนมากกว่าผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป้นภาษแม่ (ENL) แต่การเรียนการพูดภาษาอังกฤษ จะให้ได้ผลดี จะต้องเรียนวิชาการออกเสียงมาเสียก่อน ที่จะเรียนวิชา Conversation     การพูดภาษาอังกฤษกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษอื่น ๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องพูดเร็ว พูดช้าแต่ชัดจะดีกว่า และให้ระมัดระวัง ความเข้าใจผิดระหว่างวัฒนธรรม (Cross Culture) ด้วย ต้นแบบที่ดี ไม่ได้จำกัดแต่ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันและอังกฤษเท่านั้น แต่เป็นภาษาอังกฤษคุณภาพดีที่พอเหมาะกับบริบทการใช้ภาษาอังกฤษตามจริง ไม่ว่าจะเป็นการพูดหน้าชั้นเรียน การพูดกับเพื่อน การทักทาย หรือการ Speech ต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งต้องดูด้วยว่า ผู้ฟังเป็นใคร
อาจารย์บรรยายไป พร้อมกับการยกตัวอย่าง จากประสบการณ์จริง ที่ได้จากการไปเรียนที่ต่างประเทศ ที่มีคนไทยเพียงคนเดียวในหลักสูตรนั้น ทำให้อาจารย์ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันตลอดเวลา และบอกว่า ตัวอาจารย์โชคดีที่มีโอกาสได้ไปเรียนต่างประเทศ แต่เด็กที่ไม่มีโอกาสได้ไปต่างประเทศ ก็สามารถถฝึกฝนด้วยตนเองได้ หากได้เริ่มต้นและฝึกฝนสม่ำเสมอ จาก Youtube จากการอ่านหนังสือพิมพ์ จากการดูภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่ไม่ได้แปลคำพูดเป็นภาษาไทย
จากการฟังอาจารย์บรรยายอย่างสนุกสนานวันนี้ ทำให้ดิฉันเกิดพลังฮึดขึ้นมาบ้างว่า จะพยายามฟัง อ่าน พูด ให้มาก อาจารย์บอกว่า เพียงวันละ  5-10 นาที  ก็ยังดี มาเริ่มต้นกันเถอะ    ต้อนรับการเปิดอาเซียน ส่วนห้องสมุดจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่สองได้อย่างไรนั้น คงต้องตระหนัก และจัดทรัพยากรและกิจกรรมให้เหมาะกับผู้ใช้บริการ

One thought on “ความตระหนักด้านภาษาที่สองเพื่อการสื่อสาร

  • เอาละ ใส่ใจภาษาอังกฤษเพื่อเจ้าปุญ ปุญญดนย์ เจ้าตัวเล็กของป้าแมวไงล่ะ จะต้องแข่งกับเจ้าแทนให้ได้ในต่อไป ป้าแมว 60 และพวกเราล่ะจะใส่ใจไหม

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร